การรู้เอง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาพแสดงหน้าที่ต่าง ๆ ของสมองตามหลักวิทยาศาสตร์เทียมของศาสตร์ phrenology[1] ซึ่งเป็นศาสตร์แรก ๆ ที่ศึกษาความสัมพันธ์ของหน้าที่ของจิตใจ กับส่วนเฉพาะต่าง ๆ ของสมอง

การรู้เอง หรือ อัชฌัตติกญาณ [2] (อังกฤษ: intuition) เป็นปรากฏการณ์ของใจ เป็นความสามารถในการได้ความรู้ โดยไม่ต้องอาศัยการอนุมานหรือการคิดโดยเหตุผล[3] คำภาษาอังกฤษว่า intuition มาจากคำกริยาภาษาละตินว่า intueri ซึ่งแปลว่า "พิจารณา" หรือมาจากคำอังกฤษสมัยกลางว่า "intuit" ซึ่งแปลว่า "พิจารณา, สังเกตอย่างพินิจพิเคราะห์"[4][5] มีการตีความหมายของคำต่าง ๆ กัน เริ่มตั้งแต่ เป็นความเข้าใจแบบชั่วแวบเกี่ยวกับความรู้[6] จนถึง เป็นเพียงหน้าที่อย่างหนึ่งของใจ แต่ว่า เป็นกระบวนการรับรู้ที่ผู้รู้จะไม่สามารถเข้าถึงได้ว่า ทำไมจึงเกิดขึ้น หรือว่า เกิดขึ้นได้อย่างไร ที่ไม่เหมือนกับความคิดโดยเหตุผล

การรู้เองเป็นประเด็นอภิปรายในศาสตร์ต่าง ๆ ตั้งแต่ปรัชญาโบราณไปจนถึงจิตวิทยาปัจจุบัน เป็นประเด็นความสนใจในศาสนา (รวมทั้งฮินดู พุทธ และอิสลาม) ในคุยหลัทธิ และในวรรณกรรมต่าง ๆ [7] และมักจะเข้าใจผิดหรือตีความผิดว่า เป็นสัญชาตญาณ เป็นความจริง เป็นความเชื่อ เป็นความหมายของชีวิต หรือเรื่องอื่น ๆ และมักจะนิยมสัมพันธ์สมองซีกขวากับกระบวนการรู้เองต่าง ๆ เช่นอารมณ์ศิลป์และความคิดสร้างสรรค์แบบอื่น ๆ [8][9][10]

มีนักวิทยาศาสตร์ที่คิดว่า การรู้เองสัมพันธ์กับความก้าวหน้าและการค้นพบใหม่ ๆ ทางวิทยาศาสตร์[11] มีการตั้งชื่อยอดเขาในหมู่เกาะเซาท์เชตแลนด์ (South Shetland Islands) ในทวีปแอนตาร์กติกา ว่า Intuition Peak เพื่อยกย่องบทบาทของการรู้เองทางวิทยาศาสตร์ (scientific intuition) ในความก้าวหน้าของความรู้ในหมู่มนุษย์[12]

ดูเพิ่ม[แก้]

เชิงอรรถและอ้างอิง[แก้]

