ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โรคอัลไซเมอร์"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Drgarden (คุย | ส่วนร่วม)
Drgarden (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 846: บรรทัด 846:
[[ไฟล์:TANGLES HIGH.jpg|right|thumb|ในโรคอัลไซเมอร์ การเปลี่ยนแปลงของโปรตีนเทา (tau protein) ทำให้เกิดการสลายของไมโครทิวบูลในเซลล์สมอง]]
[[ไฟล์:TANGLES HIGH.jpg|right|thumb|ในโรคอัลไซเมอร์ การเปลี่ยนแปลงของโปรตีนเทา (tau protein) ทำให้เกิดการสลายของไมโครทิวบูลในเซลล์สมอง]]


นอกจากการสะสมของพลากแล้ว โรคอัลไซเมอร์ยังเกิดการรวมกลุ่มผิดปกติของ[[โปรตีนเทา]] (tau protein) เซลล์ประสาททุกเซลล์จะมี[[ไซโทสเกเลตอน]] (cytoskeleton) หรือโครงเซลล์ที่ค้ำจุนภายใน ซึ่งบางส่วนประกอบด้วย[[ไมโครทิวบูล]] (microtubules) ไมโครทิวบูลนี้จะทำหน้าที่เหมือนรางรถไฟกล่าวคือเป็นเส้นทางลำเลียงสารอาหารและโมเลกุลจากตัวเซลล์ไปยังปลาย[[แอกซอน]] (axon) หรือแกนประสาทและนำกลับเข้ามาในทางกลับกัน โปรตีนที่ชื่อว่า ''[[เทา (อักษรกรีก)|เทา]]'' (tau; Τ) ทำหน้าที่ช่วยให้ไมโครทิวบูลเสถียรหลังเกิด[[ปฏิกิริยาฟอสโฟรีเลชั่น]] จึงเรียกโปรตีนเทาว่าเป็น [[Microtubule-associated protein]] (MAPs) ในผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์โปรตีนเทา
นอกจากการสะสมของพลากแล้ว โรคอัลไซเมอร์ยังเกิดการรวมกลุ่มผิดปกติของ[[โปรตีนเทา]] (tau protein) เซลล์ประสาททุกเซลล์จะมี[[ไซโทสเกเลตอน]] (cytoskeleton) หรือโครงเซลล์ที่ค้ำจุนภายใน ซึ่งบางส่วนประกอบด้วย[[ไมโครทิวบูล]] (microtubules) ไมโครทิวบูลนี้จะทำหน้าที่เหมือนรางรถไฟกล่าวคือเป็นเส้นทางลำเลียงสารอาหารและโมเลกุลจากตัวเซลล์ไปยังปลาย[[แอกซอน]] (axon) หรือแกนประสาทและนำกลับเข้ามาในทางกลับกัน โปรตีนที่ชื่อว่า ''[[เทา (อักษรกรีก)|เทา]]'' (tau; Τ) ทำหน้าที่ช่วยให้ไมโครทิวบูลเสถียรหลังเกิด[[ปฏิกิริยาฟอสโฟรีเลชั่น]] จึงเรียกโปรตีนเทาว่าเป็น [[Microtubule-associated protein]] (MAPs) ในผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์โปรตีนเทาจะเกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมี คือมีปฏิกิริยาฟอสโฟรีเลชั่นมากกว่าปกติ ทำให้โปรตีนจับคู่กันเกิดเป็น ''นิวโรไฟบริลลารี แทงเกิล'' (neurofibrillary tangles) และรบกวนระบบการขนส่งของเซลล์ประสาท<ref name="pmid17604998">{{cite journal
| author = Hernández F, Avila J
| title = Tauopathies
| journal = Cell. Mol. Life Sci.
| volume = 64
| issue = 17
| pages = 2219–33
| year = 2007
| month = September
| pmid = 17604998
| doi = 10.1007/s00018-007-7220-x
}}</ref>


== การบำบัด ==
== การบำบัด ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 01:10, 21 กุมภาพันธ์ 2552

โรคอัลไซเมอร์
(Alzheimer's disease)
แผนภาพเปรียบเทียบระหว่างสมองของผู้สูงอายุปกติ (ซ้าย) และสมองผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ (ขวา)
บัญชีจำแนกและลิงก์ไปภายนอก
ICD-10G30, F00
ICD-9331.0, 290.1
OMIM104300
DiseasesDB490
MedlinePlus000760
eMedicineneuro/13
MeSHD000544

โรคอัลไซเมอร์ หรือ โรคอัลซไฮเมอร์ (อังกฤษ: Alzheimer's disease; AD) เป็นภาวะสมองเสื่อมที่พบได้บ่อยที่สุด โรคนี้ค้นพบเมื่อ พ.ศ. 2449 (ค.ศ. 1906) โดยจิตแพทย์ชาวเยอรมันชื่อว่า อาลอยส์ อัลซไฮเมอร์ (Alois Alzheimer) โรคนี้จัดเป็นโรคความเสื่อมที่รักษาไม่หายและจัดเป็นอาการป่วยระยะสุดท้าย โดยทั่วไปแล้วสามารถวินิจฉัยโรคอัลไซเมอร์ได้ในผู้ป่วยอายุมากกว่า 65 ปี[1] แต่ก็พบโรคอัลไซเมอร์ชนิดหนึ่งคือ โรคอัลไซเมอร์ชนิดเกิดเร็ว (early-onset Alzheimer's) ซึ่งเกิดในคนอายุน้อยแต่มีความชุกน้อยกว่า ประมาณการณ์ว่าในปี พ.ศ. 2549 มีประชากรราว 26.6 ล้านคนทั่วโลกที่ป่วยเป็นโรคอัลไซเมอร์ และจะเพิ่มขึ้นถึง 4 เท่าใน พ.ศ. 2593[2]

ถึงแม้ผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์แต่ละคนจะมีอาการแตกต่างกันออกไป แต่ก็มีอาการที่พบร่วมกันหลายประการ[3] อาการแรกสุดที่พบคือความเครียด ซึ่งมักจะเข้าใจผิดว่าเป็นอาการที่เกิดขึ้นเองตามอายุ[4] อาการที่พบในระยะแรกคือการสูญเสียความจำ เช่นพยายามจำข้อมูลที่เรียนรู้เมื่อไม่นานมานี้ไม่ได้ เมื่อแพทย์สงสัยว่าผู้ป่วยเป็นโรคอัลไซเมอร์จะยืนยันการวินิจฉัยโดยการประเมินพฤติกรรมและทดสอบการรับรู้ และมักตามด้วยการสแกนสมอง[5] เมื่อโรคดำเนินไประยะหนึ่งผู้ป่วยจะมีอาการสับสน หงุดหงิดง่ายและก้าวร้าว อารมณ์แปรปรวน เสียความสามารถทางภาษา สูญเสียความทรงจำระยะยาว และเพิกเฉยต่อสิ่งต่างๆ เนื่องจากผู้ป่วยเสียการรับความรู้สึก[4][6] และต่อมาจะสูญเสียการทำงานต่างๆ ของร่างกาย และเสียชีวิตในที่สุด[7] การพยากรณ์โรคในผู้ป่วยแต่ละรายนั้นทำได้ยากเนื่องจากระยะเวลาของโรคมีความหลากหลาย การดำเนินโรคของโรคนี้จะมีช่วงระยะเวลาที่ไม่แสดงอาการแน่ชัดก่อนจะปรากฏอาการชัดเจน การคาดหมายคงชีพหลังได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคอัลไซเมอร์โดยเฉลี่ยอยู่ประมาณ 7 ปี[8] มีผู้ป่วยน้อยกว่าร้อยละ 3 ที่มีชีวิตอยู่ได้มากกว่า 14 ปีหลังได้รับการวินิจฉัย[9]

