โรคบิดจากเชื้อชิเกลลา
โรคบิดจากเชื้อชิเกลลา (Shigellosis) | |
---|---|
ชื่ออื่น | Bacillary dysentery, Marlow syndrome |
เชื้อ Shigella จากการตรวจอุจจาระ | |
สาขาวิชา | Infectious disease |
อาการ | ท้องร่วง, ไข้, ปวดท้อง[1] |
ภาวะแทรกซ้อน | Post infectious arthritis, sepsis, seizures, hemolytic uremic syndrome[1] |
การตั้งต้น | 1-2 วัน หลังได้รับเชื้อ[1] |
ระยะดำเนินโรค | 5-7 วัน[1] |
สาเหตุ | Shigella[1] |
วิธีวินิจฉัย | Stool culture[1] |
การป้องกัน | การล้างมือ[1] |
การรักษา | พักผ่อนและดื่มน้ำ[1] |
ยา | ยาปฏิชีวนะ (เฉพาะกรณีเป็นรุนแรง)[1] |
ความชุก | >80 ล้าน[2] |
การเสียชีวิต | 700,000[2] |
โรคบิดจากเชื้อชิเกลลา (อังกฤษ: shigellosis) หรือ โรคบิดไม่มีตัว เป็นโรคติดเชื้อแบคทีเรียอย่างหนึ่ง ทำให้ผู้ป่วยมีอาการท้องร่วง เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Shigella[1] มักเริ่มมีอาการในช่วง 1-2 วันหลังได้รับเชื้อ โดยจะมีอาการท้องร่วง ไข้ ปวดท้อง และเจ็บขณะถ่ายอุจจาระ[1] อาจมีเลือดปนมากับอุจจาระได้[1] ส่วนใหญ่จะเป็นอยู่ 5-7 วัน[1] ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้ ได้แก่ ข้ออักเสบหลังการติดเชื้อ ติดเชื้อในกระแสเลือด ชัก และกลุ่มอาการเม็ดเลือดแดงแตกยูรีเมีย[1]
โรคนี้เกิดจากเชื้อ Shigella สี่ชนิด ส่วนใหญ่ติดต่อผ่านการมีเชื้อปนเปื้อนออกมากับอุจจาระของผู้ป่วย ช่องทางอื่นได้แก่ อาหาร น้ำ หรือมือที่ปนเปื้อนเชื้อ อาจมาพร้อมกับแมลงวันหรือติดมือมาขณะเปลี่ยนผ้าอ้อมให้เด็กที่ป่วย การวินิจฉัยนอกจากอาการแล้วสามารถยืนยันได้โดยการเพาะเชื้อจากอุจจาระของผู้ป่วย
โรคนี้ยังไม่มีวัคซีนป้องกัน การป้องกันทำได้โดยการล้างมือ เมื่อป่วยแล้วส่วนใหญ่สามารถหายได้เอง แนะนำให้ดื่มน้ำให้เพียงพอและพักผ่อนมาก ๆ ยาลดกรดแก้ท้องอืดบางชนิดเช่นบิสมัทซับซาลิซิเลตอาจช่วยบรรเทาอาการได้ แต่ไม่ควรใช้ยาที่ลดการเคลื่อนไหวของลำไส้ เช่น โลเปอราไมด์ เนื่องจากมีผลเสียมากกว่า ผู้ป่วยบางรายที่มีอาการรุนแรงอาจจำเป็นต้องได้รับยาปฏิชีวนะ แต่พบการดื้อยาได้บ่อย ยาปฏิชีวนะที่ใช้บ่อยได้แก่ ซิโปรฟล็อกซาซิน และอะซิโทรมัยซิน
ในหนึ่งปีทั่วโลกมีผู้ป่วยโรคบิดจากเชื้อชิเกลลาประมาณ 80 ล้านคน เสียชีวิตประมาณ 700,000 คน ผู้ป่วยส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา และส่วนใหญ่เป็นเด็กเล็ก บางครั้งอาจพบโรคนี้ระบาดในศูนย์เลี้ยงเด็กหรือโรงเรียน และพบได้ค่อนข้างบ่อยในนักเดินทาง ในสหรัฐอเมริกาพบผู้ป่วยโรคนี้ประมาณหนึ่งล้านคนต่อปี
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.00 1.01 1.02 1.03 1.04 1.05 1.06 1.07 1.08 1.09 1.10 1.11 1.12 1.13 "General Information| Shigella – Shigellosis | CDC". www.cdc.gov (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 3 สิงหาคม 2016. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 เมษายน 2017. สืบค้นเมื่อ 20 เมษายน 2017.
- ↑ 2.0 2.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อWHO2015
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]การจำแนกโรค | |
---|---|
ทรัพยากรภายนอก |