ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ความเท่าเทียมทางเพศ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Thastp (คุย | ส่วนร่วม)
เพิ่มส่วน ประวัติศาสตร์ แปลจาก enwiki
Thastp (คุย | ส่วนร่วม)
เพิ่มส่วน ความลำเอียง แปลจาก enwiki
บรรทัด 374: บรรทัด 374:
|url-status=live
|url-status=live
}}</ref> รายงาน[[เป้าหมายการพัฒนาสหัสวรรษ]]ของสหประชาชาติกล่าวถึงเป้าหมายว่าเป็นการ "บรรลุความเท่าเทียมทางเพศและการเพิ่มอำนาจของผู้หญิง" แม้ในประเทศกำลังพัฒนาจะประสบปัญหาทางเศรษฐกิจ แต่สหประชาชาติก็ยังคงส่งเสริมความเท่าเทียมทางเพศและช่วยเหลือในการสร้างสภาพแวดล้อมการทำงานที่ยั่งยืนในทุก ๆ รัฐสมาชิก เป้าหมายยังรวมถึงการทำให้ค่าจ้างของผู้หญิงที่ทำงานเต็มเวลาเท่ากับของผู้ชายในอาชีพเดียวกัน
}}</ref> รายงาน[[เป้าหมายการพัฒนาสหัสวรรษ]]ของสหประชาชาติกล่าวถึงเป้าหมายว่าเป็นการ "บรรลุความเท่าเทียมทางเพศและการเพิ่มอำนาจของผู้หญิง" แม้ในประเทศกำลังพัฒนาจะประสบปัญหาทางเศรษฐกิจ แต่สหประชาชาติก็ยังคงส่งเสริมความเท่าเทียมทางเพศและช่วยเหลือในการสร้างสภาพแวดล้อมการทำงานที่ยั่งยืนในทุก ๆ รัฐสมาชิก เป้าหมายยังรวมถึงการทำให้ค่าจ้างของผู้หญิงที่ทำงานเต็มเวลาเท่ากับของผู้ชายในอาชีพเดียวกัน

== ความลำเอียง ==
[[ไฟล์:Midsommarkransar.jpg|thumb|อุดมการณ์ตามแบบสตรีสิทธินิยมตะวันตกและ[[วัฒนธรรมตะวันตก]]ควรถือเป็นมาตรฐานนานาชาติที่[[ประเทศกำลังพัฒนา]]ต้องทำตามหรือไม่เป็นที่ถกเถียงกัน<ref>{{cite web
|url=https://ucu.edu.uy/sites/default/files/facultad/dcsp/western_feminy_theory.pdf
|title=Third World Critiques of Western Feminist Theory in the Post-Development Era
|first=Javier Pereira|last= Bruno
|date=มกราคม 2006
|publisher=The University of Texas at Austin
|access-date= 25 เมษายน 2021
|archive-date= 8 มีนาคม 2021
|archive-url=https://web.archive.org/web/20210308144504/https://ucu.edu.uy/sites/default/files/facultad/dcsp/western_feminy_theory.pdf
|url-status=live
}}</ref>]]
[[ไฟล์:Malleus maleficarum, Köln 1520, Titelseite.jpg|thumb|ตัวอย่างของอุดมการณ์[[ยุโรปตะวันตก]]ที่เป็นต้นเหตุของการประหัตประหารผู้หญิง<ref>{{cite web
|url=https://www.bbc.co.uk/programmes/articles/3FLjmvvjWDhRGswzCgYkzrF/six-spellbinding-facts-about-the-european-witch-craze
|title=BBC Radio 4 - You're Dead To Me - Six spellbinding facts about the European Witch Craze
|publisher=Bbc.co.uk
|date=28 ตุลาคม 2019
|accessdate=19 กุมภาพันธ์ 2022
|archive-date=8 กุมภาพันธ์ 2022
|archive-url=https://web.archive.org/web/20220208052819/https://www.bbc.co.uk/programmes/articles/3FLjmvvjWDhRGswzCgYkzrF/six-spellbinding-facts-about-the-european-witch-craze
|url-status=live
}}</ref> หนังสือชื่อว่า ''[[Malleus Maleficarum]]'' สนับสนุน[[การพิจารณาคดีแม่มดในสมัยใหม่ตอนต้น|การกำจัดแม่มด]] (Witch trials in the early modern period) หนังสือเล่มนี้ถูกเขียนขึ้นมาโดยนักบวชคาทอลิกชาวเยอรมัน[[ไฮน์ริช คราเมอร์]] (Heinrich Kramer)]]
งานศึกษาเรื่องการทำนายบุคคลิกภาพของบุคคลจากภาพถ่ายใน 44 ประเทศพบว่า[[ปรากฏการณ์ผู้หญิงยอดเยี่ยม]] (women-are-wonderful) อยู่ในระดับที่ต่ำในประเทศที่มีความเท่าเทียมทางเพศสูง และสิ่งที่เพิ่มขึ้นคือการที่ผู้ชายถูกมองในแง่ลบน้อยลง<ref>{{Cite journal
|last1=Krys |first1=Kuba |last2=Capaldi |first2=Colin A.
|last3=van Tilburg |first3=Wijnand |last4=Lipp |first4=Ottmar V.
|last5=Bond |first5=Michael Harris |last6=Vauclair |first6=C.-Melanie
|last7=Manickam |first7=L. Sam S. |last8=Domínguez-Espinosa |first8=Alejandra
|last9=Torres |first9=Claudio |last10=Lun |first10=Vivian Miu-Chi
|last11=Teyssier |first11=Julien |last12=Miles |first12=Lynden K.
|last13=Hansen |first13=Karolina |last14=Park |first14=Joonha
|last15=Wagner |first15=Wolfgang
|date=ตุลาคม 2018
|title=Catching up with wonderful women: The women-are-wonderful effect is smaller in more gender egalitarian societies: CATCHING UP WITH WONDERFUL WOMEN
|url=https://onlinelibrary.wiley.com/doi/10.1002/ijop.12420
|journal=International Journal of Psychology
|language=en |volume=53 |pages=21–26
|doi=10.1002/ijop.12420|pmid=28295294 |s2cid=31983366
}}</ref>

=== ข้อวิจารณ์ ===
นักสตรีสิทธินิยมบางส่วนวิจารณ์วาทกรรมและนโยบายทางการเมืองต่าง ๆ ที่ใช้ในการบรรลุ "ความก้าวหน้า" ในความเท่าเทียมทางเพศ ว่ายุทธศาสตร์เหล่านี้เป็นยุทธศาสตร์ที่ผิวเผิน ไม่ได้พยายามท้าทายโครงสร้างทางสังคมที่ถูกครอบงำโดยผู้ชาย และมุ่งที่จะพัฒนาสถานการณ์ของผู้หญิงในกรอบของผู้หญิงที่อยู่ใต้ผู้ชายเท่านั้น<ref>{{Cite book
|title=Man's dominion : religion and the eclipse of women's rights in world politics
|last=Sheila|first=Jeffreys
|date=1 มกราคม 2012
|publisher=Routledge
|isbn=9780415596732
|page=94
|oclc=966913723
}}</ref> และวิจารณ์ว่านโยบายสาธารณะทางการต่าง ๆ (เช่นนโยบายของรัฐหรือขององค์กรระหว่างประเทศ) มีปัญหา เพราะถูกนำมาใช้ในบริบทแบบ[[ปิตาธิปไตย]] และถูกควบคุมทั้งทางตรงและทางอ้อมโดยตัวแทนของระบบซึ่งส่วนใหญ่ประกอบด้วยผู้ชาย<ref>{{cite journal
|title=EU Gender Policy: Trapped in the 'Wollstonecraft Dilemma'?
|first=Emanuela|last=Lombardo
|date=1 พฤษภาคม 2003
|journal=European Journal of Women's Studies
|volume=10|issue=2|pages=159–180
|doi=10.1177/1350506803010002003|s2cid=143732030
}}</ref> หนึ่งในข้อวิจารณ์นโยบายความเท่าเทียมทางเพศของ[[สหภาพยุโรป]]กล่าวว่าให้ความสำคัญกับนโยบายที่บูรณาการผู้หญิงเข้าไปในชีวิตสาธารณะอย่างไม่ได้สัดส่วนกับนโยบายที่พยายามจัดการกับการกดขี่ในพื้นที่ส่วนตัวอย่างจริงจัง<ref>{{Cite book
|title=Multiple meanings of gender equality : a critical frame analysis of gender policies in Europe
|last1=Lombardo|first1=Emanuela|last2=Jalušiè|first2=Vlasta
|last3=Maloutas|first3=Maro Pantelidou|last4=Sauer|first4=Birgit
|publisher=Central European University Press Budapest
|year=2007
|isbn=9786155211393
|editor-last=Verloo|editor-first=Mieke
|location=New York
|pages=79–108
|chapter=III. Taming the Male Sovereign? Framing Gender Inequality in Politics in the European Union and the Member States
|oclc=647686058
}}</ref>

