ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ไคโรแพรกติก"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Thastp (คุย | ส่วนร่วม)
Thastp (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 1,256: บรรทัด 1,256:
|journal=Journal of Manipulative and Physiological Therapeutics|volume=35|issue=2|year=2012
|journal=Journal of Manipulative and Physiological Therapeutics|volume=35|issue=2|year=2012
|pages=127–166|doi=10.1016/j.jmpt.2012.01.001|pmid=22325966
|pages=127–166|doi=10.1016/j.jmpt.2012.01.001|pmid=22325966
}}</ref>

* '''อาการอื่น ๆ''' งานปริทัศน์เป็นระบบ ค.ศ. 2012 พบหลักฐานที่มีความลำเอียงต่ำจำนวนไม่เพียงพอที่จะสนับสนุนการใช้งานการจัดดัดดึงกระดูกสันหลังเป็นการบำบัดรักษาโรค[[ความดันโลหิตสูง]]<ref>{{cite journal
|vauthors=Mangum K, Partna L, Vavrek D
| title = Spinal manipulation for the treatment of hypertension: a systematic qualitative literature review
| journal = Journal of Manipulative and Physiological Therapeutics
| volume = 35 | issue = 3 | pages = 235–243 | year = 2012
| pmid = 22341795 | doi = 10.1016/j.jmpt.2012.01.005
}}</ref> งานปริทัศน์เป็นระบบ ค.ศ. 2011 พบหลักฐานปานกลางที่สนับสนุนการใช้งานการบำบัดด้วยมือสำหรับอาการเวียนศีรษะที่เกิดจากคอ (cervicogenic dizziness)<ref>{{cite journal
|vauthors=Lystad RP, Bell G, Bonnevie-Svendsen M, Carter CV
| title = Manual therapy with and without vestibular rehabilitation for cervicogenic dizziness: a systematic review
| journal = Chiropractic & Manual Therapies| volume = 19 | issue = 1 | page = 21 | year = 2011
| pmid = 21923933 | pmc = 3182131 | doi = 10.1186/2045-709X-19-21
}}</ref> มีหลักฐานอย่างอ่อนมากสำหรับการดูแลรักษาแบบไคโรแพรกติกสำหรับ[[กระดูกสันหลังคด]] (curved or rotated spine) ในผู้ใหญ่<ref>{{cite journal
|vauthors=Everett CR, Patel RK
| title = A systematic literature review of nonsurgical treatment in adult scoliosis
| journal = Spine| volume = 32 | issue = 19 Suppl | pages = S130–134 | date = กันยายน 2007
| pmid = 17728680 | doi = 10.1097/BRS.0b013e318134ea88 | s2cid = 9339782
}}</ref> และไม่มีข้อมูลเชิงวิทยาศาสตร์สำหรับกระดูกสันหลังคด[[โรคไม่ทราบสาเหตุ|ไม่ทราบสาเหตุ]] (idiopathic) ใน[[วัยรุ่น]]<ref>{{cite journal
|vauthors=Romano M, Negrini S
| title = Manual therapy as a conservative treatment for adolescent idiopathic scoliosis: a systematic review
| journal = Scoliosis| volume = 3 | page = 2 | year = 2008
| pmid = 18211702 | pmc = 2262872 | doi = 10.1186/1748-7161-3-2
}}</ref> งานปริทัศน์เป็นระบบ ค.ศ. 2007 พบว่ามีงานศึกษาเกี่ยวกับการดูแลรักษาแบบไคโรแพรกติกสำหรับอาการที่ไม่ใช่กล้ามเนื้อและโครงกระดูกอยู่น้อยชิ้น และพวกมันโดยทั่วไปไม่มีคุณภาพสูง และพบอีกว่าการเข้าพบการดูแลรักษาแบบไคโรแพรกติกทางคลินิกโดยรวมทั้งหมด (ไม่ใช่แค่การจัดดัดดึงกระดูกสันหลัง) เป็นประโยชน์ต่อผู้ป่วยที่มีอาการเวียนศีรษะที่เกิดจากคอ และหลักฐานจากงานปริทัศน์ต่าง ๆ เป็นลบหรืออ่อนเกินที่จะตั้งข้อสรุปใดสำหรับหลายอาการที่ไม่ใช่กล้ามเนื้อและโครงกระดูกประเภทอื่น ๆ อาทิ[[โรคซนสมาธิสั้น]]/[[ความพิการทางการเรียน]] [[การเวียนศีรษะ]] (dizziness) [[ความดันโลหิตสูง]] และอาการทาง[[การรับรู้ทางสายตา|สายตา]] (Visual perception) ต่าง ๆ<ref>{{cite journal
|vauthors=Hawk C, Khorsan R, Lisi AJ, Ferrance RJ, Evans MW
| title = Chiropractic care for nonmusculoskeletal conditions: a systematic review with implications for whole systems research
| journal = The Journal of Alternative and Complementary Medicine
| volume = 13 | issue = 5 | pages = 491–512 | date = มิถุนายน 2007
| pmid = 17604553 | doi = 10.1089/acm.2007.7088
}}</ref> งานปริทัศน์อื่น ๆ พบว่าไม่มีหลักฐานถึงคุณประโยชน์ที่มีนัยสำคัญสำหรับ[[โรคหืด]]<ref>{{cite journal
| author = Ernst E
| title = Spinal manipulation for asthma: a systematic review of randomised clinical trials
| journal = Respiratory Medicine
| volume = 103 | issue = 12 | pages = 1791–1795 | date = ธันวาคม 2009
| pmid = 19646855 | doi = 10.1016/j.rmed.2009.06.017 | doi-access = free
}}</ref><ref>{{cite journal
|vauthors=Hondras MA, Linde K, Jones AP
| title = Manual therapy for asthma
| journal=Cochrane Database of Systematic Reviews
| issue = 2 | page = CD001002 | year = 2005
| pmid = 15846609 | doi = 10.1002/14651858.CD001002.pub2
}}</ref> อาการ[[ปวดบิดในทารก]]<ref name=Gotlib>{{cite journal
|vauthors=Gotlib A, Rupert R
| title = Chiropractic manipulation in pediatric health conditions--an updated systematic review
| journal = Chiropractic & Osteopathy
| volume = 16 | page = 11 | year = 2008
| pmid = 18789139 | pmc = 2553791 | doi = 10.1186/1746-1340-16-11
}}</ref><ref>ปวดบิดในทารก:
* {{cite journal | author = Ernst E
| title = Chiropractic spinal manipulation for infant colic: a systematic review of randomised clinical trials
| journal = International Journal of Clinical Practice
| volume = 63 | issue = 9 | pages = 1351–1353 | year = 2009
| pmid = 19691620 | doi = 10.1111/j.1742-1241.2009.02133.x | s2cid = 36131261 | doi-access = free
}}
* {{cite book
|vauthors=Husereau D, Clifford T, Aker P, Leduc D, Mensinkai S
|title=Spinal Manipulation for Infantile Colic
|isbn=978-1-894978-11-8
|url=http://cadth.ca/media/pdf/177_spinal_manipulation_tr_e.pdf
|access-date=6 ตุลาคม 2008
|location=[[ออตตาวา]]
|publisher=Canadian Coordinating Office for Health Technology Assessment
|year=2003
|series=Technology report no. 42
|archive-url=https://web.archive.org/web/20081217004845/http://cadth.ca/media/pdf/177_spinal_manipulation_tr_e.pdf
|archive-date=17 ธันวาคม 2008
|url-status=dead
}}</ref> การ[[ปัสสาวะรดขณะหลับ]] (Nocturnal enuresis)<ref name=HuangShu2011>{{cite journal
|last1=Huang |first1=Tao |last2=Shu |first2=Xu |last3=Huang |first3=Yu Shan |last4=Cheuk |first4=Daniel KL |last5=Huang |first5=Tao
|title=Complementary and miscellaneous interventions for nocturnal enuresis in children
| journal=Cochrane Database of Systematic Reviews
|year=2011 |issue=12 |page=CD005230
|doi=10.1002/14651858.CD005230.pub2 |pmid=22161390
}}</ref> [[กลุ่มอาการคาร์ปัลทันเนล|กลุ่มอาการช่องข้อมือ]]<ref>{{cite journal
|vauthors=O'Connor D, Marshall S, Massy-Westropp N, Pitt V
| title = Non-surgical treatment (other than steroid injection) for carpal tunnel syndrome
| journal = Cochrane Database of Systematic Reviews
| issue = 1 | page = CD003219 | year = 2003 | volume = 2003
| pmid = 12535461 | pmc = 6486195 | doi = 10.1002/14651858.CD003219
}}</ref> [[ไฟโบรไมอัลเจีย]]<ref>ไฟโบรไมอัลเจีย:
* {{cite journal
|vauthors=Sarac AJ, Gur A
| title = Complementary and alternative medical therapies in fibromyalgia
| journal = Current Pharmaceutical Design
| volume = 12 | issue = 1 | pages = 47–57 | year = 2006
| pmid = 16454724 | doi = 10.2174/138161206775193262
}}
* {{cite journal
|vauthors=Schneider M, Vernon H, Ko G, Lawson G, Perera J
| title = Chiropractic management of fibromyalgia syndrome: a systematic review of the literature
| journal = Journal of Manipulative and Physiological Therapeutics
| volume = 32 | issue = 1 | pages = 25–40 | year = 2009
| pmid = 19121462 | doi = 10.1016/j.jmpt.2008.08.012
}}
* {{cite journal
| author = Ernst E
| title = Chiropractic treatment for fibromyalgia: a systematic review
| journal = Clinical Rheumatology
| volume = 28 | issue = 10 | pages = 1175–1178
| year = 2009 | pmid = 19544042 | doi = 10.1007/s10067-009-1217-9 | s2cid = 25339207
}}</ref> [[โรคทางเดินอาหาร]] (Gastrointestinal disease)<ref>{{cite journal
| author = Ernst E
| title = Chiropractic treatment for gastrointestinal problems: A systematic review of clinical trials
| journal = Canadian Journal of Gastroenterology
| volume = 25 | issue = 1 | pages = 39–49
| year = 2011 | pmc = 3027333 | pmid = 21258667| doi = 10.1155/2011/910469 | doi-access = free
}}</ref> การเสียดุลเชิงจลน์ที่เกิดจาก[[กล้ามเนื้อใต้ท้ายทอย]] (suboccipital muscles) ฉีก (กลุ่มอาการ KISS) ในทารก<ref name=Gotlib /><ref>{{cite journal
|vauthors=Brand PL, Engelbert RH, Helders PJ, Offringa M
| title = Systematic review of the effects of therapy in infants with the KISS-syndrome (kinetic imbalance due to suboccipital strain)
| language = nl
| journal = Nederlands Tijdschrift voor Geneeskunde
| volume = 149 | issue = 13 | pages = 703–707 | year = 2005
| pmid = 15819137
}}</ref> อาการ[[ปวดประจำเดือน]]<ref>{{cite journal
|vauthors=Proctor ML, Hing W, Johnson TC, Murphy PA, Brown J
| title = Spinal manipulation for primary and secondary dysmenorrhoea
| journal=The Cochrane Database of Systematic Reviews
| volume = 3 | issue = 3 | page = CD002119 | year = 2006
| pmid = 16855988 | pmc = 6718213 | doi = 10.1002/14651858.CD002119.pub3
}}</ref> [[การนอนไม่หลับ]]<ref name=goto>{{Cite journal
|last1=Goto |first1=Viviane |last2=Frange |first2=Cristina |last3=Andersen |first3=Monica L. |last4=Júnior |first4=José M. S. |last5=Tufik |first5=Sergio |last6=Hachul |first6=Helena
|date=พฤษภาคม 2014
|title=Chiropractic intervention in the treatment of postmenopausal climacteric symptoms and insomnia: A review
|journal=Maturitas|volume=78 |issue=1 |pages=3–7
|doi=10.1016/j.maturitas.2014.02.004 |pmid=24656717
}}</ref> อาการ[[วัยหมดประจำเดือน|หลังวัยหมดประจำเดือน]]<ref name=goto/> และอาการ[[ปวดกระดูกโอบเชิงกราน|ปวดหลังและเชิงกรานระหว่างการตั้งครรภ์]] (pelvic girdle pain)<ref>{{Cite journal
|last1=Liddle|first1=Sarah D.|last2=Pennick|first2=Victoria
|date=30 กันยายน 2015
|title=Interventions for preventing and treating low-back and pelvic pain during pregnancy
|journal=Cochrane Database of Systematic Reviews
|volume=2015|issue=9|pages=CD001139
|doi=10.1002/14651858.CD001139.pub4|pmid=26422811|pmc=7053516
}}</ref> เนื่องด้วยไม่มีหลักฐานถึงประสิทธิผลหรือความปลอดภัยของการจัดดัดดึงส่วนคอสำหรับอาการปวดบิดในทารก จึงไม่แนะนำ<ref name=CamilleriPark2017>{{cite journal
|vauthors=Camilleri M, Park SY, Scarpato E, Staiano A
| title=Exploring hypotheses and rationale for causes of infantile colic
| journal=Neurogastroenterology & Motility| year= 2017 | volume= 29 | issue= 2 | pages= e12943
| doi=10.1111/nmo.12943 | pmc=5276723 | pmid=27647578 | type=การปริทัศน์
}}</ref>
}}</ref>



รุ่นแก้ไขเมื่อ 20:24, 16 มกราคม 2566

ไคโรแพรกติก
การแพทย์ทางเลือก
นักไคโรแพรกติกกำลังจัดกระดูกสันหลัง
นักไคโรแพรกติกกำลังจัดกระดูกสันหลัง
ข้อกล่าวอ้างภาวะกระดูกสันหลังเคลื่อน,
การจัดกระดูกสันหลัง,
เชาวน์ปัญญาโดยกำเนิด
ความเสี่ยงการฉีกเซาะของผนังหลอดเลือดแดงเวอร์ทีบรอล (สโตรก),
กระดูกสันหลังหักเหตุอัด (vertebral compression fracture),
ความตาย
สาขาวิชาที่เกี่ยวข้องออสทีโอพาธี, ชีวิตนิยม
ผู้สนับสนุนดั้งเดิมแดเนียล เดวิด พาลเมอร์ (Daniel David Palmer)
ผู้สนับสนุนต่อมาบี. เจ. พาลเมอร์ (B. J. Palmer)
MeSHD002684

ไคโรแพรกติก หรืออาจเรียกว่า การนวดจัดกระดูก หรือ การจัดกระดูก เป็นการแพทย์ทางเลือกรูปแบบหนึ่ง[1] ซึ่งสนใจถึงการวินิจฉัย การรักษา และการป้องกันความผิดปกติเชิงกล (physical disorder) ในระบบกล้ามเนื้อและโครงกระดูกมนุษย์ (Human musculoskeletal system) โดยเฉพาะในกระดูกสันหลัง[2] การแพทย์ทางเลือกนี้มีต้นกำเนิดแบบคุยหลัทธิตะวันตก (Western esotericism)[3] และมีรากฐานอยู่บนหลายแนวคิดที่เป็นแนววิทยาศาสตร์เทียม[4]

นักไคโรแพรกติก[5] หลายคนโดยเฉพาะในประวัติศาสตร์เริ่มแรกของการแพทย์ทางเลือกสาขานี้ เสนอว่าความผิดปกติเชิงกลของข้อต่อโดยเฉพาะที่อยู่ในกระดูกสันหลังสามารถส่งผลต่อสุขภาพทั่วไป[2] และการจัดดัดดึงกระดูกสันหลังทั่วไป (Spinal manipulation) (การจัดกระดูกสันหลัง (spinal adjustment)) สามารถส่งเสริมสุขภาพทั่วไปได้ กลวิธีการรักษาแบบไคโรแพรกติก (Chiropractic treatment techniques) หลัก ๆ แล้วประกอบด้วยการบำบัดด้วยมือ (manual therapy) โดยเฉพาะการจัดดัดดึงกระดูดสันหลัง ข้อต่ออื่น ๆ และเนื้อเยื่ออ่อน (soft tissue) แต่ก็อาจรวมถึงการออกกำลังกายและการให้คำปรึกษาเรื่องวิถีชีวิตและสุขภาพด้วย[6] นักไคโรแพรกติกอาจถือใบปริญญาดอกเตอร์อ็อฟไคโรแพรกติก (D.C.) และอาจถูกเรียกว่า "แพทย์" แต่มิใช่แพทยศาสตรบัณฑิต (M.D.)[7][8] ในขณะที่นักไคโรแพรกติกหลายคนมองตนเองเป็นผู้ให้บริการปฐมภูมิ (primary care)[9][10] การฝึกทักษะทางคลินิกสำหรับไคโรแพรกติกไม่สนองกับข้อกำหนดสำหรับตำแหน่งนั้น[2]