สาเหตุและการดำเนินโรคของโรคอัลไซเมอร์ยังไม่เป็นที่เข้าใจดีนักในปัจจุบัน งานวิจัยบ่งชี้ว่าโรคนี้มีความสัมพันธ์กับโครงสร้างคล้ายคราบในสมองที่เรียกว่า พลาก (plaque) และแทงเกิล (tangle) [10] การรักษาในปัจจุบันช่วยเกี่ยวกับอาการของโรคเพียงเล็กน้อย แต่ยังไม่มีการรักษาที่ช่วยชะลอหรือหยุดการดำเนินโรคอย่างแท้จริง ในปี พ.ศ. 2551 มีการทดลองทางคลินิกมากกว่า 500 งานวิจัยเพื่อทดสอบความเป็นไปได้ในการรักษาโรคอัลไซเมอร์แต่ก็ยังไม่มีงานวิจัยใดที่สรุปว่าประสบความสำเร็จ[11] แม้มีวิธีต่างๆ มากมายที่เชื่อว่าป้องกันโรคอัลไซเมอร์แต่ก็ยังไม่ได้รับการพิสูจน์ว่าช่วยชะลอการดำเนินโรคและลดความรุนแรงของโรคได้ แต่แนวทางแนะนำที่เชื่อว่าจะช่วยป้องกันและจัดการโรคได้นั้นคือการกระตุ้นทางจิตใจ (Mental stimulation) การออกกำลังกาย และรับประทานอาหารครบทุกหมู่[12]

เนื่องจากโรคอัลไซเมอร์เป็นโรคความเสื่อมที่รักษาไม่หาย การจัดการผู้ป่วยจึงนับเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง โดยเฉพาะบทบาทของผู้ดูแลซึ่งมักจะเป็นคู่สมรสหรือญาติใกล้ชิด[13] เป็นที่รับรู้ว่าโรคอัลไซเมอร์นั้นสร้างภาระให้แก่ผู้ดูแลอย่างมาก ทั้งในทางกายสังคม ทางจิต ทางสังคมและเศรษฐกิจ[14][15][16] ในประเทศกำลังพัฒนาโรคนี้นับเป็นหนึ่งในโรคที่ก่อค่าใช้จ่ายทางเศรษฐกิจต่อสังคมมากที่สุด[17][18]

อาการ

ลำดับการดำเนินโรคอัลไซเมอร์แบ่งออกเป็น 4 ระยะ โดยมีลักษณะของความบกพร่องของหน้าที่และการรับรู้ที่แย่ลงเรื่อยๆ

ระยะก่อนสมองเสื่อม

ในระยะก่อนสมองเสื่อม (Predementia) อาการแรกสุดมักจะเข้าในผิดว่าเกิดขึ้นเองจากความชรา หรือเกิดจากภาวะเครียด[4] การทดสอบทางประสาทจิตวิทยาแสดงความบกพร่องทางการรับรู้เล็กน้อยซึ่งกินเวลาถึง 8 ปีกว่าที่ผู้ป่วยจะมีลักษณะครบตามเกณฑ์การวินิจฉัยโรคอัลไซเมอร์[19] อาการเริ่มแรกจะมีผลกระทบต่อชีวิตประจำวันที่ซับซ้อนส่วนใหญ่[20] ความบกพร่องที่เห็นชัดคือการสูญเสียความจำ คือพยายามจำข้อมูลที่เรียนรู้เมื่อไม่นานมานี้ไม่ได้และไม่สามารถรับข้อมูลใหม่ๆ ได้[21][22] ปัญหาเกี่ยวกับหน้าที่การบริหารจัดการ อาทิความใส่ใจต่อสิ่งหนึ่งๆ การวางแผน, ความยืดหยุ่น และความคิดเชิงนามธรรม หรือความบกพร่องของความจำเชิงอรรถศาสตร์ (การจำความหมายและความสัมพันธ์เชิงแนวคิด เช่น ปลาวาฬเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม แอปเปิลมีสีแดง เป็นต้น) อาจปรากฏอาการได้ในโรคอัลไซเมอร์ระยะแรก[23][24] อาจพบภาวะไร้อารมณ์ (apathy) ได้ในระยะนี้และจะเป็นอาการที่คงปรากฏอยู่ตลอดทุกระยะเวลาการดำเนินโรค[25][26][27] ในระยะก่อนแสดงอาการทางคลินิกนี้อาจเรียกอีกอย่างว่า ความบกพร่องทางการรับรู้เล็กน้อย (mild cognitive impairment) [28] แต่ก็ยังคงเป็นที่ถกเถียงกันว่าชื่อดังกล่าวเป็นโรคหนึ่งซึ่งได้รับการวินิจฉัยต่างหากหรือเป็นเพียงระยะแรกของโรคอัลไซเมอร์[29]

สมองเสื่อมระยะแรก

ระยะสมองเสื่อมระยะแรก (Early dementia) ผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์จะมีความบกพร่องของความจำและการเรียนรู้จนสามารถวินิจฉัยอย่างแน่นอนได้ ผู้ป่วยบางส่วนมีอาการบกพร่องทางภาษา การบริหาร การกำหนดรู้ (ภาวะเสียการระลึกรู้ (agnosia)) หรือการจัดการเคลื่อนไหว (ภาวะเสียการรู้ปฏิบัติ (apraxia)) เด่นกว่าการสูญเสียความทรงจำ[30] โรคอัลไซเมอร์ไม่ได้มีผลกระทบต่อความจำทั้งหมดเท่าๆ กัน แต่ความทรงจำระยะยาวที่เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเฉพาะตัวของผู้ป่วย (ความจำเชิงเหตุการณ์ (episodic memory)) ความรู้ทั่วไป (ความจำเชิงอรรถศาสตร์ (semantic memory)) และความจำโดยปริยาย (implicit memory; ความจำของร่างกายว่าทำสิ่งต่างๆ อย่างไร เช่น การใช้ช้อนส้อมรับประทานอาหาร) ทั้งสามอย่างนี้จะได้รับผลกระทบน้อยกว่าความจำหรือความรู้ใหม่[31][32] ปัญหาทางภาษามีลักษณะเด่นคือการรวบคำให้สั้นและพูดหรือใช้ศัพท์ไม่ฉะฉานหรือคล่องเหมือนเดิม ซึ่งทำให้พูดหรือเขียนภาษาได้น้อยลง ในระยะนี้ผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ยังสามารถสื่อสารบอกความคิดพื้นฐานของตนได้[33][34][35] เมื่อผู้ป่วยมีการเคลื่อนไหวโดยละเอียด เช่น การเขียน การวาดภาพ หรือการแต่งตัว อาจพบความบกพร่องของการประสานการเคลื่อนไหวและการวางแผน (ภาวะเสียการรู้ปฏิบัติ) ทำให้ผู้ป่วยดูเงอะงะหรือซุ่มซ่าม[36] เมื่อโรคดำเนินต่อไปผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์มักสามารถทำงานหลายอย่างได้ด้วยตัวเองแต่อาจต้องอาศัยผู้ช่วยหรือผู้ดูแลในกิจกรรมที่ต้องอาศัยกระบวนการคิดหรือการรับรู้อย่างมาก[30]

