ไอ้ เว่ยเว่ย
ไอ้ เว่ยเว่ย (จีน: 艾未未; พินอิน: Ài Wèiwèi; เกิด 28 สิงหาคม พ.ศ. 2500) เป็นศิลปินและนักเคลื่อนไหวชาวจีน มีผลงานด้านสถาปัตยกรรม ศิลปะสื่อประสม การถ่ายภาพ ภาพยนตร์ และการวิจารณ์สังคมและวัฒนธรรมจีน [1][2]
ไอ้เคยเป็นที่ปรึกษาด้านศิลปะของบริษัท เฮอร์ซอก แอนด์ เดอมูรอน บริษัทสัญชาติสวิส ในการออกแบบงานสถาปัตยกรรมอาคารสนามกีฬาแห่งชาติปักกิ่ง หรือ สนามรังนก ที่เป็นสนามหลักในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน 2008 ที่ปักกิ่ง [3] ต่อมาเขากลับไปสนใจด้านการขุดคุ้ยและเปิดโปงการทุจริตของเจ้าหน้าที่รัฐในการก่อสร้างอาคารโรงเรียน ซึ่งส่งผลให้อาคารเหล่านั้นพังทลายลงในเหตุการณ์แผ่นดินไหวในมณฑลเสฉวน พ.ศ. 2551 และมีผู้เสียชีวิตเป็นจำนวนมาก[4] นอกจากนี้เขายังเป็นผู้ที่ใช้สื่ออินเทอร์เน็ตเช่นทวิตเตอร์และบล็อกในการติดต่อสื่อสารกับผู้คนทั่วประเทศจีน โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่เพื่อปลุกระดมให้มีการวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลกลาง จนถูกเพ่งเล็งจากเจ้าหน้าที่ตำรวจเป็นพิเศษ
ไอ้ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจจีนกักบริเวณในบ้านพักที่เมืองเซี่ยงไฮ้ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2553 [5] พร้อมกับมีคำสั่งห้ามเดินทางออกนอกประเทศ เพื่อป้องกันไม่ให้เขาเดินทางไปร่วมพิธีมอบรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพประจำปี 2010 ของหลิว เซี่ยวโป [6] เขาถูกเจ้าหน้าที่จับกุมตัวขณะพยายามเดินทางไปฮ่องกงเมื่อวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2554 เพื่อไปร่วมการรณรงค์ในแบบเดียวกับการประท้วงในตูนิเซีย หรือที่เรียกว่า "การปฏิวัติดอกมะลิ" [7] สำนักงานของเขาถูกรื้อค้น เขาถูกตั้งข้อหาอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ [8]
ประวัติ
[แก้]ไอ้ เว่ยเว่ย เกิดที่ปักกิ่ง บิดาเป็นกวีและนักเคลื่อนไหวฝ่ายขวา เมื่ออายุได้ 1 ปี เว่ยเว่ยต้องพลัดพรากจากครอบครัวเป็นเวลาถึง 16 ปี เมื่อบิดามารดาของเขาถูกส่งตัวเข้าค่ายกักกันที่ซินเจียงอุยกูร์ ด้วยเหตุผลทางการเมืองในยุครัฐบาลเหมา เจ๋อตุง [9] ต่อมาเขาได้เข้าศึกษาที่สถาบันภาพยนตร์ปักกิ่งในปี พ.ศ. 2521 รุ่นเดียวกับเฉิน ข่ายเกอและจาง อี้โหมว [10] และได้ไปใช้ชีวิตที่นิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา ระหว่างปี พ.ศ. 2524 ถึง 2536 ศึกษาด้านการออกแบบ ทำงานด้านสถาปัตยกรรม และศิลปะสื่อประสม [11] ก่อนจะเดินทางกลับปักกิ่งเนื่องจากปัญหาด้านสุขภาพของบิดา [12]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Ai Weiwei". Wolseley Media. 2008. สืบค้นเมื่อ 6 July 2008.[ลิงก์เสีย]
- ↑ Cooper, Rafi (6 July 2008). "Cultural revolutionary". The Observer. London. สืบค้นเมื่อ 6 July 2008.
- ↑ "China's New Faces: Ai Weiwei". BBC News. 3 March 2005. สืบค้นเมื่อ 26 April 2010.
- ↑ CBC News (12 July 2009). "China cracks down on outspoken artist". สืบค้นเมื่อ 12 July 2009.
- ↑ Ai Weiwei under house arrest, Guardian, 5 November 2010.
- ↑ China: 2 Intellectuals Barred From Leaving the Country, New York Times, 3 December 2010
- ↑ "Chinese artist Ai Weiwei arrested in ongoing government crackdown". The Washington Post. สืบค้นเมื่อ 6 April 2011.
- ↑ "Chinese artist Ai Weiwei held for 'economic crimes'". BBC. 7 April 2011.
- ↑ Meacham, Steve (24 April 2008). "Child of the revolution in revolt". Sydney Morning Herald. สืบค้นเมื่อ 6 July 2008.
- ↑ Blackwell, Adrian (5 December 2006). "Ai Weiwei: Fragments, Voids, Sections and Rings". Archinect. สืบค้นเมื่อ 6 July 2008.
- ↑ Aloi, Daniel (15 November 2006). "Ai Weiwei literally smashes China's traditions in art and architecture". Cornell University. สืบค้นเมื่อ 6 July 2008.
- ↑ Toy, Mary-Anne (19 January 2008). "The artist as an angry man". The Age. Australia. สืบค้นเมื่อ 6 July 2008.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- เว็บไซต์ทางการ
- ไอ้ เว่ยเว่ย ที่เอกซ์ (ทวิตเตอร์)
- บล็อกของ ไอ้ เว่ยเว่ย - ปัจจุบันถูกรัฐบาลจีนระงับการใช้งาน