ข้ามไปเนื้อหา

ไพโรโซม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ไพโรโซม
ตัวอ่อนของไพโรโซมพบนอกชายฝั่งเกาะอาตัวโร, ติมอร์ตะวันออก (ความยาวประมาณ 1 เมตร)
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ไฟลัมย่อย: Urochordata
ชั้น: Thaliacea
อันดับ: Pyrosomida
วงศ์: Pyrosomatidae
Lahille, 1888
สกุล: Pyrosoma
Péron, 1804
ชนิด
ดูในเนื้อหา

ไพโรโซม (อังกฤษ: Pyrosomes) เป็นสิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่ง เป็นสัตว์น้ำที่อยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง และไฟลัมย่อยยูโรคอร์ดาตา จัดอยู่ในสกุล Pyrosoma นอกจากนี้แล้วยังมีชื่อสามัญเรียกว่า "แตงกวาดองทะเล" (Sea pickles[1][2])

ไพโรโซม เป็นสัตว์ที่มีลำตัวโปร่งใส ลำตัวยาวเหมือนกรวยขนาดยาว สามารถเรืองแสงเป็นสีฟ้าหรือเขียวได้ เป็นสัตว์ที่หายาก แต่เป็นสัตว์ที่ไม่มีกะโหลกหรือขากรรไกรหรือกล้ามเนื้อ จึงไม่สามารถเคลื่อนไหวได้ด้วยตนเอง แต่จะล่องลอยไปตามกระแสน้ำ ไพโรโซมเกิดขึ้นจากการรวมตัวกันของสัตว์ขนาดเล็กลักษณะเหมือนแมงกะพรุนคือ "ซูอิก" (Zooid) จำนวนนับพันตัวรวมตัวกันอยู่ โดยเฉลี่ยแล้วจะมีความยาวประมาณ 30 เซนติเมตร หรือ 60 เซนติเมตร หรือแม้แต่มีความยาวแค่ไม่กี่เซนติเมตร แต่ก็มีการพบตัวที่มีความยาวถึง 30 หรือ 35 เมตร ขนาดเทียบเท่ากับวาฬขนาดใหญ่เลยทีเดียว[3]

ไพโรโซม กินสาหร่ายขนาดเล็กที่ไม่สามารถมองได้ด้วยตาเปล่าเป็นอาหาร รวมถึงแพลงก์ตอน เป็นสัตว์ที่ไม่มีอันตรายต่อมนุษย์ แต่ทว่าสร้างความรำคาญให้แก่อุตสาหกรรมประมง โดยเฉพาะการประมงในสหรัฐอเมริกา เนื่องจากสามารถเกาะคลุมอุปกรณ์ประมงได้ ทำให้ไม่สามารถจับปลาได้ หากมีเป็นจำนวนมาก อาจต้องทำให้เรือประมงบางลำต้องย้ายที่ประมงหนี โดยบริเวณชายฝั่งของแคลิฟอร์เนียไม่เคยมีรายงานการพบไพโรโซมมาก่อนเลย จนกระทั่งในปี ค.ศ. 2012 มีรายการการพบครั้งแรกในแม่น้ำที่รัฐแคลิฟอร์เนีย จนปัจจุบันมีพบตลอดความยาวตั้งแต่แคลิฟอร์เนียไปจนถึงอลาสกา โดยเฉพาะฝั่งตะวันออกเฉียงใต้ของอลาสกา ที่นั่น เรือประมงต้องหยุดทำการประมงเนื่องจากการแพร่ระบาดของไพโรโซม ทั้งนี้เชื่อว่าเป็นผลมาจากภาวะโลกร้อน[4]

การจำแนก

[แก้]

คำว่า Pysoroma หรือ Pyrosome มาจากภาษากรีกคำว่า pyro หมายถึง "ไฟ" และ soma หมายถึง "ร่างกาย"[5]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Blob-like intruders infesting pacific coast".
  2. "Newsweek: Mysterious Sea Pickles invading West Coast in bizarre bloom".
  3. "ช่วง เด็กพิลึก ตอน ไพโรโซม สัตว์ประหลาดใต้ทะเล". ครอบครัวข่าวเด็ก. 2015-12-29. สืบค้นเมื่อ 2017-07-04.[ลิงก์เสีย]
  4. หน้า 7 โลกาภิวัฒน์ GLOBALIZATION, สัตว์ประหลาดใต้น้ำชุกชายฝั่งทะเลสหรัฐอเมริกา. "โลกโศภิณ". ไทยรัฐปีที่ 68 ฉบับที่ 21714: วันอังคารที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2560 ขึ้น 11 ค่ำ เดือน 8 ปีระกา
  5. "Pyrosoma". World Register of Marine Species. สืบค้นเมื่อ April 13, 2015.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Pyrosoma ที่วิกิสปีชีส์