ทอนซิลอักเสบ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ทอนซิลอักเสบ
A set of large tonsils in the back of the throat covered in yellow exudate
ภาพแสดงความแตกต่างของต่อมทอลซิลภาวะปกติ (ซ้าย) กับผู้ป่วย (ขวา)
บัญชีจำแนกและลิงก์ไปภายนอก
ICD-10J03, J35.0
ICD-9463
DiseasesDB13165
MedlinePlus001043
eMedicinearticle/871977
MeSHD014069

ทอนซิลอักเสบ (อังกฤษ: tonsillitis) เป็นการอักเสบของต่อมทอนซิลที่มักพบได้ทั่วไปและบ่อยครั้ง ผู้ป่วยอาจมีอาการเจ็บคอและเป็นไข้ร่วมด้วย มักมีสาเหตุมาจากการติดเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรีย ซึ่งแบคทีเรียที่พบในอาการนี้ ส่วนมากเป็นแบคทีเรียชนิด Streptococcus pyogenes ทั้งนี้หากปราศจากการรักษา ในผู้ป่วย 40% อาการจะบรรเทาลงเองภายในสามวัน และในผู้ป่วย 85% อาการจะบรรเทาลงเองภายในหนึ่งสัปดาห์[1]

อาการ[แก้]

ต่อมทอนซิลที่กำลังอักเสบ

สัญญาณและอาการที่พบโดยทั่วไปในผู้ป่วย มักประกอบด้วย: [2][3][4][5]

  • เจ็บคอ
  • ต่อมทอนซิลบวมและแดง
  • อาการเจ็บขณะกลืน
  • อุณหภูมิร่างกายสูง (มีไข้)
  • อาการไอ
  • ปวดหัว
  • อ่อนเพลีย
  • รู้สึกหนาว
  • มีจุดขาวบริเวณต่อมทอนซิล
  • ต่อมน้ำเหลืองในลำคอเกิดการบวม
  • เจ็บในหูหรือลำคอ
  • น้ำหนักตัวลด

สัณญาณและอาการที่พบได้ในผู้ป่วยส่วนน้อย ประกอบด้วย:

  • มีกลิ่นปากรุนแรง
  • เสียงเปลี่ยน
  • อ้าปากได้ลำบาก
  • ไม่อยากอาหาร
  • กระวนกระวายใจ

การรักษา[แก้]

การรักษาทอนซิลอักเสบโดยทั่วไปจะใช้ยาต้านการอักเสบ เช่น ไอบูโปรเฟน (ibuprofen) เพราะส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อไวรัส และคนไข้ส่วนใหญ่ก็จะหายได้หรืออาการดีขึ้นจากการให้ยา หรือหากมีสาเหตุมาจากเชื้อแบคทีเรีย จะมีการรักษาโดยการใช้ยาปฏิชีวนะ สำหรับยาปฏิชีวนะก็มีหลายชนิด ซึ่งควรรับประทานตามที่แพทย์สั่งและรับประทานให้นานพอ เช่น 7-10 วัน นอกจากการรักษาแบบให้ยาปฏิชีวนะแล้วต้องให้การรักษาแบบประคับประคองรวมด้วย เช่น การให้ยาลดไข้, การให้ดื่มน้ำมากๆ หรืออาจต้องให้น้ำเกลือถ้าผู้ป่วยทานอาหารไม่ค่อยได้ และให้ทานอาหารอ่อนๆ

ในกรณีที่ต่อมทอนซิลมีการอักเสบบ่อยครั้ง ผู้ป่วยมักได้รับคำแนะนำจากแพทย์ให้ตัดทอนซิลออก ซึ่งจะไม่มีผลกระทบต่อระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายแต่อย่างใด อย่างไรก็ตาม มีรายงานการศึกษาวิจัยพบว่าหลังจากตัดต่อมทอนซิลแล้ว ภูมิคุ้มกันจะลดลงชั่วคราว ทั้งนี้ที่บริเวณคอยังมีต่อมน้ำเหลืองอีกหลายร้อยต่อม ซึ่งจะช่วยกันทำงานหลังจากตัดต่อมทอนซิลไปแล้ว

อ้างอิง[แก้]

  1. Del Mar CB, Glasziou PP, Spinks AB (October 2006). Del Mar, Chris B (บ.ก.). "Antibiotics for sore throat". Cochrane Database Syst Rev. 18, (4) (4): CD000023. doi:10.1002/14651858.CD000023.pub3. PMID 17054126.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  2. แม่แบบ:MerckManual
  3. Wetmore RF. (2007). "Tonsils and adenoids". ใน Bonita F. Stanton; Kliegman, Robert; Nelson, Waldo E.; Behrman, Richard E.; Jenson, Hal B. (บ.ก.). Nelson textbook of pediatrics. Philadelphia: Saunders. ISBN 1-4160-2450-6.{{cite book}}: CS1 maint: multiple names: editors list (ลิงก์)
  4. Thuma P. (2001). "Pharyngitis and tonsillitis". ใน Hoekelman, Robert A. (บ.ก.). Primary pediatric care. St. Louis: Mosby. ISBN 0-323-00831-3.
  5. Simon HB (2005). "Bacterial infections of the upper respiratory tract". ใน Dale, David (บ.ก.). ACP Medicine, 2006 Edition (Two Volume Set) (Webmd Acp Medicine). WebMD Professional Publishing. ISBN 0-9748327-6-6.