ผลต่างระหว่างรุ่นของ "หลอดลมฝอยอักเสบทั่วแบบกระจาย"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
MuanN (คุย | ส่วนร่วม)
MuanN (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 44: บรรทัด 44:
[[File:HRCT scans of diffuse panbronchiolitis.jpg|thumb|400px|left|ภาพ HRCT ของปอดส่วนล่างของผู้ป่วย DPB เพศชายอายุ 16 ปี เมื่อได้รับการวินิจฉัย DPB เป็นครั้งแรก (ภาพซ้าย) และ 8 สัปดาห์ต่อมา (ภาพขวา) หลังได้รับการรักษาด้วยยาอีริโทรมัยซินต่อเนื่อง 6 สัปดาห์ แสดงให้เห็นรอยโรคที่เป็นหลอดลมโป่งพอง (bronchiectasis) ในปอดทั้งสองข้าง และเห็นรอยโรคเป็นปุ่มพบมากบริเวณกลางพูปอด กระจายในลักษณะกิ่งไม้ที่มีช่อดอกอยู่ตรงปลาย (tree-in-bud) ซึ่งดีขึ้นมากหลังได้รับการรักษา]]
[[File:HRCT scans of diffuse panbronchiolitis.jpg|thumb|400px|left|ภาพ HRCT ของปอดส่วนล่างของผู้ป่วย DPB เพศชายอายุ 16 ปี เมื่อได้รับการวินิจฉัย DPB เป็นครั้งแรก (ภาพซ้าย) และ 8 สัปดาห์ต่อมา (ภาพขวา) หลังได้รับการรักษาด้วยยาอีริโทรมัยซินต่อเนื่อง 6 สัปดาห์ แสดงให้เห็นรอยโรคที่เป็นหลอดลมโป่งพอง (bronchiectasis) ในปอดทั้งสองข้าง และเห็นรอยโรคเป็นปุ่มพบมากบริเวณกลางพูปอด กระจายในลักษณะกิ่งไม้ที่มีช่อดอกอยู่ตรงปลาย (tree-in-bud) ซึ่งดีขึ้นมากหลังได้รับการรักษา]]
การวินิจฉัย DPB จำเป็นต้องมีการวิเคราะห์เนื้อเยื่อปอดและหลอดลมฝอย ซึ่งจะทำได้ด้วยการตัดชิ้นเนื้อปอดออกตรวจ หรือการทำเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ความละเอียดสูง (HRCT) ของปอด<ref name=dpb09far/>
การวินิจฉัย DPB จำเป็นต้องมีการวิเคราะห์เนื้อเยื่อปอดและหลอดลมฝอย ซึ่งจะทำได้ด้วยการตัดชิ้นเนื้อปอดออกตรวจ หรือการทำเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ความละเอียดสูง (HRCT) ของปอด<ref name=dpb09far/>

==การรักษา==
ยาปฏิชีวนะในกลุ่มแมโครไลด์ เช่น อีริโทรมัยซิน สามารถใช้รักษา DPB ได้ โดยต้องใช้ยาเป็นระยะเวลานานอย่างต่อเนื่อง<ref name=mac/><ref name=mac08/><ref>{{cite journal | vauthors = Lin X, Lu J, Yang M, Dong BR, Wu HM | title = Macrolides for diffuse panbronchiolitis | journal = The Cochrane Database of Systematic Reviews | volume = 1 | issue = 1 | pages = CD007716 | date = January 2015 | pmid = 25618845 | pmc = 6464977 | doi = 10.1002/14651858.CD007716.pub4 }}</ref> ยาอื่นที่ใช้บ่อย ได้แก่ คลาริโทรมัยซิน หรือ รอกซิโทรมัยซิน<ref name=AJRM/>


==อ้างอิง==
==อ้างอิง==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 15:47, 20 กรกฎาคม 2565

หลอดลมฝอยอักเสบทั่วแบบกระจาย
(Diffuse panbronchiolitis)
ชื่ออื่นหลอดลมฝอยอักเสบ
ภาพเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ความละเอียดสูงของทรวงอกของผู้ป่วยชายอายุ 16 ปี ที่ป่วยเป็นหลอดลมฝอยอักเสบทั่วแบบแพร่กระจาย
สาขาวิชาวิทยาปอด
อาการโพรงอากาศอักเสบเรื้อรัง หายใจมีเสียงหวีด เสียงกรอบแกรบ ไอมีเสมหะมาก หายใจลำบาก
การตั้งต้นอายุประมาณ 40 ปี
ระยะดำเนินโรคเรื้อรังและกลับเป็นซ้ำได้
สาเหตุไม่ทราบสาเหตุ
วิธีวินิจฉัยการตรวจชิ้นเนื้อปอด การเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ความละเอียดสูง การใช้เกณฑ์วินิจฉัย
โรคอื่นที่คล้ายกันโรคหืด หลอดลมอักเสบเรื้อรัง ถุงลมโป่งพอง ซิสติกไฟโบรซิส หลอดลมฝอยอักเสบอุดกั้น
พยากรณ์โรคอัตรารอดชีวิตห้าปี 62.1% สามารถกลับเป็นซ้ำได้
ความชุกพบบ่อยในประเทศญี่ปุ่น (11 ต่อ 100,000 ประชากร)