ข้อวิจารณ์หนึ่งกล่าวว่าการมุ่งเน้นที่สถานการณ์ของผู้หญิงในประเทศนอกโลกตะวันตกแต่เมินเฉยต่อปัญหาที่มีอยู่แล้วในโลกตะวันตกเป็น[[จักรวรรดินิยม]]อีกรูปแบบหนึ่ง เป็นการหนุนเสริมความเหนือกว่าทางจริยธรรมของตะวันตก และเป็นอีกวิธีหนึ่งในการทำให้ความรุนแรงในครัวเรือนกลายเป็น "อื่น" โดยจัดแสดงมันเสมือนเป็นสิ่งที่เฉพาะคนนอกมีเท่านั้น กล่าวคือพวก "คนอื่นหัวรุนแรง" และอ้างว่าเป็นสิ่งที่ไม่มีอยู่ในวัฒนธรรมตะวันตกที่ก้าวหน้า<ref>{{cite journal
|title=The Othering of Domestic Violence: The EU and Cultural Framings of Violence against Women
|first1=Celeste|last1=Montoya|first2=Lise|last2=Rolandsen Agustín
|date=1 ธันวาคม 2013
|journal=Social Politics
|volume=20|issue=4|pages=534–557
|doi=10.1093/sp/jxt020|s2cid=22204941
}}</ref> นักวิจารณ์กลุ่มนี้ชี้ว่าผู้หญิงในประเทศตะวันตกประสบกับปัญหาที่คล้ายกันบ่อยครั้ง เช่นความรุนแรงในครัวเรือนและการข่มขืน เช่นเดียวกับในส่วนอื่น ๆ ของโลก<ref>{{Cite book
|title=An introduction to feminist philosophy
|last=Alison|first=Stone
|publisher=Polity Press
|year=2008
|isbn=9780745638836
|pages=209–211
|oclc=316143234
}}</ref> และอ้างอิงข้อเท็จจริงว่าเมื่อไม่กี่ทศวรรษที่แล้วผู้หญิงยังได้รับการเลือกปฏิบัติจากกฎหมายอยู่ในประเทศตะวันตกบางประเทศ เช่นสวิตเซอร์แลนด์ กรีซ สเปน และฝรั่งเศส ที่ผู้หญิงได้รับสิทธิที่เท่าเทียมกันใน[[กฎหมายครอบครัว]]ในคริสต์ทศวรรษ 1980{{Refn|ประชามติเมื่อ ค.ศ. 1985 ในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ให้หลักประกันความเท่าเทียมทางกฎหมายของผู้หญิงกับผู้ชายในการสมรส<ref group=upper-roman>{{cite web
|url=https://www.bbc.com/news/world-europe-17988450
|title=Switzerland profile – Timeline
|date=28 ธันวาคม 2016
|website=Bbc.com
|access-date=14 พฤศจิกายน 2017
|archive-date=17 มิถุนายน 2018
|archive-url=https://web.archive.org/web/20180617053429/https://www.bbc.com/news/world-europe-17988450
|url-status=live
}}</ref><ref group=upper-roman>{{cite web
|url=http://history-switzerland.geschichte-schweiz.ch/chronology-womens-right-vote-switzerland.html
|title=The Long Way to Women's Right to Vote in Switzerland: a Chronology
|first=Markus G. |last=Jud
|location= Lucerne, Switzerland
|website=History-switzerland.geschichte-schweiz.ch
|access-date=14 พฤศจิกายน 2017
|archive-date=21 พฤศจิกายน 2019
|archive-url=https://web.archive.org/web/20191121120734/http://history-switzerland.geschichte-schweiz.ch/chronology-womens-right-vote-switzerland.html
|url-status=live
}}</ref> การแก้ไขกฎหมายใหม่มีผลบังคับใช้ในเดือนมกราคม ค.ศ. 1988<ref name="auto1">{{Cite book
|title=Women's movements of the world : an international directory and reference guide
|publisher=Cartermill International
|year=1988
|isbn=9780582009882
|editor-last=Schreir|editor-first=Sally
|page=254
|oclc=246811744
}}</ref>|group=lower-roman}}{{Refn|ประเทศกรีซผ่านกฎหมายที่ให้หลักประกันความเท่าเทียมกันระหว่างคู่สมรสใน ค.ศ. 1983 โดยยกเลิก[[สินสอด]] และยุติการเลือกปฏิบัติทางกฎหมายต่อบุตรนอกสมรส<ref name="auto2" group=upper-roman>{{cite news
|url=https://www.nytimes.com/1983/01/26/world/around-the-world-greece-approves-family-law-changes.html#
|title=AROUND THE WORLD; Greece Approves Family Law Changes
|agency=Reuters
|date=26 มกราคม 1983
|newspaper=The New York Times
|access-date=14 พฤศจิกายน 2017
|archive-date=16 มิถุนายน 2012
|archive-url=https://web.archive.org/web/20120616093929/http://www.nytimes.com/1983/01/26/world/around-the-world-greece-approves-family-law-changes.html
|url-status=live
}}</ref><ref group=upper-roman>{{cite journal
|last1=Demos|first1=Vasilikie
|title=The Intersection of Gender, Class and Nationality and the Agency of Kytherian Greek Women
|journal=Annual Meeting of the American Sociological Association
|date=2007
|url=http://citation.allacademic.com/meta/p_mla_apa_research_citation/1/8/5/0/3/pages185036/p185036-1.php
|access-date=9 กุมภาพันธ์ 2017
|archive-date=25 ธันวาคม 2019
|archive-url=https://web.archive.org/web/20191225060437/http://citation.allacademic.com/meta/p_mla_apa_research_citation/1/8/5/0/3/pages185036/p185036-1.php
|url-status=dead
}}</ref>|group=lower-roman}}{{Refn|ประเทศสเปนยกเลิกข้อบังคับใน ค.ศ. 1981 ที่กำหนดให้ผู้หญิงที่สมรสแล้วต้องได้รับอนุญาตจากสามีเพื่อเริ่มกระบวนการพิจารณาตามกฎหมาย<ref group=upper-roman>{{cite web
|url=http://wbl.worldbank.org/~/media/FPDKM/WBL/Documents/Reports/2014/Women-Business-and-the-Law-2014-Key-Findings.pdf
|title=Women Business and the Law 2014 Key Findings
|access-date=25 สิงหาคม 2014
|url-status=dead
|archive-url=https://web.archive.org/web/20140824032832/http://wbl.worldbank.org/~/media/FPDKM/WBL/Documents/Reports/2014/Women-Business-and-the-Law-2014-Key-Findings.pdf
|archive-date=24 สิงหาคม 2014
}}</ref>|group=lower-roman}}{{Refn|แม้ว่าผู้หญิงที่สมรสแล้วในประเทศฝรั่งเศสจะได้รับสิทธิในการทำงานโดยไม่ได้รับอนุญาตจากสามีแล้วตั้งแต่ ค.ศ. 1965<ref group=upper-roman>{{cite web
|url=http://www.tandf.co.uk/journals/explore/cmcf-vsi-women-in-france.pdf
|title=Modern and Contemporary France: Women in France
|access-date=3 เมษายน 2016
|url-status=dead
|archive-url=https://web.archive.org/web/20160304092212/http://www.tandf.co.uk/journals/explore/cmcf-vsi-women-in-france.pdf
|archive-date=4 มีนาคม 2016
}}</ref> และแม้อำนาจของบิดาเหนือครอบครัวของผู้ชายถูกยกเลิกไปตั้งแต่ ค.ศ. 1970 (ก่อนหน้านั้นหน้าที่รับผิดชอบของผู้ปกครองตกอยู่กับผู้เป็นบิดาแต่เพียงผู้เดียว และเป็นผู้ที่ตัดสินทางกฎหมายทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับบุตร) แต่เพียงหลังจาก ค.ศ. 1985 เท่านั้นที่การปฏิรูปกฎหมายจะยกเลิกข้อกำหนดว่าสามีถืออำนาจแต่เพียงผู้เดียวในการบริหารจัดการทรัพย์สินของบุตร<ref group=upper-roman>{{cite web
|url=http://ceflonline.net/wp-content/uploads/France-Parental-Responsibilities.pdf
|title=National Report: France
|first=Frédérique|last=Ferrand
|website=Parental Responsibilities
|publisher=Commission on European Family Law
|access-date=5 มกราคม 2015
|archive-date=11 สิงหาคม 2014
|archive-url=https://web.archive.org/web/20140811145534/http://ceflonline.net/wp-content/uploads/France-Parental-Responsibilities.pdf
|url-status=live
}}</ref>|group=lower-roman}}

ข้อวิจารณ์อีกข้อหนึ่งกล่าวว่าการกดขี่ผู้หญิงชนิดต่าง ๆ ได้รับการพูดถึงในสาธารณะอย่างเลือกปฏิบัติ โดยความรุนแรงบางรูปแบบเช่น[[ยโศโฆษาฆาต]] (honor killings) (พบได้บ่อยที่สุดในบางภูมิภาคเช่นบางส่วนของทวีปเอเชียและแอฟริกาเหนือ) ถูกนำมาถกเถียงอยู่บ่อยครั้ง ในขณะที่ความรุนแรงรูปแบบอื่น ๆ เช่นการลงโทษอย่างโอนอ่อนสำหรับความผิด[[ตัณหาอาชญากรรม]] (crimes of passion) ทั่วทั้ง[[ลาตินอเมริกา]]ไม่ได้รับความสนใจที่เท่ากันในโลกตะวันตก<ref name="National">{{cite web
|url=http://news.nationalgeographic.com/news/2002/02/0212_020212_honorkilling.html
|title=Thousands of Women Killed for Family "Honor"
|last=Mayell|first=Hillary
|date= 12 กุมภาพันธ์ 2002
|website=National Geographic News
|publisher=National Geographic Society
|access-date=14 มิถุนายน 2015
|archive-date=5 กันยายน 2015
|archive-url=https://web.archive.org/web/20150905122357/http://news.nationalgeographic.com/news/2002/02/0212_020212_honorkilling.html
|url-status=live
|quote=crimes of passion have a similar dynamic [to honor killings] in that the women are killed by male family members and the crimes are perceived [in those relevant parts of the world] as excusable or understandable
}}</ref>{{Refn|ใน ค.ศ. 2002 ผู้อำนวยการฝ่ายรณรงค์ของ[[ฮิวแมนไรตส์วอตช์]] วิดนีย์ บราวน์ (Widney Brown) ชี้ว่า "ตัณหาอาชญากรรมมีพลวัตที่คล้าย[กับยโศโฆษาฆาต] ตรงที่ผู้หญิงจะถูกฆ่าโดยสมาชิกครอบครัวฝ่ายชาย และอาชญากรรมนี้จะถูกมอง[ในส่วนต่าง ๆ ของโลกที่เกี่ยวข้อง]ว่าเป็นสิ่งที่ให้อภัยหรือเข้าใจได้"<ref name="National" />|group=lower-roman}} แต่มีการกล่าวว่าข้อวิจารณ์กฎหมายบางข้อของประเทศกำลังพัฒนากำลังเพิกเฉยต่ออิทธิพลที่[[ลัทธิอาณานิคม]]มีต่อระบบกฎหมายเหล่านั้น{{Refn|โดยเฉพาะอย่างยิ่งจาก[[ประมวลกฎหมายนโปเลียน]]ของประเทศฝรั่งเศส<ref group=upper-roman>{{Cite book
|title=Secular and Islamic feminist critiques in the work of Fatima Mernissi
|last=Raja.|first=Rhouni
|date=1 มกราคม 2010
|publisher=Brill
|isbn=9789004176164
|page=52
|oclc=826863738
}}</ref> ซึ่งทรงพลังอย่างมากในการส่งอิทธิพลต่อทั่วโลก (นักประวัติศาสตร์ โรเบิร์ต ฮอลต์แมน (Robert Holtman) ระบุว่า ประมวลกฎหมายนี้เป็นหนึ่งในเอกสารไม่กี่ชิ้นเท่านั้นที่มีอิทธิพลต่อโลกทั้งใบ<ref group=upper-roman>{{Cite book
|title=The Napoleonic revolution
|last=Holtman|first=Robert B.
|publisher=Louisiana State University Press
|year=1979
|isbn=9780807104873
|oclc=492154251
}}</ref>) และเป็นสิ่งที่กำหนดให้ผู้หญิงที่สมรสอยู่ในตำแหน่งรอง และเป็นสิ่งที่ทำให้มีความโอนอ่อนต่อ 'ตัณหาอาชญากรรม' (ซึ่งเป็นแบบเดียวกันในประเทศฝรั่งเศสจนกระทั่ง ค.ศ. 1975<ref group=upper-roman>{{cite web
|url=http://www.gallup.com/poll/107521/Common-Ground-Europeans-Muslims-Among-Them.aspx
|title=Common Ground for Europeans and Muslims Among Them
|last1=Rheault|first1=Magali|last2=Mogahed|first2=Dalia
|date=28 พฤษภาคม 2008
|website=Gallup Poll
|publisher=Gallup, Inc
|access-date= 5 กุมภาพันธ์ 2016
|archive-date=7 กันยายน 2008
|archive-url=https://web.archive.org/web/20080907161300/http://www.gallup.com/poll/107521/Common-Ground-Europeans-Muslims-Among-Them.aspx
|url-status=live
}}</ref>)|group=lower-roman}} แนวคิดของ[[การทำให้เป็นตะวันตก]] (Westernization) และ[[การทำให้เป็นยุโรป]] (Europeanisation) ตกเป็นข้อโต้เถียงเนื่องจากเป็นการเตือนความจำถึงลัทธิอาณานิคมในอดีต<ref>{{cite thesis
|url=http://repository.usfca.edu/cgi/viewcontent.cgi?article=1286&context=diss
|title=Complexity of Women's Liberation in the Era of Westernization: Egyptian Islamic and Secular Feminists in their Own Context
|last=Alkhawaja |first=Assim
|date=2015
|publisher=University of San Francisco
|access-date= 25 เมษายน 2021
|archive-url=https://web.archive.org/web/20150911081340/http://repository.usfca.edu/cgi/viewcontent.cgi?article=1286&context=diss
|archive-date= 11 กันยายน 2015
|url-status=live
}}</ref> และด้วยเหตุข้อเท็จจริงที่แม้แต่ในประเทศตะวันตกบางประเทศ เช่นสวิตเซอร์แลนด์เอง ก็ยังล่าช้าเป็นอย่างมากในการคืนสิทธิทางกฎหมายให้แก่ผู้หญิง<ref>{{cite web
|url=http://news.nationalgeographic.com/2016/08/country-that-didnt-let-women-vote-till-1971/
|title=Non! Nein! No! A Country That Wouldn't Let Women Vote Till 1971
|first=Robert |last=Krulwich
|date=26 สิงหาคม 2016
|website=news.nationalgeographic.com
|access-date=14 พฤศจิกายน 2017
|archive-date=1 พฤศจิกายน 2017
|archive-url=https://web.archive.org/web/20171101101633/https://news.nationalgeographic.com/2016/08/country-that-didnt-let-women-vote-till-1971/
|url-status=dead
}}</ref><ref>{{cite news|url=https://www.independent.co.uk/news/world/politics/swiss-suffragettes-were-still-fighting-for-the-right-to-vote-in-1971-10514445.html|title=Swiss suffragettes were still fighting for the right to vote in 1971|date=26 September 2015|website=Independent.co.uk|access-date=14 November 2017|archive-date=15 November 2017|archive-url=https://web.archive.org/web/20171115015025/https://www.independent.co.uk/news/world/politics/swiss-suffragettes-were-still-fighting-for-the-right-to-vote-in-1971-10514445.html|url-status=live}}</ref>