การปริทัศน์เป็นระบบของงานศึกษาทางคลินิกแบบมีกลุ่มควบคุมถึงวิธีการรักษาที่นักไคโรแพรกติกใช้ไม่พบหลักฐานว่าการจัดกระดูกสันหลังแบบไคโรแพรกติกมีประสิทธิศักย์ (efficacy) โดยอาจมีข้อยกเว้นสำหรับการรักษาอาการปวดหลัง[9] การประเมินเชิงวิพากษ์ของการปริทัศน์เป็นระบบจำนวน 45 ฉบับใน ค.ศ. 2011 พบว่าการจัดกระดูกสันหลังไม่มีประสิทธิผลในการรักษาอาการใด ๆ[11] การจัดกระดูกสันหลังอาจมีประสิทธิผลต่อต้นทุน (Cost-effectiveness analysis) สำหรับอาการปวดหลังเรื้อรังหรือกึ่งเฉียบพลัน แต่ผลลัพธ์สำหรับอาการปวดหลังเฉียบพลันมีไม่เพียงพอ[12] ไม่มีหลักฐานที่น่าเชื่อถือที่ชี้ว่าการดูแลแบบไคโรแพรกติกเพื่อบำรุงรักษาสามารถป้องกันอาการหรือโรคใด ๆ ได้อย่างเพียงพอ[13]

ไม่มีข้อมูลเพียงพอที่จะตัดสินความปลอดภัยของการจัดดัดดึงแบบไคโรแพรกติกได้[14] มักมีความสัมพันธ์กับอาการไม่พึงประสงค์ (adverse effect) ระดับอ่อนถึงปานกลาง และในกรณีหายากอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรงหรือถึงตาย[15] ระดับความเสี่ยงของการฉีกเซาะของผนังหลอดเลือดแดงเวอร์ทีบรอล (Vertebral artery dissection) ที่เกิดจากการจัดดัดดึงกระดูกสันหลังส่วนคอ (neck manipulation) ซึ่งอาจนำไปสู่สโตรกและความตายยังเป็นที่ถกเถียงอยู่[16] ความตายหลายกรณีมีความเกี่ยวโยงกับเทคนิคนี้[15] และมีผู้เสนอว่ามีความสัมพันธ์แบบก่อเหตุ (causative) อยู่[17][18] ซึ่งเป็นข้อกล่าวอ้างที่นักไคโรแพรกติกหลายคนไม่เห็นด้วย[18]

ไคโรแพรกติกมีรากฐานดีแล้วในสหรัฐ แคนาดา และออสเตรเลีย[19] มีความทับซ้อนกับวิชาชีพการบำบัดด้วยมือสาขาอื่น ๆ เช่นออสทีโอพาธี (Osteopathy) และกายภาพบำบัด[20] ผู้คนส่วนใหญ่ที่หาการดูแลแบบไคโรแพรกติกเป็นเพราะอาการปวดหลังส่วนล่าง[21] อาการปวดหลังและคอถือว่าเป็นความชำนาญของไคโรแพรกติก แต่นักไคโรแพรกติกหลายคนให้การรักษาอาการอื่นนอกเหนือจากด้านกล้ามเนื้อและโครงกระดูกด้วย[9] ไคโรแพรกติกแบ่งออกเป็นสองกลุ่มใหญ่ ๆ กล่าวคือกลุ่ม "straights" (โดยตรง) ซึ่งปัจจุบันเป็นส่วนน้อย ซึ่งให้ความสำคัญกับชีวิตนิยม (vitalism) "เชาวน์ปัญญาโดยกำเนิด" (innate intelligence) และถือว่าภาวะกระดูกสันหลังเคลื่อน (Vertebral subluxation) เป็นเหตุของโรคทั้งมวล กับกลุ่ม "mixers" (ผสม) ซึ่งเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งเปิดรับกับมุมมองกระแสหลักและกลวิธีการแพทย์แผนปัจจุบันมากกว่า เช่นการออกกำลังกาย การนวด และการบำบัดด้วยน้ำแข็ง (ice pack therapy)[22]

ดี. ดี. พาลเมอร์ (Daniel David Palmer) ก่อตั้งไคโรแพรกติกในคริสต์ทศวรรษ 1890[23] หลังจากกล่าวว่าเขาได้รับมันมาจาก "ต่างโลก"[24] พาลเมอร์ยืนยันว่าเขาได้รับหลักความเชื่อของไคโรแพรกติกมากจากหมอคนหนึ่งซึ่งเสียชีวิตไปแล้วห้าสิบปีก่อนหน้า[25] บุตรชายของเขาบี. เจ. พาลเมอร์ (B. J. Palmer) ช่วยขยายไคโรแพรกติกในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20[23] ตลอดทั้งประวัติศาสตร์ของไคโรแพรกติกมีข้อโต้เถียงอยู่เสมอ (Chiropractic controversy and criticism)[26][27] รากฐานของการแพทย์ทางเลือกสาขานี้ขัดแย้งกับเวชปฏิบัติอิงหลักฐาน และถูกค้ำจุนด้วยแนวคิดวิทยาศาสตร์เทียมอย่างเช่นภาวะกระดูกสันหลังเคลื่อนและเชาวน์ปัญญาโดยกำเนิด[28] แม้มีหลักฐานล้นหลามว่าการให้วัคซีนเป็นการแทรกแซงทางสาธารณสุขที่มีประสิทธิผล แต่มีความไม่เห็นพ้องกันอย่างมีนัยสำคัญท่ามกลางหมู่นักไคโรแพรกติกในประเด็นนี้[29] ซึ่งนำไปสู่ผลเชิงลบทั้งต่อการให้วัคซีนสู่สาธารณะและความยอมรับในไคโรแพรกติกในกระแสหลัก[30] สมาคมการแพทย์อเมริกันเรียกไคโรแพรกติกว่าเป็น "ลัทธิไม่เป็นวิทยาศาสตร์" ใน ค.ศ. 1966[31] และคว่ำบาตรมันจนกระทั่งแพ้คดีต่อต้านการผูกขาดเมื่อ ค.ศ. 1987 (Wilk v. American Medical Association)[10] ไคโรแพรกติกมีฐานการเมืองที่เข้มแข็งและอุปสงค์สำหรับการบริการของพวกเขาที่ยั่งยืน ในช่วงท้ายของคริสต์ศตวรรษที่ 20 ก็ได้รับความชอบธรรมและความยอมรับมากยิ่งขึ้นจากแพทย์แผนปัจจุบันและประกันสุขภาพในสหรัฐ (Health insurance in the United States)[10] ในช่วงของการระบาดทั่วของโควิด-19 หลายสมาคมวิชาชีพไคโรแพรกติกแนะนำให้นักไคโรแพรกติกยึดตามคำแนะนำของศูนย์ควบคุมโรคติดต่อสหรัฐ องค์การอนามัยโลก และหน่วยงานอนามัยท้องถิ่น[32][33] แต่แม้จะมีคำแนะนำเหล่านี้ นักไคโรแพรกติกจำนวนน้อยแต่มีปากเสียงและมีอิทธิพลได้แพร่กระจายข้อมูลผิดเกี่ยวกับวัคซีน (vaccine misinformation)[34]

พื้นฐานแนวคิด

ปรัชญา

ไคโรแพรกติกมักถูกจัดประเภทเป็นการแพทย์ทางเลือกและผสมผสาน[1] ซึ่งให้ความสำคัญกับการจัดดัดดึงระบบกล้ามเนื้อและโครงกระดูกมนุษย์โดยเฉพาะกระดูกสันหลัง[2] ผู้ก่อตั้งดี. ดี. พาลเมอร์ เรียกมันว่าเป็น "ศาสตร์ของการรักษาโดยไม่ใช้ยา"[9]

ต้นกำเนิดของไคโรแพรกติกอยู่ในการจัดกระดูก (Traditional bone-setting) แบบการแพทย์ดั้งเดิม (traditional medicine)[9] และเมื่อมันวิวัฒนาการต่อมาก็รวมเข้ากับชีวิตนิยม การดลใจจากจิตวิญญาณ (spirituality) และเหตุผลนิยม[35] ปรัชญาแรกเริ่มมีรากฐานเป็นการนิรนัยจากลัทธิที่หักล้างไม่ได้ (dogma) ซึ่งอำนวยให้สามารถแยกแยะไคโรแพรกติกออกจากการแพทย์ได้ ซึ่งให้ข้อแก้ตัวทางกฎหมายและทางการเมืองสำหรับการปฏิบัติทางการแพทย์แบบไม่มีใบอนุญาตได้ และทำให้นักไคโรแพรกติกสามารถสถาปนาพวกตนเป็นวิชาชีพอิสระได้[35] ปรัชญา "straight" (โดยตรง) นี้ซึ่งถูกสอนให้แก่นักไคโรแพรกติกหลายรุ่นปฏิเสธการให้เหตุผลแบบอนุมานของระเบียบวิธีแบบวิทยาศาสตร์[35] และพึ่งพาการนิรนัยจากหลักการแรกเชิงชีวิตนิยมแทนวัตถุนิยมของวิทยาศาสตร์[36] อย่างไรก็ตาม นักไคโรแพรกติกส่วนใหญ่มักนำเอาการวิจัยแบบวิทยาศาสตร์มาใช้ในไคโรแพรกติก[35] และนักปฏิบัติส่วนใหญ่เป็นแบบ "mixers" (ผสม) ซึ่งพยายามผสมผสานคตินิยมลดทอน (reductionism) แบบวัตถุนิยมของวิทยาศาสตร์เข้ากับอภิปรัชญาของบรรพบุรุษของพวกเขาและกระบวนทัศน์แบบองค์รวมเกี่ยวกับสุขภาวะ (Holistic medicine)[36] บทวิจารณ์จาก ค.ศ. 2008 เสนอให้ไคโรแพรกติกแยกตัวออกห่างจากปรัชญาโดยตรงอย่างเชิงรุกเพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการรณรงค์เพื่อขจัดทิ้งสิทธันต์ที่ทดสอบไม่ได้ (testability) และเข้าไปมีส่วนร่วมในการคิดวิเคราะห์และการวิจัยอิงหลักฐาน[37]

แม้ว่าท่ามกลางนักไคโรแพรกติกจะมีความคิดที่หลากหลาย[35] แต่พวกเขามีความเชื่อร่วมกันว่ากระดูกสันหลังและสุขภาพนั้นมีความสัมพันธ์กันโดยพื้นฐาน และความสัมพันธ์นี้มีสื่อกลางเป็นระบบประสาท[38] นักไคโรแพรกติกบางคนอ้างว่าการจัดดัดดึงกระดูกสันหลังสามารถส่งผลต่อความเจ็บป่วยได้หลากหลาย ซึ่งรวมถึงกลุ่มอาการลำไส้ไวเกินต่อการกระตุ้นและโรคหืด[39]

ปรัชญาไคโรแพรกติกประกอบไปด้วยมุมมองดังต่อไปนี้:[36]

ระบบความเชื่อของไคโรแพรกติกทั้งสองแบบจะสร้าง
หลักการที่ทดสอบได้ อุปลักษณ์ที่ทดสอบไม่ได้
การจัดกระดูกแบบไคโรแพรกติก

การฟื้นฟูบูรณภาพเชิงโครงสร้าง

การปรับปรุงสถานะของสุขภาพ

เชาวน์ปัญญาสากล

เชาวน์ปัญญาโดยกำเนิด

สรีรวิทยาของร่างกาย

วัตถุนิยม: ชีวิตนิยม:
  • สามารถให้นิยามการปฏิบัติการได้
  • เหมาะสมสำหรับการสืบเสาะทางวิทยาศาสตร์
  • ต้นกำเนิดของคติองค์รวมในไคโรแพรกติก
  • ไม่สามารถพิสูจน์ว่าจริงหรือเท็จได้
นำมาจาก Mootz & Phillips 1997

คติองค์รวม (Holism) สมมุติว่าสุขภาพนั้นได้รับผลกระทบจากทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่รอบ ๆ ตัวคน ๆ หนึ่ง บางแหล่งอาจรวมถึงภพของวิญญาณหรือภพของอัตถิภาวะด้วย[40] ซึ่งจะตรงกันข้ามกับคติลดทอน ซึ่งในไคโรแพรกติกคือการลดทอนให้ต้นเหตุและการรักษาปัญหาทางสุขภาพกลายเป็นปัจจัยอันหนึ่งอันเดียว กล่าวคือภาวะกระดูกสันหลังเคลื่อน[37] ภาวะธำรงดุลจะเป็นการเน้นถึงความสามารถในการรักษาตนเองที่มีอยู่แล้วภายในร่างกาย เราสามารถมองแนวคิดว่าด้วยเชาวน์ปัญญาโดยกำเนิดแบบแรก ๆ ของไคโรแพรกติกได้ว่าเป็นอุปลักษณ์ของภาวะธำรงดุล[35]

นักไคโรแพรกติกหลายคนกังวลว่าหากพวกเขาไม่แยกตัวออกห่างจากมโนทัศน์เชิงชีวิตนิยมตามดั้งเดิมเรื่องเชาวน์ปัญญาโดยกำเนิดแล้ว ไคโรแพรกติกจะยังคงถูกมองเป็นวิชาชีพชายขอบต่อไป[22] ในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 มีไคโรแพรกติกอีกชนิดหนึ่งถือกำเนิดขึ้นที่เมืองชิคาโกนามว่าแนแปรพาธี (naprapathy)[41][42] ซึ่งเชื่อว่าการจัดดัดดึงเนื้อเยื่ออ่อนด้วยมือจะสามารถลด "ความรบกวน" ภายในร่างกายและจึงสามารถทำให้สุขภาพดีขึ้นได้[42]

แบบโดยตรงและผสม

นักไคโรแพรกติกแบบ Straight (โดยตรง) ยึดหลักปรัชญาที่ ดี. ดี. และ บี. เจ. พาลเมอร์กล่าวไว้ และสงวนนิยามเชิงอภิปรัชญาและคุณลักษณะแบบชีวิตนิยมไว้[43] นักไคโรแพรกติกแบบโดยตรงเชื่อว่าภาวะกระดูกสันหลังเคลื่อนทำให้เกิดการรบกวน "เชาวน์ปัญญาโดยกำเนิด" ซึ่งสำแดงออกมาผ่านระบบประสาทมนุษย์ และเป็นปัจจัยเสี่ยงเบื้องหลังหลักของโรคหลายชนิด[43] กลุ่มโดยตรงมองว่าการวินิจฉัยทางการแพทย์ถึงอาการของผู้ป่วยเป็นสิ่งที่ไม่จำเป็นสำหรับการรักษาแบบไคโรแพรกติก พวกเขาถือว่าพวกมันเป็น "ผลลัพธ์ขั้นทุติยภูมิ" ของภาวะข้อเคลื่อนต่าง ๆ[43] นักไคโรแพรกติกแบบโดยตรงจึงสนใจกับการตรวจพบและการแก้ไขภาวะกระดูกสันหลังเคลื่อนด้วยการจัดกระดูกเป็นหลัก และจะไม่ "ผสม" การบำบัดชนิดอื่นเข้าในวิถีปฏิบัติของพวกเขา[43] ปรัชญาและคำอธิบายของพวกเขาจะมีธรรมชาติเป็นอภิปรัชญา และพวกเขานิยมใช้ศัพท์ไคโรแพรกติกแบบดั้งเดิมมากกว่า อาทิ "การวิเคราะห์กระดูกสันหลัง" "การตรวจหาข้อเคลื่อน" "การแก้ไขด้วยการจัด"[22] พวกเขาต้องการคงความปลีกแยกและความแตกต่างจากการดูแลสุขภาพกระแสหลักต่อไป[22] แม้จะถูกถือว่าเป็นกลุ่มส่วนน้อย "พวกเขาสามารถแปลงสถานะของตัวเองในฐานะที่เป็นสายบริสุทธิ์และทายาทของเชื้อสายให้กลายเป็นอิทธิพลซึ่งมากเกินสัดส่วนจำนวนของพวกเขาไปอย่างมาก"[i]

