โกฏา

พิกัด: 25°0′0″N 76°10′0″E / 25.00000°N 76.16667°E / 25.00000; 76.16667
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โกฏา
สมญา: 
เมืองหลวงแห่งการติว[1]
โกฏาตั้งอยู่ในรัฐราชสถาน
โกฏา
โกฏา
พิกัด: 25°0′0″N 76°10′0″E / 25.00000°N 76.16667°E / 25.00000; 76.16667
ประเทศอินเดีย
รัฐราชสถาน
อำเภอโกฏา
มณฑลโกฏา
ตั้งชื่อจากโกฏิยา ภีล (Kotia Bhil)[2]
พื้นที่[3]
 • ทั้งหมด570.36 ตร.กม. (220.22 ตร.ไมล์)
ความสูง271 เมตร (889 ฟุต)
ประชากร
 (2011)[4][5]
 • ทั้งหมด1,001,694 คน
 • อันดับที่ 46
 • ความหนาแน่น1,800 คน/ตร.กม. (4,500 คน/ตร.ไมล์)
เขตเวลาUTC+5:30 (IST)
PIN324001 ถึง 324011 และ 324022
รหัสโทรศัพท์0744
รหัส ISO 3166RJ-IN
ทะเบียนพาหนะRJ-20
เว็บไซต์kotamc.org

โกฏา (อักษรโรมัน: Kota, /ˈktə/ ( ฟังเสียง)), เดิมสะกด Kotah) เป็นนครในแถบตะวันออกเฉียงใต้ของรัฐราชสถาน ประเทศอินเดีย[6] ตั้งอยู่ราว 240 กิโลเมตร (149 ไมล์) ทางใต้ของชัยปุระ เมืองหลวงรัฐ บนฝั่งของแม่น้ำจัมพัล มีประชากร 1.2 ล้านคน ถือเป็นเมืองใหญ่สุดอันดับสามของรัฐรองจากชัยปุระ และ โชธปุระ เป็นศูย์กลางการปกครองของอำเภอโกฏา และ มณฑลโกฏา โกฎาเป็นศูนย์กลางการสอนเสริมพิเศษและเตรียมตัวสอบเข้าสมาหวิทยาลัยโดยเฉพาะในสายวิศวกรรมศาสตร์และแพทยศาสตร์ของประเทศ

ในอดีต โกฏาเคยเป็นส่วนหนึ่งของรัฐมหาราชาพุนที และแยกออกมาเป็นรัฐมหาราชาของตนในศตวรรษที่ 16 พระราชวังและสวนจากสมัยรัฐมหาราชายังคงพบได้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวในโกฏาปัจจุบัน[7][8]

โกฏาเป็นเมืองที่นิยมในวัยรุ่นอินเดียซึ่งเดินทางมาเพื่อเรียนเสริมเตรียมสอบเข้ามหาวิทยาลัยในสายวิศวกรรมศาสตร์และแพทยศาสตร์ โดยเฉพาะเพื่อเตรียมการสอบเข้าอย่าง IIT JEE และ NEET[9]

เศรษฐกิจ[แก้]

โกฏเป็นแหล่งค้าขายและแหล่งปลูกฝ้าย, มิลเลต, แป้งสาลี, ผักชี และ เมล็ดน้ำมัน นอกจากนี้ยังมีอุตสาหกรรมทอผ้า สกัดน้ำมันเมล็ด นม และงานประดิษฐ์หัตถกรรมพวกโลหะ[10] นอกจากนี้ยังเป็นที่รู้จักจากอุตสาหกรรมขัดเงาหินซึ่งรู้จักในชื่อ หินโกฏา ซึ่งใช้ในงานปูพื้น

นับตั้งแต่ราวปี 2000 เป็นต้นมา โกฏาเป็นแหล่งอุตสาหกรรมและธุรกิจติวเสริมพิเศษและผลิตนักเรียนที่ทำคะแนนสอบ IIT-JEE และสอบเข้าแพทย์ด้วยคะแนนสูงมาตลอด[11][12] ธุรกิจสอนเสริมเพื่อสอบเข้ามหาวิทยาลัยในโกฏาสร้างรายได้กว่า 40,000 ล้านรูปี ซึ่งยังช่วยส่งเสริมเศรษฐกิจในภูมิภาคด้วย ธุรกิจนี้เติบโตสูงมากจนเริ่มส่งผลต่อธุรกิจและอุตสาหกรรมกลุ่มอื่น ๆ ในเมืองโกฏาเอง[13]

อ้างอิง[แก้]

  1. kota is also known as coaching capital of india magzter.com
  2. "जिनके नाम से कोटा का नाम पड़ा 300 साल बाद लगाई जाएगी उनकी प्रतिमा". Dainik Bhaskar (ภาษาฮินดี). 30 July 2012.
  3. "Kota District Census 2011 Handbook: VILLAGE AND TOWN WISE PRIMARY CENSUS ABSTRACT (PCA)" (PDF). Census of India. p. 29 (pdf) Urban Section. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 27 April 2018. สืบค้นเมื่อ 19 April 2016.
  4. "2011 census: Kota Municipal Corporation Demographics". Censusofindia.gov.in. สืบค้นเมื่อ 2016-04-07.
  5. "Kota (Kota, Rajasthan, India) – Population Statistics and Location in Maps and Charts – City Population". Citypopulation. de. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 August 2016. สืบค้นเมื่อ 20 July 2016.
  6. "Major Cities in Rajasthan". Indiatravelportal.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 August 2013. สืบค้นเมื่อ 2013-09-27.
  7. "Tours to Kota". Indian Horizons. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 August 2016. สืบค้นเมื่อ 2016-06-05.
  8. "Lakes and Gardens in Kota". Indian Horizons. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 August 2016. สืบค้นเมื่อ 2016-06-05.
  9. "Kota coaching factory – Panic calls: 14-hr days, morning nightmares". The Indian Express. 26 November 2015. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 December 2018. สืบค้นเมื่อ 27 December 2018.
  10. "Economy of Kota". kotaonline.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 June 2016. สืบค้นเมื่อ 2015-05-06.
  11. Aabshar H Quazi (29 April 2016). "JEE (Main) 2016 results: Kota institutes excel again". Hindustan Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 31 May 2016. สืบค้นเมื่อ 4 June 2016.
  12. "Top 3 in IIT entrance exam from Kota institute". The Times of India. 13 June 2016. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 June 2016. สืบค้นเมื่อ 2 July 2016.
  13. Verma, Prachi. "Covid-19 fallout: Coaching hub Kota witnessing large-scale student distress". The Economic Times. สืบค้นเมื่อ 2020-10-13.