แอ่งน้ำอุฟส์นูร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แอ่งน้ำอุฟส์นูร์ *
  แหล่งมรดกโลกโดยยูเนสโก
แอ่งน้ำอุฟส์นูร์
ประเทศรัสเซียและมองโกเลีย
ประเภทมรดกทางธรรมชาติ
เกณฑ์พิจารณา(ix) (x)
ประวัติการขึ้นทะเบียน
ขึ้นทะเบียน2546 (คณะกรรมการสมัยที่ 27)
* ชื่อตามที่ได้ขึ้นทะเบียนในบัญชีแหล่งมรดกโลก
** ภูมิภาคที่จัดแบ่งโดยยูเนสโก

แอ่งน้ำอุฟส์นูร์ เป็นพื้นที่แอ่งปิดล้อมที่อยู่เหนือสุดของเอเซียกลาง ได้ชื่อตามทะเลสาบอุฟส์นูร์ (Uvs Nuur Lake) ทะเลสาบที่กว้าง ตื้น และเค็มมาก มีความสำคัญต่อนกอพยพ นกน้ำ และนกทะเล แหล่งนี้ประกอบด้วยพื้นที่อนุรักษ์ 12 พื้นที่ เป็นตัวแทนของเขตชีวภาพสำคัญของยูเรเซีย (Eurasia) ตะวันออก ระบบนิเวศแบบสเต็ปป์ (stepep) หรือทุ่งหญ้าสเต็ปป์ รองรับความหลากหลายอย่างมากของนก ทะเลทรายเป็นที่อยู่อาศัยของ หนูทะเลทราย เช่น เจอร์บิล (gerbil) เจอร์บัว (jerboa) และโพลแคทลายหินอ่อน (marbled polecat) ที่หายาก ภูเขาเหล่านี้เป็นที่หลบภัยของสัตว์ที่อยู่ในภาวะเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์คือเสือดาวหิมะ (snow leopard) แกะภูเขา (อาร์กาลี argali) และเอเซียติก ไอเบ็กซ์ (Asiatic ibex แพะภูเขาขนิดหนึ่ง)

มรดกโลก[แก้]

แอ่งน้ำอุฟส์นูร์ได้จดทะเบียนเป็นมรดกโลกในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญครั้งที่ 27 เมื่อปี พ.ศ. 2546 ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ด้วยข้อกำหนดและหลักเกณฑ์ในการพิจารณา ดังต่อไปนี้

  • (ix) - เป็นแหล่งที่เกิดจากปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่มีเอกลักษณ์หายากหรือสวยงามเป็นพิเศษ เช่น แม่น้ำ น้ำตก ภูเขา
  • (x) - เป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของชนิดสัตว์และพันธุ์พืชที่หายากหรือที่ตกอยู่ในสภาวะ อันตราย แต่ยังคงสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ ซึ่งรวมถึงระบบนิเวศอันเป็นแหล่งรวมความอุดมสมบูรณ์ของพืชและสัตว์ที่ทั่ว โลกให้ความสนใจด้วย