ผลต่างระหว่างรุ่นของ "มนุษย์"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 47: บรรทัด 47:
วิวัฒนาการมนุษย์แสดงลักษณะโดยการเปลี่ยนแปลงสำคัญจำนวนหนึ่ง ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงทางกายสัณฐานวิทยา พัฒนาการ สรีรวิทยาและพฤติกรรม ซึ่งได้เกิดขึ้นตั้งแต่การแยกออกระหว่างบรรพบุรุษร่วมสุดท้ายของมนุษย์กับชิมแปนซี การเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับโครงสร้างหลักครั้งแรก คือ วิวัฒนาการของการปรับตัวเคลื่อนไหวสองเท้าจากการเคลื่อนไหวบนต้นไม้หรือกึ่งต้นไม้<ref name=Vancata1987>{{cite journal |author=Vančata1 V.; Vančatová, M.A. |title=Major features in the evolution of early hominoid locomotion |journal=Human Evolution |year=1987 |volume=2 |issue=6 |pages=517–537 |doi=10.1007/BF02437426}}</ref> โดยมีการปรับตัวประกอบทั้งหมด (เข่าชิด [valgus knee], สัดส่วนแขนขา [intermembral index] ต่ำ [คือ ขายาวเมื่อเทียบกับแขน] และร่างกายท่อนบนมีกำลังลดลง)
วิวัฒนาการมนุษย์แสดงลักษณะโดยการเปลี่ยนแปลงสำคัญจำนวนหนึ่ง ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงทางกายสัณฐานวิทยา พัฒนาการ สรีรวิทยาและพฤติกรรม ซึ่งได้เกิดขึ้นตั้งแต่การแยกออกระหว่างบรรพบุรุษร่วมสุดท้ายของมนุษย์กับชิมแปนซี การเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับโครงสร้างหลักครั้งแรก คือ วิวัฒนาการของการปรับตัวเคลื่อนไหวสองเท้าจากการเคลื่อนไหวบนต้นไม้หรือกึ่งต้นไม้<ref name=Vancata1987>{{cite journal |author=Vančata1 V.; Vančatová, M.A. |title=Major features in the evolution of early hominoid locomotion |journal=Human Evolution |year=1987 |volume=2 |issue=6 |pages=517–537 |doi=10.1007/BF02437426}}</ref> โดยมีการปรับตัวประกอบทั้งหมด (เข่าชิด [valgus knee], สัดส่วนแขนขา [intermembral index] ต่ำ [คือ ขายาวเมื่อเทียบกับแขน] และร่างกายท่อนบนมีกำลังลดลง)


สปีชีส์มนุษย์พัฒนาสมองใหญ่กว่าสมองของไพรเมตอื่นมาก โดยทั่วไป สมองมนุษย์สมัยใหม่มีปริมาตร 1,400 ซม.<sup>3</sup> กว่าสองเท่าของขนาดสมองชิมแปนซีหรือกอริลลา รูปแบบของการเจริญเติบโตของสมองมนุษย์หลังเกิดแตกต่างจากรูปแบบที่พบในลิงไม่มีหางอื่น และเอื้อให้ระยะการเรียนรู้ทางสังคมและการได้มาซึ่งภาษายืดยาวไปในมนุษย์วัยแรกรุ่น นัก[[ชีววิทยามนุษย์|มานุษยกายวิภาคศาสตร์]]แย้งว่า ข้อแตกต่างระหว่างโครงสร้างสมองของมนุษย์กับสมองของลิงไม่มีหางอื่นนั้นกระทั่งสำคัญกว่าข้อแตกต่างระหว่างขนาดเสียอีก
สปีชีส์มนุษย์พัฒนาสมองใหญ่กว่าสมองของไพรเมตอื่นมาก โดยทั่วไป สมองมนุษย์สมัยใหม่มีปริมาตร 1,400 ซม.<sup>3</sup> กว่าสองเท่าของขนาดสมองชิมแปนซีหรือกอริลลา รูปแบบของการเจริญเติบโตของสมองมนุษย์หลังเกิดแตกต่างจากรูปแบบที่พบในลิงไม่มีหางอื่น และเอื้อให้ระยะการเรียนรู้ทางสังคมและการได้มาซึ่งภาษายืดยาวไปในมนุษย์วัยแรกรุ่น นัก[[ชีววิทยามนุษย์|มานุษยกายวิภาคศาสตร์]]แย้งว่า ข้อแตกต่างระหว่างโครงสร้างสมองของมนุษย์กับสมองของลิงไม่มีหางอื่นนั้นกระทั่งสำคัญกว่าข้อแตกต่างด้านขนาดเสียอีก<ref name=Park2007>{{cite journal |author=Park, Min S.; Nguyen, Andrew D.; Aryan, Henry E.; U, Hoi Sang; Levy, Michael L.; Semendeferi, Katerina |title=Evolution of the human brain: changing brain size and the fossil record |journal=Neurosurgery |year=2007 |volume=60 |issue=3 |pages=555–562 |pmid=17327801 |doi= 10.1227/01.NEU.0000249284.54137.32}}</ref><ref name=Bruner2007>{{cite journal |author=Bruner, Emiliano |title=Cranial shape and size variation in human evolution: structural and functional perspectives |journal=Child's Nervous System |year=2007 |volume=23 |issue=12 |pages=1357–1365 |pmid=17680251 |url=http://www.emilianobruner.it/pdf/Bruner2007_CNS.pdf |format=PDF |doi=10.1007/s00381-007-0434-2}}</ref>