สมองเสื่อมระยะปานกลาง

ระยะสมองเสื่อมระยะปานกลาง (Moderate dementia) จะพบความเสื่อมของสมองจนไม่สามารถทำกิจกรรมต่างๆ ได้ด้วยตนเอง[30] มีความบกพร่องด้านการพูดปรากฏชัดเจนเนื่องจากไม่สามารถนึกหาคำศัพท์ได้ ทำให้ใช้ศัพท์ผิดหรือใช้คำอื่นมาแทน (paraphasia) ทักษะการอ่านและการเขียนค่อยๆ เสียไปเรื่อยๆ[33][37] เมื่อเวลาผ่านไปการประสานงานเพื่อการเคลื่อนไหวที่ซับซ้อนจะลดลง ทำให้ไม่สามารถทำกิจกรรมในชีวิตประจำวันส่วนใหญ่ได้อย่างปกติ[38] ในระยะนี้ปัญหาความจำของผู้ป่วยจะแย่ลงเรื่อยๆ และผู้ป่วยไม่สามารถจำญาติสนิทของตนเองได้[39] ความทรงจำระยะยาวซึ่งแต่เดิมยังคงอยู่ก็จะค่อยๆ บกพร่องไป[40] และมีพฤติกรรมเปลี่ยนแปลง อาการแสดงที่พบบ่อยคือการหนีออกจากบ้าน ความรู้สึกผิดปกติ สับสนหรือเห็นภาพหลอนในเวลาโพล้เพล้หรือกลางคืน (sundowning) [41] หงุดหงิดโมโหง่าย และอารมณ์แปรปรวน เช่นร้องไห้ ก้าวร้าวอย่างไม่มีเหตุผล หรือดื้อต่อผู้ดูแล ประมาณร้อยละ 30 ของผู้ป่วยอาจมีอาการเชื่อว่าบุคคล สิ่งของ หรือสถานที่เปลี่ยนแปลงไป (เรียกว่ากลุ่มอาการ Delusional misidentification syndrome) และอาจมีอาการหลงผิดอื่นๆ[42][25] อาจมีอาการกลั้นปัสสาวะไม่ได้[43] อาการดังกล่าวทำให้เกิดความเครียดต่อผู้ดูแลหรือญาติ ซึ่งต้องตัดสินใจส่งผู้ป่วยไปยังสถานรับดูแลผู้ป่วยระยะยาวอื่นๆ เพื่อลดความเครียด[30][44]

สมองเสื่อมระยะสุดท้าย

ในระยะสมองเสื่อมระยะสุดท้าย (Advanced dementia) ผู้ป่วยต้องพึ่งพาผู้ดูแลตลอดเวลา ทักษะทางภาษาของผู้ป่วยลดลงแม้เพียงการพูดวลีง่ายๆ หรือคำเดี่ยวๆ จนกระทั่งไม่สามารถพูดได้เลย[33] แม้ว่าผู้ป่วยจะไม่สามารถพูดจาตอบโต้เป็นภาษาได้ แต่ผู้ป่วยมักสามารถเข้าใจคำพูดและตอบสนองกลับมาด้วยการแสดงอารมณ์[45] ถึงแม้ผู้ป่วยจะยังมีลักษณะก้าวร้าว แต่ลักษณะของภาวะไร้อารมณ์และอ่อนเพลียจะเด่นกว่า[30] ในที่สุดผู้ป่วยจะไม่สามารถทำกิจกรรมใดได้เลยหากขาดผู้ช่วยเหลือ มวลกล้ามเนื้อและการเคลื่อนไหวร่างกายลดลงจนผู้ป่วยต้องนอนนิ่งอยู่เฉยๆ[46] และไม่สามารถป้อนอาหารด้วยตนเองได้[47] และสุดท้ายผู้ป่วยจะเสียชีวิตจากปัจจัยภายนอกอื่นๆ โดยตรง อาทิ แผลกดทับหรือโรคปอดบวม แต่ไม่ได้เสียชีวิตจากตัวโรคโดยตรง[48][49]

สาเหตุ

ไฟล์:TAU HIGH.JPG
ภาพทางจุลทรรศน์ของนิวโรไฟบริลลารี แทงเกิล (neurofibrillary tangle) ซึ่งเกิดจากโปรตีนเทา (tau protein) ที่ถูกเติมหมู่ฟอสเฟตมากผิดปกติ

มีถึง 3 สมมติฐานหลักที่อธิบายสาเหตุของโรคอัลไซเมอร์ สมมติฐานที่เก่าที่สุดซึ่งยาที่ใช้รักษาในปัจจุบันส่วนมากยึดเป็นพื้นฐานนั้นคือ สมมติฐานโคลิเนอร์จิก (cholinergic hypothesis) ซึ่งเชื่อว่าโรคอัลไซเมอร์เกิดจากการลดการสังเคราะห์สารสื่อประสาทชนิดแอซิทิลโคลีน (acetylcholine) สมมติฐานดังกล่าวปัจจุบันไม่ได้รับการสนับสนุนเนื่องจากการให้ยาเพื่อรักษาการขาดแอซิทิลโคลีนโดยตรงไม่มีประสิทธิภาพในการรักษาโรคอัลไซเมอร์มากนัก ผลทางโคลิเนอร์จิกอื่นๆ ที่เสนอขึ้นมาเช่นเป็นตัวเริ่มต้นการสะสมของแอมีลอยด์ (amyloid) [50]ทำให้เกิดการอักเสบของสมองโดยทั่ว[51]

