เสมหะ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

เสมหะ เสลด หรือ สิ่งขาก (อังกฤษ: phlegm) เป็นของไหลเหนียวที่ผลิตโดยเยื่อเมือกของมนุษย์และสัตว์อื่น ๆ คำจำกัดความของเสหะคือเมือกที่ผลิตโดยระบบการหายใจนอกจากเมือกที่ออกมาทางช่องจมูกโดยเฉพาะที่ออกมาจากร่างกายโดยการจาม ส่วนผสมของเสหะอาจไม่เหมือนกันในแต่ละคนขึ้นอยู่กับสภาพอากาศ สถานะของระบบภูมิต้านทาน หรือพันธุกรรมของคน ทั้งนี้ เสมหะยังเป็นเจลที่มีส่วนผสมของน้ำเป็นหลักและมีสารประกอบโปรตีน โปรตีนที่เกี่ยวกับภูมิคุ้มกันโรค ลิพิดและอื่น ๆ อีกมากมาย เสมหะอาจจะมีหลายสีแตกต่างกันไป

การป่วยที่เกี่ยวข้องกับเสมหะ[แก้]

เสมหะอาจจะเป็นพาหะนำตัวอ่อนของพยาธิลำไส้ (ดูพยาธิปากขอ) การจามติดเลือดอาจจะเป็นอาการของโรคร้ายแรงหลายโรค (เช่นวัณโรคและมะเร็งปอด) แต่ก็อาจจะเป็นอาการทั่วไปของโรคที่ไม่ร้ายแรงมากเช่นเดียวกัน ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดที่ใครก็ตามจามออกมาเป็นเลือดหรือมีเลือดผสมอยู่เป็นส่วนหนึ่งก็ตาม การจามออกมาเป็นเลือดหรือมีเลือดเป็นส่วนผสมถือเป็นอาการรุนแรง ผู้ใดที่มีอาการดังกล่าวควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับการรักษาทันที

เสมหะกับฮิวเมอริซึ่ม[แก้]

ฮิวเมอริซึ่ม[1]เป็นทฤษฏีความเชื่อในสมัยโบราณที่ว่าร่างกายมนุษย์มีองค์ประกอบ 4 ชนิดคือ น้ำดีดำ, น้ำดี, เสมหะ และเลือด ผู้ที่มีโรคต่าง ๆ นั้นเกิดจากการมีจำนวนของเลือด เสมหะ และธาตุอื่น ๆ ในร่างกายมากเกินไป คนในสมัยก่อนจึงนิยมกรีดตัวเองเพื่อหวังว่าโรคจะหายไปพร้อม ๆ กับเลือดที่เสียไปด้วย ความเชื่อนี้มีมาตั้งแต่สมัยกรีกโบราณ 400 ปีก่อนคริสกาลและเรื่องนี้ได้ถูกพิสูจน์ว่าไม่ถูกต้องในทศวรรษที่ 18

หลักการอื่น ๆ[แก้]

หลายบุคคลคิดว่าการมีเสมหะเป็นผลพวงมาจากการไม่แสดงอารมณ์หรือแสดงอารมณ์เล็กน้อยซึ่งก็ถูกพิสูจน์ว่าไม่ถูกต้องเช่นกัน

อ้างอิง[แก้]

  1. "Humorism" (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-04. สืบค้นเมื่อ 2011-11-25.