การเปลี่ยนแปลงทางกายสัณฐานวิทยาที่สำคัญอื่น มีวิวัฒนาการของการยึดจับที่มีพลังและแม่นยำด้วย[[นิ้วหัวแม่มือ]] ระบบบดเคี้ยวที่ลดลง การลดจำนวน[[ฟันเขี้ยว]] และการเลื่อนต่ำลงมาของ[[กล่องเสียง]]และ[[กระดูกไฮออยด์]] ทำให้มนุษย์สามารถพูดได้ การเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาที่สำคัญอย่างหนึ่งในมนุษย์ คือ วิวัฒนาการของการปิดการตกไข่ ซึ่งอาจเกิดขึ้นใกล้เคียงกับวิวัฒนาการการเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรมที่สำคัญ เช่น การมีคู่ครอง การเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรมที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือ พัฒนาการของวัฒนธรรมวัตถุ ด้วยวัตถุที่มนุษย์สร้างขึ้นเริ่มมีมากขึ้นและหลากหลายขึ้นตามเวลา ความสัมพันธ์ระหว่างการเปลี่ยนแปลงทั้งหมดเหล่านี้เป็นหัวข้อถกเถียงที่กำลังดำเนินต่อไป
การเปลี่ยนแปลงทางกายสัณฐานวิทยาที่สำคัญอื่น มีวิวัฒนาการของการยึดจับที่มีพลังและแม่นยำด้วย[[นิ้วหัวแม่มือ]]<ref name=Brues1965>{{cite journal |author=Brues, Alice M.; Snow, Clyde C. |title=Physical Anthropology |journal=Biennial Review of Anthropology |year=1965 |volume=4 |pages=1–39 |url=http://books.google.com/books?id=9WemAAAAIAAJ&pg=PA1}}</ref> ระบบบดเคี้ยวที่ลดลง การลดจำนวน[[ฟันเขี้ยว]] และการเลื่อนต่ำลงมาของ[[กล่องเสียง]]และ[[กระดูกไฮออยด์]] ทำให้มนุษย์สามารถพูดได้ การเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาที่สำคัญอย่างหนึ่งในมนุษย์ คือ วิวัฒนาการของการปิดการตกไข่ ซึ่งอาจเกิดขึ้นใกล้เคียงกับวิวัฒนาการการเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรมที่สำคัญ เช่น การมีคู่ครอง การเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรมที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือ พัฒนาการของวัฒนธรรมวัตถุ ด้วยวัตถุที่มนุษย์สร้างขึ้นเริ่มมีมากขึ้นและหลากหลายขึ้นตามเวลา ความสัมพันธ์ระหว่างการเปลี่ยนแปลงทั้งหมดเหล่านี้เป็นหัวข้อถกเถียงที่กำลังดำเนินต่อไป<ref name=Boyd2003>{{cite book |author=Boyd, Robert; Silk, Joan B. |year=2003 |title=How Humans Evolved |location=New York, New York |publisher=Norton |isbn=0-393-97854-0}}</ref><ref name=Dobzhansky1963>{{cite journal |author=Dobzhansky, Theodosius |year=1963 |title=Anthropology and the natural sciences—the problem of human evolution |journal=Current Anthropology |volume=4 |issue=2 |pages=138–148 |jstor=2739837}}</ref>


อำนาจแห่ง[[การคัดเลือกโดยธรรมชาติ]]ยังมีผลต่อประชากรมนุษย์อยู่ต่อไป โดยมีหลักฐานว่าจีโนมบางบริเวณแสดงการคัดเลือกที่เกิดขึ้นในทิศทางเดียวในช่วง 15,000 ปีที่ผ่านมา
อำนาจแห่ง[[การคัดเลือกโดยธรรมชาติ]]ยังมีผลต่อประชากรมนุษย์อยู่ต่อไป โดยมีหลักฐานว่าจีโนมบางบริเวณแสดงการคัดเลือกที่เกิดขึ้นในทิศทางเดียวในช่วง 15,000 ปีที่ผ่านมา<ref name="urlNYT">{{cite news |author=Wade, Nicholas |title=Still Evolving, Human Genes Tell New Story |url=http://www.nytimes.com/2006/03/07/science/07evolve.html |date=March 7, 2007 |accessdate=2012-02-13 |publisher=The New York Times}}</ref>

[[ไฟล์:Ape skeletons.png|center|550px|thumbnail|[[ลิงไม่มีหาง]]ต่างมีบรรพบุรุษร่วมกัน]]


== เผ่าพันธุ์มนุษย์ ==
== เผ่าพันธุ์มนุษย์ ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 21:13, 4 เมษายน 2555

มนุษย์
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: 0.195–0Ma
สมัยไพลสโตซีน - ปัจจุบัน
ภาพมนุษย์บนแผ่นทองเหลืองที่ติดไปกับไพโอเนียร์ 10
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
โดเมน: Eukaryota
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Mammalia
อันดับ: Primates
วงศ์: Hominidae
สกุล: Homo
สปีชีส์: H.  sapiens
สปีชีส์ย่อย: H.  s. sapiens
Trinomial name
Homo sapiens sapiens
Linnaeus, 1758
ขอบเขตที่อยู่อาศัยของ Homo sapiens

มนุษย์ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Homo sapiens, ภาษาละตินแปลว่า "คนฉลาด" หรือ "ผู้รู้") เป็นสปีชีส์เดียวที่ยังสืบสายพันธุ์อยู่ในจีนัส Homo ในทางกายวิภาค มนุษย์สมัยใหม่ถือกำเนิดขึ้นในทวีปแอฟริการาว 200,000 ปีที่แล้ว และบรรลุความนำสมัยทางพฤติกรรม (behavioral modernity) อย่างสมบูรณ์เมื่อราว 50,000 ปีที่แล้ว[2]

มนุษย์มีสมองที่พัฒนาอย่างสูงและสามารถให้เหตุผลเชิงทฤษฎี ภาษา พินิจภายในและแก้ไขปัญหา ขีดความสามารถทางจิตใจนี้ เมื่อประกอบกับลำตัวที่ตั้งตรงโดยปล่อยให้มือหยิบจับสิ่งของได้อิสระ ทำให้มนุษย์ใช้อุปกรณ์ได้ดีกว่าสปีชีส์อื่นใดบนโลก กระบวนการคิดระดับสูงกว่าอย่างอื่นของมนุษย์ เช่น ความตระหนักตนเอง ความมีเหตุผล และภูมิปัญญา[3][4][5] ได้รับการพิจารณาว่าเป็นลักษณะนิยามของสิ่งที่ประกอบขึ้นเป็น "บุคคล"[6][7]