นอกจากนี้ มีการคัดค้านวิธีการที่สื่อตะวันตกแสดงแทนผู้หญิงจากวัฒนธรรมต่าง ๆ ซึ่งทำให้เกิดภาพเหมารวมขึ้นมา ไม่ว่าจะเป็นภาพของผู้หญิงเอเชียหรือยุโรปตะวันออกที่ "ยอมจำนน" ซึ่งเป็นภาพเหมารวมที่ถูกเชื่อมโยงกับอุตสาหกรรม[[เจ้าสาวสั่งทางไปรษณีย์]] (mail-order bride)<ref>{{cite news
|url=https://www.telegraph.co.uk/news/2017/03/21/italian-tv-programme-axed-portraying-eastern-european-women/
|archive-url=https://ghostarchive.org/archive/20220111/https://www.telegraph.co.uk/news/2017/03/21/italian-tv-programme-axed-portraying-eastern-european-women/
|archive-date=11 มกราคม 2022
|url-access=subscription
|url-status=live
|title=Italian TV programme axed after portraying Eastern European women as submissive sex objects
|first=Nick|last=Squires
|date=21 มีนาคม 2017
|access-date=14 พฤศจิกายน 2017
|newspaper=The Telegraph
}}{{cbignore}}</ref> ภาพเหมารวมเหล่านี้ส่วนมากไม่เป็นเรื่องจริงโดนสิ้นเชิง ตัวอย่างเช่น ผู้หญิงในประเทศยุโรปตะวันออกหลายประเทศประกอบอาชีพที่มีสถานะทางวิชาชีพอยู่ในระดับสูง<ref>{{cite web
|url=https://www.grantthornton.global/en/press/press-releases-2015/women-in-business-2015/
|title=Women in Eastern Europe point the way to senior management
|date= 5 มีนาคม 2015
|website=Grant Thornton International
|access-date=14 พฤศจิกายน 2017
|archive-date=13 เมษายน 2019
|archive-url=https://web.archive.org/web/20190413230553/https://www.grantthornton.global/en/press/press-releases-2015/women-in-business-2015/
|url-status=dead
}}</ref><ref>{{cite web
|url=http://www.zdnet.com/article/women-in-tech-why-bulgaria-and-romania-are-leading-in-software-engineering/
|title=Women in tech: Why Bulgaria and Romania are leading in software engineering – ZDNet
|first=Andrada|last=Fiscutean
|website=Zdnet.com
|date=13 มิถุนายน 2017
|access-date=14 พฤศจิกายน 2017
|archive-date=5 พฤศจิกายน 2017
|archive-url=https://web.archive.org/web/20171105211644/http://www.zdnet.com/article/women-in-tech-why-bulgaria-and-romania-are-leading-in-software-engineering/
|url-status=live
}}</ref> นักสตรีสิทธินิยมในประเทศกำลังพัฒนาหลายประเทศต่อต้านมโนคติที่ว่าผู้หญิงในประเทศเหล่านี้จำเป็นต้องได้รับ "ความช่วยเหลือ" จากโลกตะวันตก<ref>{{cite book
|title=Transmediterranean: Diasporas, Histories, Geopolitical Spaces
|first=Joseph|last= Pugliese
|publisher=Peter Lang
|date=2010
|isbn=9789052016191
|pages=60–61
}}</ref> ความเท่าเทียมทางเพศควรถูกวัดค่าอย่างไรยังคงเป็นที่ถกเถียง และคำถามว่าโลกตะวันตกทำมันได้ดีที่สุดหรือไม่ก็เช่นกัน งานศึกษาจาก ค.ศ. 2010 พบว่าจากประเทศที่มีผู้หญิงจบการศึกษาระดับมหาวิทยาลัยจากสาขาวิชา[[วิทยาศาสตร์]]มากที่สุด 20 ประเทศ ส่วนใหญ่เป็นประเทศที่ถูกมองจากนานาชาติว่ามีคะแนนต่ำมากในอันดับของสิทธิสตรี โดยสามอันดับแรกประกอบด้วยประเทศอิหร่าน ซาอุดีอาระเบีย และโอมาน และมีประเทศยุโรปเพียงห้าประเทศในยี่สิบอันดับนี้ ประกอบด้วยประเทศโรมาเนีย บัลแกเรีย อิตาลี จอร์เจีย และกรีซ<ref>{{cite journal
|url=https://contexts.org/articles/what-gender-is-science/
|title=What Gender Is Science?
|first= Maria |last=Charles
|journal=Contexts
|volume=10|number=2
|date=20 พฤษภาคม 2011
|access-date=14 พฤศจิกายน 2017
|archive-date=21 มีนาคม 2019
|archive-url=https://web.archive.org/web/20190321145619/https://contexts.org/articles/what-gender-is-science/
|url-status=live
}}</ref>

ข้อโต้เถียงเกี่ยวกับอิทธิพลทางวัฒนธรรมของโลกตะวันตกในโลกไม่ใช่เรื่องใหม่ ในช่วงปลายคริสต์ทศวรรษ 1940 ในขณะที่กำลังมีการร่าง[[ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน]]ขึ้นมา [[สมาคมมานุษยวิทยาอเมริกัน]] (American Anthropological Association) กล่าวเตือนว่าเอกสารนี้จะให้นิยามกับสิทธิอันเป็นสากลจากมุมมองตะวันตก ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อประเทศนอกโลกตะวันตก และกล่าวอ้างเพิ่มเติมว่าประวัติศาสตร์ของลัทธิอาณานิคมและการแทรกแซงสังคมอื่น ๆ ของโลกตะวันตกทำให้ฝ่ายนี้เป็นตัวแทนทางจริยธรรมที่เป็นปัญหาสำหรับมาตรฐานโลกที่เป็นสากล<ref>{{cite journal
|url=http://franke.uchicago.edu/aaa1947.pdf
|title=Statement on Human Rights
|journal=American Anthropologist
|volume=49 |issue=4 |date=ธันวาคม 1947
|pages=539–543
|doi=10.1525/aa.1947.49.4.02a00020
|access-date= 25 เมษายน 2021
|archive-url=https://web.archive.org/web/20140801105700/http://franke.uchicago.edu/aaa1947.pdf
|archive-date= 1 สิงหาคม 2014
|author=The Executive Board, American Anthropological Association
}}</ref>

มีข้อวิจารณ์ว่า[[กฎหมายระหว่างประเทศ]] [[ศาลระหว่างประเทศ]] (international court) และแนวคิดสิทธิมนุษยชน[[ความเป็นกลางทางเพศ|ที่เป็นกลางทางเพศ]]และเป็นสากลอย่างดีที่สุดเงียบเฉยต่อประเด็นที่สำคัญต่อผู้หญิงและอย่างแย่ที่สุดวางผู้ชายไว้เป็นศูนย์กลาง ด้วยการพิจารณาให้บุคคลเพศชายเป็นค่าโดยปริยาย<ref>{{cite journal
|title=Gender and democratic citizenship: the impact of CEDAW
|first=F.|last=Raday
|date=30 มีนาคม 2012
|journal=International Journal of Constitutional Law
|volume=10|issue=2|pages=512–530
|doi=10.1093/icon/mor068|doi-access=free
}}</ref> [[ความเป็นกลางทางเพศ]]ที่มากเกินไปสามารถทำให้สถานการณ์ของผู้หญิงแย่ลงได้ เพราะกฎหมายจะ''สมมุติ''ว่าผู้หญิงอยู่ในตำแหน่งเดียวกันกับผู้ชาย โดยเพิกเฉยต่อข้อเท็จจริงทางชีววิทยาว่าในกระบวนการ[[การสืบพันธุ์]]และ[[การตั้งครรภ์]]ไม่มี "ความเท่าเทียม" และนอกจากความแตกต่างทางกายภาพแล้วยังมีข้อจำกัดที่เป็นสิ่งประกอบสร้างทางสังคมซึ่งกำหนดตำแหน่งที่เป็นรองทั้งในทางสังคมและทางวัฒนธรรมให้กับผู้หญิง ซึ่งเป็นสถานการณ์ที่จำเป็นต้องใช้แนวทางเฉพาะกิจสำหรับสิทธิสตรี ไม่เพียงแค่อย่างที่เป็นกลางทางเพศ<ref>{{cite book
|title=EU Non-Discrimination Law in the Courts: Approaches to Sex and Sexualities, Discrimination in the EU law
|first=Jule|last= Mulder
|publisher=Bloomsbury Academic
|date=2017
|isbn=9781849467636
|pages=35–39
}}</ref> ในบทสัมภาษณ์จาก ค.ศ. 1975 [[ซีมอน เดอ โบวัวร์]] พูดถึงปฏิกิริยาแง่ลบต่อสิทธิสตรีจากฝ่ายซ้ายทั้งที่ควรเป็นฝ่ายที่ก้าวหน้าและสนับสนุนความเปลี่ยนแปลงทางสังคม และแสดง[[วิมตินิยม|ความกังขา]]ต่อองค์กรระหว่างประเทศกระแสหลัก<ref>{{cite AV media
|date= 5 พฤศจิกายน 2021
|title= Simone de Beauvoir “Why I’m a Feminist”, 1975 (English Subs)
|language= en
|url= https://www.youtube.com/watch?v=g6eDMaDWquI
|access-date= 16 มิถุนายน 2023
|archive-url= https://web.archive.org/web/20230408125823/https://www.youtube.com/watch?v=g6eDMaDWquI
|archive-date= 8 เมษายน 2023
|publisher= Filosofi för Gymnasiet
|time=17:30-20:00 และ 24:00-24:40
|via=[[ยูทูบ]]
}}</ref>

มีการตั้งคำถามว่าการแทรกแซงจากนานาชาติในประเด็นทางสังคมภายในประเทศโดยองค์กรระหว่างประเทศเป็นที่ยอมรับได้หรือไม่<ref>{{Cite journal
| url=https://www.cambridge.org/core/journals/international-journal-of-law-in-context/article/abs/backlash-against-international-courts-explaining-the-forms-and-patterns-of-resistance-to-international-courts/BFFB3130BF448758B01FAACD60C50C6A
| doi=10.1017/S1744552318000034
| title=Backlash against international courts: Explaining the forms and patterns of resistance to international courts
| year=2018
| last1=Madsen | first1=Mikael Rask | last2=Cebulak | first2=Pola
| last3=Wiebusch | first3=Micha
| journal=International Journal of Law in Context
| volume=14 | issue=2 | pages=197–220
| s2cid=44099059
}}</ref> โดยเฉพาะอย่างยิ่งการมีองค์กรระหว่างประเทศจำนวนมากสามารถสร้างความสับสนได้ เช่นการวินิจฉัยปัญหาเดียวกันในทางที่ขัดแย้งกัน เช่น[[ศาลสิทธิมนุษยชนยุโรป]] (European Court of Human Rights) มีคำพิพากษายืนการห้ามสวมใส่[[บุรเกาะอ์]]ในที่สาธารณะของประเทศฝรั่งเศสใน ค.ศ. 2014<ref>{{Cite news
| url=https://www.bbc.com/news/world-europe-28106900
| title=European Court upholds French full veil ban
| work=BBC News
| date=July 2014
|archive-url=https://web.archive.org/web/20230606075215/https://www.bbc.com/news/world-europe-28106900
|archive-date=6 มิถุนายน 2023
|url-status=live
}}</ref> ในขณะที่[[คณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ]] (United Nations Human Rights Committee) วินิจฉัยสรุปใน ค.ศ. 2018 ว่าการห้ามสวมใส่[[บุรเกาะอ์]]ในที่สาธารณะของประเทศฝรั่งเศสเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน<ref>{{Cite web
| url=https://ijrcenter.org/2018/11/14/un-human-rights-committee-condemns-burqa-ban-countering-european-court/
| title=UN Human Rights Committee Condemns 'Burqa Ban,' Countering European Court
| date=14 พฤศจิกายน 2018
|archive-url=https://web.archive.org/web/20230526221722/https://ijrcenter.org/2018/11/14/un-human-rights-committee-condemns-burqa-ban-countering-european-court/
|archive-date= 26 พฤษภาคม 2023
|url-status=live
}}</ref> องค์กรระหว่างประเทศได้รับคำวิจารณ์ว่าตั้งอยู่บนอุดมการณ์ของการมีแนวทางแบบเหมาโหลต่อประเด็นต่าง ๆ ซึ่งไม่พิจารณาว่าบางแนวทางอาจใช้การได้ในบางวัฒนธรรมแต่ใช้ไม่ได้ในวัฒนธรรมอื่น<ref>{{cite journal
| url=https://brill.com/view/journals/icla/17/4/article-p591_591.xml?language=en
| doi=10.1163/15718123-01704002
| title=The Future of the International Criminal Court. On Critique, Legalism and Strengthening the icc's Legitimacy
| year=2017
| last1=De Hoon | first1=Marieke
| journal=International Criminal Law Review
| volume=17 | issue=4 | pages=591–614
}}</ref><ref>{{cite journal
| url=https://www.jstor.org/stable/10.5305/amerjintelaw.106.2.0225
| jstor=10.5305/amerjintelaw.106.2.0225
| doi=10.5305/amerjintelaw.106.2.0225
| title=Assessing the Effectiveness of International Courts: A Goal-Based Approach
| year=2012
| last1=Shany | first1=Yuval
| journal=American Journal of International Law
| volume=106 | issue=2 | pages=225–270
| s2cid=147638769
}}</ref> ว่าการแทรกแซงภายในประเทศอื่นจากนานาชาติส่วนมากเป็นการทำร้ายมากกว่าดี และว่าปัญหาต่าง ๆ ในวัฒนธรรมหนึ่งในท้ายที่สุดจะต้องได้รับการแก้ไขจากภายในวัฒนธรรมนั้นเอง ไม่ใช่จากการบังคับแทรกแซงโดยต่างชาติ<ref>{{cite book
| chapter-url=https://link.springer.com/chapter/10.1007/978-3-319-57621-3_3
| doi=10.1007/978-3-319-57621-3_3
| chapter=Humanitarian Intervention as Neocolonialism
| title=Domesticating Human Rights
| series=Philosophy and Politics - Critical Explorations
| year=2017
| last1=Ingiyimbere | first1=Fidèle
| volume=4 | pages=57–121
| isbn=978-3-319-57620-6
}}</ref> องค์กรระหว่างประเทศยังได้รับข้อวิจารณ์อีกว่าแม้จะอ้างว่าสนับสนุนสิทธิมนุษยชนทั่วโลกและสากล แต่มักสนับสนุนผลประโยชน์ของอภิชนโลกตะวันตก<ref>{{cite journal
| url=https://www.cambridge.org/core/journals/leiden-journal-of-international-law/article/abs/western-centrism-contemporary-international-law-and-international-courts/F06A8B2D89BE63DA08925D64370C1E2E
| doi=10.1017/S0922156521000017
| title=Western centrism, contemporary international law, and international courts
| year=2021
| last1=Caserta | first1=Salvatore
| journal=Leiden Journal of International Law
| volume=34 | issue=2 | pages=321–342
| s2cid=233732933
}}</ref> ความชอบธรรมขององค์กรระหว่างประเทศถูกตั้งคำถามในคริสต์ศตวรรษที่ 21 โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากการเปิดโปงเรื่องอื้อฉาวระดับนานาชาติต่าง ๆ อาทิ[[การทารุณเด็กทางเพศโดยเจ้าหน้าที่รักษาสันติภาพของสหประชาชาติ]] (child sexual abuse by UN peacekeepers)<ref>
{{Cite episode
| title =Sexual abuse by UN and non-UN peacekeepers
| url =https://www.abc.net.au/radionational/programs/bigideas/sexual-abuse-by-un-and-non-un-peacekeepers/12247920
| series =Big Ideas
|first=Jasmine-Kim (Speaker)|last= Westendorf
| first2=Paul (Presenter)|last2= Barclay|first3= Karin (Producer)|last3= Zsivanovits
| network =Australian Broadcasting Corporation
| station =Radio National
| date =15 มิถุนายน 2020
| language =en
|archive-url=https://web.archive.org/web/20230609210425/https://www.abc.net.au/radionational/programs/bigideas/sexual-abuse-by-un-and-non-un-peacekeepers/12247920
|archive-date=9 มิถุนายน 2023
|url-status=live
}}</ref>