ในปี พ.ศ. 2534 (ค.ศ. 1991) มีการตั้ง สมมติฐานแอมีลอยด์ (amyloid hypothesis) ซึ่งเชื่อว่าการสะสมของแอมีลอยด์ บีตา (amyloid beta; Aβ) เป็นสาเหตุหลักของโรคอัลไซเมอร์[52][53] ทฤษฎีนี้เป็นที่น่าสนใจเนื่องจากยีนของสารตั้งต้นแอมีลอยด์ บีตา (amyloid beta precursor; APP) อยู่บนโครโมโซมคู่ที่ 21 และผู้ป่วยที่มีโครโมโซมคู่ที่ 21 เกินมา 1 แท่ง (ไตรโซมี 21 (trisomy 21)) หรือที่รู้จักกันว่ากลุ่มอาการดาวน์ (Down Syndrome) ซึ่งมียีนดังกล่าวมากกว่าปกติทั้งหมดล้วนแสดงอาการของโรคอัลไซเมอร์เมื่ออายุประมาณ 40 ปี[54][55] นอกจากนี้ ยีน APOE4 ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงทางพันธุกรรมของโรคอัลไซเมอร์ ทำให้เกิดการสร้างแอมีลอยด์ในสมองอย่างมากมายก่อนจะเกิดอาการของโรค ดังนั้นจึงเชื่อว่าการสะสมของ Aβ ทำให้เกิดอาการทางคลินิกของโรคอัลไซเมอร์[56] หลักฐานเพิ่มเติมจากการศึกษาในหนูดัดแปลงพันธุกรรมให้มีการกลายพันธุ์ของยีน human APP พบการสร้างแอมีลอยด์ปริมาณมากจนมีลักษณะเหมือนคราบในสมอง เรียกว่า แอมีลอยด์ พลาก (amyloid plaques) และพยาธิสภาพของสมองคล้ายโรคอัลไซเมอร์ ร่วมกับการสูญเสียการเรียนรู้เชิงพื้นที่ (spatial learning) [57] ในการทดลองขั้นต้นกับมนุษย์พบว่าวัคซีนป้องกันโรคอัลไซเมอร์ขั้นทดลองสามารถกำจัดแอมีลอยด์ พลากได้ แต่ไม่มีผลอย่างมีนัยสำคัญต่ออาการสมองเสื่อม[58]

มีข้อสังเกตพบว่าการสะสมของแอมีลอยด์ พลากไม่มีความสัมพันธ์กับการตายของเซลล์ประสาท[59] ซึ่งสนับสนุนสมมติฐานข้อที่สามคือ สมมติฐานโปรตีนเทา (tau hypothesis) ซึ่งเชื่อว่าความผิดปกติของโปรตีนเทา (tau protein) เป็นตัวริเริ่มให้เกิดความผิดปกติตามมาเป็นลำดับ[53] สมมติฐานนี้เชื่อว่าโปรตีนเทาที่ถูกเติมหมู่ฟอสเฟตมากผิดปกติ (hyperphosphorylated tau) จะจับคู่กับโปรตีนเทาปกติสายอื่นๆ เกิดเป็นนิวโรไฟบริลลารี แทงเกิล (neurofibrillary tangles) สะสมภายในตัวเซลล์ประสาท[60] ผลดังกล่าวทำให้ไมโครทิวบูลสลายตัว และทำลายระบบการขนส่งสารในเซลล์ประสาท[61] กระบวนการดังกล่าวทำให้เกิดความผิดปกติในการสื่อสารทางชีวเคมีระหว่างเซลล์ประสาท และทำให้เซลล์ตายในเวลาต่อมา[62]

พยาธิสรีรวิทยา

จุลพยาธิสภาพของซีไนล์ พลากในซีรีบรัล คอร์เท็กซ์ของผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ ย้อมด้วยเงิน

ประสาทพยาธิสภาพ

ลักษณะที่พบในโรคอัลไซเมอร์คือการสูญเสียเซลล์ประสาทและไซแนปส์ภายในซีรีบรัล คอร์เท็กซ์และบริเวณใต้คอร์เท็กซ์ของสมอง ทำให้เกิดการฝ่อของสมองบริเวณที่เป็นโรค ซึ่งรวมถึงการเสื่อมของกลีบขมับ (temporal lobe) และกลีบข้างขม่อม (parietal lobe) และส่วนหนึ่งของกลีบด้านหน้า (frontal cortex) และซิงกูเลต ไจรัส (cingulate gyrus) ของสมอง[51]

ภาพทางจุลทรรศน์สามารถพบทั้งแอมีลอยด์ พลาก (amyloid plaque) และนิวโรไฟบริลลารี แทงเกิล (neurofibrillary tangle) ในสมองผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์[10] พลากมีลักษณะเป็นโปรตีนแอมีลอยด์ บีตาและสารองค์ประกอบของเซลล์ที่หนาแน่นและมักเป็นตะกอนอยู่ภายนอกและรอบๆ เซลล์ประสาท ซึ่งจะเจริญไปเป็นตะกอนโปรตีนเส้นใยบิดเกลียวภายในเซลล์ประสาทที่เรียกว่า แทงเกิล (tangle) แม้ว่าสมองของผู้สูงอายุหลายคนอาจพบพลากและแทงเกิลในสมองได้บ้างเนื่องจากความชราแต่สมองของผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์จะพบปริมาณคราบดังกล่าวมากกว่าในบริเวณจำเพาะของสมอง อาทิบริเวณกลีบขมับ[63]

ชีวเคมี

เอนไซม์ทำปฏิกิริยากับโปรตีนต้นกำเนิดแอมีลอยด์ (amyloid precursor protein; APP) โดยตัดโปรตีนเป็นท่อนๆ ท่อนที่ชื่อว่า บีตา-แอมีลอยด์ (beta-amyloid) มีความสำคัญในการสร้างซีไนล์ พลาก (senile plaques) ในโรคอัลไซเมอร์

โรคอัลไซเมอร์จัดเป็นโรคจากความผิดปกติของการม้วนพับของโปรตีน (protein misfolding disease) เกิดจากการสะสมของแอมีลอยด์ บีตาและโปรตีนเทา (tau protein) ที่ม้วนพับผิดปกติภายในสมอง[64] พลากเกิดจากเปปไทด์ขนาดเล็กยาวประมาณ 39–43 กรดอะมิโน ชื่อว่าแอมีลอยด์ บีตา (Amyloid beta; อาจเขียนว่า A-beta หรือ Aβ) โดยแอมีลอยด์ บีตาเป็นชิ้นส่วนหนึ่งของโปรตีนต้นกำเนิดแอมีลอยด์ที่ชื่อว่า Amyloid precursor protein (APP) โปรตีนนี้เป็นทรานสเมมเบรนโปรตีน (transmembrane protein) ที่แทรกทะลุผ่านเยื่อหุ้มเซลล์ประสาท โปรตีน APP มีความจำเป็นต่อการเจริญเติบโต การดำรงชีวิต และการซ่อมแซมของเซลล์ประสาท[65][66] ในโรคอัลไซเมอร์จะมีการสลายโปรตีน (proteolysis) โดยตัด APP ออกเป็นชิ้นส่วนเล็กๆ ด้วยเอนไซม์[67] ชิ้นส่วนชิ้นหนึ่งที่เกิดขึ้นจะกลายเป็นเส้นใยแอมีลอยด์ บีตา ซึ่งจับตัวเป็นก้อนตกตะกอนหนาแน่นอยู่นอกเซลล์ประสาท เรียกว่า ซีไนล์ พลาก (senile plaques) [10][68]

ในโรคอัลไซเมอร์ การเปลี่ยนแปลงของโปรตีนเทา (tau protein) ทำให้เกิดการสลายของไมโครทิวบูลในเซลล์สมอง