มนุษย์มีเอกลักษณ์ถนัดในการใช้ระบบการสื่อสารเพื่อประโยชน์ในการแสดงออกความรู้สึกของตน แลกเปลี่ยนความคิด และการจัดการ มนุษย์สร้างโครงสร้างทางสังคมอันซับซ้อน ซึ่งประกอบด้วยกลุ่มจำนวนมากที่มีทั้งร่วมมือและแข่งขันกัน จากครอบครัวและวงศาคณาญาติ ไปเป็นชาติ ปฏิสัมพันธ์ทางสังคมระหว่างมนุษย์ได้ก่อตั้งค่านิยม บรรทัดฐานทางสังคมและพิธีกรรม ซึ่งรวมกันเป็นรากฐานของสังคมมนุษย์ ด้วยมนุษย์พบอาศัยอยู่ทุกทวีปยกเว้นแอนตาร์กติกา จึงได้ชื่อว่าเป็น "สปีชีส์พบได้ทั่วโลก" (cosmopolitan species) จนถึงเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2012 ประชากรมนุษย์ที่กองประชากรสหประชาชาติประเมินไว้อยู่ที่ราว 7 พันล้านคน[8]

มนุษย์มีความโดดเด่นในเรื่องความปรารถนาจะเข้าใจและมีอิทธิพลเหนือสิ่งแวดล้อม แสวงหาคำอธิบายและจัดการปรากฏการณ์ผ่านวิทยาศาสตร์ ปรัชญา เทพปกรณัม และศาสนา ความอยากรู้อยากเห็นในธรรมชาตินี้ได้นำไปสู่การพัฒนาเครื่องมือและทักษะขั้นสูง ซึ่งได้ถ่ายถอดมาทางวัฒนธรรม มนุษย์เป็นเพียงสปีชีส์เดียวที่สามารถก่อไฟได้ ทำอาหารเป็น สวมใส่เสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่ม ตลอดจนสร้างและใช้เทคโนโลยีและศิลปะอื่นอีกนักต่อนัก การศึกษามนุษย์เป็นวิทยาศาสตร์แขนงหนึ่งเรียกว่า มานุษยวิทยา

ประวัติศาสตร์

วิวัฒนาการ

ไฟล์:Craniums of Homo.svg
กระดูกหุ้มสมอง
1. กอริลลา 2. Australopithecus 3. Homo erectus 4. นีแอนเดอร์ธัล 5. กะโหลกสไตน์ไฮม์ 6. ยูโฮมินิด

การศึกษาวิวัฒนาการมนุษย์ทางวิทยาศาสตร์สนใจพัฒนาการของจีนัส Homo เป็นหลัก แต่โดยปกติมักเกี่ยวข้องกับการศึกษาวงศ์โฮมินิดและโฮมินินเช่นกัน อาทิ Australopithecus "มนุษย์สมัยใหม่" ถูกนิยามว่าเป็นสปีชีส์ Homo sapiens ซึ่งสปีชีส์ย่อยที่ยังมีอยู่เท่าที่ทราบมีเพียง Homo sapiens sapiens เท่านั้น Homo sapiens idaltu (แปลหยาบๆ ได้เป็น "มนุษย์ฉลาดอาวุโส") เป็นอีกสปีชีส์ย่อยหนึ่งที่ทราบ แต่บัดนี้สูญพันธุ์ไปแล้ว[9] Homo neanderthalensis ซึ่งสูญพันธุ์ไปเมื่อ 30,000 ปีที่แล้ว บางครั้งถูกจำแนกเป็นสปีชีส์ย่อย "Homo sapiens neanderthalensis" การศึกษาพันธุกรรมแนะว่า ดีเอ็นเอหน้าที่ของมนุษย์สมัยใหม่กับนีแอนเดอร์ธัล (Neanderthal) เบนออกจากกันเมื่อ 500,000 ปีที่แล้ว[10] พันธุศาสตร์สมัยหลังได้เสนอว่า มนุษย์สมัยใหม่ผสมพันธุ์กับมนุษย์โบราณ "อย่างน้อยสองกลุ่ม" คือ นีแอนเดอร์ธัลกับเดนิโซแวน (Denisovan)[11] แม้กระนั้น ตัวอย่างของสปีชีส์ Homo rhodesiensis ที่ถูกค้นพบมีการจำแนกให้เป็นสปีชีส์ย่อยอยู่บ้าง แต่การจำแนกชั้นดังกล่าวไม่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางนัก

มนุษย์สมัยใหม่ทางกายวิภาคปรากฏครั้งแรกในหลักฐานฟอสซิลในแอฟริการาว 195,000 ปีที่แล้ว และการศึกษาชีววิทยาโมเลกุลให้ข้อพิสูน์ว่า เวลาโดยประมาณที่มนุษย์สมัยใหม่วิวัฒนาการเบนออกจากบรรพบุรุษร่วม คือ เมื่อ 200,000 ปีที่แล้ว[12][13][14][15][16] การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมของแอฟริกาอย่างกว้างขวาง นำโดย ดร. ซาราห์ ทิชคอฟ ค้นพบว่าชาวซาน (หรือบุชแมน) แสดงความหลากหลายทางพันธุกรรมสูงสุดในบรรดาประชากรตัวอย่างที่ต่างกัน 113 กลุ่ม ทำให้ชาวซานเป็นหนึ่งใน 14 "กลุ่มประชากรบรรพบุรุษ" การวิจัยดังกล่าวยังค้นพบการกำเนิดของการอพยพมนุษย์สมัยใหม่ในแอฟริกาตะวันตกเฉียงใต้ ใกล้กับพรมแดนแถบชายฝั่งของนามิเบียและแองโกลา[17]