นักไคโรแพรกติกแบบ Mixer (ผสม) "ผสม" แนวทางการวินิจฉัยและการรักษาจากมุมมองแบบไคโรแพรกติก การแพทย์ และออสทีโอพาธี และเป็นส่วนใหญ่ของนักไคโรแพรกติก[22] กลุ่มผสมเชื่อต่างจากนักไคโรแพรกติกแบบโดยตรง โดยเชื่อว่าข้อเคลื่อนนั้นเป็นหนึ่งในหลายสาเหตุของโรคต่าง ๆ และจึงเปิดกว้างต่อการแพทย์กระแสหลักมากกว่า[22] หลายคนรวมเอาการวินิจฉัยทางการแพทย์กระแสหลักมาใช้และใช้การรักษาแผนปัจจุบัน เช่นกลวิธีของกายภาพบำบัดไม่ว่าจะเป็นการออกกำลังกาย การยืดกล้ามเนื้อ (stretching) การนวด ไอซ์แพ็ก (ice pack) การกระตุ้นกล้ามเนื้อด้วยไฟฟ้า (electrical muscle stimulation) อัลตราซาวด์บำบัด (therapeutic ultrasound) และความร้อนชื้น (moist heat)[22] กลุ่มผสมบางส่วนใช้กลวิธีจากการแพทย์ทางเลือกด้วย เช่นอาหารเสริม การฝังเข็ม โฮมีโอพาธี ยาสมุนไพร และการตอบสนองทางชีวภาพ (biofeedback)[22]

พิสัยของมุมมองความเชื่อในไคโรแพรกติก
คุณลักษณะของมุมมอง ปลายทางความเชื่อที่เป็นไปได้
ขอบเขตการปฏิบัติ: แคบ ("straight") ← → กว้าง ("mixer")
แนวทางการตรวจวินิจฉัย: ด้วยอัชฌัตติกญาณ → ด้วยการวิเคราะห์
แนวปรัชญา: แบบชีวิตนิยม ← → แบบวัตถุนิยม
แนววิทยาศาสตร์: เชิงพรรณนา ← → เชิงทดลอง
แนวกระบวนการ: โดยปริยาย ← → แบบชัดแจ้ง
เจตคติการปฏิบัติ: แพทย์/ตัวแบบเป็นศูนย์กลาง ← → ผู้ป่วย/สถานการณ์เป็นศูนย์กลาง
บูรณาการทางวิชาชีพ: แยกกันและแตกต่างกัน ← → บูรณาการเข้ากับกระแสหลัก
นำมาจาก Mootz & Phillips 1997

แม้ว่ากลุ่มผสมจะเป็นคนส่วนใหญ่ แต่พวกเขาหลายคนยังคงเชื่อในภาวะกระดูกสันหลังเคลื่อน ดังที่การสำรวจจากนักไคโรแพรกติก 1,100 คนในทวีปอเมริกาเหนือเมื่อ ค.ศ. 2003 แสดง โดยพบว่าร้อยละ 88 ต้องการเก็บคำศัพท์ "vertebral subluxation complex" (ปมภาวะกระดูกสันหลังเคลื่อน) ไว้ และเมื่อถามให้ประมาณการณ์ร้อยละของความผิดปกติของอวัยวะภายในซึ่งมีส่วนมาจากภาวะข้อเคลื่อนอย่างมีนัยสำคัญ คำตอบโดยเฉลี่ยตอบว่าร้อยละ 62[44] การสำรวจนักไคโรแพรกติกชาวอเมริกัน 6,000 คนเมื่อ ค.ศ. 2008 แสดงให้เห็นว่านักไคโรแพรกติกส่วนใหญ่ดูจะเชื่อว่าแนวทางทางคลินิกที่อิงภาวะข้อเคลื่อนอาจใช้งานได้จำกัดในการจัดการกับความเจ็บปวดจากอวัยวะภายใน (visceral pain) และนิยมแนวทางทางคลินิกที่ไม่ได้อิงภาวะข้อเคลื่อนสำหรับอาการดังกล่าวอย่างมาก[45] การสำรวจเดียวกันแสดงให้เห็นว่านักไคโรแพรกติกโดยทั่วไปเชื่อว่าแนวทางทางคลินิกของพวกเขาส่วนใหญ่สำหรับการจัดการกับความผิดปกติทางกล้ามเนื้อและโครงกระดูก/ชีวกล อาทิอาการปวดหลัง จะอิงภาวะข้อเคลื่อน[45] นักไคโรแพรกติกมักให้การบำบัดแผนปัจจุบันด้วย เช่นกายภาพบำบัดและการให้คำปรึกษาด้านวิถีชีวิต และสำหรับคนทั่วไปแล้วอาจจะแยกแยะสิ่งที่เป็นวิทยาศาสตร์กับที่ไม่เป็นวิทยาศาสตร์ออกจากกันได้อย่างยากลำบาก[46]

ภาวะกระดูกสันหลังเคลื่อน

ในการแพทย์ที่อิงวิทยาศาสตร์ คำว่า "subluxation" (ข้อเคลื่อน) หมายถึงอาการที่ข้อต่อหลุด (Joint dislocation) ออกมาบางส่วนหรือไม่สมบูรณ์ จากภาษาละติน luxare แปลว่า 'หลุด/เคลื่อน' (dislocate)[47][48] ในขณะที่แพทย์ใช้คำนั้นเพื่อหมายถึงข้อที่หลุดแบบกายภาพเท่านั้น แต่ผู้ก่อตั้งไคโรแพรกติกดี. ดี. พาลเมอร์ ผสมความหมายเชิงอภิปรัชญาและปรัชญาเข้าไปในคำว่าข้อเคลื่อนด้วยจากประเพณีวิทยาศาสตร์เทียม อาทิชีวิตนิยม[49]

พาลเมอร์อ้างว่าภาวะกระดูกสันหลังเคลื่อนรบกวนการทำงานของร่างกายและความสามารถรักษาตนเองที่มีแต่กำเนิด[50] ดี. ดี. พาลเมอร์ ทิ้งทฤษฎีเก่าของเขาไปซึ่งกล่าวว่าภาวะกระดูกสันหลังเคลื่อนทำให้เส้นประสาทถูกกดอยู่ในช่องว่างระหว่างกระดูกสันหลัง แล้วแทนที่ด้วยทฤษฎีที่กล่าวว่าภาวะกระดูกสันหลังเคลื่อนทำให้จังหวะการสั่นของเส้นประสาทเปลี่ยนไป ทำให้ตึงหรือหย่อนเกินไป และส่งผลต่อระดับเสียง (สุขภาพ) ของอวัยวะปลายทาง[49] เขายืนยันทฤษฎีนี้ด้วยการชี้ว่าไม่จำเป็นต้องมีความรู้เกี่ยวกับเชาวน์ปัญญาโดยกำเนิดก็สามารถปฏิบัติไคโรแพรกติกให้ชำนาญได้[49] ในภายหลังบุตรของเขาบี. เจ. พาลเมอร์ พัฒนาแนวคิดนี้ต่อมา ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่กลายเป็นรากฐานทางกฎหมายสำหรับการแยกแยะไคโรแพรกติกออกจากการแพทย์แผนปัจจุบัน

ใน ค.ศ. 1910 ดี. ดี. พาลเมอร์ตั้งทฤษฎีซึ่งกล่าวว่าระบบประสาทเป็นสิ่งที่ควบคุมสุขภาพไว้ว่า:

"นักสรีรวิทยาแบ่งเส้นใยประสาทซึ่งประกอบขึ้นเป็นเส้นประสาทไว้สองประเภท นำเข้าและนำออก เมื่อมีการกดทับลงบนปลายเส้นใยนำเข้านอกส่วนกลาง จะทำให้เกิดความรู้สึกซึ่งถูกส่งไปยังส่วนกลางของระบบประสาท เส้นใยประสาทนำออกส่งสัญญาณจากส่วนกลางไปยังปลายของมัน ส่วนใหญ่แล้วพวกนี้จะไปยังกล้ามเนื้อและจึงเรียกว่าสัญญาณสั่งการ บางส่วนเป็นสัญญาณคัดหลั่งและส่งไปยังต่อมต่าง ๆ ส่วนหนึ่งเป็นสัญญาณยับยั้ง หน้าที่ของมันคือการยับยั้งการคัดหลั่ง ดังนั้นแล้ว เส้นประสาทส่งสัญญาณไปภายนอกและความรู้สึกมาภายใน กิจกรรมของเส้นประสาทเหล่านี้ หรือของเส้นใยของมัน อาจถูกกระตุ้นหรือระงับได้จากการกดเบียด ผลคือการทำงานของมันถูกดัดแปลง – มีกิจกรรมที่มากเกินหรือไม่พอ – ซึ่งคือโรค"[ii]

นักไคโรแพรกติกใช้การถ่ายภาพรังสีเพื่อพิจารณาโครงสร้างกระดูกของผู้ป่วย

ภาวะกระดูกสันหลังเคลื่อนซึ่งเป็นแก่นมโนทัศน์ของไคโรแพรกติกดั้งเดิมยังคงไม่มีน้ำหนักและไม่ถูกทดสอบโดยส่วนมาก และมีการโต้เถียงว่าควรเก็บมันไว้ในการปฏิบัติไคโรแพรกติกหรือไม่ซึ่งดำเนินมามากกว่าหลายทศวรรษ[52] โดยทั่วไปผู้วิจารณ์ไคโรแพรกติกดั้งเดิมที่อิงภาวะข้อเคลื่อน (ซึ่งรวมนักไคโรแพรกติกด้วย) เคลือบแคลงในประโยชน์ทางคลินิก ความเชื่อแบบสิทธันต์ และแนวทางเชิงอภิปรัชญาของมัน ในขณะที่นักไคโรแพรกติกแบบโดยตรงยังคงรักษากระบวนทัศน์แบบชีวิตนิยมดั้งเดิมซึ่งผู้ก่อตั้งสนับสนุนอยู่ ไคโรแพรกติกแบบอิงหลักฐานเสนอว่ามุมมองแบบเชิงกลจะทำให้การดูแลด้วยไคโรแพรกติกสามารถบูรณาการเข้ากับประชาคมบริการสุขภาพที่กว้างกว่าได้[52] นี่ยังคงเป็นข้อโต้เถียงอย่างต่อเนื่องภายในวิชาชีพไคโรแพรกติกเช่นกัน โรงเรียนไคโรแพรกติกบางที่ยังสอนไคโรแพรกติกอิงภาวะข้อเคลื่อนแบบดั้งเดิม/โดยตรงอยู่ ในขณะที่ที่อื่นกำลังขยับย้ายไปหาไคโรแพรกติกแบบอิงหลังฐานที่ปฏิเสธพื้นฐานเชิงอภิปรัชญาและจำกัดตัวเองไว้กับภาวะทางประสาท กล้ามเนื้อ และโครงกระดูกเป็นหลัก[53][54]

ใน ค.ศ. 2005 องค์การอนามัยโลกให้นิยามภาวะข้อเคลื่อนแบบไคโรแพรกติกไว้ว่าเป็น "รอยโรคหรือความผิดปกติในข้อต่อหรือหน่วยการเคลื่อนไหวที่ตำแหน่ง ความสมบูรณ์ของการเคลื่อนไหว และ/หรือการใช้งานทางสรีรวิทยาเปลี่ยนไป แม้ว่าผิวข้อต่อจะยังสัมผัสกันอยู่ครบถ้วน เป็นองคภาวะเชิงหน้าที่ซึ่งอาจส่งอิทธิพลต่อบูรณภาพทางชีวกลและทางประสาท"[iii] นี่ต่างจากนิยามของภาวะข้อเคลื่อนในทางการแพทย์ซึ่งเป็นการกระจัดเชิงโครงสร้างอย่างมีนัยสำคัญซึ่งมองเห็นได้ผ่านวิธีการถ่ายภาพนิ่ง เช่นด้วยรังสีเอกซ์[55] การใช้รังสีเอกซ์ถ่ายภาพอาการกระดูกสันหลังเคลื่อนทำให้ผู้ป่วยได้รับรังสีก่อไอออนที่เป็นอันตรายโดยไม่มีเหตุผลที่มีหลักฐานสนับสนุน[56][57] หนังสือจาก ค.ศ. 2008 Trick or Treatment ("หลอกหรือรักษา") กล่าวว่า "รังสีเอกซ์ไม่สามารถเปิดเผยให้เห็นทั้งภาวะข้อเคลื่อนหรือเชาวน์ปัญญาโดยกำเนิดที่เกี่ยวข้องกับปรัชญาไคโรแพรกติกได้เพราะพวกมันไม่มีอยู่จริง"[iv] เลขาธิการสหพันธ์ไคโรแพรกติกโลก (World Federation of Chiropractic) ทนายความเดวิด แชปแมน-สมิธ (David Chapman-Smith) กล่าวว่า "นักวิจารณ์ทางการแพทย์ถามมาว่าจะมีการเคลื่อนได้อย่างไรหากใช้รังสีเอกซ์แล้วมองไม่เห็น คำตอบคือความจริงแล้วภาวะเคลื่อนแบบไคโรแพรกติกนั้นเป็นองคภาวะเชิงหน้าที่ ไม่ใช่เชิงโครงสร้าง และจึงฉายรังสีเอกซ์มองเห็นได้ไม่มากไปกว่าอาการเดินกะเผลก (limp) หรือปวดหัวหรือปัญหาเชิงหน้าที่อื่นใดก็ตาม"[v] สภาไคโรแพรกติกทั่วไป (General Chiropractic Council) ซึ่งเป็นองค์กรควบคุมนักไคโรแพรกติกตามกฎหมายในสหราชอาณาจักรกล่าวว่าปมภาวะกระดูกสันหลังเคลื่อนแบบไคโรแพรกติกนั้น "ไม่มีหลักฐานงานวิจัยทางคลินิกใดรับรองที่จะให้สามารถอ้างได้ว่ามันเป็นต้นเหตุของโรค"[vi]

เมื่อ ค.ศ. 2014 คณะกรรมการผู้ตรวจการไคโรแพรกติกแห่งชาติ (National Board of Chiropractic Examiners) กล่าวว่า "จุดเน้นเฉพาะของการปฏิบัติไคโรแพรกติกเป็นที่รู้จักว่าคือภาวะข้อเคลื่อนแบบไคโรแพรกติกหรือการทำงานผิดปกติของข้อต่อ ภาวะข้อเคลื่อนเป็นข้อกังวลทางสุขภาพที่ปรากฏอยู่ในข้อต่อของกระดูก และส่งผลต่อระบบประสาทผ่านความสัมพันธ์ทางสรีรวิทยาและกายวิภาคที่ซับซ้อนและอาจนำไปสู่การทำงานที่ลดลง ความพิการ หรือความเจ็บป่วย"[vii]

วิทยาศาสตร์เทียมหรือการบำบัดจัดดัดดึงกระดูกสันหลัง

แม้ว่านักไคโรแพรกติกบางส่วนจำกัดการปฏิบัติของตนไว้รักษาเฉพาะภาวะทางกล้ามเนื้อและโครงกระดูกระยะสั้นเท่านั้น หลายคนอ้างอย่างผิด ๆ ว่าสามารถรักษาภาวะอื่น ๆ อีกมากมายได้[62][63] บางส่วนห้ามปรามไม่ให้ผู้ป่วยเข้ารับบริการทางแพทย์ และบางส่วนเสแสร้งว่ามีคุณสมบัติทำหน้าที่เป็นแพทย์ครอบครัวได้[62]

