แฮลวอ
แฮลวอ (เปอร์เซีย: حلوا) เป็นขนมหวานชนิดหนึ่งที่มีถิ่นกำเนิดจากเปอร์เซีย (ประเทศอิหร่านในปัจจุบัน)[1][2] และยังแพร่หลายไปทั่วภูมิภาคตะวันออกกลางรวมถึงเอเชียใต้ ซึ่งหมายถึงขนมหวานหลายชนิดที่ทำจากแป้งสาลี เนย น้ำมัน หญ้าฝรั่น น้ำดอกไม้เทศ นม แป้งโกโก้ และเติมความหวานด้วยน้ำตาล[3][4][5][6]
ประวัติ
[แก้]แฮลวอมีถิ่นกำเนิดจากเปอร์เซียหรือประเทศอิหร่านในปัจจุบัน หลักฐานการกล่าวถึงแฮลวอปรากฏขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 7 ซึ่งหมายถึงวัตถุดิบที่ประกอบไปด้วยอินทผลัมผสมกับนม และในคริสต์ศตวรรษที่ 9 มีการนำคำนี้ไปใช้เรียกขนมหลายชนิด รวมไปถึงเซโมลินาหรือแป้งเปียกที่ผ่านการปรุงและเติมความหวานแล้ว[3][7]
ตำรับอาหารเปอร์เซียในช่วงก่อนหน้านี้หลายอย่างได้รับการบันทึกไว้ในหนังสือภาษาอาหรับสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 13 ชื่อว่า กิตาบุฏเฏาะบีค ("ตำราการครัว") รวมทั้งในตำราปรุงอาหารไม่ทราบชื่อเล่มหนึ่งจากชาวมัวร์ในสเปนสมัยเดียวกัน จากนั้นชาวเติร์กในจักรวรรดิออตโตมันได้รับเอาแฮลวอชนิดต่าง ๆ เข้ามา รวมทั้งชนิดที่ทำจากงา แล้วเผยแพร่ไปทั่วจักรวรรดิ[7]
ชนิด
[แก้]เมล็ดพืช
[แก้]ทำด้วยการนำแป้งสาลีหรือแป้งข้าวโพดไปปิ้งในน้ำมัน จากนั้นผสมเข้าด้วยกันให้มีลักษณะเป็นรูส์ แล้วปรุงด้วยน้ำเชื่อมรสหวาน
งา
[แก้]นิยมในบริเวณบอลข่าน ประเทศโปแลนด์ ตะวันออกกลาง และพื้นที่อื่น ๆ รอบทะเลเมดิเตอร์เรเนียน มีส่วนประกอบหลักได้แก่ทาฮีนีกับน้ำตาลหรือน้ำผึ้ง[3]
นิยมในประเทศอดีตสหภาพโซเวียต รวมทั้งบัลแกเรียและโรมาเนีย[8] ทำจากเมล็ดทานตะวันบด โดยอาจมีส่วนประกอบอื่นด้วย เช่น ถั่ว แป้งโกโก้ วานิลลา[9][10]
ถั่วลิสง
[แก้]ในประเทศอาร์เจนตินาสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 20 ผู้อพยพชาวกรีกได้คิดค้นแฮลวอชนิดใหม่ขึ้นจากเนยถั่วลิสง เรียกว่า มันเตโกล (Mantecol) โดยมีการบริโภคกันอย่างกว้างขวางในประเทศ
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Marks, Gil (2010-11-17). Encyclopedia of Jewish Food (ภาษาอังกฤษ). HMH. ISBN 978-0-544-18631-6.
Halva is a dense confection. The original type is grain based, typically made from semolina, and another kind is seed based, notably made from sesame seeds. Origin: Persia
- ↑ Foundation, Encyclopaedia Iranica. "Welcome to Encyclopaedia Iranica". iranicaonline.org (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2021-04-23.
The origin of ḥalwā in Persia dates from the pre-Islamic period. References are found in the Middle Persian text of Xōsrōv ud rēdak (ed. Monchi-zadeh, secs. 38-40) to two kinds of sweetmeats (rōγn xwardīg): (1) summer sweetmeats, such as lōzēnag (made with almond), gōzēnag (made with walnut), and čarb-angušt (made from the fat of bustard or gazelle and fried in walnut oil); and (2) winter sweetmeats, such as wafrēnagītabarzad flavored with coriander (gišnīz ačārag). Many references are found to ḥalwā in classical Persian texts, but rarely do they provide details concerning ingredients.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 Davidson, Alan (1999). The Oxford Companion to Food. Oxford: Oxford University press. p. 378. ISBN 0-19-211579-0.
- ↑ Sharar, Abdul Halim (1994). Lucknow: the last phase of an oriental culture. Oxford University Press. p. 165. ISBN 9780195633757.
- ↑ Hosking, R. (2010). Food and Language: Proceedings of the Oxford Symposium on Food and Cooking 2009. Proceedings of the Oxford Symposium on Food and Cookery Series. Prospect Books. p. 202. ISBN 978-1-903018-79-8. สืบค้นเมื่อ 2022-04-11.
- ↑ Szokovski, Miriam. "How to Make Halva at Home".
- ↑ 7.0 7.1 Marks, Gil (2010). "Halva". Encyclopedia of Jewish Food. HMH. ISBN 9780544186316.
- ↑ Nistor, E.; Hoha, G.; Usturoi, M.; Alley, M. S. (2014). "Comparison of three sunflower halva assortments from Romanian market" (PDF). Analele Universității din Oradea, Fascicula: Ecotoxicologie, Zootehnie și Tehnologii de Industrie Alimentară. 14 (B): 329–336. S2CID 54789320.
- ↑ "Халва. Общие технические условия", Гост 6502-2014, Межгосударственный совет по стандартизации, метрологии и сертификации, 2014 ["Halva. General specifications", Interstate Standard GOST 6502-2014 (ภาษารัสเซีย), Euro-Asian Council for Standardization, Metrology and Certification, 2014]
- ↑ "Халва". ГОССТАНДАРТ. "Halva" (ภาษารัสเซีย). GOSSTANDART. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-01-13. สืบค้นเมื่อ 2023-11-12.