ประวัติศาสตร์วิวัฒนาการของไพรเมตสามารถสืบย้อนไปได้ถึง 65 ล้านปีที่แล้ว ไพรเมตเป็นหนึ่งในกลุ่มสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมมีรกซึ่งยังมีชีวิตอยู่ทั้งหมดที่เก่าแก่ที่สุด สปีชีส์สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมคล้ายไพรเมตเก่าแก่ที่สุดเท่าที่ทราบ (อยู่ในจีนัส พลีเซียดาพิส) มาจากทวีปอเมริกาเหนือ แต่อยู่อาศัยในยูเรเชียและแอฟริกาเป็นบริเวณกว้างระหว่างสภาวะเขตร้อนของสมัยพาลีโอซีนกับสมัยอีโอซีน (66-57 ล้านปีที่แล้ว) หลักฐานโมเลกุลเสนอว่า บรรพบุรุษร่วมสุดท้ายระหว่างมนุษย์กับลิงไม่มีหางใหญ่ที่เหลือเบนออกเมื่อ 4-8 ล้านปีที่แล้ว

ลิงอุรังอุตังเป็นกลุ่มแรงที่แยกออกจากเส้นซึ่งนำไปสู่มนุษย์ จากนั้นเป็นกอริลลา ตามมาด้วยชิมแปนซี (จีนัส Pan) สัดส่วนทำงานของดีเอ็นเอมนุษย์อยู่ที่ประมาณ 98.4% เทียบเท่ากับของชิมแพนซี เมื่อเปรียบเทียบพอลิมอร์ฟิซึมนิวคลีโอไทด์สายเดี่ยว บางการศึกษาประเมินไว้ต่ำเพียง 94% ดังนั้น สัตว์ที่ใกล้เคียงมนุษย์ที่สุดเท่าที่มีชีวิตอยู่จึงเป็นกอริลลาและชิมแพนซี เพราะมีบรรพบุรุษร่วมกันค่อนข้างเมื่อไม่นานมานี้[18]

มนุษย์อาจสัมพันธ์มากที่สุดกับชิมแปนซีสองสปีชีส์ คือ ชิมแปนซีธรรมดาและโบโนโบ ลำดับจีโนมเต็มได้ก่อให้เกิดข้อสรุปที่ว่า "หลังวิวัฒนาการแยกกว่า 6.5 [ล้าน]ปี ข้อแตกต่างระหว่างชิมแปนซีกับมนุษย์นั้นมีมากกว่าระหว่างคนสองคนที่ไม่รู้จักกันสิบเท่า และน้อยกว่าหนู (rat) กับหนูหริ่ง (mice) สิบเท่า" การประเมินความพ้องที่เสนอไว้ในปัจจุบันระหว่างลำดับดีเอ็นเอทำงานของมนุษย์กับชิมแปนซีอยู่ระหว่าง 95% และ 99%[19][20][21][22] การประเมินช่วงแรกชี้ว่า เชื้อสายมนุษย์อาจเบนออกจากของชิมแปนซีเมื่อราวห้าล้านปีที่แล้ว และจากของกอริลลาราวแปดล้านปีที่แล้ว อย่างไรก็ดี กะโหลกโฮมินิดซึ่งค้นพบในชาดเมื่อ ค.ศ. 2001 จำแนกเป็น Sahelanthropus tchadensis มีอายุประมาณเจ็ดล้านปี และอาจเป็นหลักฐานของการเบนออกก่อนหน้านั้น[23]

วิวัฒนาการมนุษย์แสดงลักษณะโดยการเปลี่ยนแปลงสำคัญจำนวนหนึ่ง ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงทางกายสัณฐานวิทยา พัฒนาการ สรีรวิทยาและพฤติกรรม ซึ่งได้เกิดขึ้นตั้งแต่การแยกออกระหว่างบรรพบุรุษร่วมสุดท้ายของมนุษย์กับชิมแปนซี การเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับโครงสร้างหลักครั้งแรก คือ วิวัฒนาการของการปรับตัวเคลื่อนไหวสองเท้าจากการเคลื่อนไหวบนต้นไม้หรือกึ่งต้นไม้[24] โดยมีการปรับตัวประกอบทั้งหมด (เข่าชิด [valgus knee], สัดส่วนแขนขา [intermembral index] ต่ำ [คือ ขายาวเมื่อเทียบกับแขน] และร่างกายท่อนบนมีกำลังลดลง)

สปีชีส์มนุษย์พัฒนาสมองใหญ่กว่าสมองของไพรเมตอื่นมาก โดยทั่วไป สมองมนุษย์สมัยใหม่มีปริมาตร 1,400 ซม.3 กว่าสองเท่าของขนาดสมองชิมแปนซีหรือกอริลลา รูปแบบของการเจริญเติบโตของสมองมนุษย์หลังเกิดแตกต่างจากรูปแบบที่พบในลิงไม่มีหางอื่น และเอื้อให้ระยะการเรียนรู้ทางสังคมและการได้มาซึ่งภาษายืดยาวไปในมนุษย์วัยแรกรุ่น นักมานุษยกายวิภาคศาสตร์แย้งว่า ข้อแตกต่างระหว่างโครงสร้างสมองของมนุษย์กับสมองของลิงไม่มีหางอื่นนั้นกระทั่งสำคัญกว่าข้อแตกต่างด้านขนาดเสียอีก[25][26]