แคว็กวอตช์ (Quackwatch) องค์กรตรวจสอบการแพทย์ทางเลือกเตือนว่าอย่าพบนักไคโรแพรกติกที่:[62][64]

  • รับรักษาเด็กเล็ก
  • โน้มน้าวไม่ให้สร้างภูมิคุ้มกัน
  • เสแสร้งทำเป็นแพทย์ครอบครัว
  • ฉายรังสีเอกซ์กระดูกสันหลังทั้งหมด
  • สนับสนุนอาหารเสริมที่ยังไม่ได้รับการพิสูจน์
  • ต่อต้านการแพทย์วิทยาศาสตร์
  • อ้างว่ารักษาปัญหาที่ไม่ใช่ทางกล้ามเนื้อและโครงกระดูกได้

แพทย์คนหนึ่งเขียนลงในนิตยสารสเก็ปติคอลอินไควร์เรอร์ (Skeptical Inquirer) เตือนว่าอย่าพบแม้กระทั่งนักไคโรแพรกติกคนใดที่เพียงแค่อ้างว่าสามารถรักษาภาวะทางกล้ามเนื้อและโครงกระดูกได้:

"ฉันคิดว่าการบำบัดด้วยการจัดดัดดึงกระดูกสันหลัง (SMT) เป็นตัวเลือกที่มีเหตุผลให้ผู้ป่วยทดลองได้ ... แต่ฉันไม่สามารถแนะนำผู้ป่วยให้พบนักไคโรแพรกติกได้ด้วยจิตสำนึกสุจริต ... เมื่อไคโรแพรกติกมีประสิทธิผล สิ่งที่มีประสิทธิผลไม่ใช่ 'ไคโรแพรกติก' แต่มันคือ SMT นักกายภาพบำบัด นักออสทีโอพาธี หรือคนอื่น ๆ ก็ให้บริการ SMT ด้วย คนพวกนี้เป็นผู้ให้บริการที่อิงวิทยาศาสตร์ ... หากฉันคิดว่าผู้ป่วยจะได้รับประโยชน์จากการจัดดัดดึง ฉันก็จะแนะนำให้เขาไปหาผู้ให้บริการที่อิงวิทยาศาสตร์แทน"[viii]

ขอบเขตการปฏิบัติ

เตียงรักษาในสถานไคโรแพรกติก

นักไคโรแพรกติกเน้นการจัดการกับระบบประสาท กล้ามเนื้อ และโครงกระดูกในเชิงอนุรักษ์โดยไม่ใช้ยาหรือการผ่าตัด[55] และเน้นกระดูกสันหลังเป็นพิเศษ[2] อาการปวดหลังและคอเป็นชำนาญการของไคโรแพรกติก แต่นักไคโรแพรกติกหลายคนรับรักษาอาการเจ็บป่วยอื่น ๆ นอกจากปัญหาทางกล้ามเนื้อและโครงกระดูกด้วย[9] นักไคโรแพรกติกมีความคิดเห็นที่หลากหลาย บางคนเชื่อว่าการรักษาต้องจำกัดบริเวณอยู่ในกระดูกสันหลังหรืออาการปวดหลังและคอเท่านั้น ในขณะที่กลุ่มอื่นไม่เห็นด้วย[65] ตัวอย่างเช่น แม้ว่าในงานสำรวจนักไคโรแพรกติกชาวอเมริกัน ค.ศ. 2009 จะพบว่าร้อยละ 73 นับว่าตนเองเป็น "ผู้เชี่ยวชาญด้านอาการปวดหลัง/ด้านกล้ามเนื้อและโครงกระดูก" แต่ร้อยละ 47 ถือว่าป้ายชื่อ "ผู้เชี่ยวชาญด้านอาการปวดหลังและคอ" เป็นคำอธิบายถึงพวกเขาที่น่าพึงประสงค์น้อยที่สุดในงานสำรวจนานาชาติ ค.ศ. 2005[65] ไคโรแพรกติกรวมแง่มุมต่าง ๆ จากการแพทย์กระแสหลักและทางเลือก และไม่มีฉันทมติว่าควรนิยามวิชาชีพนี้ว่าอย่างไร และแม้ว่านักไคโรแพรกติกมีลักษะเป็นผู้ให้บริการปฐมภูมิหลายประการ แต่นักไคโรแพรกติกมีลักษณะคล้ายการแพทย์เฉพาะทางอย่างทันตแพทยศาสตร์หรือบาทาเวชศาสตร์ (podiatry) มากกว่า[66] เคยมีการเสนอให้นักไคโรแพรกติกเฉพาะทางในการรักษากระดูกสันหลังโดยไม่ผ่าตัดแทนที่จะพยายามรักษาปัญหาอื่น ๆ ด้วย[37][66] แต่มุมมองไคโรแพรกติกแบบเปิดกว้างกว่ายังคงมีอยู่อย่างแพร่หลาย[67]

บริการสุขภาพกระแสหลักและองค์กรรัฐอย่างองค์การอนามัยโลกมองว่าไคโรแพรกติกเป็นการแพทย์ทางเลือกและผสมผสาน [1] งานศึกษา ค.ศ. 2008 รายงานว่าร้อยละ 31 ของนักไคโรแพรกติกที่สำรวจจัดประเภทให้ไคโรแพรกติกเป็นการแพทย์ทางเลือกและผสมผสาน ร้อยละ 27 ให้เป็นการแพทย์บูรณาการ และร้อยละ 12 ให้เป็นการแพทย์กระแสหลัก[68] นักไคโรแพรกติกหลายคนเชื่อว่าตนเองเป็นผู้ให้บริการปฐมภูมิ[9][10] ซึ่งรวมนักไคโรแพรกติกจากสหรัฐ[69] และสหราชอาณาจักร[70] แต่ระยะเวลา ความครอบคลุม และความเข้มข้นของการฝึกทักษะทางคลินิกของไคโรแพรกติกไม่สนองต่อข้อกำหนดในการพิจารณาเป็นผู้ให้บริการปฐมภูมิ[2] บทบาทของพวกเขาในการให้บริการขั้นปฐมภูมิจึงจำกัดและเป็นข้อพิพาท[2][10]

ไคโรแพรกติกมีส่วนซ้อนทับกับการบำบัดด้วยมือรูปแบบอื่นหลายรูปแบบ เช่นการนวดบำบัด ออสทีโอพาธี กายภาพบำบัด และเวชศาสตร์การกีฬา[20][71] ไคโรแพรกติกเป็นอิสระจากและแข่งขันกับการแพทย์กระแสหลัก[72] ออสทีโอพาธีภายนอกสหรัฐหลัก ๆ แล้วยังคงเป็นระบบการแพทย์ด้วยมือ[73] นักกายภาพบำบัดทำงานด้วยกันและร่วมมือกับการแพทย์กระแสหลัก ส่วนออสทีโอพาธีในสหรัฐผสานเข้ากับวิชาชีพการแพทย์แล้ว[72] นักปฏิบัติไคโรแพรกติกอาจแยกแยะตนเองออกจากแนวทางคู่แข่งเหล่านี้ด้วยการอ้างว่านักไคโรแพรกติกนั้น เมื่อเทียบกับนักบำบัดแขนงอื่น ๆ จะให้ความสนใจกับการจัดดัดดึงกระดูกสันหลังเป็นหลัก มักใช้กลวิธีการจัดดัดดึงที่กระชับกว่า และส่งเสริมการดูแลแบบบำรุงรักษา แต่นักออสทีโอพาธีจะใช้ขั้นตอนการรักษาที่หลากหลายกว่า และนักกายภาพบำบัดจะเน้นการใช้เครื่องจักรกลและการออกกำลังกาย[20]

การวินิจฉัยแบบไคโรแพรกติกอาจประกอบด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่นการถ่ายภาพโครงกระดูก การประเมินด้วยการสังเกตและสัมผัส และการวัดผลทางออร์โธปิดิกส์และประสาทวิทยา[55] นักไคโรแพรกติกอาจแนะนำให้ผู้ป่วยปรึกษากับแพทย์เฉพาะทาง หรือทำงานร่วมกับผู้ให้บริการสุขภาพอีกราย[66] การจัดการกับผู้ป่วยที่พบได้บ่อยเช่นการจัดดัดดึงกระดูกสันหลัง (spinal manipulation) และการบำบัดข้อต่อและเนื้อเยื่ออ่อนด้วยมือแบบอื่น ๆ การออกกำลังกายฟื้นฟูสมรรถภาพ การส่งเสริมสุขภาพ การกระตุ้นด้วยไฟฟ้า ขั้นตอนแบบผสมผสาน และการให้คำปรึกษาด้านการใช้ชีวิต[6]

นักไคโรแพรกติกในสหรัฐโดยปกติจะไม่มีใบอนุญาตให้เขียนใบสั่งยาหรือผ่าตัดใหญ่ได้[74] แต่รัฐนิวเม็กซิโกอนุญาตให้นักไคโรแพรกติกที่ผ่านการฝึกอบรม "ปฏิบัติการขั้นสูง" (advanced practice) สามารถเขียนใบสั่งยาบางชนิดได้[75][76] ขอบเขตการปฏิบัติของนักไคโรแพรกติกในสหรัฐแตกต่างไปตามแต่ละรัฐ โดยขึ้นอยู่กับมุมมองต่อการดูแลแบบไคโรแพรกติกที่ไม่สอดคล้องกัน บางรัฐอย่างรัฐไอโอวาอนุญาตให้รักษา "ความเจ็บไข้ได้ป่วยของมนุษย์" อย่างกว้าง ๆ ได้ หรืออย่างรัฐเดลาแวร์จะใช้คำศัพท์ที่คลุมเครือเช่น "การส่งผ่านพลังงานเส้นประสาท" ("transition of nerve energy") ในการให้นิยามขอบเขตของการปฏิบัติ ที่อื่นอย่างรัฐนิวเจอร์ซีย์จะระบุขอบเขตไว้แคบมาก[77] นักไคโรแพรกติกในสหรัฐอาจสามารถทำการทดสอบหรือขั้นตอนการวินิจฉัยในห้องปฏิบัติการ จ่ายผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร หรือใช้การบำบัดรูปแบบอื่นอย่างโฮมีโอพาธีและการฝังเข็มได้หรือไม่ขึ้นกับข้อกำหนดในแต่ละรัฐ พวกเขาสามารถขอใบรับรองสำหรับการผ่าตัดเล็กและการทำคลอดธรรมชาติได้ในรัฐออริกอน[74] งานสำรวจนักไคโรแพรกติกในทวีปอเมริกาเหนือใน ค.ศ. 2003 พบว่าส่วนใหญ่ปริ่มน้ำเห็นด้วยกับการอนุญาตให้พวกเขาเขียนใบสั่งยาสำหรับยาจำหน่ายหน้าเคาน์เตอร์ได้[44] งานสำรวจใน ค.ศ. 2010 พบว่าร้อยละ 72 ของนักไคโรแพรกติกชาวสวิสมองว่าการที่พวกเขาสามารถเขียนใบสั่งยาที่ไม่ต้องใช้ใบสั่งได้เป็นข้อได้เปรียบของการรักษาแบบไคโรแพรกติก[78]

นักไคโรแพรกติกกำลังนวดจัดกระดูกม้า

ไคโรแพรกติกสัตว์ (veterinary chiropractic) เป็นสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องซึ่งประยุกต์ใช้การบำบัดด้วยมือกับสัตว์และเป็นที่ยอมรับในหลายรัฐในสหรัฐ[79] แต่ไม่เป็นที่ยอมรับว่าเป็นไคโรแพรกติกโดยสมาคมไคโรแพรกติกอเมริกัน (American Chiropractic Association)[80] มันยังคงเป็นข้อพิพาทในแต่ละภาคส่วนของสาขาวิชาชีพสัตวแพทย์และไคโรแพรกติก[81]

ไม่มีวิชาชีพใด "เป็นเจ้าของ" การจัดดัดดึงกระดูกสันหลังแต่เพียงผู้เดียว และยังไม่มีฉันทมติมากพอว่าวิชาชีพใดบ้างควรให้บริการจัดดัดดึงกระดูกสันหลัง ซึ่งทำให้นักไคโรแพรกติกกังวลว่าแพทย์ชนิดอื่น ๆ อาจ "ขโมย" ขั้นตอนจัดดัดดึงกระดูกสันหลังไปจากนักไคโรแพรกติก[82] การเน้นในงานวิจัยการจัดดัดดึงกระดูกสันหลังแบบอิงหลักฐานทำให้มีความกังวลว่าแนวทางการปฏิบัติอันเป็นผลนั้นจะจำกัดขอบเขตของการปฏิบัติไคโรแพรกติกไว้เฉพาะสำหรับการรักษาบริเวณหลังและคอ[82] รัฐวอชิงตันและรัฐอาร์คันซอในสหรัฐห้ามไม่ให้นักกายภาพบำบัดทำการจัดดัดดึงกระดูกสันหลัง[83] บางรัฐอนุญาตให้ทำก็ต่อเมื่อพวกเขาสำเร็จการฝึกอบรมการจัดดัดดึงกระดูกสันหลังขั้นสูงแล้วเท่านั้น และบางรัฐอนุญาตให้เฉพาะนักไคโรแพรกติกหรือเฉพาะนักไคโรแพรกติกและแพทย์เท่านั้นที่สามารถทำการจัดดัดดึงกระดูกสันหลังได้ กฎหมายซึ่งห้ามไม่ให้นักปฏิบัติที่ไม่ใช่นักไคโรแพรกติกทำการจัดดัดดึงกระดูกสันหลังซึ่งถูกผลักดันเข้าสภานิติบัญญัติของรัฐอยู่เสมอ และหลายองค์กรของนักกายภาพบำบัดต่อต้านกฎหมายเหล่านั้น[84]

การรักษา

นักไคโรแพรกติกกำลังจัดกระดูกผู้ป่วย

การจัดดัดดึงกระดูกสันหลังที่นักไคโรแพรกติกเรียกกว่า "การจัดกระดูกสันหลัง" หรือ "การจัดกระดูกแบบไคโรแพรกติก" เป็นการรักษาที่ใช้แพร่หลายที่สุดในการให้บริการไคโรแพรกติก[85] การจัดดัดดึงกระดูกสันหลังเป็นการเคลื่อนที่ปมสามข้อต่อ (three-joint complex) ด้วยมือเชิงรับ ให้เลยเกินพิสัยของการเคลื่อนไหวปกติแต่ไม่เลยจนข้อต่อหลุดหรือเสียหาย[86] ปัจจัยที่สำคัญคือแรงผลักแบบพลวัต ซึ่งเป็นแรงฉับพลันที่ทำให้เกิดการปลดปล่อยที่ยินเสียงได้ และพยายามขยายพิสัยของการเคลื่อนไหวของข้อต่อ[86] การผลักในการจัดดัดดึงกระดูกสันหลังด้วยความเร็วสูงและความแรงต่ำ (High-velocity, low-amplitude spinal manipulation; HVLA-SM) ส่งผลทางสรีรวิทยาซึ่งส่งสัญญาณประสาทจากเนื้อเยื่อกล้ามเนื้อข้างกระดูกสันหลัง (paraspinal muscle) โดยระยะเวลาและความแรงของแรงผลักนั้นเป็นปัจจัยว่ากระสวยกล้ามเนื้อข้างกระดูกสันหลังจะถูกกระตุ้นในระดับใด[87] ทักษะการปฏิบัติใช้การผลักแบบ HVLA-SM ทางคลินิกขึ้นอยู่กับความสามารถของนักปฏิบัติในการควบคุมระยะเวลาและความแรงของแรงผลัก[87] โดยทั่วไปคำว่าการบำบัดด้วยการจัดดัดดึงกระดูกสันหลัง (SMT) หมายถึงกลวิธีต่าง ๆ ซึ่งใช้มือในการจัดดัดดึง นวด ขยับ จัด กระตุ้น ลากดึง หรือส่งผลใด ๆ ต่อกระดูกสันหลังและเนื้อเยื่อต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง[86]

