โกฏา
โกฏา | |
---|---|
สมญา: เมืองหลวงแห่งการติว[1] | |
พิกัด: 25°0′0″N 76°10′0″E / 25.00000°N 76.16667°E | |
ประเทศ | อินเดีย |
รัฐ | ราชสถาน |
อำเภอ | โกฏา |
มณฑล | โกฏา |
ตั้งชื่อจาก | โกฏิยา ภีล (Kotia Bhil)[2] |
พื้นที่[3] | |
• ทั้งหมด | 570.36 ตร.กม. (220.22 ตร.ไมล์) |
ความสูง | 271 เมตร (889 ฟุต) |
ประชากร | |
• ทั้งหมด | 1,001,694 คน |
• อันดับ | ที่ 46 |
• ความหนาแน่น | 1,800 คน/ตร.กม. (4,500 คน/ตร.ไมล์) |
เขตเวลา | UTC+5:30 (IST) |
PIN | 324001 ถึง 324011 และ 324022 |
รหัสโทรศัพท์ | 0744 |
รหัส ISO 3166 | RJ-IN |
ทะเบียนพาหนะ | RJ-20 |
เว็บไซต์ | kotamc |
โกฏา (อักษรโรมัน: Kota, /ˈkoʊtə/ ( ฟังเสียง)), เดิมสะกด Kotah) เป็นนครในแถบตะวันออกเฉียงใต้ของรัฐราชสถาน ประเทศอินเดีย[6] ตั้งอยู่ราว 240 กิโลเมตร (149 ไมล์) ทางใต้ของชัยปุระ เมืองหลวงรัฐ บนฝั่งของแม่น้ำจัมพัล มีประชากร 1.2 ล้านคน ถือเป็นเมืองใหญ่สุดอันดับสามของรัฐรองจากชัยปุระ และ โชธปุระ เป็นศูย์กลางการปกครองของอำเภอโกฏา และ มณฑลโกฏา โกฎาเป็นศูนย์กลางการสอนเสริมพิเศษและเตรียมตัวสอบเข้าสมาหวิทยาลัยโดยเฉพาะในสายวิศวกรรมศาสตร์และแพทยศาสตร์ของประเทศ
ในอดีต โกฏาเคยเป็นส่วนหนึ่งของรัฐมหาราชาพุนที และแยกออกมาเป็นรัฐมหาราชาของตนในศตวรรษที่ 16 พระราชวังและสวนจากสมัยรัฐมหาราชายังคงพบได้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวในโกฏาปัจจุบัน[7][8]
โกฏาเป็นเมืองที่นิยมในวัยรุ่นอินเดียซึ่งเดินทางมาเพื่อเรียนเสริมเตรียมสอบเข้ามหาวิทยาลัยในสายวิศวกรรมศาสตร์และแพทยศาสตร์ โดยเฉพาะเพื่อเตรียมการสอบเข้าอย่าง IIT JEE และ NEET[9]
เศรษฐกิจ
[แก้]โกฏเป็นแหล่งค้าขายและแหล่งปลูกฝ้าย, มิลเลต, แป้งสาลี, ผักชี และ เมล็ดน้ำมัน นอกจากนี้ยังมีอุตสาหกรรมทอผ้า สกัดน้ำมันเมล็ด นม และงานประดิษฐ์หัตถกรรมพวกโลหะ[10] นอกจากนี้ยังเป็นที่รู้จักจากอุตสาหกรรมขัดเงาหินซึ่งรู้จักในชื่อ หินโกฏา ซึ่งใช้ในงานปูพื้น
นับตั้งแต่ราวปี 2000 เป็นต้นมา โกฏาเป็นแหล่งอุตสาหกรรมและธุรกิจติวเสริมพิเศษและผลิตนักเรียนที่ทำคะแนนสอบ IIT-JEE และสอบเข้าแพทย์ด้วยคะแนนสูงมาตลอด[11][12] ธุรกิจสอนเสริมเพื่อสอบเข้ามหาวิทยาลัยในโกฏาสร้างรายได้กว่า 40,000 ล้านรูปี ซึ่งยังช่วยส่งเสริมเศรษฐกิจในภูมิภาคด้วย ธุรกิจนี้เติบโตสูงมากจนเริ่มส่งผลต่อธุรกิจและอุตสาหกรรมกลุ่มอื่น ๆ ในเมืองโกฏาเอง[13]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ kota is also known as coaching capital of india magzter.com
- ↑ "जिनके नाम से कोटा का नाम पड़ा 300 साल बाद लगाई जाएगी उनकी प्रतिमा". Dainik Bhaskar (ภาษาฮินดี). 30 July 2012.
- ↑ "Kota District Census 2011 Handbook: VILLAGE AND TOWN WISE PRIMARY CENSUS ABSTRACT (PCA)" (PDF). Census of India. p. 29 (pdf) Urban Section. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 27 April 2018. สืบค้นเมื่อ 19 April 2016.
- ↑ "2011 census: Kota Municipal Corporation Demographics". Censusofindia.gov.in. สืบค้นเมื่อ 2016-04-07.
- ↑ "Kota (Kota, Rajasthan, India) – Population Statistics and Location in Maps and Charts – City Population". Citypopulation. de. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 August 2016. สืบค้นเมื่อ 20 July 2016.
- ↑ "Major Cities in Rajasthan". Indiatravelportal.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 August 2013. สืบค้นเมื่อ 2013-09-27.
- ↑ "Tours to Kota". Indian Horizons. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 August 2016. สืบค้นเมื่อ 2016-06-05.
- ↑ "Lakes and Gardens in Kota". Indian Horizons. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 August 2016. สืบค้นเมื่อ 2016-06-05.
- ↑ "Kota coaching factory – Panic calls: 14-hr days, morning nightmares". The Indian Express. 26 November 2015. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 December 2018. สืบค้นเมื่อ 27 December 2018.
- ↑ "Economy of Kota". kotaonline.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 June 2016. สืบค้นเมื่อ 2015-05-06.
- ↑ Aabshar H Quazi (29 April 2016). "JEE (Main) 2016 results: Kota institutes excel again". Hindustan Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 31 May 2016. สืบค้นเมื่อ 4 June 2016.
- ↑ "Top 3 in IIT entrance exam from Kota institute". The Times of India. 13 June 2016. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 June 2016. สืบค้นเมื่อ 2 July 2016.
- ↑ Verma, Prachi. "Covid-19 fallout: Coaching hub Kota witnessing large-scale student distress". The Economic Times. สืบค้นเมื่อ 2020-10-13.