การเปลี่ยนแปลงทางกายสัณฐานวิทยาที่สำคัญอื่น มีวิวัฒนาการของการยึดจับที่มีพลังและแม่นยำด้วยนิ้วหัวแม่มือ[27] ระบบบดเคี้ยวที่ลดลง การลดจำนวนฟันเขี้ยว และการเลื่อนต่ำลงมาของกล่องเสียงและกระดูกไฮออยด์ ทำให้มนุษย์สามารถพูดได้ การเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาที่สำคัญอย่างหนึ่งในมนุษย์ คือ วิวัฒนาการของการปิดการตกไข่ ซึ่งอาจเกิดขึ้นใกล้เคียงกับวิวัฒนาการการเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรมที่สำคัญ เช่น การมีคู่ครอง การเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรมที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือ พัฒนาการของวัฒนธรรมวัตถุ ด้วยวัตถุที่มนุษย์สร้างขึ้นเริ่มมีมากขึ้นและหลากหลายขึ้นตามเวลา ความสัมพันธ์ระหว่างการเปลี่ยนแปลงทั้งหมดเหล่านี้เป็นหัวข้อถกเถียงที่กำลังดำเนินต่อไป[28][29]

อำนาจแห่งการคัดเลือกโดยธรรมชาติยังมีผลต่อประชากรมนุษย์อยู่ต่อไป โดยมีหลักฐานว่าจีโนมบางบริเวณแสดงการคัดเลือกที่เกิดขึ้นในทิศทางเดียวในช่วง 15,000 ปีที่ผ่านมา[30]

ลิงไม่มีหางต่างมีบรรพบุรุษร่วมกัน

เผ่าพันธุ์มนุษย์

ปัจจุบัน มนุษย์ถูกจัดอยู่ในสปีชีส์เดียวกัน คือ Homo sapiens sapiens นักมานุษยวิทยาแบ่งมนุษย์ออกเป็น 5 เผ่าพันธุ์ คือ

  1. ออสเตรลอยด์ (australoids) ศีรษะยาว จมูกแบน ผมเป็นลอน ขนตามตัวมาก ผิวดำ ได้แก่คนพื้นเมืองของออสเตรเลีย(อะบอริจิน) และเกาะแทสมาเนีย
  2. คอเคซอยด์ (caucasoids) จมูกโด่ง ผมเป็นลอน หนวดเคราดก ผมยาว ผิวสีอ่อน ดำรงชีวิตอยูในเขตอบอุ่น คือยุโรป เมดิเตอเรียเนียน (mediteraneans) ยุโรปเหนือ (nordics) และพวกยุโรปกลางต่อไปยังรัสเซีย (alpines)
  3. มองโกลอยด์ (mongoloids) ศีรษะกว้าง จมูกแก้มเป็นโหนก ผมแข็งเหยียดตรง จมูกไม่โด่งมาก ผิวเหลืองหรือแดง หนวดเคราและขนตามร่างกายมีน้อย mongoloids อาศัยอยู่ตามเอเชียตะวันออก เอสกิโม (eskimo) คนไทย และอินเดียนในอเมริกา (american indians)
  4. นิกรอยด์ (negroids) ศีรษะยาวจมูกกว้าง ริมฝีปากหนา ผิวดำ ผมหยิก ไอคิวเฉลี่ยสมัยนี้ก้าวหน้าดีกว่าเผ่าพันธุ์อื่น อาศัยอยู่ในป่าเขตร้อนคองโก (african negroes) คนป่าซูลู (zulu) เผ่าแคฟเฟอร์ (kaffir) คนผิวดำตามมหาสมุทรแปซิฟิกของนิวกินี (oceanic negroes new guinea)
  5. ปิกมี่ (pygmies) เป็นคนแคระสูงไม่ถึง 145 ซม ศีรษะกว้าง จมูกกว้าง อาศัยอยู่ในป่าเขตร้อนของคองโก (congo) และชามอด (chamod)

วิวัฒนาการของอารยธรรมมนุษย์

มนุษย์มีวิถีชีวิตโดยการล่า และเก็บหาอาหาร จนกระทั่งเมื่อประมาณ 10,000 ปีที่แล้วมนุษย์เริ่มรวมกันอยู่เป็นกลุ่มเล็ก ซึ่งเป็นวิถีชีวิตที่เกิดจากการพัฒนาความรู้ในการทำการเกษตร และการเลี้ยงสัตว์เพื่อผลิตอาหารให้พอเพียงต่อการดำรงชีวิต เมื่อปริมาณอาหารมากพอสำหรับทุกคนที่มาอยู่ร่วมกันเป็นกลุ่ม รวมถึงการมีอาหารส่วนเกินซึ่งสามารถสำรองไว้เพื่อรอการเก็บเกี่ยวผลผลิตในครั้งต่อ ๆ ไป ทำให้มนุษย์สามารถมีเวลาสำหรับการสร้างที่อยู่อาศัยและตั้งถิ่นฐานแบบถาวร และไม่จำเป็นต้องต้องมีชีวิตโดยการเร่ร่อนล่าสัตว์และเก็บหาอาหารอีกต่อไป การเกษตรจึงเรียกได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นในการสร้าง อารยธรรม ของมนุษย์ และเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้เกิดการร่วมมือกัน, การค้าขาย และเป็นจุดเริ่มต้นในการพัฒนาไปสู่สังคมที่มีความซับซ้อนมากขึ้น

เมื่อประมาณ 6,000 ปีที่แล้ว มนุษย์ได้พัฒนารัฐแห่งแรกขึ้นซึ่งทำให้เกิดอารยธรรมในดินแดนที่เรียกว่าเมโสโปเตเมีย, ลุ่มแม่น้ำซาฮารา/ไนล์ และอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ รัฐเหล่านี้มีการจัดรูปแบบการบริหารการปกครองโดยรัฐบาล และจัดกำลังทางการทหารเพื่อการป้องกัน มีการร่วมมือกันและแข่งขันกันระหว่างรัฐต่าง ๆ เพื่อได้ทรัพยากร ซึ่งในบางกรณีก็ถึงขั้นทำสงครามระหว่างกัน เมื่อประมาณ 2,000-3,000 ปีที่แล้ว บางรัฐเช่น เปอร์เซีย, อินเดีย, จีน, โรม, และกรีซ เป็นรัฐแรก ๆ ที่ประสบความสำเร็จจากการขยายดินแดนและพัฒนาตัวเองจากรัฐจนกลายเป็นอาณาจักร