กลวิธีการจัดกระดูกแบบไคโรแพรกติกมีอยู่หลายสำนัก แต่นักไคโรแพรกติกมักผสมกลวิธีกันจากหลายสำนัก ต่อไปนี้เป็นรายนามขั้นตอนการจัดกระดูกซึ่งผู้ป่วยมากกว่าร้อยละ 10 เคยได้รับบริการจากนักไคโรแพรกติกที่มีใบอนุญาตในสหรัฐจากงานสำรวจ ค.ศ. 2003:[85] กลวิธีหลากหลาย (Diversified technique) (การจัดดัดดึงกระดูกสันหลังเต็ม โดยใช้กลวิธีที่หลากหลาย), การจัดกระดูกรยางค์, กลวิธีแอกทิเวเตอร์ (Activator technique) (การใช้อุปกรณ์กำลังสปริงเพื่อจัดกระดูกสันหลังด้วยความแม่นยำ), กลวิธีทอมป์สัน (Thompson Technique) (ใช้เตียงรักษาแบบ drop table และมาตรการขั้นตอนที่ลงรายละเอียด), กลวิธีกอนสเตด (Gonstead technique) (ให้ความสำคัญกับการประเมินและการจัดกระดูกสันหลังในแบบที่หลีกเลี่ยงการขยับในแกนหมุน), กลวิธีค็อกซ์ (Cox technique)/การบำบัดงอ-ยืดถ่าง (flexion-distraction therapy) (ใช้ขั้นตอนการจัดกระดูกสันหลังแบบอ่อนโยนและแรงต่ำ โดยผสมหลักการไคโรแพรกติกเข้ากับออสทีโอพาธี และใช้เตียงจัดกระดูกแบบพิเศษ), อุปกรณ์จัดกระดูก, กลวิธีกระเบนเหน็บ-ท้ายทอย (Sacro-Occipital Technique) (ซึ่งจำลองกระดูกสันหลังเสมือนแท่งบิด), กลวิธีตัวรับ-ความตึงตัวของนิมโม (Nimmo Receptor-Tonus Technique), วิทยาศาสตร์การเคลื่อนไหวประยุกต์ (applied kinesiology) (ซึ่งให้ความสำคัญกับการใช้ "การทดสอบกล้ามเนื้อ" เป็นเครื่องมือตรวจวินิจฉัย) และกลวิธีกะโหลก[88] กลวิธีชีวฟิสิกส์แบบไคโรแพรกติกใช้ฟังก์ชันผกผันของการหมุนในการจัดดัดดึงกระดูกสันหลัง[89] กลวิธีจำเพาะของคอเริน (Koren Specific Technique; KST) ใช้มือหรืออุปกรณ์ไฟฟ้าที่ชื่อว่า "ArthroStim" ในการประเมินและการจัดดัดดึงกระดูกสันหลัง[90] ประกันสุขภาพในสหรัฐและสหราชอาณาจักรที่ครอบคลุมกลวิธีไคโรแพรกติกอื่น ๆ ไม่ครอบคลุม KST เพราะพวกเขาถือว่ามันเป็นกลวิธี "เชิงทดลองและสอบสวน"[90][91][92][93] การจัดดัดดึงโดยใช้ยาช่วย เช่นการจัดดัดดึงภายใต้การดมยาสลบ (manipulation under anesthesia) ใช้ยาระงับประสาทหรือยาชาเฉพาะที่และกระทำโดยกลุ่มผู้รักษาที่มีวิสัญญีแพทย์ร่วมด้วย การปริทัศน์เป็นระบบจาก ค.ศ. 2008 ไม่พบหลักฐานเพียงพอที่จะแนะนำการใช้ประโยชน์กลวิธีนี้สำหรับอาการปวดหลังส่วนล่าง[94]

การจัดดัดดึงกระดูกสันหลังส่วนเอว (lumbar) ส่วนคอ (cervical) และส่วนอก (thoracic) แบบไคโรแพรกติก

นักไคโรแพรกติกยังใช้กระบวนการอื่น ๆ หลากหลายแบบในการรักษากระดูกสันหลัง ข้อต่ออื่น ๆ และเนื้อเยื่อ และปัญหาด้านสุขภาพทั่วไป ต่อไปนี้เป็นรายนามกระบวนการต่าง ๆ ที่ผู้ป่วยกว่าหนึ่งในสามเคยได้รับบริการจากนักไคโรแพรกติกที่มีใบอนุญาตในสหรัฐจากงานสำรวจ ค.ศ. 2003: กลวิธีหลากหลาย, การส่งเสริมสมรรถภาพทางกาย/การออกกำลังกาย, การออกกำลังกายบำบัดหรือแก้ไข, คำแนะนำด้านการยศาสตร์ (ergonomics)/การวางท่าทาง (spinal posture), ยุทธศาสตร์การดูแลตนเอง, กิจวัตรประจำวัน (activities of daily living), การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่ดีต่อสุขภาพ/มีความเสี่ยง, คำแนะนำด้านอาหาร (Diet (nutrition))/โภชนาการ, คำแนะนำด้านเทคนิคการผ่อนคลาย (Relaxation technique)/การจัดการความเครียด, ไอซ์แพ็ก/การบำบัดด้วยความเย็น (Cryotherapy), การจัดกระดูกรยางค์, การบำบัดจุดกดเจ็บ (Myofascial trigger point) และคำแนะนำด้านการป้องกันโรค/การคัดกรองโรคแต่แรกเริ่ม (Screening (medicine))[85]

งานศึกษา ค.ศ. 2010 เกี่ยวกับนักไคโรแพรกติกชาวเบลเยียมและผู้ป่วยพบว่านักไคโรแพรกติกในประเทศเบลเยียมส่วนใหญ่ให้ความสนใจกับอาการทางประสาท กล้ามเนื้อ และโครงกระดูกของผู้ป่วยที่เป็นผู้ใหญ่ โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับกระดูกสันหลัง[95] กลวิธีหลากหลายเป็นกลวิธีที่ถูกนำมาใช้มากที่สุดที่ร้อยละ 93 ตามมาด้วยกลวิธีที่ใช้กลไกแอกทิเวเตอร์ที่ร้อยละ 41[95] งานศึกษา ค.ศ. 2009 เกี่ยวกับนักเรียนไคโรแพรกติดที่กำลังให้บริการหรือรับบริการจัดดัดดึงกระดูกสันหลังอยู่ระหว่างการเข้าศึกษาในวิทยาลัยไคโรแพรกติกในประเทศสหรัฐพบว่าวิธีการรักษาที่ถูกนำมาใช้บ่อยมีแบบหลากหลาย แบบกอนสเตด และการจัดดัดดึงกระดูกสันหลังส่วนคอส่วนบน[96]

แนวปฏิบัติ

หลายปริทัศน์งานศึกษาวิจัยภายในประชาคมไคโรแพรกติกถูกนำมาสร้างแนวปฏิบัติซึ่งวางมาตรฐานที่จะระบุว่าการรักษาแบบไคโรแพรกติกแบบใดถูกต้อง (กล่าวคือ มีหลักฐานสนับสนุน) และสามารถชดเชยค่าใช้จ่ายได้ภายใต้ระบบการชำระค่าการบริการจัดการ (managed care) สุขกาพ[82] แนวปฏิบัติอิงหลักฐานได้รับการสนับสนุนจากนักไคโรแพรกติกฝั่งหนึ่งของแนวต่อเนื่องเชิงอุดมการณ์ อีกฝั่งหนึ่งใช้การให้เหตุผลแบบต่อต้านวิทยาศาสตร์ (Antiscience) และใช้ข้อกล่าวอ้างที่ไร้น้ำหนัก[2][28][52][97][98] ไคโรแพรกตักยังคงเป็นทางสองแพร่ง โดยที่จะต้องยอมรับวิทยาศาสตร์เพื่อเดินไปข้างหน้า คนบางกลุ่มที่เสนอมันเป็นยาสารพัดโรคนั้น "หลงทางและไม่มีเหตุผล"[99] งานสำรวจนักไคโรแพรกติกในรัฐแอลเบอร์ตาใน ค.ศ. 2007 พบว่าพวกเขาไม่มีความสม่ำเสมอในการนำงานวิจัยมาใช้ในทางปฏิบัติ ซึ่งอาจเกิดขึ้นจากการขาดการศึกษาและทักษะเกี่ยวกับการทำวิจัย[100] แนวปฏิบัติว่าด้วยการรักษาอาการปวดหลังแบบไม่จำเพาะ (กล่าวคือ ไม่รู้สาเหตุ) ไม่มีความสอดคล้องกันระหว่างแต่ละประเทศ[101]

ประสิทธิผล

มีการทำงานศึกษาทางคลินิกแบบมีกลุ่มควบคุมถึงวิธีการรักษาที่นักไคโรแพรกติกใช้หลายชิ้นและมีผลลัพธ์ที่แตกต่างกัน[9] ไม่มีหลักฐานสรุปได้ว่าการรักษาด้วยการจัดดัดดึงแบบไคโรแพรกติกมีประสิทธิผลในการรักษาอาการทางแพทย์ใด ๆ ยกเว้นอาการปวดหลังบางชนิดเท่านั้น[9][11][102]

โดยทั่วไป งานวิจัยเกี่ยวกับประสิทธิผลของไคโรแพรกติกมักมีคุณภาพต่ำ[103][104] งานวิจัยที่นักไคโรแพรกติกเผยแพร่มีความลำเอียงอย่างเห็นได้ชัด งานปริทัศน์ถึงการจัดดัดดึงกระดูกสันหลังมักพบข้อสรุปที่เป็นบวกเมื่อผู้เขียนเป็นนักไคโรแพรกติก ในขณะที่งานปริทัศน์ที่มีผู้เขียนกระแสหลักไม่ได้เป็นเช่นนั้น[9]

มีวิธีการวัดผลลัพธ์ของการรักษาหลากหลายวิธี[105] การดูแลรักษาแบบไคโรแพรกติกได้ประโยชน์จากปรากฏการณ์ยาหลอก[106] แต่การสร้างยาหลอกที่น่าเชื่อถือขึ้นสำหรับทำการทดลองทางคลินิกของการรักษาด้วยการจัดดัดดึงกระดูกสันหลังเป็นเรื่องยาก[107] ประสิทธิผลของไคโรแพรกติกในฐานะการดูแลแบบบำรุงรักษายังไม่เป็นที่ทราบ[108]

หลักฐานที่มีอยู่ครอบคลุมถึงอาการดังต่อไปนี้:

  • อาการปวดหลังส่วนล่าง งานปริทัศน์คอเครน ค.ศ. 2013 พบหลักฐานระดับต่ำถึงปานกลางว่าการรักษาด้วยการจัดดัดดึงกระดูกสันหลังไม่ได้มีประสิทธิผลมากไปกว่าการรักษาซึ่งไม่มีฤทธิ์ การจัดดัดดึงกระดูกสันหลังแบบปลอม หรือในฐานะเป็นการบำบัดเสริมสำหรับอาการปวดหลังส่วนล่างเฉียบพลัน[109] งานปริทัศน์ชิ้นเดียวกันพบว่าการรักษาด้วยการจัดดัดดึงกระดูกสันหลังไม่ปรากฏว่าดีไปกว่าการบำบัดที่แนะนำชนิดอื่น ๆ[109] งานสรุปของงานปริทัศน์เป็นระบบหลายชิ้น ค.ศ. 2012 พบว่าโดยรวมแล้ว ไม่ปรากฏว่าการรักษาด้วยการจัดดัดดึงกระดูกสันหลังเป็นการรักษาที่มีประสิทธิผลสำหรับอาการปวด[110] งานปริทัศน์คอเครน ค.ศ. 2011 พบหลักฐานแน่นหนาซึ่งเสนอว่าไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางคลินิกระหว่างการรักษาด้วยการจัดดัดดึงกระดูกสันหลังและการรักษารูปแบบอื่นในการลดอาการปวดและฟื้นฟูการทำงานสำหรับอาการปวดหลังส่วนล่างเรื้อรัง[111] งานปริทัศน์คอเครน ค.ศ. 2010 ไม่พบความแตกต่างระหว่างผลลัพธ์ของการรักษาแบบไคโรแพรกติกแบบผสมกับการรักษารูปแบบอื่นสำหรับอาการปวดหลังส่วนล่างเรื้อรังหรือระยะเวลาผสม[112] งานปริทัศน์เป็นระบบ ค.ศ. 2010 พบว่างานศึกษาส่วนใหญ่เสนอว่าการรักษาด้วยการจัดดัดดึงกระดูกสันหลังบรรลุผลการฟื้นฟูอาการปวดและการทำงานเท่ากับหรือมากกว่าการรักษารูปแบบอื่น ๆ ซึ่งมักถูกใช้ในการติดตามผลระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว[113]
  • โรครากประสาท (Radiculopathy) งานปริทัศน์เป็นระบบและงานวิเคราะห์อภิมาน ค.ศ. 2013 พบพัฒนาการอย่างมีนัยสำคัญโดยรวมในการฟื้นฟูจากอาการปวดหลังร้าวไปขา (sciatica) หลังจากการจัดดัดดึงกระดูกสันหลังเมื่อเทียบกับการรักษาโดยปกติ และเสนอว่าอาจพิจารณาให้การรักษาด้วยการจัดดัดดึงกระดูกสันหลังได้[114] มีหลักฐานคุณภาพปานกลางที่สนับสนุนการใช้การจัดดัดดึงกระดูกสันหลังในการรักษากระดูกสันหลังส่วนเอวกดทับเส้นประสาท (lumbar radiculopathy) เฉียบพลัน [115] และหมอนรองกระดูกสันหลังส่วนเอวเคลื่อน (lumbar disc herniation) เฉียบพลันที่มีโรครากประสาทร่วมด้วย[116] มีหลักฐานน้อยหรือน้อยมากที่สนับสนุนการจัดดัดดึงกระดูกสันสำหรับอาการส่วนรยางค์เรื้อรังที่เกี่ยวเนื่องกับกระดูกสันหลังส่วนเอวและส่วนคอระยะเวลาใด ๆ และไม่มีหลักฐานสำหรับการรักษากระดูกสันหลังส่วนอกกดทับเส้นประสาท (thoracic radiculopathy)[115]
  • คอสะบัด (Whiplash (medicine)) และอาการปวดคอ (neck pain) ไม่มีฉันทมติถึงประสิทธิผลของการบำบัดด้วยมือสำหรับอาการปวดคอ[117] งานปริทัศน์เป็นระบบ ค.ศ. 2013 พบว่าข้อมูลแสดงนัยว่ามีความแตกต่างในการรักษาอาการปวดคอระยะสั้นและระยะยาวที่น้อยเมื่อเปรียบเทียบระหว่างการจัดดัดดึงหรือการขยับกระดูกสันหลังส่วนคอกับกายภาพบำบัดหรือการออกกำลังกาย[118] งานปริทัศน์เป็นระบบ ค.ศ. 2013 พบว่าแม้ไม่มีหลักฐานเพียงพอว่าการจัดดัดดึงกระดูกสันหลังส่วนอกจะมีประสิทธิผลมากกว่าการรักษารูปแบบอื่น แต่ก็เป็นการแทรกแซงที่เหมาะสมสำหรับใช้รักษาผู้ป่วยบางรายซึ่งมีอาการปวดคอแบบไม่จำเพาะ[119] งานปริทัศน์เป็นระบบ ค.ศ. 2011 พบว่าการจัดดัดดึงกระดูกสันหลังส่วนอกอาจช่วยส่งเสริมการรักษาอาการปวดคอเฉียบพลันและกึ่งเฉียบพลันที่เกิดจากโครงสร้าง (mechanical) ในระยะสั้นได้ แต่วรรณกรรมส่วนใหญ่ยังไม่หนักแน่นมากพอ[120] งานปริทัศน์คอเครน ค.ศ. 2010 พบว่ามีหลักฐานคุณภาพต่ำซึ่งเสนอว่าการจัดดัดดึงส่วนคออาจให้การบรรเทาอาการปวดระยะสั้นได้ดีกว่าการควบคุมอาการปวดคอ และมีหลักฐานปานกลางว่าการจัดดัดดึงและการขยับส่วนคอให้ผลลัพธ์กับอาการปวด การทำงาน และความพึงพอใจของผู้ป่วยในทางคล้ายกัน[121] งานปริทัศน์เป็นระบบ ค.ศ. 2010 พบหลักฐานระดับต่ำซึ่งเสนอว่าการดูแลรักษาแบบไคโรแพรกติกช่วยฟื้นฟูพิสัยการเคลื่อนไหวและอาการปวดส่วนคอได้ในการจัดการอาการคอสะบัดหรือวิพแลช (whiplash)[122]
  • อาการปวดศีรษะ หลักฐานเกี่ยวกับการใช้งานการจัดดัดดึงกระดูกสันหลังสำหรับการรักษาและป้องกันอาการปวดศีรษะไมเกรนมีความขัดแย้งกัน[123][124] งานปริทัศน์ ค.ศ. 2006 ไม่พบหลักฐานที่แน่ชัดซึ่งสนับสนุนการใช้งานการจัดดัดดึงกระดูกสันหลังหรือการบำบัดด้วยมือชนิดอื่น ๆ สำหรับอาการปวดศีรษะจากความเครียด (tension headache)[125] งานปริทัศน์ ค.ศ. 2005 พบว่าหลักฐานถึงประสิทธิผลของการจัดดัดดึงแบบไคโรแพรกติกสำหรับอาการปวดศีรษะจากความเครียดนั้นอ่อนแอ และอาจมีประสิทธิผลสำหรับอาการปวดศีรษะจากความเครียดมากกว่าสำหรับไมเกรน[126]
  • อาการรยางค์ งานปริทัศน์เป็นระบบและงานวิเคราะห์อภิมาน ค.ศ. 2011 สรุปว่าการเสริมกำหนดการออกกำลังกายด้วยการขยับด้วยมือสำหรับการรักษาข้อเข่าเสื่อมให้ผลลัพธ์บรรเทาอาการปวดได้ดีกว่าการใช้กำหนดการออกกำลังกายแบบมีผู้ให้คำแนะนำแต่เพียงอย่างเดียว และเสนอให้นักบำบัดด้วยมือพิจารณาเพิ่มการขยับด้วยมือเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้กับกำหนดการออกกำลังกายด้วยตนเองแบบมีผู้ให้คำแนะนำ[127] มีหลักฐานระดับ "silver" ว่าการบำบัดด้วยมือมีประสิทธิผลมากกว่าการออกกำลังกายสำหรับการรักษาข้อสะโพกเสื่อม ทว่าหลักฐานชิ้นนี้อาจถือได้ว่าไม่สามารถสรุปผลได้[128] มีงานวิจัยจำนวนน้อยถึงประสิทธิศักย์ของการรักษาแบบไคโรแพรกติกสำหรับรยางค์บน[129] ซึ่งจำกัดอยู่เฉพาะหลักฐานระดับต่ำที่สนับสนุนการใช้ไคโรแพรกติกในการจัดการอาการปวดไหล่ (shoulder pain)[130] และมีหลักฐานจำกัดและพอใช้ได้ที่สนับสนุนการใช้ไคโรแพรกติกในการจัดการอาการบริเวณขา[131]