หลอดลมฝอยอักเสบทั่วแบบกระจาย (อังกฤษ: diffuse panbronchiolitis) หรือ DPB เป็นโรคของปอดชนิดหนึ่งที่ยังไม่ทราบสาเหตุ โดยหลอดลมฝอยของผู้ป่วยจะมีการอักเสบที่รุนแรงและเป็นมากขึ้นเรื่อยๆ โดยคำว่า "กระจาย" (diffuse) ในที่นี้ หมายถึงการที่ผู้ป่วยจะมีรอยโรคเกิดขึ้นทั่วทั้งบริเวณของปอดทั้งสองข้าง และ "อักเสบทั่ว" (pan) ในที่นี้ หมายถึงเกิดการอักเสบที่ทุกชั้น (layer) ของหลอดลมฝอย โรคนี้สามารถทำให้เกิดการอักเสบรุนแรงและมีรอยโรคเป็นปุ่มที่หลอดลมฝอยส่วนปลาย เกิดโพรงอากาศอักเสบเรื้อรัง และไอมีเสมหะมากได้

สาเหตุของโรคเชื่อว่าสัมพันธ์กับการที่ร่างกายของผู้ป่วยมีความไวหรือขาดภูมิต้านตานต่อการติดเชื้อแบคทีเรียหรือเชื้อไวรัสที่กระตุ้นให้เกิด DPB จากความผิดปกติทางพันธุกรรมที่พบได้บ่อยในเชื้อชาติเอเชียตะวันออก โดยโรคนี้พบมากที่สุดในคนญี่ปุ่น รองลงมาคือคนเกาหลี ภาวะนี้พบได้ในผู้ชายบ่อยกว่าในผู้หญิง ผู้ป่วยมักเริ่มแสดงอาการที่อายุประมาณ 40 ปี เป็นโรคใหม่ที่เพิ่งเป็นที่รู้จักในช่วงคริสตทศวรรษ 1960 และได้รับการตั้งชื่ออย่างเป็นทางการเมื่อ ค.ศ. 1969

การจำแนกประเภท

"หลอดลมฝอยอักเสบ" โดยทั่วไปแล้วจะหมายถึงภาวะที่มีการอักเสบเกิดขึ้นที่หลอดลมฝอย[1] โดย DPB ถือเป็นหลอดลมฝอยอักเสบชนิดหนึ่ง และจัดเป็นหลอดลมฝอยอักเสบแบบปฐมภูมิ (primary) หมายความว่าสาเหตุที่ทำให้เกิดหลอดลมฝอยอักเสบนั้นเกิดขึ้นจากตัวหลอดลมฝอยเอง หรือเป็นอยู่เฉพาะที่หลอดลมฝอยเป็นหลัก[2][3] โรคหลอดลมฝอยอักเสบปฐมภูมิชนิดอื่นๆ เช่น หลอดลมฝอยอักเสบอุดกั้น หลอดลมฝอยอักเสบฟอลลิคูลาร์ หลอดลมฝอยอักเสบจากการหายใจ หลอดลมฝอยอักเสบจากฝุ่นแร่ และอื่นๆ[2] ส่วนโรคหลอดลมฝอยอักเสบที่ไม่ถือเป็นหลอดลมฝอยอักเสบปฐมภูมิอื่นก็คือโรคหลอดลมฝอยอักเสบที่มีโรคเกิดขึ้นที่ทางหายใจขนาดใหญ่ร่วมด้วย เช่น หลอดลมอักเสบเรื้อรัง เป็นต้น[2][3]

อาการและอาการแสดง

อาการของผู้ป่วย DPB ได้แก่ โพรงอากาศอักเสบเรื้อรัง หายใจมีเสียงหวีด หายใจมีเสียงเปรี๊ยะ (crackles) จากเสมหะในปอด หายใจลำบาก ไอรุนแรงและมีเสมหะปริมาณมาก อาจพบหนองในเสมหะ โดยอาจพบร่วมกับอาการไข้ อาการแสดงของ DPB ได้แก่ การโป่งพองของหลอดลมฝอย และออกซิเจนในเลือดต่ำ หากไม่ได้รับการรักษาอาจเกิดหลอดลมโป่งพองตามมาได้ ผู้ป่วยจะมีการโป่งพองและหนาตัวของหลอดลมและหลอดลมฝอย เกิดการอักเสบและความเสียหายต่อหลอดลมฝอยทั้งส่วนทางหายใจและส่วนปลาย และมีเสมหะคั่งค้างในปอด[4][5] นอกจากนี้แล้ว DPB ยังสัมพันธ์กับการเกิดการหายใจล้มเหลวที่เป็นมากขึ้นเรื่อยๆ คาร์บอนไดออกไซด์คั่งในเลือด และอาจนำไปสู่ภาวะความดันเลือดในปอดสูง และเกิดภาวะหัวใจวายจากโรคปอดได้[6][7]