ในช่วงเวลาตอนปลายของยุคกลางได้เกิดการปฏิวัติทางความคิดและเทคโนโลยี สังคมเมืองที่ก้าวหน้าในประเทศจีนได้เป็นปัจจัยที่ช่วยให้เกิดนวัตกรรมและความรู้ใหม่ ๆ เช่นการหว่านเมล็ดพืชและการพิมพ์ ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ได้สร้างยุคทองหรือยุคฟื้นฟูศิลปะวิทยาการของอิสลามให้กับอาณาจักรมุสลิม การกลับมาค้นพบความรู้ในยุคคลาสสิคของยุโรปและการประดิษฐ์แท่นพิมพ์นำไปสู่การฟื้นฟูศิลปะวิทยาการในศตวรรษที่ 14 และในระยะเวลา 500 ปีต่อมาเป็นยุคแห่งการเดินทางสำรวจและสร้างอาณานิคม จนกระทั่งดินแดนส่วนใหญ่ในทวีปอเมริกา, เอเซีย, และแอฟริกาอยู่ภายใต้การควบคุมและครอบครองโดยชาวยุโรป และนำไปสู่การดิ้นรนเพื่ออิสรภาพ การปฏติวัติทางวิทยาศาสตร์ในศตวรรษที่ 17 และการปฏิวัติอุตสาหกรรมในศตวรรษที่ 18-19 ก่อให้เกิดนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงรูปแบบการเดินทางการขนส่งครั้งใหญ่ เช่นทางรถไฟ, ถนน, และรถยนต์ ทำให้มนุษย์สามารถเดินทางได้ในระยะเวลาที่เร็วขึ้นมาก ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญอันหนึ่งที่ทำให้มนุษย์สามารถรวมกลุ่มกันได้ง่ายขึ้น และเป็นการเปลี่ยนแปลงทางอาชีพครั้งใหญ่จากการทำการเกษตรกรรมไปสู่การทำงานในโรงงานอุตสาหกรรม ตลอดจนเกิดขึ้นของอาชีพบริการเพื่อรองรับระบบสังคมเมืองและจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว มีการพัฒนาทางพลังงาน เช่นไฟฟ้าและถ่านหิน และมีการพัฒนารูปแบบการปกครองเช่น ประชาธิปไตยและสังคมนิยม

จากการเปลี่ยนแปลงทางสังคม การพัฒนาทางเทคโนโลยีในช่วงปลายศตวรรษที่ 20 เป็นการเริ่มต้นของยุคข้อมูลข่าวสารหรือสารสนเทศ มนุษย์สมัยใหม่มีชีวิตในโลกที่ทุกสถานที่สามารถรับรู้ข่าวสารความเคลื่อนไหวของทั่วทุกที่ในโลกไปพร้อมๆ กัน และทุกที่เชื่อมต่อถึงกันโดยมีเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นปัจจัยหลัก มีการประมาณไว้ว่าในปี 2008 มีมนุษย์มากกว่า 1,400 ล้านคนเชื่อมต่อถึงกันโดยผ่านอินเตอร์เนท[31] และ 3,300 ล้านคนใช้บริการจากเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่[32]

ถึงแม้ว่าการเชื่อมต่อถึงกันระหว่างมนุษย์ช่วยให้เกิดการเติบโตทางวิทยาศาสตร์ ศิลปะ การสนทนา และเทคโนโลยี แต่ก็เกิดการปะทะกันของวัฒนธรรม เกิดการพัฒนาและการใช้อาวุธสำหรับการทำลายกลุ่มคนจำนวนมาก และเกิดการเพิ่มขึ้นของมลพิษและการทำลายสิ่งแวดล้อม ผลกระทบที่เกิดขึ้นไม่เพียงเป็นปัญหาต่อมนุษย์เท่านั้น แต่ยังรวมถึงสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นบนโลกด้วย

ชีววิทยา

กายภาพและพันธุกรรม

มนุษย์มีลักษณะร่างกายที่แตกต่างกันไม่มาก ถึงแม้ว่าขนาดของร่างกายจะถูกกำหนดโดยยีน ยังมีปัจจัยอื่นที่ส่งผลต่อร่างกายเช่นการออกกำลังกายและโภชนาการ ความสูงเฉลี่ยของมนุษย์โตเต็มวัยอยู่ที่ประมาณ 1.5 ถึง 1.8 เมตร ค่าเฉลี่ยนี้มีความแตกต่างกันในแต่ละพื้นที่[33][34] น้ำหนักโดยเฉลี่ยคือ 76-83 กิโลกรัมสำหรับผู้ชาย และ 54-64 กิโลกรัมสำหรับผู้หญิง[35] น้ำหนักสามารถแตกต่างกันได้มากโดยมีปัจจัยเช่นความอ้วน มนุษย์ไม่เหมือนสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมประเภทอื่นตรงที่มนุษย์มีสองเท้าที่สามารถใช้เคลื่อนไหวร่างกายได้อย่างอิสระ ดังนั้นจึงสามารถใช้สองแขน (สองมือ) ที่เหลือในการทำงานกับวัตถุหรือเครื่องมือชนิดต่างๆ โดยมีนิ้วโป้งที่ยื่นออกไปทางด้านข้างช่วยประคอง

วงจรหรือวัฏจักรชีวิต

มนุษย์สืบพันธุ์โดยอาศัยเพศหรือ เรียกว่า การร่วมเพศ ระหว่างผู้ชายและผู้หญิง ซื่งการร่วมเพศฝ่ายชายจะปล่อยอสุจิเข้าสู่มดลูกของฝ่ายหญิงเพื่อปฏิสนธิกับไข่ และก่อกำเนิดเป็นตัวอ่อนมนุษย์ มนุษย์ใช้เวลาตั้งท้องประมาณ 9 เดือน และคลอดออกมาสู่โลกภายนอก