นอกจากการสะสมของพลากแล้ว โรคอัลไซเมอร์ยังเกิดการรวมกลุ่มผิดปกติของโปรตีนเทา (tau protein) เซลล์ประสาททุกเซลล์จะมีไซโทสเกเลตอน (cytoskeleton) หรือโครงเซลล์ที่ค้ำจุนภายใน ซึ่งบางส่วนประกอบด้วยไมโครทิวบูล (microtubules) ไมโครทิวบูลนี้จะทำหน้าที่เหมือนรางรถไฟกล่าวคือเป็นเส้นทางลำเลียงสารอาหารและโมเลกุลจากตัวเซลล์ไปยังปลายแอกซอน (axon) หรือแกนประสาทและนำกลับเข้ามาในทางกลับกัน โปรตีนที่ชื่อว่า เทา (tau; Τ) ทำหน้าที่ช่วยให้ไมโครทิวบูลเสถียรหลังเกิดปฏิกิริยาฟอสโฟรีเลชั่น จึงเรียกโปรตีนเทาว่าเป็น Microtubule-associated protein (MAPs) ในผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์โปรตีนเทาจะเกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมี คือมีปฏิกิริยาฟอสโฟรีเลชั่นมากกว่าปกติ ทำให้โปรตีนจับคู่กันเกิดเป็น นิวโรไฟบริลลารี แทงเกิล (neurofibrillary tangles) และรบกวนระบบการขนส่งของเซลล์ประสาท[69]

การบำบัด

ผู้ที่ป่วยเป็นโรคอัลไซเมอร์มักจะไม่รู้ตัวเองว่าตัวเองป่วย ดังนั้นหากคนใกล้ชิดสังเกตเห็นความผิดปกติที่เข้าข่ายกับอาการข้างต้นควรนำไปพบแพทย์และให้ความร่วมมือด้วยดี

  • การดูแลอาการที่เกี่ยวกับกิจกรรมและการดำเนินชีวิตประจำวัน

ให้ผู้ได้ออกกำลังกายตามสมควร พาเข้าสังคมบ้าง ปล่อยให้ช่วยเหลือตนเอง พาไปเที่ยวเพื่อลดความเครียดและให้เกิดการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ

  • การช่วยเหลือเรื่องความจำที่บกพร่อง

การใช้ปฏิทินในเรื่องของวัน เวลา เขียนชื่อของที่จำเป็นในชีวิตประจำวันเพื่อไม่ให้ผู้ป่วยลืมของของตัวเอง

  • การติดต่อสื่อสารกับผู้ป่วย

เวลาสื่อสารกับผู้ป่วยให้สบตามองหน้าอย่างใกล้ชิด ให้พูดช้าๆ ชัดๆ ประโยคที่สั้นและเข้าใจง่าย พยายามเรียกชื่อผู้ป่วยเพื่อให้เกิดความรู้สึกสนิทกับผู้ป่วยและเป็นการเตือนความทรงจำของผู้ป่วยด้วยและพยายามชวนคุยเรื่องในอดีตลำดับเหตุการณ์มาจนถึงปัจจุบัน

การป้องกัน

อัลไซเมอร์เป็นโรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ การป้องกันตัวเองจึงเป็นหนทางหนึ่งที่หลีกเลี่ยงการป่วยจากโรคนี้ได้

  • ใบแปะก๊วย เนื่องจากสารสกัดจากใบแปะก๊วยมีสารแอนติออกซิแดนท์ช่วยให้เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงสมอง
  • วิตามินอี วิตามินอีช่วยลดอัตราเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดสมองและลดระดับคอเลสเตอรอล
  • น้ำมันปลา หรือโอเมก้า-3 และดีเอชเอจากปลาช่วยบำรุงสมองด้านความทรงจำและการเรียนรู้
  • โคลีน เป็นส่วนประกอบของเลซิทินและเป็นส่วนหนึ่งของสารอะเซทิลโคลีน ซึ่งเป็นสารสื่อข่าวในสมองที่ร่างกายสามารถผลิตได้เอง
  • ออกกำลังกาย ทำให้เลือดไหวเวียนดีและได้รับออกซิเจนเป็นผลดีต่อระบบประสาท
  • ฝึกเซลล์สมอง เล่นเกมปริศนาต่างๆ เป็นการให้สมองได้ออกกำลังกายเช่นเดียวกับการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ สามารถป้องกันโรคอัลไซเมอร์ได้
  • กระตือรือร้น ผู้ที่ดำเนินชีวิตหรือทำกิจกรรมต่างๆ ด้วยความกระตือรือร้นมีโอกาสน้อยที่จะป่วยเป็นโรคอัลไซเมอร์
  • ไม่เครียด พยายาททำจิตใจให้เบิกบานและผ่อนคลายอารมณ์อยู่เสมอ เพื่อทำให้ร่างกายและจิตใจสมดุลไม่มีการกระตุ้นทำให้เกิดสารอะดรีนาลีนหลั่งจนไปรบกวนการทำงานของระบบประสาท