หมายเหตุ

  1. แปลจาก "they have been able to transform their status as purists and heirs of the lineage into influence dramatically out of proportion to their numbers."[22]
  2. แปลจาก "Physiologists divide nerve-fibers, which form the nerves, into two classes, afferent and efferent. Impressions are made on the peripheral afferent fiber-endings; these create sensations that are transmitted to the center of the nervous system. Efferent nerve-fibers carry impulses out from the center to their endings. Most of these go to muscles and are therefore called motor impulses; some are secretory and enter glands; a portion are inhibitory, their function being to restrain secretion. Thus, nerves carry impulses outward and sensations inward. The activity of these nerves, or rather their fibers, may become excited or allayed by impingement, the result being a modification of functionality – too much or not enough action – which is disease."[51]
  3. แปลจาก "a lesion or dysfunction in a joint or motion segment in which alignment, movement integrity and/or physiological function are altered, although contact between joint surfaces remains intact. It is essentially a functional entity, which may influence biomechanical and neural integrity."[55]
  4. แปลจาก "X-rays can reveal neither the subluxations nor the innate intelligence associated with chiropractic philosophy, because they do not exist."[58]
  5. แปลจาก "Medical critics have asked how there can be a subluxation if it cannot be seen on X-ray. The answer is that the chiropractic subluxation is essentially a functional entity, not structural, and is therefore no more visible on static X-ray than a limp or headache or any other functional problem."[59]
  6. แปลจาก "is not supported by any clinical research evidence that would allow claims to be made that it is the cause of disease."[60]
  7. แปลจาก "The specific focus of chiropractic practice is known as the chiropractic subluxation or joint dysfunction. A subluxation is a health concern that manifests in the skeletal joints, and, through complex anatomical and physiological relationships, affects the nervous system and may lead to reduced function, disability or illness."[61][28]
  8. แปลจาก "I think Spinal Manipulation Therapy (SMT) is a reasonable option for patients to try ... But I could not in good conscience refer a patient to a chiropractor... When chiropractic is effective, what is effective is not 'chiropractic': it is SMT. SMT is also offered by physical therapists, DOs, and others. These are science-based providers ... If I thought a patient might benefit from manipulation, I would rather refer him or her to a science-based provider."[62]