==หมายเหตุ==
==หมายเหตุ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 16:29, 17 มิถุนายน 2566

ความเท่าเทียมทางเพศ หรือ ความเท่าเทียมระหว่างเพศ หมายถึงสภาวะของการเข้าถึงทรัพยากรและโอกาสได้โดยสะดวกอย่างเท่าเทียมกันโดยไม่สนสถานะเพศไม่ว่าจะเป็นการมีส่วนร่วมทางเศรษฐกิจหรือในกระบวนการตัดสินใจ และสภาวะของการให้คุณค่ากับพฤติกรรม ปณิธาน และความต้องการที่แตกต่างหลากหลายอย่างเท่าเทียมกันโดยไม่สนสถานะเพศ[1]

ความเท่าเทียมทางเพศเป็นเป้าหมาย ในขณะที่ความเป็นกลางทางเพศกับความเที่ยงธรรมทางเพศเป็นแนวปฏิบัติและวิธีคิดซึ่งช่วยในการบรรลุเป้าหมายนั้น ภาวะเสมอกันทางเพศ (Gender parity) ซึ่งใช้วัดสมดุลทางเพศในสถานการณ์ต่าง ๆ สามารถช่วยในการบรรลุความเท่าเทียมทางเพศได้แต่มิใช่เป้าหมายในตัวมันเอง ความเท่าเทียมทางเพศไม่ใช่เพียงแค่การมีตัวแทนที่เท่ากัน โดยมีความเกี่ยวข้องอย่างยิ่งกับสิทธิสตรีและส่วนมากต้องใช้การเปลี่ยนแปลงในระดับนโยบาย ขบวนการเพื่อความเท่าเทียมทางเพศต่าง ๆ ยังขาดการกล่าวถึงโจทย์ของเพศนอกเหนือจากชายกับหญิง (Third gender) หรืออัตลักษณ์แห่งเพศ (Gender identity) อื่น ๆ นอกเหนือระบบเพศทวิลักษณ์

กองทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติกล่าวว่าความเท่าเทียมทางเพศหมายถึง "เมื่อหญิงและชาย ... มีสิทธิ ทรัพยากร โอกาส และความคุ้มครองที่เหมือนกัน มิได้แปลว่า ... หญิงและชายจะต้องเหมือนกัน หรือได้รับการปฏิบัติต่อตนในแบบเดียวกันโดยสิ้นเชิง"[2][i]

การบรรลุความเท่าเทียมทางเพศในระดับโลกจำเป็นต้องขจัดการปฏิบัติที่ทำร้ายผู้หญิง อาทิการค้ามนุษย์ทางเพศ (sex trafficking) อิตถีฆาต (femicide) ความรุนแรงทางเพศยามสงคราม (wartime sexual violence) ช่องว่างค่าจ้างระหว่างเพศ (gender wage gap)[3] และวิธีการกดขี่อื่น ๆ กองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติกล่าวว่า "แม้จะมีข้อตกลงระดับนานาชาติจำนวนมากที่รับรองสิทธิมนุษยชนของผู้หญิง แต่เมื่อเทียบกับผู้ชายกลับยังคงมีแนวโน้มที่จะยากจนและไม่รู้หนังสือมากกว่า พวกเขาสามารถเข้าถึงการถือครองทรัพย์สิน สินเชื่อ การฝึกทักษะ และการจ้างงานได้น้อยกว่า เหล่านี้ส่วนหนึ่งเกิดจากภาพเหมารวมแบบโบราณที่แปะป้ายให้ผู้หญิงเป็นผู้คลอดบุตรและคนทำงานบ้านมากกว่าที่จะเป็นคนหาเลี้ยงให้ครอบครัว[4] พวกเขามีแนวโน้มในการมีส่วนร่วมทางการเมืองน้อยกว่าผู้ชายอย่างยิ่ง และในการตกเป็นเหยื่อของความรุนแรงในครอบครัวมากกว่าอย่างยิ่ง"[5]

ความเท่าเทียมทางเพศเป็นเป้าหมายที่ 5 ของเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนของสหประชาชาติ รายงานการพัฒนามนุษย์ (Human Development Report) ของโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติวัดค่าของความเหลื่อมล้ำทางเพศทุก ๆ ปี

ประวัติศาสตร์

คริสตีน เดอ ปีซ็อง (Christine de Pizan) ผู้สนับสนุนความเท่าเทียมทางเพศในยุคแรกกล่าวในหนังสือของตนใน ค.ศ. 1405 The Book of the City of Ladies ไว้ว่าการกดขี่ผู้หญิงตั้งอยู่บนอคติที่ไร้เหตุผล โดยชี้ให้เห็นถึงความก้าวหน้าต่าง ๆ ในสังคมซึ่งสร้างขึ้นโดยผู้หญิง[6][7]

เชกเกอส์

Life of the Diligent Shaker จาก Shaker Historical Society
The Ritual Dance of the Shakers จาก Shaker Historical Society
The Shakers harvesting their famous herbs จาก Shaker Historical Society

เชกเกอส์ (Shakers) เป็นคริสเตียนนิกายฟื้นฟู (restorationism) กลุ่มธรรมอักษร (evangelicalism) ซึ่งปฏิบัติการแบ่งแยกเพศกันอยู่และการอยู่เป็นโสดอย่างเคร่งครัด และเป็นคนกลุ่มแรก ๆ ที่นำความเท่าเทียมทางเพศมาปฏิบัติใช้ เป็นกลุ่มที่แยกตัวออกมาจากชุมชนเควกเกอร์ (Quackers) ในภูมิภาคตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศอังกฤษซึ่งอพยพมายังทวีปอเมริกาใน ค.ศ. 1774 หัวหน้าคณะศาสนาจารย์กลางของเชกเกอส์ใน ค.ศ. 1788 โจเซฟ มีชชัม (Joseph Meacham) ได้รับวิวรณ์ว่าแต่ละเพศควรเท่าเทียมกัน เขาจึงชวนลูซี ไรต์ (Lucy Wright) เข้าร่วมคณะในฐานะเป็นคู่ตรงข้ามฝ่ายหญิง ทั้งสองร่วมกันปรับโครงสร้างสังคมเพื่อสร้างสมดุลของสิทธิระหว่างแต่ละเพศ มีชชัมและไรต์จัดตั้งคณะผู้นำที่ผู้ปกครองชายแต่ละคนที่ดูแลสวัสดิภาพฝ่ายจิตวิญญาณของผู้ชายจะมีคู่ตรงข้ามกับผู้ปกครองหญิงซึ่งกระทำการเดียวกันในส่วนของผู้หญิง มัคนายกชายแต่ละคนจะมีคู่ตรงข้ามฝ่ายหญิง และแต่ละเพศควบคุมดูแลและอยู่อาศัยกับเพศของตน ในสังคมเชกเกอร์ ผู้หญิงไม่จำเป็นต้องถูกควบคุมหรือตกเป็นของผู้ชายคนใด หลังมีชชัมเสียชีวิตใน ค.ศ. 1796 ไรต์ขึ้นเป็นหัวหน้าคณะแทนจนกระทั่งมรณภาพใน ค.ศ. 1821

เชกเกอส์คงลักษณะการปกครองแบบสมดุลทางเพศไว้นานกว่า 200 ปี และยังส่งเสริมความเท่าเทียมด้วยการร่วมทำงานกับผู้สนับสนุนสิทธิสตรีคนอื่น ๆ ใน ค.ศ. 1859 ผู้ปกครองเชกเกอร์เฟรเดอริก อีแวนส์ (Frederick Evan) ประกาศความเชื่อของเขาโดยเขียนว่าพวกเชกเกอส์เป็น "พวกแรกที่ปลดปล่อยผู้หญิงจากภาวะทาสที่ระบบศาสนาอื่น ๆ ล้วนแล้วแต่มอบหมายให้เขา (ไม่มากก็น้อย) และที่รับรองสิทธิอันสมควรและทัดเทียมกับชายให้กับเขา ซึ่งด้วยความคล้ายคลึงกับชายทั้งในองคาพยพและสมรรถนะ ย่อมเป็นพระประสงค์ของพระผู้เป็นเจ้าอีกทั้งของธรรมชาติ"[8] กอปรกับคู่ตรงข้ามของเขาผู้ปกครองหญิงแอนทัวเนตต์ ดูลิตเติล (Antoinette Doolittle) ได้เข้าร่วมเวทีปราศรัยของกลุ่มผู้สนับสนุนสิทธิสตรีในแถบตะวันออกเฉียงเหนือของสหรัฐในคริสต์ทศวรรษ 1870 ผู้เข้าเยี่ยมชมชุมชนเชกเกอส์คนหนึ่งเขียนไว้ใน ค.ศ. 1875 ว่า

แต่ละเพศทำงานในสาขาที่เหมาะสมกับตน ผู้หญิงอยู่ใต้บังคับบัญชา เชื่อฟัง และเคารพผู้ชายภายใต้ระเบียบของเขา และผู้ชายเฉกเช่นเดียวกันภายใต้ระเบียบของผู้หญิง [เน้นความ] อย่างนั้นเองผู้ที่พากเพียรเรียกร้อง "สิทธิสตรี" ผู้ใดก็ตามที่เข้ามาในชุมชนแห่งนี้จะพบว่าอุดมคติของตนได้กลายเป็นจริงในภาคปฏิบัติแล้ว[9]

มีข้อเสนอว่าพวกเชกเกอส์แสดงให้เห็นว่าความเท่าเทียมทางเพศสามารถบรรลุได้และบรรลุได้อย่างไร[10] ในสังคมส่วนใหญ่ ขบวนการเพื่อความเท่าเทียมทางเพศเริ่มต้นจากขบวนการเรียกร้องสิทธิออกเสียงเลือกตั้ง (suffragette) ในกลุ่มวัฒนธรรมตะวันตกช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 ซึ่งเรียกร้องให้ผู้หญิงมีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งและดำรงตำแหน่งจากการเลือกตั้งได้ ช่วงเวลานี้ยังเกิดความเปลี่ยนแปลงสำคัญของสิทธิในทรัพย์สินของผู้หญิง (women's property rights) โดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับสถานะสมรส (เช่นพระราชบัญญัติทรัพย์สินของหญิงมีสามี ค.ศ. 1882 (Married Women's Property Act 1882) ในสหราชอาณาจักร)

หลังสงครามโลกครั้งที่สอง

ตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่สองเป็นต้นมา ขบวนการปลดปล่อยผู้หญิง (women's liberation movement) และสตรีสิทธินิยมได้ก่อให้เกิดความเคลื่อนไหวไปสู่การรับรองสิทธิของผู้หญิง สหประชาชาติและหน่วยงานระหว่างประเทศอื่น ๆ มีมติเห็นชอบอนุสัญญาหลายฉบับที่ส่งเสริมความเท่าเทียมทางเพศ แต่อนุสัญญาเหล่านี้ยังไม่ได้รับมติเห็นชอบอย่างเป็นเอกฉันท์จากทุก ๆ ประเทศ อันประกอบด้วย