อ้างอิง

  1. Brookmeyer R, Gray S, Kawas C (1998). "Projections of Alzheimer's disease in the United States and the public health impact of delaying disease onset". Am J Public Health. 88 (9): 1337–42. PMC 1509089. PMID 9736873. {{cite journal}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |month= ถูกละเว้น (help)CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  2. ประมาณการณ์ความชุกใน ค.ศ. 2006:
  3. "What is Alzheimer's disease?". Alzheimers.org.uk. 2007. สืบค้นเมื่อ 2008-02-21. {{cite web}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |month= ถูกละเว้น (help)
  4. 4.0 4.1 4.2 Waldemar G, Dubois B, Emre M; และคณะ (2007). "Recommendations for the diagnosis and management of Alzheimer's disease and other disorders associated with dementia: EFNS guideline". Eur. J. Neurol. 14 (1): e1–26. doi:10.1111/j.1468-1331.2006.01605.x. PMID 17222085. {{cite journal}}: ใช้ et al. อย่างชัดเจน ใน |author= (help); ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |month= ถูกละเว้น (help)CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  5. "Alzheimer's diagnosis of AD". Alzheimer's Research Trust. สืบค้นเมื่อ 2008-02-29.
  6. Tabert MH, Liu X, Doty RL, Serby M, Zamora D, Pelton GH, Marder K, Albers MW, Stern Y, Devanand DP (2005). "A 10-item smell identification scale related to risk for Alzheimer's disease". Ann. Neurol. 58 (1): 155–160. doi:10.1002/ana.20533. PMID 15984022.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  7. "Understanding stages and symptoms of Alzheimer's disease". National Institute on Aging. 2007-10-26. สืบค้นเมื่อ 2008-02-21.
  8. Mölsä PK, Marttila RJ, Rinne UK (1986). "Survival and cause of death in Alzheimer's disease and multi-infarct dementia". Acta Neurol. Scand. 74 (2): 103–7. PMID 3776457. {{cite journal}}: |access-date= ต้องการ |url= (help); ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |month= ถูกละเว้น (help)CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  9. Mölsä PK, Marttila RJ, Rinne UK (1995). "Long-term survival and predictors of mortality in Alzheimer's disease and multi-infarct dementia". Acta Neurol. Scand. 91 (3): 159–64. PMID 7793228. {{cite journal}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |month= ถูกละเว้น (help)CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  10. 10.0 10.1 10.2 Tiraboschi P, Hansen LA, Thal LJ, Corey-Bloom J (2004). "The importance of neuritic plaques and tangles to the development and evolution of AD". Neurology. 62 (11): 1984–9. PMID 15184601. {{cite journal}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |month= ถูกละเว้น (help)CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  11. "Alzheimer's Disease Clinical Trials". US National Institutes of Health. สืบค้นเมื่อ 2008-08-18.
  12. "Can Alzheimer's disease be prevented" (pdf). National Institute on Aging. 2006-08-29. สืบค้นเมื่อ 2008-02-29.
  13. "The MetLife study of Alzheimer's disease: The caregiving experience" (PDF). MetLife Mature Market Institute. 2006. สืบค้นเมื่อ 2008-02-12. {{cite web}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |month= ถูกละเว้น (help)
  14. Thompson CA, Spilsbury K, Hall J, Birks Y, Barnes C, Adamson J (2007). "Systematic review of information and support interventions for caregivers of people with dementia". BMC Geriatr. 7: 18. doi:10.1186/1471-2318-7-18. PMC 1951962. PMID 17662119.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  15. Schneider J, Murray J, Banerjee S, Mann A (1999). "EUROCARE: a cross-national study of co-resident spouse carers for people with Alzheimer's disease: I—Factors associated with carer burden". International Journal of Geriatric Psychiatry. 14 (8): 651–661. doi:10.1002/(SICI) 1099-1166 (199908) 14:8<651::AID-GPS992>3.0.CO;2-B. PMID 10489656. {{cite journal}}: |access-date= ต้องการ |url= (help); ตรวจสอบค่า |doi= (help); ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |month= ถูกละเว้น (help)CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  16. Murray J, Schneider J, Banerjee S, Mann A (1999). "EUROCARE: a cross-national study of co-resident spouse carers for people with Alzheimer's disease: II--A qualitative analysis of the experience of caregiving". International Journal of Geriatric Psychiatry. 14 (8): 662–667. doi:10.1002/(SICI) 1099-1166 (199908) 14:8<662::AID-GPS993>3.0.CO;2-4. PMID 10489657. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่า |doi= (help); ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |month= ถูกละเว้น (help)CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  17. Bonin-Guillaume S, Zekry D, Giacobini E, Gold G, Michel JP (2005). "Impact économique de la démence (English: The economical impact of dementia)". Presse Med (ภาษาFrench). 34 (1): 35–41. ISSN 0755-4982. PMID 15685097. {{cite journal}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |month= ถูกละเว้น (help)CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
  18. Meek PD, McKeithan K, Schumock GT (1998). "Economic considerations in Alzheimer's disease". Pharmacotherapy. 18 (2 Pt 2): 68–73, discussion 79–82. PMID 9543467.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  19. ระยะก่อนอาการทางคลินิก:
    • Linn RT, Wolf PA, Bachman DL; และคณะ (1995). "The 'preclinical phase' of probable Alzheimer's disease. A 13-year prospective study of the Framingham cohort". Arch. Neurol. 52 (5): 485–90. PMID 7733843. {{cite journal}}: |access-date= ต้องการ |url= (help); ใช้ et al. อย่างชัดเจน ใน |author= (help); ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |month= ถูกละเว้น (help)CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
    • Saxton J, Lopez OL, Ratcliff G; และคณะ (2004). "Preclinical Alzheimer disease: neuropsychological test performance 1.5 to 8 years prior to onset". Neurology. 63 (12): 2341–7. PMID 15623697. {{cite journal}}: ใช้ et al. อย่างชัดเจน ใน |author= (help); ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |month= ถูกละเว้น (help)CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
    • Twamley EW, Ropacki SA, Bondi MW (2006). "Neuropsychological and neuroimaging changes in preclinical Alzheimer's disease". J Int Neuropsychol Soc. 12 (5): 707–35. doi:10.1017/S1355617706060863. PMC 1621044. PMID 16961952. {{cite journal}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |month= ถูกละเว้น (help)CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  20. Perneczky R, Pohl C, Sorg C, Hartmann J, Komossa K, Alexopoulos P, Wagenpfeil S, Kurz A (2006). "Complex activities of daily living in mild cognitive impairment: conceptual and diagnostic issues". Age Ageing. 35 (3): 240–245. doi:10.1093/ageing/afj054. PMID 16513677.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  21. Arnáiz E, Almkvist O (2003). "Neuropsychological features of mild cognitive impairment and preclinical Alzheimer's disease". Acta Neurol. Scand., Suppl. 179: 34–41. doi:10.1034/j.1600-0404.107.s179.7.x. PMID 12603249. {{cite journal}}: |access-date= ต้องการ |url= (help)
  22. Kazui H, Matsuda A, Hirono N; และคณะ (2005). "Everyday memory impairment of patients with mild cognitive impairment". Dement Geriatr Cogn Disord. 19 (5–6): 331–7. doi:10.1159/000084559. PMID 15785034. สืบค้นเมื่อ 2008-06-12. {{cite journal}}: ใช้ et al. อย่างชัดเจน ใน |author= (help)CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  23. Rapp MA, Reischies FM (2005). "Attention and executive control predict Alzheimer disease in late life: results from the Berlin Aging Study (BASE)". American Journal of Geriatric Psychiatry. 13 (2): 134–141. doi:10.1176/appi.ajgp.13.2.134. PMID 15703322.