สาเหตุ

สารพันธุกรรมของ HLA ในมนุษย์ อยู่บนโครโมโซมที่ 6

DPB เป็นโรคที่ยังไม่ทราบสาเหตุ กล่าวคือ ยังไม่พบกลไกทางสรีรวิทยา ปัจจัยทางสิ่งแวดล้อม หรือเชื้อก่อโรคที่ทำให้เกิดโรคนี้ อย่างไรก็ดี มีปัจจัยหลายอย่างที่พบว่าน่าจะมีความสัมพันธ์กับพยาธิกำเนิดของโรคนี้[4]

ในสายพันธุกรรมของมนุษย์จะมีส่วนหนึ่งของสายพันธุกรรมที่เรียกว่า MHC ซึ่งนอกจากจะพบได้ในมนุษย์แล้วยังพบในสัตว์มีกระดูกสันหลังอีกหลายชนิด บริเวณนี้ทำหน้าที่เกี่ยวกับภูมิคุ้ม ในมนุษย์จะพบอยู่บนโครโมโซมคู่ที่ 6 โดยหน่วยย่อยของ MHC ที่เรียกว่า HLA ทำหน้าที่ควบคุมระบบนำเสนอแอนติเจนต่อเซลล์ภูมิคุ้มกัน ซึ่งเป็นกลไกส่วนหนึ่งของระบบภูมิคุ้มกันแบบปรับตัวเพื่อป้องกันร่างกายจากเชื้อไวรัสและเชื้อแบคทีเรีย เมื่อเซลล์ถูกรุกรานโดยเชื้อก่อโรคเหล่านี้ บางเซลล์จะสามารถนำชิ้นส่วนโปรตีนของเชื้อก่อโรคไปนำเสนอไว้บนผิวเซลล์ เรียกว่า การนำเสนอแอนติเจน เซลล์ที่ติดเชื้อนี้จะแสดงตัวเป็นเป้าหมายของเซลล์ทีคิลเลอร์ ซึ่งจะทำลายเซลล์ที่ติดเชื้อเพื่อกำจัดเชื้อออกจากร่างกาย[8]

พยาธิสรีรวิทยา

การอักเสบเป็นกลไกปกติของระบบภูมิคุ้ม โดยทำให้เกิดการสะสมของเม็ดเลือดขาวชนิดต่างๆ เช่น นิวโทรฟิล และสารคีโมไคน์ (สารโปรตีนที่หลั่งจากเซลล์บางชนิดเพื่อกระตุ้นการตอบสนองบางประการของเซลล์อื่น) ในบริเวณใดๆ ของร่างกายที่เกิดการติดเชื้อแบคทีเรียหรือการติดเชื้อไวรัส การอักเสบจะขัดขวางกิจกรรมของแบคทีเรียและไวรัส และช่วยในการกำจัดเชื้อก่อโรคเหล่านี้ให้หมดไปจากร่างกาย ในผู้ป่วย DPB อาจมีการติดเชื้อแบคทีเรีย เช่น Haemophilus influenzae หรือ Pseudomonas aeruginosa ทำให้เกิดการเพิ่มจำนวนของเซลล์อักเสบในเนื้อเยื่อหลอดลมฝอย แต่เมื่อแบคทีเรียเหล่านี้ไม่มีอยู่แล้ว การอักเสบกลับยังคงดำเนินต่อไปเรื่อยๆ โดยไม่ทราบสาเหตุ[4][5]

การวินิจฉัย

ภาพ HRCT ของปอดส่วนล่างของผู้ป่วย DPB เพศชายอายุ 16 ปี เมื่อได้รับการวินิจฉัย DPB เป็นครั้งแรก (ภาพซ้าย) และ 8 สัปดาห์ต่อมา (ภาพขวา) หลังได้รับการรักษาด้วยยาอีริโทรมัยซินต่อเนื่อง 6 สัปดาห์ แสดงให้เห็นรอยโรคที่เป็นหลอดลมโป่งพอง (bronchiectasis) ในปอดทั้งสองข้าง และเห็นรอยโรคเป็นปุ่มพบมากบริเวณกลางพูปอด กระจายในลักษณะกิ่งไม้ที่มีช่อดอกอยู่ตรงปลาย (tree-in-bud) ซึ่งดีขึ้นมากหลังได้รับการรักษา