กฎหมายและนโยบายยืนยันสิทธิประโยชน์ (affirmative action) เหล่านี้เป็นสิ่งสำคัญต่อการสร้างความเปลี่ยนแปลงในเจตคติของสังคม งานสำรวจพลเมืองใน 38 ประเทศใน ค.ศ. 2015 ของ Pew Research Center พบว่าคนส่วนใหญ่ใน 37 ประเทศกล่าวว่าความเท่าเทียมทางเพศอย่างน้อยที่สุด "สำคัญประมาณหนึ่ง" และค่ามัธยฐานระดับโลกที่ร้อยละ 65 เชื่อว่า "สำคัญอย่างยิ่ง" ที่ผู้หญิงจะมีสิทธิเหมือนกันกับผู้ชาย[16]

ในปัจจุบันอาชีพส่วนใหญ่ในหลายประเทศรับทำงานทั้งผู้ชายและผู้หญิงอย่างเท่าเทียมกัน[ii] เช่นเดียวกัน ผู้ชายเข้าทำงานในสาขาอาชีพซึ่งในอดีตถูกมองว่าเป็นงานของผู้หญิง (women's work) เพิ่มมากขึ้น เช่นการพยาบาล การทำความสะอาด (Maid) และการดูแลเด็ก (child care) ในส่วนของครัวเรือน การแบ่งปันบทบาทหน้าที่เลี้ยงเด็ก (Parenting) เริ่มมีมากขึ้นหรือถูกมองว่าเป็นหน้าที่ของผู้หญิงโดยเฉพาะไม่มากเท่าเดิม ทำให้ผู้หญิงมีอิสระที่จะทำงานอาชีพภายหลังการคลอดบุตร ความเปลี่ยนแปลงอีกประการหนึ่งในเจตคติของสังคมคือการไม่เปลี่ยนนามสกุลของผู้หญิงเป็นของผู้ชายโดยอัตโนมัติเมื่อสมรสกัน (Married and maiden names)[17]

ประเด็นด้านความเท่าเทียมทางเพศที่เป็นข้อพิพาทคือเรื่องบทบาทของผู้หญิงในสังคมเคร่งศาสนา (religious law)[iii][iv] คริสต์ศาสนิกชนและมุสลิมบางกลุ่มเชื่อในคติความเติมเต็ม (Complementarianism) ซึ่งเป็นมุมมองว่าผู้ชายและผู้หญิงมีบทบาทที่แตกต่างแต่เติมเต็มซึ่งกันและกัน มุมมองนี้อาจอยู่ตรงข้ามกับมุมมองและเป้าหมายของความเท่าเทียมทางเพศ

จากสารคติ Ukraine Is Not a Brothel กลุ่มผู้ประท้วงสายมูลวิวัติแฟแมน (Femen) ต่อต้านการท่องเที่ยวทางเพศในประเทศยูเครนซึ่งกำลังขยายตัว

นอกจากนั้น ความเท่าเทียมทางเพศก็อาจยังคงเป็นข้อถกเถียงในประเทศนอกโลกตะวันตกที่ไม่เคร่งศาสนาบางประเทศเช่นกัน วัฒนธรรมความพึงใจเลือกบุตรเพศชาย (Sex-selective abortion) ในประเทศจีนทำให้ประชากรผู้หญิงไม่เพียงพอ ขบวนการสตรีสิทธินิยมในประเทศญี่ปุ่น (Feminism in Japan) สร้างความก้าวหน้าหลายประการและทำให้มีการก่อตั้งสำนักความเท่าเทียมทางเพศ (Gender Equality Bureau) ขึ้นมา แต่ประเทศญี่ปุ่นยังคงมีความเท่าเทียมทางเพศในระดับที่ต่ำเมื่อเทียบกับประเทศอุตสาหกรรมอื่น ๆ

แนวคิดว่าด้วยความเท่าเทียมทางเพศและระดับของมันในบางประเทศเป็นเรื่องที่ซับซ้อน เพราะประเทศนั้นอาจมีประวัติศาสตร์ของความเท่าเทียมทางเพศระดับสูงในส่วนหนึ่งของชีวิต แต่ไม่มีในส่วนอื่น ๆ[v][vi] การจัดหมวดหมู่ประเทศตามระดับของความเท่าเทียมทางเพศที่ได้บรรลุผลจึงต้องทำอย่างระมัดระวัง[18] นักวิชาการรัฐศาสตร์ มาลา ทูน (Mala Htun) และ เอส. ลอเรล เวลดัน (S. Laurel Weldon) กล่าวว่า "นโยบายเรื่องสถานะเพศไม่ใช่ประเด็นเดี่ยวแต่เป็นหลายประเด็น" และ[19]

เวลาที่ประเทศคอสตาริกามีวันลาคลอดที่ดีกว่าของสหรัฐ และประเทศแถบลาตินอเมริกานำนโยบายเกี่ยวกับความรุนแรงต่อผู้หญิงมาปฏิบัติใช้ได้รวดเร็วว่าประเทศแถบนอร์ดิก อย่างน้อยที่สุดเราต้องพิจารณาถึงความเป็นไปได้ที่จะมีวิธีการจัดกลุ่มรัฐต่าง ๆ แบบใหม่ที่จะทำให้การศึกษาการเมืองของเพศรุดก้าวหน้า

ความเชื่อเกี่ยวกับความเท่าเทียมทางเพศบางประการยังไม่เป็นที่ยอมรับอย่างแพร่หลาย เช่นท็อปฟรีดอม (topfreedom) หรือสิทธิในการเปลือยท่อนบนในที่สาธารณะ ซึ่งส่วนมากเฉพาะผู้ชายเท่านั้นที่มีสิทธินี้และยังคงเป็นประเด็นชายขอบ การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในที่สาธารณะ (Breastfeeding in public) ในปัจจุบันเป็นที่ยอมรับมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะในบริเวณกึ่งส่วนบุคคลเช่นร้านอาหาร[20]

สหประชาชาติ

ความเท่าเทียมทางเพศเป็นวิสัยทัศน์ของการปฏิบัติต่อผู้ชายและผู้หญิงอย่างเท่าเทียมกันทั้งในทางสังคม เศรษฐกิจ และทุกแง่มุมอื่น ๆ ของสังคม และการไม่เลือกปฏิบัติบนฐานของสถานะเพศ[vii] ความเท่าเทียมทางเพศเป็นหนึ่งในวัตถุประสงค์ของปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติ[21] องค์กรโลกต่าง ๆ ให้นิยามกับความเท่าเทียมทางเพศด้วยคำศัพท์อย่างสิทธิมนุษยชน โดยเฉพาะสิทธิสตรีและการพัฒนาเศรษฐกิจ[22][23] รายงานเป้าหมายการพัฒนาสหัสวรรษของสหประชาชาติกล่าวถึงเป้าหมายว่าเป็นการ "บรรลุความเท่าเทียมทางเพศและการเพิ่มอำนาจของผู้หญิง" แม้ในประเทศกำลังพัฒนาจะประสบปัญหาทางเศรษฐกิจ แต่สหประชาชาติก็ยังคงส่งเสริมความเท่าเทียมทางเพศและช่วยเหลือในการสร้างสภาพแวดล้อมการทำงานที่ยั่งยืนในทุก ๆ รัฐสมาชิก เป้าหมายยังรวมถึงการทำให้ค่าจ้างของผู้หญิงที่ทำงานเต็มเวลาเท่ากับของผู้ชายในอาชีพเดียวกัน

ความลำเอียง

อุดมการณ์ตามแบบสตรีสิทธินิยมตะวันตกและวัฒนธรรมตะวันตกควรถือเป็นมาตรฐานนานาชาติที่ประเทศกำลังพัฒนาต้องทำตามหรือไม่เป็นที่ถกเถียงกัน[24]
ตัวอย่างของอุดมการณ์ยุโรปตะวันตกที่เป็นต้นเหตุของการประหัตประหารผู้หญิง[25] หนังสือชื่อว่า Malleus Maleficarum สนับสนุนการกำจัดแม่มด (Witch trials in the early modern period) หนังสือเล่มนี้ถูกเขียนขึ้นมาโดยนักบวชคาทอลิกชาวเยอรมันไฮน์ริช คราเมอร์ (Heinrich Kramer)

งานศึกษาเรื่องการทำนายบุคคลิกภาพของบุคคลจากภาพถ่ายใน 44 ประเทศพบว่าปรากฏการณ์ผู้หญิงยอดเยี่ยม (women-are-wonderful) อยู่ในระดับที่ต่ำในประเทศที่มีความเท่าเทียมทางเพศสูง และสิ่งที่เพิ่มขึ้นคือการที่ผู้ชายถูกมองในแง่ลบน้อยลง[26]

ข้อวิจารณ์

นักสตรีสิทธินิยมบางส่วนวิจารณ์วาทกรรมและนโยบายทางการเมืองต่าง ๆ ที่ใช้ในการบรรลุ "ความก้าวหน้า" ในความเท่าเทียมทางเพศ ว่ายุทธศาสตร์เหล่านี้เป็นยุทธศาสตร์ที่ผิวเผิน ไม่ได้พยายามท้าทายโครงสร้างทางสังคมที่ถูกครอบงำโดยผู้ชาย และมุ่งที่จะพัฒนาสถานการณ์ของผู้หญิงในกรอบของผู้หญิงที่อยู่ใต้ผู้ชายเท่านั้น[27] และวิจารณ์ว่านโยบายสาธารณะทางการต่าง ๆ (เช่นนโยบายของรัฐหรือขององค์กรระหว่างประเทศ) มีปัญหา เพราะถูกนำมาใช้ในบริบทแบบปิตาธิปไตย และถูกควบคุมทั้งทางตรงและทางอ้อมโดยตัวแทนของระบบซึ่งส่วนใหญ่ประกอบด้วยผู้ชาย[28] หนึ่งในข้อวิจารณ์นโยบายความเท่าเทียมทางเพศของสหภาพยุโรปกล่าวว่าให้ความสำคัญกับนโยบายที่บูรณาการผู้หญิงเข้าไปในชีวิตสาธารณะอย่างไม่ได้สัดส่วนกับนโยบายที่พยายามจัดการกับการกดขี่ในพื้นที่ส่วนตัวอย่างจริงจัง[29]

ข้อวิจารณ์หนึ่งกล่าวว่าการมุ่งเน้นที่สถานการณ์ของผู้หญิงในประเทศนอกโลกตะวันตกแต่เมินเฉยต่อปัญหาที่มีอยู่แล้วในโลกตะวันตกเป็นจักรวรรดินิยมอีกรูปแบบหนึ่ง เป็นการหนุนเสริมความเหนือกว่าทางจริยธรรมของตะวันตก และเป็นอีกวิธีหนึ่งในการทำให้ความรุนแรงในครัวเรือนกลายเป็น "อื่น" โดยจัดแสดงมันเสมือนเป็นสิ่งที่เฉพาะคนนอกมีเท่านั้น กล่าวคือพวก "คนอื่นหัวรุนแรง" และอ้างว่าเป็นสิ่งที่ไม่มีอยู่ในวัฒนธรรมตะวันตกที่ก้าวหน้า[30] นักวิจารณ์กลุ่มนี้ชี้ว่าผู้หญิงในประเทศตะวันตกประสบกับปัญหาที่คล้ายกันบ่อยครั้ง เช่นความรุนแรงในครัวเรือนและการข่มขืน เช่นเดียวกับในส่วนอื่น ๆ ของโลก[31] และอ้างอิงข้อเท็จจริงว่าเมื่อไม่กี่ทศวรรษที่แล้วผู้หญิงยังได้รับการเลือกปฏิบัติจากกฎหมายอยู่ในประเทศตะวันตกบางประเทศ เช่นสวิตเซอร์แลนด์ กรีซ สเปน และฝรั่งเศส ที่ผู้หญิงได้รับสิทธิที่เท่าเทียมกันในกฎหมายครอบครัวในคริสต์ทศวรรษ 1980[viii][ix][x][xi]

ข้อวิจารณ์อีกข้อหนึ่งกล่าวว่าการกดขี่ผู้หญิงชนิดต่าง ๆ ได้รับการพูดถึงในสาธารณะอย่างเลือกปฏิบัติ โดยความรุนแรงบางรูปแบบเช่นยโศโฆษาฆาต (honor killings) (พบได้บ่อยที่สุดในบางภูมิภาคเช่นบางส่วนของทวีปเอเชียและแอฟริกาเหนือ) ถูกนำมาถกเถียงอยู่บ่อยครั้ง ในขณะที่ความรุนแรงรูปแบบอื่น ๆ เช่นการลงโทษอย่างโอนอ่อนสำหรับความผิดตัณหาอาชญากรรม (crimes of passion) ทั่วทั้งลาตินอเมริกาไม่ได้รับความสนใจที่เท่ากันในโลกตะวันตก[33][xii] แต่มีการกล่าวว่าข้อวิจารณ์กฎหมายบางข้อของประเทศกำลังพัฒนากำลังเพิกเฉยต่ออิทธิพลที่ลัทธิอาณานิคมมีต่อระบบกฎหมายเหล่านั้น[xiii] แนวคิดของการทำให้เป็นตะวันตก (Westernization) และการทำให้เป็นยุโรป (Europeanisation) ตกเป็นข้อโต้เถียงเนื่องจากเป็นการเตือนความจำถึงลัทธิอาณานิคมในอดีต[34] และด้วยเหตุข้อเท็จจริงที่แม้แต่ในประเทศตะวันตกบางประเทศ เช่นสวิตเซอร์แลนด์เอง ก็ยังล่าช้าเป็นอย่างมากในการคืนสิทธิทางกฎหมายให้แก่ผู้หญิง[35][36]