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 1.2 Chapman-Smith DA, Cleveland CS III (2005). "International status, standards, and education of the chiropractic profession". ใน Haldeman S, Dagenais S, Budgell B, และคณะ (บ.ก.). Principles and Practice of Chiropractic (3rd ed.). McGraw-Hill. pp. 111–34. ISBN 978-0-07-137534-4.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 2.5 2.6 2.7 Nelson CF, Lawrence DJ, Triano JJ, Bronfort G, Perle SM, Metz RD, Hegetschweiler K, LaBrot T (2005). "Chiropractic as spine care: a model for the profession". Chiropractic & Osteopathy. 13 (1): 9. doi:10.1186/1746-1340-13-9. PMC 1185558. PMID 16000175.
  3. Swanson ES (2015). "Pseudoscience". Science and Society: Understanding Scientific Methodology, Energy, Climate, and Sustainability. Springer. p. 65. ISBN 978-3-319-21987-5.
  4. สำหรับคำอธิบายเกี่ยวกับคำบรรยายถึงไคโรแพรกติกว่าเป็นวิทยาศาสตร์เทียม ดูที่:
  5. เสก อักษรานุเคราะห์ (มีนาคม–เมษายน 2010). "มารู้จักหมอไคโรแพรกติกกันเถอะ (บทบรรณาธิการ)" (PDF). Chulalongkorn Medical Journal. 54 (2): 99. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 18 กรกฎาคม 2020. นักกายภาพบำบัด นักกิจกรรมบำบัด ทั้งในไทยและต่างประเทศ ก็เป็นระดับปริญญาตรี เรียน แค่ 4 ปีเท่ากัน แต่เขาไม่ได้ตั้งชื่อปริญญาว่า Doctor of Physical Therapy หรือ Doctor of Occupational Therapy เขาจึงเรียกตัวเขาเองว่า นักกายภาพบำบัด และนักกิจกรรมบำบัด ฉะนั้น Doctor of chiropractic ถ้าจะเรียกแบบไทย ๆ ก็ต้องเป็นเพียงนักไคโรแพรกติก ไม่ใช่หมอ ไม่ใช่ แพทย์{{cite journal}}: CS1 maint: date format (ลิงก์)
  6. 6.0 6.1 Mootz RD, Shekelle PG (1997). "Content of practice". ใน Cherkin DC, Mootz RD (บ.ก.). Chiropractic in the United States: Training, Practice, and Research. Rockville, MD: Agency for Health Care Policy and Research. pp. 67–91. OCLC 39856366. AHCPR Pub No. 98-N002.
  7. "The DC as PCP? Drug Wars Resume – Science-Based Medicine". sciencebasedmedicine.org. 18 ธันวาคม 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 ธันวาคม 2019. สืบค้นเมื่อ 27 มีนาคม 2020.
  8. Bellamy, Jann (20 ธันวาคม 2018). "Legislative Alchemy 2018: Chiropractors rebranding as primary care physicians continues". sciencebasedmedicine.org (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 ธันวาคม 2019. สืบค้นเมื่อ 18 ธันวาคม 2019.
  9. 9.00 9.01 9.02 9.03 9.04 9.05 9.06 9.07 9.08 9.09 Ernst E (พฤษภาคม 2008). "Chiropractic: a critical evaluation". Journal of Pain and Symptom Management. 35 (5): 544–62. doi:10.1016/j.jpainsymman.2007.07.004. PMID 18280103.
  10. 10.0 10.1 10.2 10.3 10.4 Cooper RA, McKee HJ (2003). "Chiropractic in the United States: trends and issues". Milbank Quarterly. 81 (1): 107–38, table of contents. doi:10.1111/1468-0009.00040. PMC 2690192. PMID 12669653.
  11. 11.0 11.1 Posadzki P, Ernst E (2011). "Spinal manipulation: an update of a systematic review of systematic reviews". The New Zealand Medical Journal. 124 (1340): 55–71. PMID 21952385.
  12. Lin CW, Haas M, Maher CG, Machado LA, van Tulder MW (2011). "Cost-effectiveness of guideline-endorsed treatments for low back pain: a systematic review". European Spine Journal. 20 (7): 1024–1038. doi:10.1007/s00586-010-1676-3. PMC 3176706. PMID 21229367.
  13. Ernst E (2009). "Chiropractic maintenance treatment, a useful preventative approach?". Preventive Medicine. 49 (2–3): 99–100. doi:10.1016/j.ypmed.2009.05.004. PMID 19465044.
  14. Gouveia LO, Castanho P, Ferreira JJ (2009). "Safety of chiropractic interventions: a systematic review" (PDF). Spine. 34 (11): E405–E413. doi:10.1097/BRS.0b013e3181a16d63. PMID 19444054. S2CID 21279308. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-09-19. สืบค้นเมื่อ 2022-11-11.
  15. 15.0 15.1 Ernst E (2007). "Adverse effects of spinal manipulation: a systematic review". Journal of the Royal Society of Medicine. 100 (7): 330–338. doi:10.1177/014107680710000716. PMC 1905885. PMID 17606755. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 พฤษภาคม 2010.
    Christian Nordqvist (2 กรกฎาคม 2007). "Spinal Manipulation Should Not Be Routinely Used, New Study Warns". Med News Today.
  16. Haynes MJ, Vincent K, Fischhoff C, Bremner AP, Lanlo O, Hankey GJ (2012). "Assessing the risk of stroke from neck manipulation: a systematic review". International Journal of Clinical Practice. 66 (10): 940–947. doi:10.1111/j.1742-1241.2012.03004.x. PMC 3506737. PMID 22994328.
  17. Ernst E (2010). "Vascular accidents after neck manipulation: cause or coincidence?". International Journal of Clinical Practice. 64 (6): 673–677. doi:10.1111/j.1742-1241.2009.02237.x. PMID 20518945. S2CID 38571730.
  18. 18.0 18.1 Ernst E (2010). "Deaths after chiropractic: a review of published cases". International Journal of Clinical Practice. 64 (8): 1162–1165. doi:10.1111/j.1742-1241.2010.02352.x. PMID 20642715. S2CID 45225661.
  19. Tetrault M (2004). "Global professional strategy for chiropractic" (PDF). Chiropractic Diplomatic Corps. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 25 มิถุนายน 2008. สืบค้นเมื่อ 18 เมษายน 2008.
  20. 20.0 20.1 20.2 Norris P (2001). "How 'we' are different from 'them': occupational boundary maintenance in the treatment of musculo-skeletal problems". Sociology of Health and Illness. 23 (1): 24–43. doi:10.1111/1467-9566.00239.
  21. Hurwitz EL, Chiang LM (2006). "A comparative analysis of chiropractic and general practitioner patients in North America: findings from the joint Canada/United States Survey of Health, 2002-03". BMC Health Services Research. 6: 49. doi:10.1186/1472-6963-6-49. PMC 1458338. PMID 16600038.
  22. 22.0 22.1 22.2 22.3 22.4 22.5 22.6 22.7 22.8 Kaptchuk TJ, Eisenberg DM (พฤศจิกายน 1998). "Chiropractic: origins, controversies, and contributions". Archives of Internal Medicine. 158 (20): 2215–2224. doi:10.1001/archinte.158.20.2215. PMID 9818801.
  23. 23.0 23.1 Martin SC (ตุลาคม 1993). "Chiropractic and the social context of medical technology, 1895-1925". Technology and Culture. 34 (4): 808–834. doi:10.2307/3106416. JSTOR 3106416. PMID 11623404.
  24. "D.D. Palmer's Religion of Chiropractic" (PDF). เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 6 กรกฎาคม 2022. I have received chiropractic from the other world, [...] – จดหมายจาก ดี. ดี. พาลเมอร์ ถึง พี. ดับเบิลยู. จอห์นสัน ที่ดี.ซี. วันที่ 4 พฤษภาคม ค.ศ. 1911 ในจดหมายเขามักเรียกตัวเองด้วยสรรพนามที่เจ้านายมักใช้ (royal we) แล้วก็ด้วยคำว่า "Old Dad" (พ่อแก่)
  25. Lazarus, David (30 มิถุนายน 2017). "Column: Chiropractic treatment, a $15-billion industry, has its roots in a ghost story". Los Angeles Times. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 กรกฎาคม 2020. สืบค้นเมื่อ 25 กันยายน 2019. Daniel David Palmer, the 'father' of chiropractic who performed the first chiropractic adjustment in 1895, was an avid spiritualist. He maintained that the notion and basic principles of chiropractic treatment were passed along to him during a seance by a long-dead doctor. 'The knowledge and philosophy given me by Dr. Jim Atkinson, an intelligent spiritual being ... appealed to my reason,' Palmer wrote in his memoir The Chiropractor, which was published in 1914 after his death in Los Angeles. Atkinson had died 50 years prior to Palmer's epiphany.
  26. DeVocht JW (2006). "History and overview of theories and methods of chiropractic: a counterpoint". Clinical Orthopaedics and Related Research. 444: 243–249. doi:10.1097/01.blo.0000203460.89887.8d. PMID 16523145. S2CID 35775630.
  27. Homola S (2006). "Chiropractic: history and overview of theories and methods". Clinical Orthopaedics and Related Research. 444: 236–242. doi:10.1097/01.blo.0000200258.95865.87. PMID 16446588.
  28. 28.0 28.1 28.2 Joseph C. Keating Jr.; Cleveland CS III; Menke M (2005). "Chiropractic history: a primer" (PDF). Association for the History of Chiropractic. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 19 มิถุนายน 2013. สืบค้นเมื่อ 16 มิถุนายน 2008. A significant and continuing barrier to scientific progress within chiropractic are the anti-scientific and pseudo-scientific ideas (Keating 1997b) which have sustained the profession throughout a century of intense struggle with political medicine. Chiropractors' tendency to assert the meaningfulness of various theories and methods as a counterpoint to allopathic charges of quackery has created a defensiveness which can make critical examination of chiropractic concepts difficult (Keating and Mootz 1989). One example of this conundrum is the continuing controversy about the presumptive target of DCs' adjustive interventions: subluxation (Gatterman 1995; Leach 1994).
  29. Busse JW, Morgan L, Campbell JB (2005). "Chiropractic antivaccination arguments". Journal of Manipulative and Physiological Therapeutics. 28 (5): 367–73. doi:10.1016/j.jmpt.2005.04.011. PMID 15965414.
  30. Campbell JB, Busse JW, Injeyan HS (2000). "Chiropractors and vaccination: a historical perspective". Pediatrics. 105 (4): e43. doi:10.1542/peds.105.4.e43. PMID 10742364.
  31. Johnson C, Baird R, Dougherty PE, Globe G, Green BN, Haneline M, Hawk C, Injeyan HS, Killinger L, Kopansky-Giles D, Lisi AJ, Mior SA, Smith M (2008). "Chiropractic and public health: current state and future vision". Journal of Manipulative and Physiological Therapeutics. 31 (6): 397–410. doi:10.1016/j.jmpt.2008.07.001. PMID 18722194.
  32. WFC Public Health Committee; WFC Research Committee (17 มีนาคม 2020). COVID-19 Advice for Chiropractors (PDF) (Report). World Federation of Chiropractic. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 23 ตุลาคม 2022.
  33. Jones, Robert C.; และคณะ. "Not Business as Usual: A Safe, Responsible Response to COVID-19". American Chiropractic Association.
  34. Smith, Michelle R.; Bauer, Scott; Catalani, Mike (8 ตุลาคม 2021). "Anti-vaccine chiropractors rising force of misinformation". แอสโซซิเอเต็ดเพรส. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 กันยายน 2022.
  35. 35.0 35.1 35.2 35.3 35.4 35.5 Keating JC Jr (2005). "Philosophy in chiropractic". ใน Haldeman S, Dagenais S, Budgell B, และคณะ (บ.ก.). Principles and Practice of Chiropractic (3rd ed.). McGraw-Hill. pp. 77–98. ISBN 978-0-07-137534-4.
  36. 36.0 36.1 36.2 Mootz RD, Phillips RB (1997). "Chiropractic belief systems". ใน Cherkin DC, Mootz RD (บ.ก.). Chiropractic in the United States: Training, Practice, and Research. Rockville, MD: Agency for Health Care Policy and Research. pp. 9–16. OCLC 39856366. AHCPR Pub No. 98-N002.
  37. 37.0 37.1 37.2 Murphy DR, Schneider MJ, Seaman DR, Perle SM, Nelson CF (สิงหาคม 2008). "How can chiropractic become a respected mainstream profession? The example of podiatry" (PDF). Chiropractic & Osteopathy. 16: 10. doi:10.1186/1746-1340-16-10. PMC 2538524. PMID 18759966. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 25 มีนาคม 2009. สืบค้นเมื่อ 16 กันยายน 2008.
  38. Gay RE, Nelson CF (2003). "Chiropractic philosophy". ใน Wainapel SF, Fast A (บ.ก.). Alternative Medicine and Rehabilitation: a Guide for Practitioners. นิวยอร์ก: Demos Medical Publishing. ISBN 978-1-888799-66-8.
  39. "Chiropractic". NHS Choices. 20 สิงหาคม 2014. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 กันยายน 2016. สืบค้นเมื่อ 19 กันยายน 2016.
  40. Freeman J (กุมภาพันธ์ 2005). "Towards a definition of holism". The British Journal of General Practice. 55 (511): 154–155. PMC 1463203. PMID 15720949.
  41. Martin Gardner (1 มิถุนายน 1957). Fads and Fallacies in the Name of Science. Courier Corporation. pp. 227–. ISBN 978-0-486-20394-2.
  42. 42.0 42.1 Raso J (1997). "Naprapathy". Dictionary of Metaphysical Healthcare – Glossary. Quackwatch. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 กุมภาพันธ์ 2022. สืบค้นเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2016.
  43. 43.0 43.1 43.2 43.3 Keating, Cleveland & Menke 2005
  44. 44.0 44.1 McDonald WP, Durkin KF, Pfefer M, และคณะ (2003). How Chiropractors Think and Practice: The Survey of North American Chiropractors. Ada, OH: Institute for Social Research, Ohio Northern University. ISBN 978-0-9728055-5-1.
  45. 45.0 45.1 Smith M, Carber LA (2008). "Survey of US Chiropractor Attitudes and Behaviors about Subluxation" (PDF). Journal of Chiropractic Humanities. 15: 19–26. doi:10.1016/s1556-3499(13)60166-7. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 25 เมษายน 2012.
  46. Benedetti & MacPhail 2002, p. 18.
  47. "Definition of Subluxation". Merriam-Webster. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2022. สืบค้นเมื่อ 4 มกราคม 2018.
  48. Harper, Douglas. "luxation (n.)". Online Etymology Dictionary. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 พฤษภาคม 2019. สืบค้นเมื่อ 28 กรกฎาคม 2021.
  49. 49.0 49.1 49.2 Joseph C. Keating Jr. (18 กุมภาพันธ์ 1995). "D. D. Palmer's forgotten theories of chiropractic" (PDF). Association for the History of Chiropractic. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2022. สืบค้นเมื่อ 14 พฤษภาคม 2008.
  50. Joseph C. Keating Jr. (2005). "A brief history of the chiropractic profession". ใน Haldeman S, Dagenais S, Budgell B, และคณะ (บ.ก.). Principles and Practice of Chiropractic (3rd ed.). McGraw-Hill. pp. 23–64. ISBN 978-0-07-137534-4.
  51. Palmer DD (1910). The Chiropractor's Adjuster: Text-book of the Science, Art and Philosophy of Chiropractic for Students and Practitioners. Portland, OR: Portland Printing House Co. OCLC 17205743. A subluxated vertebra ... is the cause of 95 percent of all diseases ... The other five percent is caused by displaced joints other than those of the vertebral column.
  52. 52.0 52.1 52.2 Keating JC, Charlton KH, Grod JP, Perle SM, Sikorski D, Winterstein JF (สิงหาคม 2005). "Subluxation: dogma or science?". Chiropractic & Osteopathy. 13: 17. doi:10.1186/1746-1340-13-17. PMC 1208927. PMID 16092955.
  53. Rose KA, Adams A (2000). "A survey of the use of evidence-based health care in chiropractic college clinics" (PDF). Journal of Chiropractic Education. 14 (2): 71–77. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2 ตุลาคม 2008.
  54. Homola S (2006). "Can chiropractors and evidence-based manual therapists work together? an opinion from a veteran chiropractor" (PDF). Journal of Manual & Manipulative Therapy. 14 (2): E14–18. CiteSeerX 10.1.1.366.2817. doi:10.1179/jmt.2006.14.2.14E. S2CID 71826135.
  55. 55.0 55.1 55.2 55.3 องค์การอนามัยโลก (2005). WHO guidelines on basic training and safety in chiropractic (PDF). ISBN 978-92-4-159371-7. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 13 มีนาคม 2022. สืบค้นเมื่อ 29 กุมภาพันธ์ 2008.
  56. Jenkins, HJ (5 ตุลาคม 2016). "Awareness of radiographic guidelines for low back pain: a survey of Australian chiropractors". Chiropractic & Manual Therapies. 24: 39. doi:10.1186/s12998-016-0118-7. PMC 5051064. PMID 27713818.
  57. Ammendolia C, Taylor JA, Pennick V, Côté P, Hogg-Johnson S, Bombardier C (2008). "Adherence to radiography guidelines for low back pain: A survey of chiropractic schools worldwide". Journal of Manipulative and Physiological Therapeutics. 31 (6): 412–18. doi:10.1016/j.jmpt.2008.06.010. PMID 18722195.
  58. Singh, S; Ernst, E (2008). "The truth about chiropractic therapy". Trick or Treatment: The Undeniable Facts about Alternative Medicine. W.W. Norton. pp. 145–90. ISBN 978-0-393-06661-6.
  59. David Chapman-Smith (2000). "Principles and Goals of Chiropractic Care". The Chiropractic Profession: Its Education, Practice, Research and Future Directions. NCMIC Group. p. 160. ISBN 978-1-892734-02-0.
  60. "Guidance on claims made for the chiropractic vertebral subluxation complex" (PDF). General Chiropractic Council. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 16 เมษายน 2011. สืบค้นเมื่อ 30 กันยายน 2010.
  61. NBCE (2014), About Chiropractic, National Board of Chiropractic Examiners, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 มิถุนายน 2015, สืบค้นเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2015
  62. 62.0 62.1 62.2 62.3 Hall, Harriet (1 มิถุนายน 2017). "Chiropractors: Pro and Con". Skeptical Inquirer. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 สิงหาคม 2020. สืบค้นเมื่อ 28 กรกฎาคม 2021.
  63. Benedetti & MacPhail 2002, p. 198.
  64. "Chirobase". Quackwatch. 7 พฤษภาคม 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 มิถุนายน 2020. สืบค้นเมื่อ 28 กรกฎาคม 2021.
  65. 65.0 65.1 Villanueva-Russell Y (มิถุนายน 2011). "Caught in the crosshairs: identity and cultural authority within chiropractic". Social Science & Medicine. 72 (11): 1826–37. doi:10.1016/j.socscimed.2011.03.038. PMID 21531061.
  66. 66.0 66.1 66.2 Meeker WC, Haldeman S (2002). "Chiropractic: a profession at the crossroads of mainstream and alternative medicine". Annals of Internal Medicine. 136 (3): 216–27. CiteSeerX 10.1.1.694.4126. doi:10.7326/0003-4819-136-3-200202050-00010. PMID 11827498. S2CID 16782086.
  67. Gleberzon BJ, Cooperstein R, Perle SM (2005). "Can chiropractic survive its chimerical nature?". The Journal of the Canadian Chiropractic Association. 49 (2): 69–73. PMC 1840015. PMID 17549192.
  68. Redwood D, Hawk C, Cambron J, Vinjamury SP, Bedard J (2008). "Do chiropractors identify with complementary and alternative medicine? results of a survey". The Journal of Alternative and Complementary Medicine. 14 (4): 361–368. doi:10.1089/acm.2007.0766. PMID 18435599.
  69. Bellamy, Jann J (2010). "Legislative alchemy: the US state chiropractic practice acts". Focus on Alternative and Complementary Therapies. 15 (3): 214–22. doi:10.1111/j.2042-7166.2010.01032.x.
  70. Jones-Harris, Amanda R (ตุลาคม 2010). "Are chiropractors in the uk primary healthcare or primary contact practitioners?: a mixed methods study". Chiropractic & Osteopathy. 18 (28): 28. doi:10.1186/1746-1340-18-28. PMC 3161390. PMID 20979615.
  71. Theberge N (มกราคม 2008). "The integration of chiropractors into healthcare teams: a case study from sport medicine". Sociology of Health & Illness. 30 (1): 19–34. doi:10.1111/j.1467-9566.2007.01026.x. PMID 18254831.
  72. 72.0 72.1 Pettman E (2007). "A history of manipulative therapy". Journal of Manual & Manipulative Therapy. 15 (3): 165–74. doi:10.1179/106698107790819873. PMC 2565620. PMID 19066664.
  73. Baer HA (2006). "The drive for legitimization by osteopathy and chiropractic in Australia: between heterodoxy and orthodoxy". Complementary Health Practice Review. 11 (2): 77–94. doi:10.1177/1533210106292467.
  74. 74.0 74.1 Parkman CA (2004). "Issues in credentialing CAM providers". The Case Manager. 15 (4): 24–27. doi:10.1016/j.casemgr.2004.05.004. PMID 15247891.
