แฮลิอูโปลิส
I͗wnw หรือ Iunu | |
เสาโอเบลิสก์แห่งอัล-มาซัลลา อนุสาวรีย์ที่ใหญ่ที่สุดที่ยังหลงเหลืออยู่จากแฮลิอูโปลิส ถ่ายรูปใน ค.ศ. 2001 | |
ที่ตั้ง | ประเทศอียิปต์ |
---|---|
ภูมิภาค | เขตผู้ว่าการไคโร |
พิกัด | 30°07′46″N 31°18′27″E / 30.129333°N 31.307528°E |
แฮลิอูโปลิส (กรีก: Ἡλιούπολις, อักษรโรมัน: Hēlioúpοlis, แปลตรงตัว 'เมืองแห่งดวงอาทิตย์'; I͗wnw, Iunu หรือ 𓉺𓏌𓊖; อียิปต์โบราณ: I͗wnw, แปลว่า 'เสาหิน'; คอปติก: ⲱⲛ) เป็นนครที่สำคัญของอียิปต์โบราณ เป็นเมืองหลักของเขตปกครองที่สิบสามหรือเขตปกครองแห่งแฮลิอูโปลิสของอียิปต์ล่าง และเป็นศูนย์กลางทางศาสนาที่สำคัญ ปัจจุบันตั้งอยู่ในเมืองอัยน์ชัมส์ ชานเมืองทางตะวันออกเฉียงเหนือของกรุงไคโร
แฮลิอูโปลิสเป็นหนึ่งในเมืองที่เก่าแก่ที่สุดของอียิปต์โบราณ ซึ่งถูกครอบครองตั้งแต่ช่วงสมัยก่อนราชวงศ์[1] มันขยายตัวอย่างมากภายใต้สมัยราชอาณาจักรเก่าและสมัยราชอาณาจักรกลาง แต่ปัจจุบันส่วนใหญ่ของเมืองถูกทำลาย ชิ้นส่วนของวิหารและอาคารอื่น ๆ ถูกนำไปใช้ใหม่เพื่อสร้างกรุงไคโรในยุคกลาง ข้อมูลส่วนใหญ่เกี่ยวกับเมืองโบราณนี้มาจากบันทึกที่ยังหลงเหลืออยู่
ส่วนที่หลงเหลือที่สำคัญของเมืองแฮลิอูโปลิสคือ เสาโอเบลิสก์ของวิหารแห่งรา-อาตุมที่โปรดให้สร้างโดยฟาโรห์เซนุสเรตที่ 1 จากราชวงศ์ที่สิบสองแห่งอียิปต์ และซากวิหารก็คงอยู่ในตำแหน่งเดิม ซึ่งในปัจจุบันวิหารดังกล่าวอยู่ในอัล-มาซัลลา เขตอัล-มาตารัยยาห์ กรุงไคโร[2] เสาโอเบลิสก์เป็นเสาหินแกรนิตสีแดงความสูง 21 เมตร (69 ฟุต) มีน้ำหนัก 120 ตัน (240,000 ปอนด์) และเชื่อกันว่าเป็นเสาโอเบลิสก์ที่เก่าแก่ที่สุดในโลกที่ยังหลงเหลืออยู่[3] ชาวโรมันนำเสาโอเบลิสก์แห่งมอนเตซิโตริโอไปยังกรุงโรมภายใต้การนำของจักรพรรดิเอากุสตุส ซึ่งยังคงหลงเหลืออยู่ เสาโอเบลิสก์ขนาดเล็กสองเสาที่เรียกว่า เข็มแห่งคลีโอพัตรา ก็ถูกค้นย้ายไปยังเมืองลอนดอนและนิวยอร์กเช่นกัน
ชื่อ
[แก้]
| |||
Heliopolis I͗wnw[a] ในไฮเออโรกลีฟอียิปต์ | |||
---|---|---|---|
แฮลิอูโปลิสเป็นชื่อที่แผลงเป็นละตินจากชื่อภาษากรีกโบราณว่า Hēlioúpolis (Ἡλιούπολις) หมายถึง "เมืองแห่งดวงอาทิตย์" เฮลิออส เทพที่เป็นบุคลาธิษฐานของดวงอาทิตย์ เป็นเทพที่ชาวกรีกระบุเทียบกับราและอาตุม เทพเจ้าอียิปต์ที่มีลัทธิหลักบูชาในเมืองนี้
ชื่อดั้งเดิมของเมืองนี้คือ I͗wnw ("เสาหิน") ซึ่งไม่ทราบรูปสะกดที่แท้จริง เนื่องจากชาวอียิปต์โบราณบันทึกเฉพาะรูปพยัญชนะ รูปทับศัพท์ของนักนักอียิปต์วิทยาคือ Iunu แต่ในภาษาฮีบรูไบเบิลปรากฏเป็น ʾŌn (אֹ֖ן,[5] אֽוֹן[6]) และ ʾĀwen (אָ֛וֶן[7]) ทำให้นักวิชาการบางส่วนสร้างรูปสะกดใหม่เป้น *ʔa:wnu บางทีจาก /ja:wunaw/ ในแบบเก่า นอกจากนี้ยังพบรูปแบบในรูปของ Awnu และ Annu ชื่อที่อยู่รอดในภาาษาคอปติกคือ ⲱⲛ Ōn[8]