  24. Spaan PE, Raaijmakers JG, Jonker C (2003). "Alzheimer's disease versus normal ageing: a review of the efficiency of clinical and experimental memory measures". Journal of Clinical Experimental Neuropsychology. 25 (2): 216–233. PMID 12754679.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  25. 25.0 25.1 Craig D, Mirakhur A, Hart DJ, McIlroy SP, Passmore AP (2005). "A cross-sectional study of neuropsychiatric symptoms in 435 patients with Alzheimer's disease". American Journal of Geriatric Psychiatry. 13 (6): 460–468. doi:10.1176/appi.ajgp.13.6.460. PMID 15956265.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  26. Robert PH, Berr C, Volteau M, Bertogliati C, Benoit M, Sarazin M, Legrain S, Dubois B (2006). "Apathy in patients with mild cognitive impairment and the risk of developing dementia of Alzheimer's disease: a one-year follow-up study". Clin Neurol Neurosurg. 108 (8): 733–736. doi:10.1016/j.clineuro.2006.02.003. PMID 16567037.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  27. Palmer K, Berger AK, Monastero R, Winblad B, Bäckman L, Fratiglioni L (2007). "Predictors of progression from mild cognitive impairment to Alzheimer disease". Neurology. 68 (19): 1596–1602. doi:10.1212/01.wnl.0000260968.92345.3f. PMID 17485646.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  28. Small BJ, Gagnon E, Robinson B (2007). "Early identification of cognitive deficits: preclinical Alzheimer's disease and mild cognitive impairment". Geriatrics. 62 (4): 19–23. PMID 17408315. {{cite journal}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |month= ถูกละเว้น (help)CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  29. Petersen RC (2007). "The current status of mild cognitive impairment—what do we tell our patients?". Nat Clin Pract Neurol. 3 (2): 60–1. doi:10.1038/ncpneuro0402. PMID 17279076. {{cite journal}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |month= ถูกละเว้น (help)
  30. 30.0 30.1 30.2 30.3 30.4 Förstl H, Kurz A (1999). "Clinical features of Alzheimer's disease". European Archives of Psychiatry and Clinical Neuroscience. 249 (6): 288–290. PMID 10653284.
  31. Carlesimo GA, Oscar-Berman M (1992). "Memory deficits in Alzheimer's patients: a comprehensive review". Neuropsychol Rev. 3 (2): 119–69. PMID 1300219. {{cite journal}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |month= ถูกละเว้น (help)
  32. Jelicic M, Bonebakker AE, Bonke B (1995). "Implicit memory performance of patients with Alzheimer's disease: a brief review". International Psychogeriatrics. 7 (3): 385–392. doi:10.1017/S1041610295002134. PMID 8821346.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  33. 33.0 33.1 33.2 Frank EM (1994). "Effect of Alzheimer's disease on communication function". J S C Med Assoc. 90 (9): 417–23. PMID 7967534. {{cite journal}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |month= ถูกละเว้น (help)
  34. Becker JT, Overman AA (2002). "[The semantic memory deficit in Alzheimer's disease]". Rev Neurol (ภาษาSpanish; Castilian). 35 (8): 777–83. PMID 12402233.{{cite journal}}: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
  35. Hodges JR, Patterson K (1995). "Is semantic memory consistently impaired early in the course of Alzheimer's disease? Neuroanatomical and diagnostic implications". Neuropsychologia. 33 (4): 441–59. PMID 7617154. {{cite journal}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |month= ถูกละเว้น (help)
  36. Benke T (1993). "Two forms of apraxia in Alzheimer's disease". Cortex. 29 (4): 715–25. PMID 8124945. {{cite journal}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |month= ถูกละเว้น (help)
  37. Forbes KE, Shanks MF, Venneri A (2004). "The evolution of dysgraphia in Alzheimer's disease". Brain Res. Bull. 63 (1): 19–24. doi:10.1016/j.brainresbull.2003.11.005. PMID 15121235. {{cite journal}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |month= ถูกละเว้น (help)CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  38. Galasko D, Schmitt F, Thomas R, Jin S, Bennett D (2005). "Detailed assessment of activities of daily living in moderate to severe Alzheimer's disease". Journal of the International Neuropsychology Society. 11 (4): 446–453. PMID 16209425.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  39. Galasko D, Schmitt F, Thomas R, Jin S, Bennett D (2005). "Detailed assessment of activities of daily living in moderate to severe Alzheimer's disease". J Int Neuropsychol Soc. 11 (4): 446–53. PMID 16209425. {{cite journal}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |month= ถูกละเว้น (help)CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  40. Sartori G, Snitz BE, Sorcinelli L, Daum I (2004). "Remote memory in advanced Alzheimer's disease". Arch Clin Neuropsychol. 19 (6): 779–89. doi:10.1016/j.acn.2003.09.007. PMID 15288331. {{cite journal}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |month= ถูกละเว้น (help)CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  41. Volicer L, Harper DG, Manning BC, Goldstein R, Satlin A (2001). "Sundowning and circadian rhythms in Alzheimer's disease". Am J Psychiatry. 158 (5): 704–11. PMID 11329390. สืบค้นเมื่อ 2008-08-27. {{cite journal}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |month= ถูกละเว้น (help)CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  42. อาการทางประสาทจิตเวช:
    • Scarmeas N, Brandt J, Blacker D; และคณะ (2007). "Disruptive behavior as a predictor in Alzheimer disease". Arch. Neurol. 64 (12): 1755–61. doi:10.1001/archneur.64.12.1755. PMID 18071039. {{cite journal}}: ใช้ et al. อย่างชัดเจน ใน |author= (help); ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |month= ถูกละเว้น (help)CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
    • Tatsch MF, Bottino CM, Azevedo D; และคณะ (2006). "Neuropsychiatric symptoms in Alzheimer disease and cognitively impaired, nondemented elderly from a community-based sample in Brazil: prevalence and relationship with dementia severity". Am J Geriatr Psychiatry. 14 (5): 438–45. doi:10.1097/01.JGP.0000218218.47279.db. PMID 16670248. {{cite journal}}: ใช้ et al. อย่างชัดเจน ใน |author= (help); ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |month= ถูกละเว้น (help)CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
    • Volicer L, Bass EA, Luther SL (2007). "Agitation and resistiveness to care are two separate behavioral syndromes of dementia". J Am Med Dir Assoc. 8 (8): 527–32. doi:10.1016/j.jamda.2007.05.005. PMID 17931577. {{cite journal}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |month= ถูกละเว้น (help)CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  43. Honig LS, Mayeux R (2001). "Natural history of Alzheimer's disease". Aging (Milano). 13 (3): 171–82. PMID 11442300. {{cite journal}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |month= ถูกละเว้น (help)
  44. Gold DP, Reis MF, Markiewicz D, Andres D (1995). "When home caregiving ends: a longitudinal study of outcomes for caregivers of relatives with dementia". J Am Geriatr Soc. 43 (1): 10–6. PMID 7806732. {{cite journal}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |month= ถูกละเว้น (help)CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  45. Bär M, Kruse A, Re S (2003). "[Situations of emotional significance in residents suffering from dementia]". Z Gerontol Geriatr (ภาษาGerman). 36 (6): 454–62. doi:10.1007/s00391-003-0191-0. PMID 14685735. {{cite journal}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |month= ถูกละเว้น (help)CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
  46. Souren LE, Franssen EH, Reisberg B (1995). "Contractures and loss of function in patients with Alzheimer's disease". J Am Geriatr Soc. 43 (6): 650–5. PMID 7775724. {{cite journal}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |month= ถูกละเว้น (help)CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  47. Berkhout AM, Cools HJ, van Houwelingen HC (1998). "The relationship between difficulties in feeding oneself and loss of weight in nursing-home patients with dementia". Age Ageing. 27 (5): 637–41. PMID 12675103. {{cite journal}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |month= ถูกละเว้น (help)CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  48. Wada H, Nakajoh K, Satoh-Nakagawa T; และคณะ (2001). "Risk factors of aspiration pneumonia in Alzheimer's disease patients". Gerontology. 47 (5): 271–6. PMID 11490146. {{cite journal}}: ใช้ et al. อย่างชัดเจน ใน |author= (help)CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  49. Gambassi G, Landi F, Lapane KL, Sgadari A, Mor V, Bernabei R (1999). "Predictors of mortality in patients with Alzheimer's disease living in nursing homes". J. Neurol. Neurosurg. Psychiatr. 67 (1): 59–65. PMC 1736445. PMID 10369823. {{cite journal}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |month= ถูกละเว้น (help)CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  50. Shen ZX (2004). "Brain cholinesterases: II. The molecular and cellular basis of Alzheimer's disease". Med. Hypotheses. 63 (2): 308–21. doi:10.1016/j.mehy.2004.02.031. PMID 15236795.