  1. Elbs, Oliver (2005). Neuro-Esthetics: Mapological foundations and applications (Map 2003). Munich: Peter Lang International Academic Publishers. ISBN 9783899755077.
    • "ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑", ให้ความหมายของ intuition ว่า "อัชฌัตติกญาณ, การรู้เอง, สหัชญาณ"
    • แต่ "พจนานุกรมอิเล็กทรอนิกส์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2552" ให้ความหมายของ "สหัช-" ว่า "ที่มีมาแต่กำเนิด" ซึ่งอาจจะตรงกับคำว่า "สัญชาตญาณ" ซึ่งแปลว่า "ความรู้ที่มีมาแต่กำเนิดของคนและสัตว์" ซึ่งผิดจากความหมายที่ให้กับคำว่า "intuition" ในบทความวิกิอังกฤษ
    • และ "พจนานุกรมอิเล็กทรอนิกส์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2552" ให้ความหมายของ "อัชฌัตติก-" ว่า "ภายใน, เฉพาะตัว, ส่วนตัว, เช่น อัชฌัตติกปัญญา" ที่แม้ไม่ผิดจากความหมาย แต่ก็ยังไม่ตรงกับความหมาย
    • (ผู้แปล) คำแปลว่า "การรู้เอง" ดูเหมือนจะใกล้เคียงกับความหมายของคำมากที่สุด
  2. "intuition". Oxford Dictionaries. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-12-22. สืบค้นเมื่อ 2014-12-02.
  3. "intuition". Merriam Webster Dictionary. สืบค้นเมื่อ 2014-12-02.
  4. "Lexitron พจนานุกรมไทย<=>อังกฤษ รุ่น 2.6". หน่วยปฏิบัติการวิจัยวิทยาการมนุษยภาษา, ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ, กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 2546.
  5. Aurobindo, Sri. The synthesis of yoga. Pondicherry: Sri Aurobindo ashram trust. pp. 799–800. ISBN 978-0-9415-2465-0. สืบค้นเมื่อ 2014-12-26.
  6. Steinfels, Peter (1996-07-13). "Beliefs". เดอะนิวยอร์กไทมส์.
  7. "Converting Words into Pictures--Reading Comprehension Guide--Academic Support". cuesta.edu HTM. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-10-30. สืบค้นเมื่อ 2015-05-06.
  8. "Left/Right Processing". Frank.mtsu.edu. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-10-30. สืบค้นเมื่อ 2013-06-16. {{cite web}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |dearulr= ถูกละเว้น (help)
  9. "Right-Brain Hemisphere". Psychology.jrank.org. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-04-29. สืบค้นเมื่อ 2013-06-16.
  10. Holton, Gerald; Elkana, Yehuda (1997). Albert Einstein: Historical and Cultural Perspectives. Dover Publications. p. 97. ISBN 0-486-29879-5. The workings of intuition transcend those of the intellect, and as is well known, innovation is often a triumph of intuition over logic.{{cite book}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  11. "Intuition Peak". SCAR Composite Gazetteer of Antarctica. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-06-12. สืบค้นเมื่อ 2015-05-06.

แหล่งข้อมูลอื่น ๆ[แก้]

หนังสือ
  • Chauran, Alexandra (2012). So You Want To Be a Psychic Intuitive. Llewellyn Worldwide. ISBN 0-7387-3065-3.
  • Chopra, Deepak; Orloff, Judith. The Power of Intuition. Hay House, 2005. (Audio) ISBN 978-1-4019-0622-1
  • Davis, Elizabeth. Women's Intuition. Celestial Arts, 1989. ISBN 978-0-89087-572-8
  • Fradet, Pierre-Alexandre, Derrida-Bergson. Sur l'immédiateté, Hermann, Paris, coll. "Hermann Philosophie", 2014. ISBN 9782705688318
  • Hoeflich, Christine. What Everyone Believed: A Memoir of Intuition and Awakening. Between Worlds Publishing, 2008. ISBN 978-0-9796589-0-7
  • Levin, Michal. Spiritual Intelligence: Awakening the Power of Your Spirituality and Intuition. Hodder & Stoughton, 2000. ISBN 978-0-340-73394-3
  • Mayer, Elizabeth Lloyd. Extraordinary Knowing: Science, Skepticism, and the Inexplicable Powers of the Human Mind. Bantam, 2008. ISBN 978-0-553-38223-5
  • McTaggart, Lynn. The Intention Experiment. Free Press, 2008. ISBN 978-0-7432-7696-2
  • Saad, Ezechiel. Hasard et Intuition, French, preface by zen master Jacques Brosse. Ed. Dervy, París, 1991. ISBN 2-85076-438-8
  • Schulz, Mona Lisa, and Christriane Northrup. Awakening Intuition. Three Rivers Press, 1999. ISBN 978-0-609-80424-7
  • Wilde, Stuart. Intuition. Hay House, 1996. (Audio) ISBN 978-1-4019-0674-0
  • Wilde, Stuart. The Sixth Sense: Including the Secrets of the Etheric Subtle Body. Hay House, 2000. ISBN 978-1-56170-501-6
เว็บไซต์