ชื่อเมืองนี้ปรากฏในPyramid Texts ของราชอาณาจักรเก่าแห่งอียิปต์ ในชื่อ "บ้านเรือนของรา" (House of Ra)[9]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Dobrowolska; และคณะ (2006), Heliopolis: Rebirth of the City of the Sun, p. 15, ISBN 9774160088.
- ↑ Griffith, Francis Llewellyn (1911). . ใน Chisholm, Hugh (บ.ก.). สารานุกรมบริตานิกา ค.ศ. 1911. Vol. 19 (11 ed.). สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์. p. 945..
- ↑ "obelisk". www.britannica.com. สืบค้นเมื่อ 2021-08-25.
- ↑ Collier & Manley, p. 29.
- ↑ ปฐมกาล 41:45
- ↑ ปฐมกาล 41:50
- ↑ เอเสเคียล 30:17, อาโมส 1:5
- ↑ TLA lemma no. C5494 (ⲱⲛ), in: Coptic Dictionary Online, ed. by the Koptische/Coptic Electronic Language and Literature International Alliance (KELLIA), https://coptic-dictionary.org/entry.cgi?tla=C5494
- ↑ Bonnet, Hans, Reallexikon der Ägyptischen Religionsgeschichte. (ในภาษาเยอรมัน)
บรรณานุกรม
[แก้]- Allen, James P. 2001. "Heliopolis". In The Oxford Encyclopedia of Ancient Egypt, edited by Donald Bruce Redford. Vol. 2 of 3 vols. Oxford, New York, and Cairo: Oxford University Press and The American University in Cairo Press. 88–89
- Bilolo, Mubabinge. 1986. Les cosmo-théologies philosophiques d'Héliopolis et d'Hermopolis. Essai de thématisation et de systématisation, (Academy of African Thought, Sect. I, vol. 2), Kinshasa–Munich 1987; new ed., Munich-Paris, 2004.
- Reallexikon der Ägyptischen Religionsgeschichte - Hans Bonnet
- Collier, Mark and Manley, Bill. How to Read Egyptian Hieroglyphs: Revised Edition. Berkeley: University of California Press, 1998.
- The Routledge Dictionary of Egyptian Gods and Goddesses, George Hart ISBN 0-415-34495-6
- Redford, Donald Bruce. 1992. "Heliopolis". In The Anchor Bible Dictionary, edited by David Noel Freedman. Vol. 3 of 6 vols. New York: Doubleday. 122–123
- บทความนี้ รวมเนื้อหาจากสิ่งพิมพ์ที่ปัจจุบันเป็นสาธารณสมบัติ: Smith, William, บ.ก. (1854–1857). Dictionary of Greek and Roman Geography. London: John Murray.
{{cite encyclopedia}}
:|title=
ไม่มีหรือว่างเปล่า (help)
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]30°07′45.6″N 31°18′27.1″E / 30.129333°N 31.307528°E
อ้างอิงผิดพลาด: มีป้ายระบุ <ref>
สำหรับกลุ่มชื่อ "lower-alpha" แต่ไม่พบป้ายระบุ <references group="lower-alpha"/>
ที่สอดคล้องกัน