  51. 51.0 51.1 Wenk GL (2003). "Neuropathologic changes in Alzheimer's disease". J Clin Psychiatry. 64 Suppl 9: 7–10. PMID 12934968.
  52. Hardy J, Allsop D (1991). "Amyloid deposition as the central event in the aetiology of Alzheimer's disease". Trends Pharmacol. Sci. 12 (10): 383–88. PMID 1763432. {{cite journal}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |month= ถูกละเว้น (help)
  53. 53.0 53.1 Mudher A, Lovestone S (2002). "Alzheimer's disease-do tauists and baptists finally shake hands?". Trends Neurosci. 25 (1): 22–26. PMID 11801334. {{cite journal}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |month= ถูกละเว้น (help)
  54. Nistor M, Don M, Parekh M; และคณะ (2007). "Alpha- and beta-secretase activity as a function of age and beta-amyloid in Down syndrome and normal brain". Neurobiol. Aging. 28 (10): 1493–1506. doi:10.1016/j.neurobiolaging.2006.06.023. PMID 16904243. {{cite journal}}: ใช้ et al. อย่างชัดเจน ใน |author= (help); ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |month= ถูกละเว้น (help)CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  55. Lott IT, Head E (2005). "Alzheimer disease and Down syndrome: factors in pathogenesis". Neurobiol. Aging. 26 (3): 383–89. doi:10.1016/j.neurobiolaging.2004.08.005. PMID 15639317. {{cite journal}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |month= ถูกละเว้น (help)
  56. Polvikoski T, Sulkava R, Haltia M; และคณะ (1995). "Apolipoprotein E, dementia, and cortical deposition of beta-amyloid protein". N. Engl. J. Med. 333 (19): 1242–47. PMID 7566000. {{cite journal}}: ใช้ et al. อย่างชัดเจน ใน |author= (help); ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |month= ถูกละเว้น (help)CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  57. หนูดัดแปลงพันธุกรรม:
    • Games D, Adams D, Alessandrini R; และคณะ (1995). "Alzheimer-type neuropathology in transgenic mice overexpressing V717F beta-amyloid precursor protein". Nature. 373 (6514): 523–27. doi:10.1038/373523a0. PMID 7845465. {{cite journal}}: ใช้ et al. อย่างชัดเจน ใน |author= (help); ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |month= ถูกละเว้น (help)CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
    • Masliah E, Sisk A, Mallory M, Mucke L, Schenk D, Games D (1996). "Comparison of neurodegenerative pathology in transgenic mice overexpressing V717F beta-amyloid precursor protein and Alzheimer's disease". J. Neurosci. 16 (18): 5795–811. PMID 8795633. {{cite journal}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |month= ถูกละเว้น (help)CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
    • Hsiao K, Chapman P, Nilsen S; และคณะ (1996). "Correlative memory deficits, Abeta elevation, and amyloid plaques in transgenic mice". Science (journal). 274 (5284): 99–102. PMID 8810256. {{cite journal}}: ใช้ et al. อย่างชัดเจน ใน |author= (help); ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |month= ถูกละเว้น (help)CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
    • Lalonde R, Dumont M, Staufenbiel M, Sturchler-Pierrat C, Strazielle C. "Spatial learning, exploration, anxiety, and motor coordination in female APP23 transgenic mice with the Swedish mutation". Brain Research (journal). 956: 36–44, year=2002. PMID 12426044.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  58. Holmes C, Boche D, Wilkinson D; และคณะ (2008). "Long-term effects of Abeta42 immunisation in Alzheimer's disease: follow-up of a randomised, placebo-controlled phase I trial". Lancet. 372 (9634): 216–23. doi:10.1016/S0140-6736 (08) 61075-2. PMID 18640458. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่า |doi= (help); ใช้ et al. อย่างชัดเจน ใน |author= (help); ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |month= ถูกละเว้น (help)CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  59. Schmitz C, Rutten BP, Pielen A; และคณะ (2004). "Hippocampal neuron loss exceeds amyloid plaque load in a transgenic mouse model of Alzheimer's disease". Am. J. Pathol. 164 (4): 1495–1502. PMC 1615337. PMID 15039236. {{cite journal}}: ใช้ et al. อย่างชัดเจน ใน |author= (help); ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |month= ถูกละเว้น (help)CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  60. Goedert M, Spillantini MG, Crowther RA (1991). "Tau proteins and neurofibrillary degeneration". Brain Pathol. 1 (4): 279–86. PMID 1669718. {{cite journal}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |month= ถูกละเว้น (help)CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  61. Iqbal K, Alonso Adel C, Chen S; และคณะ (2005). "Tau pathology in Alzheimer disease and other tauopathies". Biochim. Biophys. Acta. 1739 (2–3): 198–210. doi:10.1016/j.bbadis.2004.09.008. PMID 15615638. {{cite journal}}: ใช้ et al. อย่างชัดเจน ใน |author= (help); ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |month= ถูกละเว้น (help)CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  62. Chun W, Johnson GV (2007). "The role of tau phosphorylation and cleavage in neuronal cell death". Front. Biosci. 12: 733–56. PMID 17127334.
  63. Bouras C, Hof PR, Giannakopoulos P, Michel JP, Morrison JH (1994). "Regional distribution of neurofibrillary tangles and senile plaques in the cerebral cortex of elderly patients: a quantitative evaluation of a one-year autopsy population from a geriatric hospital". Cereb. Cortex. 4 (2): 138–50. PMID 8038565.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  64. Hashimoto M, Rockenstein E, Crews L, Masliah E (2003). "Role of protein aggregation in mitochondrial dysfunction and neurodegeneration in Alzheimer's and Parkinson's diseases". Neuromolecular Med. 4 (1–2): 21–36. doi:10.1385/NMM:4:1-2:21. PMID 14528050.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  65. Priller C, Bauer T, Mitteregger G, Krebs B, Kretzschmar HA, Herms J (2006). "Synapse formation and function is modulated by the amyloid precursor protein". J. Neurosci. 26 (27): 7212–21. doi:10.1523/JNEUROSCI.1450-06.2006. PMID 16822978. {{cite journal}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |month= ถูกละเว้น (help)CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  66. Turner PR, O'Connor K, Tate WP, Abraham WC (2003). "Roles of amyloid precursor protein and its fragments in regulating neural activity, plasticity and memory". Prog. Neurobiol. 70 (1): 1–32. PMID 12927332. {{cite journal}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |month= ถูกละเว้น (help)CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  67. Hooper NM (2005). "Roles of proteolysis and lipid rafts in the processing of the amyloid precursor protein and prion protein". Biochem. Soc. Trans. 33 (Pt 2): 335–8. doi:10.1042/BST0330335. PMID 15787600. {{cite journal}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |month= ถูกละเว้น (help)
  68. Ohnishi S, Takano K (2004). "Amyloid fibrils from the viewpoint of protein folding". Cell. Mol. Life Sci. 61 (5): 511–24. doi:10.1007/s00018-003-3264-8. PMID 15004691. {{cite journal}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |month= ถูกละเว้น (help)
  69. Hernández F, Avila J (2007). "Tauopathies". Cell. Mol. Life Sci. 64 (17): 2219–33. doi:10.1007/s00018-007-7220-x. PMID 17604998. {{cite journal}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |month= ถูกละเว้น (help)

แหล่งข้อมูลอื่น

แม่แบบ:Link FA แม่แบบ:Link FA