มนุษย์พัฒนาทางกายภาพแบ่งเป็นช่วงต่างๆ คือ ช่วงวัยทารก ช่วงวัยเด็ก ช่วงวัยรุ่น ช่วงวัยผู้ใหญ่ และ ช่วงวัยชรา

อาหาร

มนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่กินอาหารได้ทั้งจากพืชและสัตว์ ลักษณะของอาหารมีความหลากหลายและแตกต่างกันในแต่ละภูมิภาคหรือถิ่นที่อยู่อาศัย และยังขึ้นอยู่กันลักษณะของวัฒนธรรมและธรรมเนียมทางศาสนา มีมนุษย์ที่กินเฉพาะพืชไปจนมนุษย์ที่กินเฉพาะเนื้อสัตว์

โดยทั่วไปมนุษย์สามารถอยู่รอดได้โดยปราศจากอาหารได้นานสองถึงแปดสัปดาห์โดยขึ้นอยู่กับไขมันที่สะสมอยู่ในร่างกาย การอยู่รอดโดยปราศจากน้ำจะจำกัดอยู่ที่สามถึงสี่วัน การขาดอาหารยังคงเป็นปัญหารุนแรงสำหรับมนุษย์โดยมีมนุษย์ประมาณ 300,000 คนต้องขาดอาหารจนถึงแก่ความตายในแต่ละปี เด็กขาดสารอาหารเป็นปัญหาที่พบได้โดยทั่วไปและยังต้องรับภาระเสี่ยงต่อการมีโรคต่างๆ แม้ว่าการกระจายอาหารจะไม่ทั่วถึงทั้งโลก แต่มีการเกิดขึ้นของโรคอ้วนกับประชากรส่วนมากในบางประเทศโดยเฉพาะประเทศที่พัฒนาแล้ว ซึ่งเกิดจากการได้รับปริมาณแคลอรี่มากกว่าปริมาณที่ใช้ไป โดยน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นนั้นมาจากการกินมากเกินไปและขาดการออกกำลังกาย

จิตวิทยา

สมองมนุษย์คือศูนย์กลางของระบบประสาทในร่างกายมนุษย์ สมองทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางการควบคุมระบบประสาทและอวัยวะส่วนต่างๆ ของร่างกาย
นอกจากนี้ สมองมนุษย์ยังเป็นตัวการที่ทำให้ทุกสิ่งก่อกำเนิดขึ้น เป็นผลมาจากการที่มนุษย์ใช้สมองรับรู้ คิด และจินตนาการ รวมทั้งเปลี่ยนสภาพแวดล้อมรอบตน อาจกล่าวได้ว่า หากไม่มีมนุษย์จะไม่มีทุกอย่างที่เราสามารถมองเห็น เพราะมนุษย์เป็นผู้สัมผัสและทำให้มันเกิดและมีอยู่ในสายตาของมนุษย์เอง[36]