นอกจากนี้ มีการคัดค้านวิธีการที่สื่อตะวันตกแสดงแทนผู้หญิงจากวัฒนธรรมต่าง ๆ ซึ่งทำให้เกิดภาพเหมารวมขึ้นมา ไม่ว่าจะเป็นภาพของผู้หญิงเอเชียหรือยุโรปตะวันออกที่ "ยอมจำนน" ซึ่งเป็นภาพเหมารวมที่ถูกเชื่อมโยงกับอุตสาหกรรมเจ้าสาวสั่งทางไปรษณีย์ (mail-order bride)[37] ภาพเหมารวมเหล่านี้ส่วนมากไม่เป็นเรื่องจริงโดนสิ้นเชิง ตัวอย่างเช่น ผู้หญิงในประเทศยุโรปตะวันออกหลายประเทศประกอบอาชีพที่มีสถานะทางวิชาชีพอยู่ในระดับสูง[38][39] นักสตรีสิทธินิยมในประเทศกำลังพัฒนาหลายประเทศต่อต้านมโนคติที่ว่าผู้หญิงในประเทศเหล่านี้จำเป็นต้องได้รับ "ความช่วยเหลือ" จากโลกตะวันตก[40] ความเท่าเทียมทางเพศควรถูกวัดค่าอย่างไรยังคงเป็นที่ถกเถียง และคำถามว่าโลกตะวันตกทำมันได้ดีที่สุดหรือไม่ก็เช่นกัน งานศึกษาจาก ค.ศ. 2010 พบว่าจากประเทศที่มีผู้หญิงจบการศึกษาระดับมหาวิทยาลัยจากสาขาวิชาวิทยาศาสตร์มากที่สุด 20 ประเทศ ส่วนใหญ่เป็นประเทศที่ถูกมองจากนานาชาติว่ามีคะแนนต่ำมากในอันดับของสิทธิสตรี โดยสามอันดับแรกประกอบด้วยประเทศอิหร่าน ซาอุดีอาระเบีย และโอมาน และมีประเทศยุโรปเพียงห้าประเทศในยี่สิบอันดับนี้ ประกอบด้วยประเทศโรมาเนีย บัลแกเรีย อิตาลี จอร์เจีย และกรีซ[41]

ข้อโต้เถียงเกี่ยวกับอิทธิพลทางวัฒนธรรมของโลกตะวันตกในโลกไม่ใช่เรื่องใหม่ ในช่วงปลายคริสต์ทศวรรษ 1940 ในขณะที่กำลังมีการร่างปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนขึ้นมา สมาคมมานุษยวิทยาอเมริกัน (American Anthropological Association) กล่าวเตือนว่าเอกสารนี้จะให้นิยามกับสิทธิอันเป็นสากลจากมุมมองตะวันตก ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อประเทศนอกโลกตะวันตก และกล่าวอ้างเพิ่มเติมว่าประวัติศาสตร์ของลัทธิอาณานิคมและการแทรกแซงสังคมอื่น ๆ ของโลกตะวันตกทำให้ฝ่ายนี้เป็นตัวแทนทางจริยธรรมที่เป็นปัญหาสำหรับมาตรฐานโลกที่เป็นสากล[42]

มีข้อวิจารณ์ว่ากฎหมายระหว่างประเทศ ศาลระหว่างประเทศ (international court) และแนวคิดสิทธิมนุษยชนที่เป็นกลางทางเพศและเป็นสากลอย่างดีที่สุดเงียบเฉยต่อประเด็นที่สำคัญต่อผู้หญิงและอย่างแย่ที่สุดวางผู้ชายไว้เป็นศูนย์กลาง ด้วยการพิจารณาให้บุคคลเพศชายเป็นค่าโดยปริยาย[43] ความเป็นกลางทางเพศที่มากเกินไปสามารถทำให้สถานการณ์ของผู้หญิงแย่ลงได้ เพราะกฎหมายจะสมมุติว่าผู้หญิงอยู่ในตำแหน่งเดียวกันกับผู้ชาย โดยเพิกเฉยต่อข้อเท็จจริงทางชีววิทยาว่าในกระบวนการการสืบพันธุ์และการตั้งครรภ์ไม่มี "ความเท่าเทียม" และนอกจากความแตกต่างทางกายภาพแล้วยังมีข้อจำกัดที่เป็นสิ่งประกอบสร้างทางสังคมซึ่งกำหนดตำแหน่งที่เป็นรองทั้งในทางสังคมและทางวัฒนธรรมให้กับผู้หญิง ซึ่งเป็นสถานการณ์ที่จำเป็นต้องใช้แนวทางเฉพาะกิจสำหรับสิทธิสตรี ไม่เพียงแค่อย่างที่เป็นกลางทางเพศ[44] ในบทสัมภาษณ์จาก ค.ศ. 1975 ซีมอน เดอ โบวัวร์ พูดถึงปฏิกิริยาแง่ลบต่อสิทธิสตรีจากฝ่ายซ้ายทั้งที่ควรเป็นฝ่ายที่ก้าวหน้าและสนับสนุนความเปลี่ยนแปลงทางสังคม และแสดงความกังขาต่อองค์กรระหว่างประเทศกระแสหลัก[45]

มีการตั้งคำถามว่าการแทรกแซงจากนานาชาติในประเด็นทางสังคมภายในประเทศโดยองค์กรระหว่างประเทศเป็นที่ยอมรับได้หรือไม่[46] โดยเฉพาะอย่างยิ่งการมีองค์กรระหว่างประเทศจำนวนมากสามารถสร้างความสับสนได้ เช่นการวินิจฉัยปัญหาเดียวกันในทางที่ขัดแย้งกัน เช่นศาลสิทธิมนุษยชนยุโรป (European Court of Human Rights) มีคำพิพากษายืนการห้ามสวมใส่บุรเกาะอ์ในที่สาธารณะของประเทศฝรั่งเศสใน ค.ศ. 2014[47] ในขณะที่คณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (United Nations Human Rights Committee) วินิจฉัยสรุปใน ค.ศ. 2018 ว่าการห้ามสวมใส่บุรเกาะอ์ในที่สาธารณะของประเทศฝรั่งเศสเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน[48] องค์กรระหว่างประเทศได้รับคำวิจารณ์ว่าตั้งอยู่บนอุดมการณ์ของการมีแนวทางแบบเหมาโหลต่อประเด็นต่าง ๆ ซึ่งไม่พิจารณาว่าบางแนวทางอาจใช้การได้ในบางวัฒนธรรมแต่ใช้ไม่ได้ในวัฒนธรรมอื่น[49][50] ว่าการแทรกแซงภายในประเทศอื่นจากนานาชาติส่วนมากเป็นการทำร้ายมากกว่าดี และว่าปัญหาต่าง ๆ ในวัฒนธรรมหนึ่งในท้ายที่สุดจะต้องได้รับการแก้ไขจากภายในวัฒนธรรมนั้นเอง ไม่ใช่จากการบังคับแทรกแซงโดยต่างชาติ[51] องค์กรระหว่างประเทศยังได้รับข้อวิจารณ์อีกว่าแม้จะอ้างว่าสนับสนุนสิทธิมนุษยชนทั่วโลกและสากล แต่มักสนับสนุนผลประโยชน์ของอภิชนโลกตะวันตก[52] ความชอบธรรมขององค์กรระหว่างประเทศถูกตั้งคำถามในคริสต์ศตวรรษที่ 21 โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากการเปิดโปงเรื่องอื้อฉาวระดับนานาชาติต่าง ๆ อาทิการทารุณเด็กทางเพศโดยเจ้าหน้าที่รักษาสันติภาพของสหประชาชาติ (child sexual abuse by UN peacekeepers)[53]

หมายเหตุ

  1. องค์การแรงงานระหว่างประเทศให้นิยามความเท่าเทียมทางเพศที่คล้ายกันว่า "the enjoyment of equal rights, opportunities and treatment by men and women and by boys and girls in all spheres of life"[I]
  2. ตัวอย่างเช่น หลายประเทศอนุญาตให้ผู้หญิงเข้ารับราชการในกองทัพ ตำรวจ และทำหน้าที่เป็นนักผจญเพลิง ซึ่งอาชีพเหล่านี้ในอดีตมักสงวนไว้สำหรับผู้ชาย แม้ว่าอาชีพเหล่านี้จะยังคงประกอบด้วยผู้ชายเป็นส่วนใหญ่ แต่จำนวนของผู้หญิงที่ทำงานกำลังเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในสาขาอาชีพเชิงบัญชาการเช่นภาคการเมือง และในตำแหน่งระดับสูงเช่นในภาคธุรกิจ
  3. ตัวอย่างเช่น ปฏิญญาไคโรว่าด้วยสิทธิมนุษยชนในอิสลาม (Cairo Declaration on Human Rights in Islam) ประกาศว่าผู้หญิงมีศักดิ์ศรีที่เท่าเทียมแต่ไม่มีสิทธิที่เท่าเทียม ประเทศที่มุสลิมเป็นส่วนใหญ่ยอมรับในสิ่งนี้
  4. ในคริสตจักรบางแห่ง ประเพณีการขอบคุณพระเจ้าสำหรับการคลอดบุตรหรือรับเป็นบุตรบุญธรรม (churching of women) อาจยังมีองค์ประกอบของพิธีกรรมทำให้บริสุทธิ์ (ritual purification) และการบวชของผู้หญิง (Ordination of women) อาจถูกจำกัดหรือห้าม
  5. ตัวอย่างเช่นประเทศฟินแลนด์ ผู้หญิงได้รับโอกาสที่สูงมากในชีวิตสาธารณะและวิชาชีพ แต่มีกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับความรุนแรงต่อสตรีที่อ่อนแอ สถานการณ์นี้ถูกเรียกว่าเป็นปฏิทรรศน์[II][III] "ประเทศฟินแลนด์ถูกกล่าวเตือนถึงปัญหาความรุนแรงต่อผู้หญิงที่แพร่หลายอยู่เสมอ และได้รับข้อเสนอแนะให้ใช้มาตรการจัดการสถานการณ์นี้อย่างมีประสิทธิผลมากกว่านี้ คำวิจารณ์จากนานาชาติเน้นไปที่การขาดมาตรการต่อสู้กับความรุนแรงต่อผู้หญิงทั้งโดยทั่วไป และโดยเฉพาะอย่างยิ่งที่การขาดแผนปฏิบัติการแห่งชาติในการต่อสู้กับความรุนแรงเหล่านี้และการขาดกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับความรุนแรงในครัวเรือน (...) เมื่อเทียบกับประเทศสวีเดน ประเทศฟินแลนด์ปฏิรูปกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับความรุนแรงต่อผู้หญิงได้ล่าช้ากว่า ความรุนแรงในครัวเรือนผิดกฎหมายในประเทศสวีเดนตั้งแต่ ค.ศ. 1864 ในขณะที่กว่าจะผิดกฎหมายในประเทศฟินแลนด์ก็จน ค.ศ. 1970 หนึ่งร้อยกว่าปีให้หลัง การลงโทษเหยื่อของการร่วมประเวณีกับญาติสนิทถูกยกเลิกไปใน ค.ศ. 1937 ในประเทศสวีเดนแต่ในประเทศฟินแลนด์ใน ค.ศ. 1971 การข่มขืนในสถานภาพสมรสถูกทำให้เป็นอาชญากรรมใน ค.ศ. 1962 ในประเทศสวีเดน แต่กฎหมายฉบับเดียวกันในฟินแลนด์เพิ่งถูกบังคับใช้ใน ค.ศ. 1994 ทำให้ประเทศฟินแลนด์เป็นหนึ่งในประเทศยุโรปแห่งสุดท้ายที่ทำให้การข่มขืนโดยคู่สมรสเป็นสิ่งผิดกฎหมาย นอกจากนี้ การประทุษร้ายภายในพื้นที่ส่วนบุคคลไม่เป็นความผิดที่กล่าวโทษได้ในประเทศฟินแลนด์จนกระทั่ง ค.ศ. 1995 และกว่าเหยื่อของความผิดทางเพศและความรุนแรงในครัวเรือนจะได้รับสิทธิในบริการสนับสนุนและให้คำปรึกษาที่อุดหนุนโดยรัฐระหว่างเวลาพิจารณาคดีก็จนกระทั่ง ค.ศ. 1997"[IV]
  6. ประเทศเดนมาร์กได้รับคำวิจารณ์อย่างหนักเกี่ยวกับการไม่มีกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับความรุนแรงทางเพศ (sexual violence) อย่างเหมาะสมจากรายงาน ค.ศ. 2008 ของแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล[IV] โดยอธิบายว่ากฎหมายประเทศเดนมาร์กนั้น "ไม่สอดคล้องกับมาตรฐานสิทธิมนุษยชนนานาชาติ"[V] นำมาให้ประเทศเดนมาร์กปฏิรูปกฎหมายความผิดทางเพศใน ค.ศ. 2013[VI][VII][VIII]
  7. "การบูรณาการมุมมองทางสถานะเพศคือกระบวนการประเมินผลกระทบที่ทุก ๆ แผนการกระทำจะมีต่อผู้หญิงและผู้ชาย ไม่ว่าจะเป็นกฎหมาย นโยบาย หรือโครงการต่าง ๆ ในทุก ๆ มิติและทุก ๆ ระดับ และเป็นยุทธศาสตร์เพื่อทำให้ข้อกังวลและประสบการณ์ของทั้งผู้หญิงและผู้ชายเป็นมิติที่บูรณาการอยู่ในขั้นตอนการออกแบบ นำไปปฏิบัติ ตรวจสอบ และประเมินผลนโยบายและโครงการต่าง ๆ ในทุก ๆ มิติทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมเพื่อให้ผู้หญิงและผู้ชายได้รับผลประโยชน์อย่างเท่าเทียมและไม่เป็นการขยายความเหลื่อมล้ำ เป้าหมายขั้นสุดท้ายเป็นการบรรลุผลความเท่าเทียมทางเพศ"[IX]
  8. ประชามติเมื่อ ค.ศ. 1985 ในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ให้หลักประกันความเท่าเทียมทางกฎหมายของผู้หญิงกับผู้ชายในการสมรส[X][XI] การแก้ไขกฎหมายใหม่มีผลบังคับใช้ในเดือนมกราคม ค.ศ. 1988[32]
  9. ประเทศกรีซผ่านกฎหมายที่ให้หลักประกันความเท่าเทียมกันระหว่างคู่สมรสใน ค.ศ. 1983 โดยยกเลิกสินสอด และยุติการเลือกปฏิบัติทางกฎหมายต่อบุตรนอกสมรส[XII][XIII]
  10. ประเทศสเปนยกเลิกข้อบังคับใน ค.ศ. 1981 ที่กำหนดให้ผู้หญิงที่สมรสแล้วต้องได้รับอนุญาตจากสามีเพื่อเริ่มกระบวนการพิจารณาตามกฎหมาย[XIV]
  11. แม้ว่าผู้หญิงที่สมรสแล้วในประเทศฝรั่งเศสจะได้รับสิทธิในการทำงานโดยไม่ได้รับอนุญาตจากสามีแล้วตั้งแต่ ค.ศ. 1965[XV] และแม้อำนาจของบิดาเหนือครอบครัวของผู้ชายถูกยกเลิกไปตั้งแต่ ค.ศ. 1970 (ก่อนหน้านั้นหน้าที่รับผิดชอบของผู้ปกครองตกอยู่กับผู้เป็นบิดาแต่เพียงผู้เดียว และเป็นผู้ที่ตัดสินทางกฎหมายทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับบุตร) แต่เพียงหลังจาก ค.ศ. 1985 เท่านั้นที่การปฏิรูปกฎหมายจะยกเลิกข้อกำหนดว่าสามีถืออำนาจแต่เพียงผู้เดียวในการบริหารจัดการทรัพย์สินของบุตร[XVI]
  12. ใน ค.ศ. 2002 ผู้อำนวยการฝ่ายรณรงค์ของฮิวแมนไรตส์วอตช์ วิดนีย์ บราวน์ (Widney Brown) ชี้ว่า "ตัณหาอาชญากรรมมีพลวัตที่คล้าย[กับยโศโฆษาฆาต] ตรงที่ผู้หญิงจะถูกฆ่าโดยสมาชิกครอบครัวฝ่ายชาย และอาชญากรรมนี้จะถูกมอง[ในส่วนต่าง ๆ ของโลกที่เกี่ยวข้อง]ว่าเป็นสิ่งที่ให้อภัยหรือเข้าใจได้"[33]
  13. โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากประมวลกฎหมายนโปเลียนของประเทศฝรั่งเศส[XVII] ซึ่งทรงพลังอย่างมากในการส่งอิทธิพลต่อทั่วโลก (นักประวัติศาสตร์ โรเบิร์ต ฮอลต์แมน (Robert Holtman) ระบุว่า ประมวลกฎหมายนี้เป็นหนึ่งในเอกสารไม่กี่ชิ้นเท่านั้นที่มีอิทธิพลต่อโลกทั้งใบ[XVIII]) และเป็นสิ่งที่กำหนดให้ผู้หญิงที่สมรสอยู่ในตำแหน่งรอง และเป็นสิ่งที่ทำให้มีความโอนอ่อนต่อ 'ตัณหาอาชญากรรม' (ซึ่งเป็นแบบเดียวกันในประเทศฝรั่งเศสจนกระทั่ง ค.ศ. 1975[XIX])

