โฮปเวลล์โฮลดิงส์
สำนักงานใหญ่โฮปเวลล์โฮลดิงส์ | |
ประเภท | สาธารณะ |
---|---|
การซื้อขาย | SEHK: 54 |
ก่อตั้ง | 17 ตุลาคม พ.ศ. 2515 |
ผู้ก่อตั้ง | Gordon Wu |
สำนักงานใหญ่ | ฮ่องกง |
บุคลากรหลัก | กอร์ดอน วู |
บริษัทในเครือ | Hopewell China Development (Superhighway) Limited |
เว็บไซต์ | www |
โฮปเวลล์โฮลดิงส์ (จีน: 合和實業有限公司) เป็นบริษัทสัญชาติฮ่องกง ก่อตั้งเมื่อ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2515 ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์,โครงสร้างพื้นฐานของฮ่องกง และภูมิภาคเอเชีย ผู้ก่อตั้งโดย กอร์ดอน วู[1]
ประวัติ
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
โฮปเวลล์โฮลดิงส์ในประเทศไทย
[แก้]ภายใต้ บริษัท โฮปเวลล์ (ประเทศไทย) จำกัด เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2533 ส่วนหนึ่งในโครงการพื้นฐาน ภายใต้ชื่อโครงการว่า โครงการระบบการขนส่งทางรถไฟยกระดับในกรุงเทพมหานคร หรือ ประชาชนส่วนใหญ่เรียกชื่อโครงการนี้ว่า โครงการโฮปเวลล์ เป็นโครงการก่อสร้างถนน ทางรถไฟ และรถไฟฟ้ายกระดับ บนพื้นที่ของการรถไฟแห่งประเทศไทย โครงการก่อสร้างประกอบด้วย โครงสร้างยกระดับทางรถไฟขึ้นไปเหนือผิวการจราจร เพื่อลดจุดตัดกับทางรถยนต์ (Grade Crossing) เพื่อลดปัญหาการให้รถยนต์ต้องหยุดรอรถไฟ ก่อสร้างคร่อมทางรถไฟที่มีอยู่ในปัจจุบัน ระยะทางทั้งสิ้น 60.1 กิโลเมตร ใช้เงินลงทุนไม่ต่ำกว่า 80,000 ล้านบาท และให้ผลตอบแทนรายปี 30 ปี รวม 53,810 ล้านบาท โดยโฮปเวลล์จะได้รับสิทธิสร้างถนนยกระดับ เรียกเก็บค่าผ่านทาง คู่ขนานกับทางรถไฟยกระดับ และได้รับสัมปทานเดินรถบนทางรถไฟยกระดับด้วย และสามารถใช้ประโยชน์ในพื้นที่ใต้ทางรถไฟยกระดับ และอสังหาริมทรัพย์สองข้างทาง คิดเป็นเนื้อที่ประมาณ 600 ไร่ [2] การก่อสร้างโครงการโฮปเวลล์ เป็นไปอย่างล่าช้า เนื่องจากประสบปัญหาในการส่งมอบพื้นที่บริเวณริมทางรถไฟ ประกอบกับเศรษฐกิจของไทยไม่เติบโตเท่าที่ควร เหมือนในช่วงแรกของรัฐบาลชาติชาย ทำให้แนวโน้มการลงทุนธุรกิจในอสังหาริมทรัพย์ซบเซาลง ปัญหาเรื่องจุดตัดกับโครงการถนนยกระดับวิภาวดีรังสิต (ดอนเมืองโทลล์เวย์) และการก่อสร้างล่าช้าจนอัตราคืบหน้าของงานไม่เป็นไปตามสัญญาที่ทำไว้กับรัฐบาล ปี พ.ศ. 2540 วิกฤตเศรษฐกิจในเอเชีย ทำให้บริษัทโฮปเวลล์หยุดการก่อสร้างอย่างสิ้นเชิง หลังดำเนินการก่อสร้างเป็นเวลา 7 ปี มีความคืบหน้าเพียง 13.77 % ขณะที่แผนงานกำหนดว่าควรจะมีความคืบหน้า 89.75% กระทรวงคมนาคมได้บอกเลิกสัญญาสัมปทานอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2541
การดําเนินคดีโครงการโฮปเวลล์ในประเทศไทย