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1. Global Mammal Assessment Team (2008). Homo sapiens. In: IUCN 2009. IUCN Red List of Threatened Species. Version 2009.2. <www.iucnredlist.org>. Downloaded on 03 March 2010.
  2. "Human Evolution by The Smithsonian Institution's Human Origins Program". Human Origins Initiative. Smithsonian Institution. สืบค้นเมื่อ 2010-08-30.
  3. Dependent Rational Animals: Why Human Beings Need the Virtues By Alasdair MacIntyre pp. 60, "But this [language] is insufficient for human rationality, What is needed in addition is the ability to construct sentences that contain as constituents either the sentences use to express the judgment about which the agent is reflecting, or references to those sentences."
  4. John McDowell, Mind and World, 1994. p.115, Harvard University Press, (quoted in Dependent Rational Animals, by Alasdair MacIntyre): "In mere animals, sentience is in the service of a mode of life that is structured exclusively by immediate biological imperatives" [..] "merely animal life is shaped by goals whose control of the animal's behavior at a given moment is an immediate outcome of biological forces"
  5. The Really Hard Problem:Meaning in a Material World, Owen Flanagan, MIT Press
  6. Dependent Rational Animals: Why Human Beings Need the Virtues By Alasdair MacIntyre pp. 60, "Those who have wanted to draw a single sharp line between human and nonhuman animals have commonly laid emphasis upon the presence or absence of language as such, the ability to use and to respond to strings of syntactically ordered and semantically significant expressions whose utterance constitutes speech acts. But this is insufficient for human rationality. What is needed in addition.."
  7. Nature vs. Nurture: The Miracle of Language, by Malia Knezek. "What about the fact that other animals do not have similar language capabilities? [..] This obviously involves some innate difference between humans and other animals.. [..] ..other animals do not use any other form of language (i.e. sign language) even though they have the physiological capabilities." citing, Andy Clark. Being There: Putting Brain, Body, and World Together Again. The MIT Press, 1997. 208-209).
  8. Roberts, Sam (31 October 2011). "U.N. Reports 7 Billion Humans, but Others Don't Count on It". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 2011-11-07.
  9. Human evolution: the fossil evidence in 3D, by Philip L. Walker and Edward H. Hagen, Dept. of Anthropology, University of California, Santa Barbara. Retrieved April 5, 2005.
  10. Green, Richard E.; Krause, Johannes; Ptak, Susan E.; Briggs, Adrian W.; Ronan, Michael T.; Simons, Jan F.; Du, Lei; Egholm, Michael; Rothberg, Jonathan M.; Paunovic, Maja; Pääbo, Svante (2006). "Analysis of one million base pairs of Neanderthal DNA". Nature. 444 (7117): 16, 330–336. doi:10.1038/nature05336. PMID 17108958.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  11. Mitchell, Alanna (January 30, 2012). "DNA Turning Human Story Into a Tell-All". NYTimes. สืบค้นเมื่อ 2012-02-13.
  12. "Press Release 05-024: New Clues Add 40,000 Years to Age of Human Species". US National Science Foundation (NSF). January 13, 2006. สืบค้นเมื่อ 2012-02-13.
  13. "Age of ancient humans reassessed". BBC News. February 16, 2005. สืบค้นเมื่อ 2012-02-13.
  14. "The Oldest Homo Sapiens: Fossils Push Human Emergence Back To 195,000 Years Ago". ScienceDaily. February 23, 2005. สืบค้นเมื่อ 2012-02-13.
  15. Alemseged, Z.; Coppens, Y.; Geraads, D. (2002). "Hominid cranium from Homo: Description and taxonomy of Homo-323-1976-896". American Journal of Physical Anthropology. 117 (2): 103–112. doi:10.1002/ajpa.10032. PMID 11815945.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  16. Stoneking, Mark; Soodyall, Himla (1996). "Human evolution and the mitochondrial genome". Current Opinion in Genetics & Development. 6 (6): 731–736. doi:10.1016/S0959-437X(96)80028-1.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  17. Gill, Victoria (May 1, 2009). "Africa's genetic secrets unlocked". BBC News.; the results were published in the online edition of the journal Science.
  18. Wood, Bernard; Richmond, Brian G. (2000). "Human evolution: taxonomy and paleobiology". Journal of Anatomy. 197 (1): 19–60. doi:10.1046/j.1469-7580.2000.19710019.x. PMC 1468107. PMID 10999270.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  19. de Waal, Frans (1997). Bonobo. Berkeley: University of California Press. ISBN 0-520-20535-9.
  20. Britten, Roy J. (2002). "Divergence between samples of chimpanzee and human DNA sequences is 5%, counting indels". Proceedings of the National Academy of Sciences USA. 99 (21): 13633–13635. doi:10.1073/pnas.172510699. PMC 129726. PMID 12368483.
  21. Wildman, D.; Uddin, M.; Liu, G.; Grossman, L.; Goodman, M. (2003). "Implications of natural selection in shaping 99.4% nonsynonymous DNA identity between humans and chimpanzees: enlarging genus Homo". Proceedings of the National Academy of Sciences USA. 100 (12): 7181–7188. doi:10.1073/pnas.1232172100. PMC 165850. PMID 12766228.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  22. Ruvolo, Maryellen (1997). "Molecular phylogeny of the hominoids: inferences from multiple independent DNA sequence data sets". Molecular Biology and Evolution. 14 (3): 248–265. PMID 9066793.
  23. Brunet, M.; Guy, F.; Pilbeam, D.; Mackaye, H.; Likius, A.; Ahounta, D.; Beauvilain, A.; Blondel, C.; Bocherens, H.; Boisserie, J.; De Bonis, L.; Coppens, Y.; Dejax, J.; Denys, C.; Duringer, P.; Eisenmann, V.; Fanone, G.; Fronty, P.; Geraads, D.; Lehmann, T.; Lihoreau, F.; Louchart, A.; Mahamat, A.; Merceron, G.; Mouchelin, G.; Otero, O.; Pelaez Campomanes, P.; Ponce De Leon, M.; Rage, J.; Sapanet, M.; Schuster, M.; Sudre, J.; Tassy, P.; Valentin, X.; Vignaud, P.; Viriot, L.; Zazzo, A.; Zollikofer, C. (2002). "A new hominid from the Upper Miocene of Chad, Central Africa". Nature. 418 (6894): 145–151. doi:10.1038/nature00879. PMID 12110880.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  24. Vančata1 V.; Vančatová, M.A. (1987). "Major features in the evolution of early hominoid locomotion". Human Evolution. 2 (6): 517–537. doi:10.1007/BF02437426.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  25. Park, Min S.; Nguyen, Andrew D.; Aryan, Henry E.; U, Hoi Sang; Levy, Michael L.; Semendeferi, Katerina (2007). "Evolution of the human brain: changing brain size and the fossil record". Neurosurgery. 60 (3): 555–562. doi:10.1227/01.NEU.0000249284.54137.32. PMID 17327801.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  26. Bruner, Emiliano (2007). "Cranial shape and size variation in human evolution: structural and functional perspectives" (PDF). Child's Nervous System. 23 (12): 1357–1365. doi:10.1007/s00381-007-0434-2. PMID 17680251.
  27. Brues, Alice M.; Snow, Clyde C. (1965). "Physical Anthropology". Biennial Review of Anthropology. 4: 1–39.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  28. Boyd, Robert; Silk, Joan B. (2003). How Humans Evolved. New York, New York: Norton. ISBN 0-393-97854-0.{{cite book}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  29. Dobzhansky, Theodosius (1963). "Anthropology and the natural sciences—the problem of human evolution". Current Anthropology. 4 (2): 138–148. JSTOR 2739837.
  30. Wade, Nicholas (March 7, 2007). "Still Evolving, Human Genes Tell New Story". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 2012-02-13.
  31. "www.internetworldstats.com/stats.htm". สืบค้นเมื่อ 2008-08-08.
  32. "www.investing.reuters.co.uk/news/articleinvesting.aspx?type=media&storyID=nL29172095". สืบค้นเมื่อ 2008-08-08.
  33. de Beer H (2004). "Observations on the history of Dutch physical stature from the late-Middle Ages to the present". Econ Hum Biol. 2 (1): 45–55. doi:10.1016/j.ehb.2003.11.001. PMID 15463992.
  34. "Pygmy." Britannica Concise Encyclopedia. Encyclopædia Britannica, Inc., 2006. Answers.com Accessed 30 Oct. 2006. http://www.answers.com/topic/pygmy
  35. Human weight - ArticleWorld
  36. หลักความคิดเบื้องต้นของมนุษย์, วิศววิท สายดำ

หนังสืออ่านเพิ่ม

  • Freeman, Scott; Jon C. Herron, Evolutionary Analysis (4th ed.) Pearson Education, Inc., 2007. ISBN 0-13-227584-8 pages 757–761.

แหล่งข้อมูลอื่น

แม่แบบ:Link FA แม่แบบ:Link FA แม่แบบ:Link GA