อ้างอิง

  1. ILO (2000). "Gender equality". ABC for Women Workers’ Rights and Gender Equality (PDF). เจนีวา: International Labour Office. p. 91. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 3 เมษายน 2023. สืบค้นเมื่อ 9 มิถุนายน 2023. the enjoyment of equal rights, opportunities and treatment by men and women and by boys and girls in all spheres of life.
  2. Clarke, Kris (สิงหาคม 2011). "The paradoxical approach to intimate partner violence in Finland". International Perspectives in Victimology. 6 (1): 9–19. doi:10.5364/ipiv.6.1.19 (inactive 31 ธันวาคม 2022). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 ธันวาคม 2015.{{cite journal}}: CS1 maint: DOI inactive as of 2022 (ลิงก์)
  3. McKie, Linda; Hearn, Jeff (สิงหาคม 2004). "Gender-neutrality and gender equality: comparing and contrasting policy responses to 'domestic violence' in Finland and Scotland" (PDF). Scottish Affairs. 48 (1): 85–107. doi:10.3366/scot.2004.0043. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 21 ตุลาคม 2013.
  4. 4.0 4.1 Danish, Swedish, Finnish and Norwegian sections of Amnesty International (มีนาคม 2010), "Rape and human rights in Finland", Case closed: rape and human rights in the Nordic countries, แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล, pp. 89–91, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 ตุลาคม 2017, สืบค้นเมื่อ 2 ธันวาคม 2015, Finland is repeatedly reminded of its widespread problem of violence against women and recommended to take more efficient measures to deal with the situation. International criticism concentrates on the lack of measures to combat violence against women in general and in particular on the lack of a national action plan to combat such violence and on the lack of legislation on domestic violence. (...) Compared to Sweden, Finland has been slower to reform legislation on violence against women. In Sweden, domestic violence was already illegal in 1864, while in Finland such violence was not outlawed until 1970, over a hundred years later. In Sweden the punishment of victims of incest was abolished in 1937 but not until 1971 in Finland. Rape within marriage was criminalised in Sweden in 1962, but the equivalent Finnish legislation only came into force in 1994 — making Finland one of the last European countries to criminalise marital rape. In addition, assaults taking place on private property did not become impeachable offences in Finland until 1995. Only in 1997 did victims of sexual offences and domestic violence in Finland become entitled to government-funded counselling and support services for the duration of their court cases.{{citation}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  5. แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล (พฤษภาคม 2011). Denmark: human rights violations and concerns in the context of counter-terrorism, immigration-detention, forcible return of rejected asylum-seekers and violence against women (PDF). เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2015. สืบค้นเมื่อ 11 มิถุนายน 2015. inconsistent with international human rights standards Amnesty International Submission to UN Universal Periodic Review, May 2011.
  6. "Ny voldtægtslovgivning er en sejr for danske kvinders retssikkerhed". Amnesty.dk – Amnesty International. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 มิถุนายน 2015. สืบค้นเมื่อ 14 มิถุนายน 2015.
  7. "Slut med "konerabat" for voldtægt". www.b.dk. 3 มิถุนายน 2013. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 เมษายน 2016. สืบค้นเมื่อ 14 มิถุนายน 2015.
  8. "Straffeloven – Bekendtgørelse af straffeloven". Retsinformation.dk. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 ธันวาคม 2018. สืบค้นเมื่อ 14 มิถุนายน 2015.
  9. United Nations (18 กันยายน 1997). Report of the Economic and Social Council for 1997 (Report). p. 28. A/52/3.
  10. "Switzerland profile – Timeline". Bbc.com. 28 ธันวาคม 2016. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 มิถุนายน 2018. สืบค้นเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2017.
  11. Jud, Markus G. "The Long Way to Women's Right to Vote in Switzerland: a Chronology". History-switzerland.geschichte-schweiz.ch. Lucerne, Switzerland. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 พฤศจิกายน 2019. สืบค้นเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2017.
  12. "AROUND THE WORLD; Greece Approves Family Law Changes". The New York Times. Reuters. 26 มกราคม 1983. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 มิถุนายน 2012. สืบค้นเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2017.
  13. Demos, Vasilikie (2007). "The Intersection of Gender, Class and Nationality and the Agency of Kytherian Greek Women". Annual Meeting of the American Sociological Association. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 ธันวาคม 2019. สืบค้นเมื่อ 9 กุมภาพันธ์ 2017.
  14. "Women Business and the Law 2014 Key Findings" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 24 สิงหาคม 2014. สืบค้นเมื่อ 25 สิงหาคม 2014.
  15. "Modern and Contemporary France: Women in France" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 4 มีนาคม 2016. สืบค้นเมื่อ 3 เมษายน 2016.
  16. Ferrand, Frédérique. "National Report: France" (PDF). Parental Responsibilities. Commission on European Family Law. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 11 สิงหาคม 2014. สืบค้นเมื่อ 5 มกราคม 2015.
  17. Raja., Rhouni (1 มกราคม 2010). Secular and Islamic feminist critiques in the work of Fatima Mernissi. Brill. p. 52. ISBN 9789004176164. OCLC 826863738.
  18. Holtman, Robert B. (1979). The Napoleonic revolution. Louisiana State University Press. ISBN 9780807104873. OCLC 492154251.
  19. Rheault, Magali; Mogahed, Dalia (28 พฤษภาคม 2008). "Common Ground for Europeans and Muslims Among Them". Gallup Poll. Gallup, Inc. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 กันยายน 2008. สืบค้นเมื่อ 5 กุมภาพันธ์ 2016.

แหล่งข้อมูล

 บทความนี้รวมข้อความจากงานที่มีเนื้อหาเสรี (free content) ลิขสิทธิ์ภายใต้ CC BY SA 3.0 IGO คำชี้แจงสิทธิ์การใช้งาน/การอนุญาตในวิกิมีเดียคอมมอนส์ ข้อความนำมาจาก World Trends in Freedom of Expression and Media Development Global Report 2017/2018, 202, University of Oxford, UNESCO.

 บทความนี้รวมข้อความจากงานที่มีเนื้อหาเสรี (free content) ลิขสิทธิ์ภายใต้ CC BY-SA 3.0 IGO ข้อความนำมาจาก Global education monitoring report 2022: gender report, deepening the debate on those still left behind, 70, Global Education Monitoring Report Team, UNESCO. UNESCO.