[แก้]บริษัท โฮปเวลล์โฮลดิงส์ จำกัด ได้ฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายในการยกเลิกสัญญาจากกระทรวงคมนาคม และการรถไฟแห่งประเทศไทย เป็นค่าใช้จากการเข้ามาลงทุนเป็นเงิน 56,000 ล้านบาท ในขณะที่การรถไฟฯ ก็เรียกร้องค่าเสียโอกาสในการใช้ประโยชน์จากโครงการ เป็นเงินกว่า 200,000 ล้านบาท
คณะอนุญาโตตุลาการประกอบด้วย นายสมศักดิ์ บุญทอง รองอัยการสูงสุด ในฐานะตัวแทนจากการรถไฟแห่งประเทศไทย, รองศาสตราจารย์วีระพงษ์ บุญโญภาส อาจารย์คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นตัวแทนจากโฮปเวลล์ฯ และนายถวิล อินทรักษา อดีตผู้พิพากษา เป็นประธานคณะอนุญาโตตุลาการ [3] ได้วินิจฉัยชี้ขาดเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 ให้กระทรวงคมนาคมและการรถไฟแห่งประเทศไทย คืนเงินชดเชยให้โฮปเวลล์โฮลดิงส์ เนื่องจากการบอกเลิกสัญญาไม่เป็นธรรม เป็นเงิน 11,888.75 ล้านบาท ประกอบด้วยเงินค่าก่อสร้าง 9,000 ล้านบาท เงินค่าตอบแทนจากการใช้ประโยชน์ที่ดินที่บริษัทชำระไปแล้ว 2,850 ล้านบาท และเงินค่าออกหนังสือค้ำประกัน 38,749,800 บาท พร้อมดอกเบี้ย 7.5% ต่อปี และคืนหนังสือค้ำประกันมูลค่า 500 ล้านบาท ให้กับบริษัท [4]
วันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2562 ที่ศาลปกครองกลาง ศาลปกครองสูงสุด กลับคำพิพากษาศาลปกครองกลางให้บังคับคดี ให้บริษัท โฮปเวลล์ (ประเทศไทย) จำกัด ชนะคดีตาม คำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการให้ภาครัฐจ่าย รวม 11,888 ล้านบาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี พร้อมคืนหนังสือค้ำประกันมูลค่า 500 ล้านบาท ที่ออกโดยธนาคารกรุงเทพ ซึ่งประกอบด้วยเงินที่บริษัทได้ชำระเป็นค่าตอบแทนจากการใช้ประโยชน์จากที่ดินของ รฟท. ถึงก่อนวันบอกเลิกสัญญาเป็นเงิน 2,850 ล้านบาท รวมถึงเงินค่าออกหนังสือค้ำประกัน 38 ล้านบาท และเงินค่าก่อสร้าง 9,000 ล้านบาท โดยดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 180 วันนับคดีถึงที่สุด[5]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Bloomberg page on Hopewells 2018-05-19
- ↑ นิตยสารผู้จัดการ เดือนกุมภาพันธ์ 2540
- ↑ ศึกคดีโฮปเวลล์ฟ้องยังไม่จบ การรถไฟมีลุ้นหวังใช้ช่องโหว่ทางข้อสัญญา-อายุความพร้อมร้องคณะอนุญาโตฯ ทบทวนอำนาจ ฐานเศรษฐกิจ ฉบับที่ 2334 26 มิ.ย. - 28 มิ.ย. 2551
- ↑ ช็อก! ชี้ขาดรถไฟพ่าย “โฮปเวลล์” ไทยรัฐ, 11 พฤศจิกายน 2551
- ↑ "เปิดคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด ให้"โฮปเวลล์"ชนะคดี รัฐต้องชดใช้ 11,888 ล้าน พร้อมดอกเบี้ย".