การวินิจฉัย DPB จำเป็นต้องมีการวิเคราะห์เนื้อเยื่อปอดและหลอดลมฝอย ซึ่งจะทำได้ด้วยการตัดชิ้นเนื้อปอดออกตรวจ หรือการทำเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ความละเอียดสูง (HRCT) ของปอด[7]

การรักษา

ยาปฏิชีวนะในกลุ่มแมโครไลด์ เช่น อีริโทรมัยซิน สามารถใช้รักษา DPB ได้ โดยต้องใช้ยาเป็นระยะเวลานานอย่างต่อเนื่อง[9][10][11] ยาอื่นที่ใช้บ่อย ได้แก่ คลาริโทรมัยซิน หรือ รอกซิโทรมัยซิน[12]

อ้างอิง

  1. Visscher DW, Myers JL (2006). "Bronchiolitis: the pathologist's perspective" (Free full text). Proceedings of the American Thoracic Society. 3 (1): 41–7. doi:10.1513/pats.200512-124JH. PMID 16493150.
  2. 2.0 2.1 2.2 Ryu JH, Myers JL, Swensen SJ (December 2003). "Bronchiolar disorders" (Free full text). American Journal of Respiratory and Critical Care Medicine. 168 (11): 1277–92. doi:10.1164/rccm.200301-053SO. PMID 14644923.
  3. 3.0 3.1 Ryu JH (March 2006). "Classification and approach to bronchiolar diseases". Current Opinion in Pulmonary Medicine. 12 (2): 145–51. doi:10.1097/01.mcp.0000208455.80725.2a. PMID 16456385. S2CID 23668839.
  4. 4.0 4.1 4.2 Poletti V, Casoni G, Chilosi M, Zompatori M (October 2006). "Diffuse panbronchiolitis". The European Respiratory Journal. 28 (4): 862–71. doi:10.1183/09031936.06.00131805. PMID 17012632.
  5. 5.0 5.1 Yanagihara K, Kadoto J, Kohno S (2001). "Diffuse panbronchiolitis--pathophysiology and treatment mechanisms". International Journal of Antimicrobial Agents. 18 Suppl 1: S83-7. doi:10.1016/s0924-8579(01)00403-4. PMID 11574201.
  6. Homma H, Yamanaka A, Tanimoto S, Tamura M, Chijimatsu Y, Kira S, Izumi T (January 1983). "Diffuse panbronchiolitis. A disease of the transitional zone of the lung". Chest. 83 (1): 63–9. doi:10.1378/chest.83.1.63. PMID 6848335.
  7. 7.0 7.1 Anthony M, Singham S, Soans B, Tyler G (October 2009). "Diffuse panbronchiolitis: not just an Asian disease: Australian case series and review of the literature". Biomedical Imaging and Intervention Journal. 5 (4): e19. doi:10.2349/biij.5.4.e19. PMC 3097723. PMID 21610988.
  8. Morris AG, Hewitt C, Young S (1994). The major histocompatibility complex: its genes and their roles in antigen presentation. Vol. 15. Pergamon.
  9. Kanoh S, Rubin BK (July 2010). "Mechanisms of action and clinical application of macrolides as immunomodulatory medications". Clinical Microbiology Reviews (Free full text). 23 (3): 590–615. doi:10.1128/CMR.00078-09. PMC 2901655. PMID 20610825.
  10. López-Boado YS, Rubin BK (June 2008). "Macrolides as immunomodulatory medications for the therapy of chronic lung diseases". Current Opinion in Pharmacology. 8 (3): 286–91. doi:10.1016/j.coph.2008.01.010. PMID 18339582.
  11. Lin X, Lu J, Yang M, Dong BR, Wu HM (January 2015). "Macrolides for diffuse panbronchiolitis". The Cochrane Database of Systematic Reviews. 1 (1): CD007716. doi:10.1002/14651858.CD007716.pub4. PMC 6464977. PMID 25618845.
  12. Keicho N, Kudoh S (2002). "Diffuse panbronchiolitis: role of macrolides in therapy". American Journal of Respiratory Medicine. 1 (2): 119–31. doi:10.1007/BF03256601. PMID 14720066. S2CID 39880028.

อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "ohlab" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า
อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "ohlaa" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า
อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "inf03" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า
อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "leuk" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า
อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "mac04" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า
อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "clinf" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า
อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "dpb69" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า
อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "kor" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า
อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "chitwo" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า
อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "thai" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า
อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "ew" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า
อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "usa" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า
อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "lat" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า
อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "can" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า
อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "dpbai" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า
อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "dpb11" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า
อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "dpbo" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า

อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "Huiping Li" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า

แหล่งข้อมูลอื่น

การจำแนกโรค
ทรัพยากรภายนอก