  75. "Chiropractic Board". New Mexico Regulation and Licensing Department. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 พฤษภาคม 2022. สืบค้นเมื่อ 5 ธันวาคม 2022.
  76. 2010 APC Formulary (PDF) (Report). New Mexico Board of Chiropractic Examiners. 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 5 ธันวาคม 2022. สืบค้นเมื่อ 5 ธันวาคม 2022.
  77. Morrison P (2009). "Adjusting the role of chiropractors in the United States: why narrowing chiropractor scope of practice statutes will protect patients". Health Matrix. 19 (2): 493–537. PMID 19715143.
  78. Wangler M, Zaugg B, Faigaux E (2010). "Medication Prescription: A Pilot Survey of Bernese Doctors of Chiropractic Practicing in Switzerland". Journal of Manipulative and Physiological Therapeutics. 33 (3): 231–37. doi:10.1016/j.jmpt.2010.01.013. PMID 20350678.
  79. "Scope of Practice: Complementary and alternative veterinary medicine (CAVM) and other practice act exemptions". American Veterinary Medical Association. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 เมษายน 2016. สืบค้นเมื่อ 1 เมษายน 2016.
  80. ACA House of Delegates (1994). "'Veterinary' chiropractic". American Chiropractic Association. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 พฤษภาคม 2008. สืบค้นเมื่อ 5 กรกฎาคม 2008.
  81. Kamen, Daniel (18 มิถุนายน 2001). "Politics and technique". Dynamic Chiropractic. Vol. 19 no. 13. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 พฤศจิกายน 2022.
  82. 82.0 82.1 82.2 Villanueva-Russell Y (2005). "Evidence-based medicine and its implications for the profession of chiropractic". Social Science & Medicine. 60 (3): 545–561. doi:10.1016/j.socscimed.2004.05.017. PMID 15550303.
  83. Anderson, Chantal (22 มกราคม 2009). "Physical therapists, chiropractors square off over bill". The Seattle Times. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 กันยายน 2010. สืบค้นเมื่อ 23 กันยายน 2010.
  84. Hilliard JW, Johnson ME (2004). "State practice acts of licensed health professions: scope of practice". DePaul Journal of Health Care Law. 8 (1): 237–261. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 พฤศจิกายน 2022.
  85. 85.0 85.1 85.2 Christensen MG, Kollasch MW (2005). "Professional functions and treatment procedures" (PDF). Job Analysis of Chiropractic (PDF). Greeley, CO: National Board of Chiropractic Examiners. pp. 121–138. ISBN 978-1-884457-05-0. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 10 กันยายน 2008. สืบค้นเมื่อ 25 สิงหาคม 2008.
  86. 86.0 86.1 86.2 Winkler K, Hegetschweiler-Goertz C, Jackson PS, และคณะ (2003). "Spinal manipulation policy statement" (PDF). American Chiropractic Association. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 20 กรกฎาคม 2011. สืบค้นเมื่อ 24 พฤษภาคม 2008.
  87. 87.0 87.1 Pickar JG, Sung PS, Kang YM, Ge W (2007). "Response of lumbar paraspinal muscles spindles is greater to spinal manipulative loading compared with slower loading under length control". The Spine Journal. 7 (5): 583–595. doi:10.1016/j.spinee.2006.10.006. PMC 2075482. PMID 17905321.
  88. Cooperstein R, Gleberzon BJ (2004). Technique Systems in Chiropractic. Churchill Livingstone. ISBN 978-0-443-07413-4.[ต้องการเลขหน้า]
  89. Harrison DD, Janik TJ, Harrison GR, Troyanovich S, Harrison DE, Harrison SO (1996). "Chiropractic biophysics technique: a linear algebra approach to posture in chiropractic". Journal of Manipulative and Physiological Therapeutics. 19 (8): 525–535. PMID 8902664.
  90. 90.0 90.1 "Provider Manual for Chiropractic Services" (PDF). North Dakota Department of Human Services. State of North Dakota. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 8 เมษายน 2016. สืบค้นเมื่อ 14 เมษายน 2016.
  91. NHS Leeds West CCG Assurance Committee (2 มกราคม 2014). "Complementary and Alternative Therapies Evidence Based Decision Making Framework" (PDF). leedswestccg.nhs.uk. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 4 มีนาคม 2016. สืบค้นเมื่อ 30 มิถุนายน 2015.
  92. "Chiropractic Services - Policy", Aetna, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 มีนาคม 2016, สืบค้นเมื่อ 29 มีนาคม 2016
  93. "Chiropractic Policy" (PDF). Oklahoma State University Health Plan. 1 เมษายน 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 5 มกราคม 2017. สืบค้นเมื่อ 14 เมษายน 2016.
  94. Dagenais S, Mayer J, Wooley JR, Haldeman S (2008). "Evidence-informed management of chronic low back pain with medicine-assisted manipulation". The Spine Journal. 8 (1): 142–149. doi:10.1016/j.spinee.2007.09.010. PMID 18164462.
  95. 95.0 95.1 Ailliet L, Rubinstein SM, de Vet HC (ตุลาคม 2010). "Characteristics of chiropractors and their patients in Belgium". Journal of Manipulative and Physiological Therapeutics. 33 (8): 618–625. doi:10.1016/j.jmpt.2010.08.011. PMID 21036284.
  96. Ndetan HT, Rupert RL, Bae S, Singh KP (กุมภาพันธ์ 2009). "Prevalence of musculoskeletal injuries sustained by students while attending a chiropractic college". Journal of Manipulative and Physiological Therapeutics. 32 (2): 140–148. doi:10.1016/j.jmpt.2008.12.012. PMID 19243726.
  97. Keating JC (1997). "Chiropractic: science and antiscience and pseudoscience side by side". Skeptical Inquirer. 21 (4): 37–43.
  98. Phillips RB (2005). "The evolution of vitalism and materialism and its impact on philosophy". ใน Haldeman S, Dagenais S, Budgell B, และคณะ (บ.ก.). Principles and Practice of Chiropractic (3rd ed.). McGraw-Hill. pp. 65–76. ISBN 978-0-07-137534-4.
  99. Reggars JW (2011). "Chiropractic at the crossroads or are we just going around in circles?". Chiropractic & Manual Therapies. 19: 11. doi:10.1186/2045-709X-19-11. PMC 3119029. PMID 21599991.
  100. Suter E, Vanderheyden LC, Trojan LS, Verhoef MJ, Armitage GD (กุมภาพันธ์ 2007). "How important is research-based practice to chiropractors and massage therapists?". Journal of Manipulative and Physiological Therapeutics. 30 (2): 109–15. doi:10.1016/j.jmpt.2006.12.013. PMID 17320731.
  101. Murphy AY, van Teijlingen ER, Gobbi MO (กันยายน 2006). "Inconsistent grading of evidence across countries: a review of low back pain guidelines". Journal of Manipulative and Physiological Therapeutics. 29 (7): 576–581, 581.e1–2. doi:10.1016/j.jmpt.2006.07.005. PMID 16949948.
  102. "Back treatment 'has few benefits'". BBC News. 22 มีนาคม 2006. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 ธันวาคม 2022.
  103. Ernst E, Canter PH (เมษายน 2006). "A systematic review of systematic reviews of spinal manipulation". Journal of the Royal Society of Medicine. 99 (4): 192–96. doi:10.1177/014107680609900418. PMC 1420782. PMID 16574972.
  104. Johnston BC, da Costa BR, Devereaux PJ, Akl EA, Busse JW (เมษายน 2008). "The use of expertise-based randomized controlled trials to assess spinal manipulation and acupuncture for low back pain: a systematic review". Spine. 33 (8): 914–918. doi:10.1097/BRS.0b013e31816b4be4. PMID 18404113. S2CID 28092478.
  105. Khorsan R, Coulter ID, Hawk C, Choate CG (มิถุนายน 2008). "Measures in chiropractic research: choosing patient-based outcome assessments". Journal of Manipulative and Physiological Therapeutics. 31 (5): 355–375. doi:10.1016/j.jmpt.2008.04.007. PMID 18558278.
  106. Kaptchuk TJ (มิถุนายน 2002). "The placebo effect in alternative medicine: can the performance of a healing ritual have clinical significance?". Annals of Internal Medicine. 136 (11): 817–825. CiteSeerX 10.1.1.694.4848. doi:10.7326/0003-4819-136-11-200206040-00011. PMID 12044130. S2CID 207535762.
  107. Hancock MJ, Maher CG, Latimer J, McAuley JH (2006). "Selecting an appropriate placebo for a trial of spinal manipulative therapy". Australian Journal of Physiotherapy. 52 (2): 135–138. doi:10.1016/S0004-9514(06)70049-6. PMID 16764551.
  108. Leboeuf-Yde C, Hestbaek L (2008). "Maintenance care in chiropractic – what do we know?". Chiropractic & Osteopathy. 16: 3. doi:10.1186/1746-1340-16-3. PMC 2396648. PMID 18466623.
  109. 109.0 109.1 Rubinstein SM, Terwee CB, Assendelft WJ, de Boer MR, van Tulder MW (กุมภาพันธ์ 2013). "Spinal manipulative therapy for acute low back pain: an update of the cochrane review". Spine (การปริทัศน์เป็นระบบ). 38 (3): E158–177. doi:10.1097/BRS.0b013e31827dd89d. hdl:2066/109576. PMID 23169072. S2CID 28795577.
  110. Posadzki P (2012). "Is spinal manipulation effective for pain? An overview of systematic reviews". Pain Medicine. 13 (6): 754–61. doi:10.1111/j.1526-4637.2012.01397.x. PMID 22621391.
  111. Rubinstein SM, van Middelkoop M, Assendelft WJ, de Boer MR, van Tulder MW (มิถุนายน 2011). "Spinal manipulative therapy for chronic low-back pain: an update of a Cochrane review". Spine (การปริทัศน์เป็นระบบ). 36 (13): E825–46. doi:10.1097/BRS.0b013e3182197fe1. hdl:1887/117578. PMID 21593658. S2CID 5061433.
  112. Walker BF, French SD, Grant W, Green S (2010). Walker BF (บ.ก.). "Combined chiropractic interventions for low-back pain". Cochrane Database of Systematic Reviews. 2010 (4): CD005427. doi:10.1002/14651858.CD005427.pub2. PMC 6984631. PMID 20393942.
  113. Dagenais S, Gay RE, Tricco AC, Freeman MD, Mayer JM (ตุลาคม 2010). "NASS Contemporary Concepts in Spine Care: spinal manipulation therapy for acute low back pain". The Spine Journal. 10 (10): 918–940. doi:10.1016/j.spinee.2010.07.389. PMID 20869008.
  114. Lewis RA, Williams NH, Sutton AJ, Burton K, Din NU, Matar HE, Hendry M, Phillips CJ, Nafees S, Fitzsimmons D, Rickard I, Wilkinson C (2013). "Comparative clinical effectiveness of management strategies for sciatica: systematic review and network meta-analyses" (PDF). The Spine Journal. 15 (6): 1461–1477. doi:10.1016/j.spinee.2013.08.049. PMID 24412033.
  115. 115.0 115.1 Leininger B, Bronfort G, Evans R, Reiter T (กุมภาพันธ์ 2011). "Spinal manipulation or mobilization for radiculopathy: a systematic review". Physical Medicine and Rehabilitation Clinics of North America. 22 (1): 105–125. doi:10.1016/j.pmr.2010.11.002. PMID 21292148.
  116. Hahne AJ, Ford JJ, McMeeken JM (พฤษภาคม 2010). "Conservative management of lumbar disc herniation with associated radiculopathy: a systematic review". Spine. 35 (11): E488–504. doi:10.1097/BRS.0b013e3181cc3f56. PMID 20421859. S2CID 19121111.
  117. Vernon H, Humphreys BK (2007). "Manual therapy for neck pain: an overview of randomized clinical trials and systematic reviews" (PDF). Europa Medicophysica. 43 (1): 91–118. PMID 17369783.
  118. Schroeder J, Kaplan L, Fischer DJ, Skelly AC (2013). "The Outcomes of Manipulation or Mobilization Therapy Compared with Physical Therapy or Exercise for Neck Pain: A Systematic Review". Evidence-Based Spine-Care Journal. 4 (1): 30–41. doi:10.1055/s-0033-1341605. PMC 3699243. PMID 24436697.
  119. Huisman PA, Speksnijder CM, de Wijer A (มกราคม 2013). "The effect of thoracic spine manipulation on pain and disability in patients with non-specific neck pain: a systematic review". Disability and Rehabilitation. 35 (20): 1677–1685. doi:10.3109/09638288.2012.750689. PMID 23339721. S2CID 12159586.
  120. Cross KM, Kuenze C, Grindstaff TL, Hertel J (กันยายน 2011). "Thoracic spine thrust manipulation improves pain, range of motion, and self-reported function in patients with mechanical neck pain: a systematic review". Journal of Orthopaedic & Sports Physical Therapy. 41 (9): 633–42. doi:10.2519/jospt.2011.3670. PMID 21885904.
  121. Gross A, Miller J, D'Sylva J, Burnie SJ, Goldsmith CH, Graham N, Haines T, Brønfort G, Hoving JL (สิงหาคม 2010). "Manipulation or mobilisation for neck pain: a Cochrane Review". Manual Therapy. 15 (4): 315–333. doi:10.1016/j.math.2010.04.002. PMID 20510644.
  122. Shaw L, Descarreaux M, Bryans R, Duranleau M, Marcoux H, Potter B, Ruegg R, Watkin R, White E (2010). "A systematic review of chiropractic management of adults with Whiplash-Associated Disorders: recommendations for advancing evidence-based practice and research". Work. 35 (3): 369–394. doi:10.3233/WOR-2010-0996. PMID 20364057.
  123. Chaibi A, Tuchin PJ, Russell MB (เมษายน 2011). "Manual therapies for migraine: a systematic review". The Journal of Headache and Pain. 12 (2): 127–33. doi:10.1007/s10194-011-0296-6. PMC 3072494. PMID 21298314.
  124. Posadzki P, Ernst E (มิถุนายน 2011). "Spinal manipulations for the treatment of migraine: a systematic review of randomized clinical trials". Cephalalgia. 31 (8): 964–970. doi:10.1177/0333102411405226. PMID 21511952. S2CID 31205541.
  125. Fernández-de-Las-Peñas C, Alonso-Blanco C, Cuadrado ML, Miangolarra JC, Barriga FJ, Pareja JA (2006). "Are manual therapies effective in reducing pain from tension-type headache?: a systematic review". The Clinical Journal of Pain. 22 (3): 278–285. doi:10.1097/01.ajp.0000173017.64741.86. PMID 16514329. S2CID 23367185.
  126. Biondi DM (มิถุนายน 2005). "Physical treatments for headache: a structured review". Headache. 45 (6): 738–746. doi:10.1111/j.1526-4610.2005.05141.x. PMID 15953306. S2CID 42640492.
  127. Jansen MJ, Viechtbauer W, Lenssen AF, Hendriks EJ, de Bie RA (2011). "Strength training alone, exercise therapy alone, and exercise therapy with passive manual mobilisation each reduce pain and disability in people with knee osteoarthritis: a systematic review". Journal of Physiotherapy. 57 (1): 11–20. doi:10.1016/S1836-9553(11)70002-9. PMID 21402325.
  128. French HP, Brennan A, White B, Cusack T (เมษายน 2011). "Manual therapy for osteoarthritis of the hip or knee - a systematic review". Manual Therapy. 16 (2): 109–117. doi:10.1016/j.math.2010.10.011. PMID 21146444.
  129. McHardy A, Hoskins W, Pollard H, Onley R, Windsham R (กุมภาพันธ์ 2008). "Chiropractic treatment of upper extremity conditions: a systematic review". Journal of Manipulative and Physiological Therapeutics. 31 (2): 146–59. doi:10.1016/j.jmpt.2007.12.004. PMID 18328941.
  130. Pribicevic M, Pollard H, Bonello R, de Luca K (2010). "A systematic review of manipulative therapy for the treatment of shoulder pain". Journal of Manipulative and Physiological Therapeutics. 33 (9): 679–689. doi:10.1016/j.jmpt.2010.08.019. PMID 21109059.
  131. Brantingham, James W.; Bonnefin, Debra; Perle, Stephen M.; Cassa, Tammy Kay; Globe, Gary; Pribicevic, Mario; Hicks, Marian; Korporaal, Charmaine (2012). "Manipulative Therapy for Lower Extremity Conditions: Update of a Literature Review". Journal of Manipulative and Physiological Therapeutics. 35 (2): 127–166. doi:10.1016/j.jmpt.2012.01.001. PMID 22325966.
  132. Mangum K, Partna L, Vavrek D (2012). "Spinal manipulation for the treatment of hypertension: a systematic qualitative literature review". Journal of Manipulative and Physiological Therapeutics. 35 (3): 235–243. doi:10.1016/j.jmpt.2012.01.005. PMID 22341795.
  133. Lystad RP, Bell G, Bonnevie-Svendsen M, Carter CV (2011). "Manual therapy with and without vestibular rehabilitation for cervicogenic dizziness: a systematic review". Chiropractic & Manual Therapies. 19 (1): 21. doi:10.1186/2045-709X-19-21. PMC 3182131. PMID 21923933.
  134. Everett CR, Patel RK (กันยายน 2007). "A systematic literature review of nonsurgical treatment in adult scoliosis". Spine. 32 (19 Suppl): S130–134. doi:10.1097/BRS.0b013e318134ea88. PMID 17728680. S2CID 9339782.
  135. Romano M, Negrini S (2008). "Manual therapy as a conservative treatment for adolescent idiopathic scoliosis: a systematic review". Scoliosis. 3: 2. doi:10.1186/1748-7161-3-2. PMC 2262872. PMID 18211702.
  136. Hawk C, Khorsan R, Lisi AJ, Ferrance RJ, Evans MW (มิถุนายน 2007). "Chiropractic care for nonmusculoskeletal conditions: a systematic review with implications for whole systems research". The Journal of Alternative and Complementary Medicine. 13 (5): 491–512. doi:10.1089/acm.2007.7088. PMID 17604553.
  137. Ernst E (ธันวาคม 2009). "Spinal manipulation for asthma: a systematic review of randomised clinical trials". Respiratory Medicine. 103 (12): 1791–1795. doi:10.1016/j.rmed.2009.06.017. PMID 19646855.
  138. Hondras MA, Linde K, Jones AP (2005). "Manual therapy for asthma". Cochrane Database of Systematic Reviews (2): CD001002. doi:10.1002/14651858.CD001002.pub2. PMID 15846609.
  139. 139.0 139.1 Gotlib A, Rupert R (2008). "Chiropractic manipulation in pediatric health conditions--an updated systematic review". Chiropractic & Osteopathy. 16: 11. doi:10.1186/1746-1340-16-11. PMC 2553791. PMID 18789139.
  140. ปวดบิดในทารก:
  141. Huang, Tao; Shu, Xu; Huang, Yu Shan; Cheuk, Daniel KL; Huang, Tao (2011). "Complementary and miscellaneous interventions for nocturnal enuresis in children". Cochrane Database of Systematic Reviews (12): CD005230. doi:10.1002/14651858.CD005230.pub2. PMID 22161390.
  142. O'Connor D, Marshall S, Massy-Westropp N, Pitt V (2003). "Non-surgical treatment (other than steroid injection) for carpal tunnel syndrome". Cochrane Database of Systematic Reviews. 2003 (1): CD003219. doi:10.1002/14651858.CD003219. PMC 6486195. PMID 12535461.
  143. ไฟโบรไมอัลเจีย:
  144. Ernst E (2011). "Chiropractic treatment for gastrointestinal problems: A systematic review of clinical trials". Canadian Journal of Gastroenterology. 25 (1): 39–49. doi:10.1155/2011/910469. PMC 3027333. PMID 21258667.
  145. Brand PL, Engelbert RH, Helders PJ, Offringa M (2005). "Systematic review of the effects of therapy in infants with the KISS-syndrome (kinetic imbalance due to suboccipital strain)". Nederlands Tijdschrift voor Geneeskunde (ภาษาดัตช์). 149 (13): 703–707. PMID 15819137.
  146. Proctor ML, Hing W, Johnson TC, Murphy PA, Brown J (2006). "Spinal manipulation for primary and secondary dysmenorrhoea". The Cochrane Database of Systematic Reviews. 3 (3): CD002119. doi:10.1002/14651858.CD002119.pub3. PMC 6718213. PMID 16855988.
  147. 147.0 147.1 Goto, Viviane; Frange, Cristina; Andersen, Monica L.; Júnior, José M. S.; Tufik, Sergio; Hachul, Helena (พฤษภาคม 2014). "Chiropractic intervention in the treatment of postmenopausal climacteric symptoms and insomnia: A review". Maturitas. 78 (1): 3–7. doi:10.1016/j.maturitas.2014.02.004. PMID 24656717.
  148. Liddle, Sarah D.; Pennick, Victoria (30 กันยายน 2015). "Interventions for preventing and treating low-back and pelvic pain during pregnancy". Cochrane Database of Systematic Reviews. 2015 (9): CD001139. doi:10.1002/14651858.CD001139.pub4. PMC 7053516. PMID 26422811.
  149. Camilleri M, Park SY, Scarpato E, Staiano A (2017). "Exploring hypotheses and rationale for causes of infantile colic". Neurogastroenterology & Motility (การปริทัศน์). 29 (2): e12943. doi:10.1111/nmo.12943. PMC 5276723. PMID 27647578.

บรรณานุกรม

อ่านเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น