อ้างอิง

  1. "Gender Equality, what does it mean ? – Egalité Femmes/Hommes". ESSEC Business School. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 มีนาคม 2023. สืบค้นเมื่อ 14 ตุลาคม 2022.
  2. LeMoyne, Roger (2011). "Promoting Gender Equality: An Equity-based Approach to Programming" (PDF). Operational Guidance Overview in Brief. UNICEF. p. 1. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 20 ตุลาคม 2017. สืบค้นเมื่อ 28 มกราคม 2011. means that women and men, and girls and boys, enjoy the same rights, resources, opportunities and protections. It does not require that girls and boys, or women and men, be the same, or that they be treated exactly alike.
  3. Meriküll, Jaanika; Mõtsmees, Pille (4 กันยายน 2017). "Do you get what you ask? The gender gap in desired and realised wages". International Journal of Manpower. 38 (6): 893–908. doi:10.1108/ijm-11-2015-0197. ISSN 0143-7720. S2CID 155152121.
  4. Fineman, Martha (2000). "Cracking the Foundational Myths: Independence, Autonomy, and Self-Sufficiency". Journal of Gender, Social Policy and the Law. 8: 13–29 – โดยทาง HeinOnline.
  5. "Gender equality". United Nations Population Fund. UNFPA. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 พฤษภาคม 2019. สืบค้นเมื่อ 14 มิถุนายน 2015. despite many international agreements affirming their human rights, women are still much more likely than men to be poor and illiterate. They have less access to property ownership, credit, training and employment. This partly stems from the archaic stereotypes of women being labelled as child-bearers and home makers, rather than the bread winners of the family. They are far less likely than men to be politically active and far more likely to be victims of domestic violence.
  6. Eisler, Riane (2007). The Real Wealth of Nations: Creating a Caring Economics. p. 72. ISBN 9781576753880.
  7. de Pizan, Christine (2001), "From The Book of the City of Ladies (1404)", Available Means, University of Pittsburgh Press, pp. 33–42, doi:10.2307/j.ctt5hjqnj.11, ISBN 978-0-8229-7975-3
  8. Evans, Frederick William (1859). Shakers: Compendium of the Origin, History, Principles, Rules and Regulations, Government, and Doctrines of the United Society of Believers in Christ's Second Appearing. New York: D. Appleton & Co. p. 34. the first to disenthrall woman from the condition of vassalage to which all other religious systems (more or less) consign her, and to secure to her those just and equal rights with man that, by her similarity to him in organization and faculties, both God and nature would seem to demand
  9. Wergland, Glendyne R. (2011). Sisters in the Faith: Shaker Women and Equality of the Sexes. Amherst: University of Massachusetts Press. Each sex works in its own appropriate sphere of action, there being a proper subordination, deference and respect of the female to the male in his order, and of the male to the female in her order [emphasis added], so that in any of these communities the zealous advocates of "women's rights" may here find a practical realization of their ideal.
  10. Benningfield, Wendy R. (2004). Appeal of the Sisterhood: The Shakers and the Woman's Rights Movement (ปริญญานิพนธ์ปริญญาเอก). Lexington: University of Kentucky. p. 73.
  11. ข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ. "Vienna Declaration and Programme of Action". สหประชาชาติ. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 มิถุนายน 2018. สืบค้นเมื่อ 14 มิถุนายน 2015.
  12. องค์การนานารัฐอเมริกา (สิงหาคม 2009). "Follow-up Mechanism to the Belém do Pará Convention (MESECVI): About the Belém do Pará Convention". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 มิถุนายน 2015. สืบค้นเมื่อ 14 มิถุนายน 2015.
  13. Directive 2002/73/EC of the European Parliament and of the Council of European Communities (PDF). EUR-Lex Access to European Union law. 9 กุมภาพันธ์ 1976. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 กุมภาพันธ์ 2014. สืบค้นเมื่อ 28 มกราคม 2014. Harassment and sexual harassment within the meaning of this Directive shall be deemed to be discrimination on the grounds of sex and therefore prohibited.
  14. The Convention of Belém do Pará and the Istanbul Convention: a response to violence against women worldwide (PDF). องค์การนานารัฐอเมริกา, สภายุโรป, คณะผู้แทนถาวรฝรั่งเศสประจำสหประชาชาติ และคณะผู้แทนถาวรอาร์เจนตินาประจำสหประชาชาติ. มีนาคม 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 4 มีนาคม 2016. สืบค้นเมื่อ 24 พฤศจิกายน 2014. ใบปลิวการประชุมย่อย CSW58 ปี 2014
  15. Council of Europe, Committee of Ministers, CM document (CM). "Committee of Ministers – Gender Equality Commission (GEC) – Gender Equality Strategy 2014–2017 [1183 meeting]". Wcd.coe.int. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 มิถุนายน 2015. สืบค้นเมื่อ 14 มิถุนายน 2015.{{cite web}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  16. Zainulbhai, Hani (8 มีนาคม 2016). "Strong global support for gender equality, especially among women". Pew Research. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 สิงหาคม 2016. สืบค้นเมื่อ 12 สิงหาคม 2016.
  17. Coulombeau, Sophie (1 พฤศจิกายน 2014). "Why should women change their names on getting married?". BBC News. BBC. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 พฤษภาคม 2015. สืบค้นเมื่อ 14 มิถุนายน 2015.
  18. Featherstone, Brid; Rivett, Mark; Scourfield, Jonathan (2007). Working with men in health and social care. pp. 27. ISBN 9781412918503.
  19. Htun, Mala; Weldon, S. Laurel (2007). "When and why do governments promote women's rights? Toward a comparative politics of states and sex equality". Delivery at the Conference Toward a Comparative Politics of Gender: Advancing the Discipline Along Interdisciplinary Boundaries, Case Western Reserve University, Cleveland, Ohio, October. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 กันยายน 2021. สืบค้นเมื่อ 25 มิถุนายน 2018. gender policy is not one issue but many ... When Costa Rica has a better maternity leave than the United States, and Latin American countries are quicker to adopt policies addressing violence against women than the Nordic countries, one at least ought to consider the possibility that fresh ways of grouping states would further the study of gender politics. Work in progress pdf. Paper prepared for delivery at the American Political Science Association, Annual Meeting, Chicago, 29 August – 2 September 2007.
  20. Jordan, Tim (2002). Social Change (Sociology and society). Blackwell. ISBN 978-0-631-23311-4.
  21. "Universal Declaration of Human Rights" (PDF). wwda.org.au. United Nations. 16 ธันวาคม 1948. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 28 มีนาคม 2019. สืบค้นเมื่อ 31 ตุลาคม 2016.
  22. World Bank (กันยายน 2006). "Gender Equality as Smart Economics: A World Bank Group Gender Action Plan (Fiscal years 2007–10)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 5 พฤษภาคม 2011. สืบค้นเมื่อ 25 เมษายน 2021.
  23. United Nations Millennium Campaign (2008). "Goal #3 Gender Equity". United Nations Millennium Campaign. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 สิงหาคม 2012. สืบค้นเมื่อ 1 กรกฎาคม 2008.
  24. Bruno, Javier Pereira (มกราคม 2006). "Third World Critiques of Western Feminist Theory in the Post-Development Era" (PDF). The University of Texas at Austin. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 8 มีนาคม 2021. สืบค้นเมื่อ 25 เมษายน 2021.
  25. "BBC Radio 4 - You're Dead To Me - Six spellbinding facts about the European Witch Craze". Bbc.co.uk. 28 ตุลาคม 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 กุมภาพันธ์ 2022. สืบค้นเมื่อ 19 กุมภาพันธ์ 2022.
  26. Krys, Kuba; Capaldi, Colin A.; van Tilburg, Wijnand; Lipp, Ottmar V.; Bond, Michael Harris; Vauclair, C.-Melanie; Manickam, L. Sam S.; Domínguez-Espinosa, Alejandra; Torres, Claudio; Lun, Vivian Miu-Chi; Teyssier, Julien; Miles, Lynden K.; Hansen, Karolina; Park, Joonha; Wagner, Wolfgang (ตุลาคม 2018). "Catching up with wonderful women: The women-are-wonderful effect is smaller in more gender egalitarian societies: CATCHING UP WITH WONDERFUL WOMEN". International Journal of Psychology (ภาษาอังกฤษ). 53: 21–26. doi:10.1002/ijop.12420. PMID 28295294. S2CID 31983366.
  27. Sheila, Jeffreys (1 มกราคม 2012). Man's dominion : religion and the eclipse of women's rights in world politics. Routledge. p. 94. ISBN 9780415596732. OCLC 966913723.
  28. Lombardo, Emanuela (1 พฤษภาคม 2003). "EU Gender Policy: Trapped in the 'Wollstonecraft Dilemma'?". European Journal of Women's Studies. 10 (2): 159–180. doi:10.1177/1350506803010002003. S2CID 143732030.
  29. Lombardo, Emanuela; Jalušiè, Vlasta; Maloutas, Maro Pantelidou; Sauer, Birgit (2007). "III. Taming the Male Sovereign? Framing Gender Inequality in Politics in the European Union and the Member States". ใน Verloo, Mieke (บ.ก.). Multiple meanings of gender equality : a critical frame analysis of gender policies in Europe. New York: Central European University Press Budapest. pp. 79–108. ISBN 9786155211393. OCLC 647686058.
  30. Montoya, Celeste; Rolandsen Agustín, Lise (1 ธันวาคม 2013). "The Othering of Domestic Violence: The EU and Cultural Framings of Violence against Women". Social Politics. 20 (4): 534–557. doi:10.1093/sp/jxt020. S2CID 22204941.
  31. Alison, Stone (2008). An introduction to feminist philosophy. Polity Press. pp. 209–211. ISBN 9780745638836. OCLC 316143234.
  32. Schreir, Sally, บ.ก. (1988). Women's movements of the world : an international directory and reference guide. Cartermill International. p. 254. ISBN 9780582009882. OCLC 246811744.
  33. 33.0 33.1 Mayell, Hillary (12 กุมภาพันธ์ 2002). "Thousands of Women Killed for Family "Honor"". National Geographic News. National Geographic Society. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 กันยายน 2015. สืบค้นเมื่อ 14 มิถุนายน 2015. crimes of passion have a similar dynamic [to honor killings] in that the women are killed by male family members and the crimes are perceived [in those relevant parts of the world] as excusable or understandable
  34. Alkhawaja, Assim (2015). Complexity of Women's Liberation in the Era of Westernization: Egyptian Islamic and Secular Feminists in their Own Context (วิทยานิพนธ์). University of San Francisco. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 กันยายน 2015. สืบค้นเมื่อ 25 เมษายน 2021.
  35. Krulwich, Robert (26 สิงหาคม 2016). "Non! Nein! No! A Country That Wouldn't Let Women Vote Till 1971". news.nationalgeographic.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2017. สืบค้นเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2017.
  36. "Swiss suffragettes were still fighting for the right to vote in 1971". Independent.co.uk. 26 September 2015. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 November 2017. สืบค้นเมื่อ 14 November 2017.
  37. Squires, Nick (21 มีนาคม 2017). "Italian TV programme axed after portraying Eastern European women as submissive sex objects". The Telegraph. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 มกราคม 2022. สืบค้นเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2017.
  38. "Women in Eastern Europe point the way to senior management". Grant Thornton International. 5 มีนาคม 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 เมษายน 2019. สืบค้นเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2017.
  39. Fiscutean, Andrada (13 มิถุนายน 2017). "Women in tech: Why Bulgaria and Romania are leading in software engineering – ZDNet". Zdnet.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 พฤศจิกายน 2017. สืบค้นเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2017.
  40. Pugliese, Joseph (2010). Transmediterranean: Diasporas, Histories, Geopolitical Spaces. Peter Lang. pp. 60–61. ISBN 9789052016191.
  41. Charles, Maria (20 พฤษภาคม 2011). "What Gender Is Science?". Contexts. 10 (2). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 มีนาคม 2019. สืบค้นเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2017.
  42. The Executive Board, American Anthropological Association (ธันวาคม 1947). "Statement on Human Rights" (PDF). American Anthropologist. 49 (4): 539–543. doi:10.1525/aa.1947.49.4.02a00020. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 1 สิงหาคม 2014. สืบค้นเมื่อ 25 เมษายน 2021.
  43. Raday, F. (30 มีนาคม 2012). "Gender and democratic citizenship: the impact of CEDAW". International Journal of Constitutional Law. 10 (2): 512–530. doi:10.1093/icon/mor068.
  44. Mulder, Jule (2017). EU Non-Discrimination Law in the Courts: Approaches to Sex and Sexualities, Discrimination in the EU law. Bloomsbury Academic. pp. 35–39. ISBN 9781849467636.
  45. Simone de Beauvoir “Why I’m a Feminist”, 1975 (English Subs) (ภาษาอังกฤษ). Filosofi för Gymnasiet. 5 พฤศจิกายน 2021. เหตุการณ์เกิดขึ้นที่ 17:30-20:00 และ 24:00-24:40. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 เมษายน 2023. สืบค้นเมื่อ 16 มิถุนายน 2023 – โดยทาง ยูทูบ.
  46. Madsen, Mikael Rask; Cebulak, Pola; Wiebusch, Micha (2018). "Backlash against international courts: Explaining the forms and patterns of resistance to international courts". International Journal of Law in Context. 14 (2): 197–220. doi:10.1017/S1744552318000034. S2CID 44099059.
  47. "European Court upholds French full veil ban". BBC News. July 2014. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 มิถุนายน 2023.
  48. "UN Human Rights Committee Condemns 'Burqa Ban,' Countering European Court". 14 พฤศจิกายน 2018. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 พฤษภาคม 2023.
  49. De Hoon, Marieke (2017). "The Future of the International Criminal Court. On Critique, Legalism and Strengthening the icc's Legitimacy". International Criminal Law Review. 17 (4): 591–614. doi:10.1163/15718123-01704002.
  50. Shany, Yuval (2012). "Assessing the Effectiveness of International Courts: A Goal-Based Approach". American Journal of International Law. 106 (2): 225–270. doi:10.5305/amerjintelaw.106.2.0225. JSTOR 10.5305/amerjintelaw.106.2.0225. S2CID 147638769.
  51. Ingiyimbere, Fidèle (2017). "Humanitarian Intervention as Neocolonialism". Domesticating Human Rights. Philosophy and Politics - Critical Explorations. Vol. 4. pp. 57–121. doi:10.1007/978-3-319-57621-3_3. ISBN 978-3-319-57620-6.
  52. Caserta, Salvatore (2021). "Western centrism, contemporary international law, and international courts". Leiden Journal of International Law. 34 (2): 321–342. doi:10.1017/S0922156521000017. S2CID 233732933.
  53. Westendorf, Jasmine-Kim (Speaker); Barclay, Paul (Presenter); Zsivanovits, Karin (Producer) (15 มิถุนายน 2020). "Sexual abuse by UN and non-UN peacekeepers". Big Ideas (ภาษาอังกฤษ). Australian Broadcasting Corporation. Radio National. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 มิถุนายน 2023.

แหล่งข้อมูลอื่น