แอโรสมิธ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แอโรสมิธ
ข้อมูลพื้นฐาน
ที่เกิดบอสตัน รัฐแมสซาชูเซตส์ สหรัฐอเมริกา
แนวเพลงฮาร์ดร็อก, เฮฟวีเมทัล, บลูส์-ร็อก[1]
ช่วงปี1970-ปัจจุบัน
ค่ายเพลงColumbia
Geffen
สมาชิกSteven Tyler
Joe Perry
Brad Whitford
Tom Hamilton
Joey Kramer
อดีตสมาชิกRay Tabano
Jimmy Crespo
Rick Dufay

แอโรสมิธ (อังกฤษ: Aerosmith) เป็นวงฮาร์ดร็อกอเมริกัน ที่ในบางครั้งมีฉายาว่า "แบดบอยจากบอสตัน"[2] และ "วงร็อกแอนด์โรลอเมริกันที่ยอดเยี่ยมที่สุด"[3][4][5][6] แนวเพลงมีลักษณะฮาร์ดร็อกที่มีรากมาจากแนวเพลงบลูส์[1][7] และยังรวมกับองค์ประกอบของแนวป็อป[8], เฮฟวีเมทัล[1] แกลมเมทัล,[9] และอาร์แอนด์บี[10] ที่มีอิทธิพลต่อศิลปินรุ่นหลังในเวลาต่อมา[11] วงก่อตั้งในบอสตัน รัฐแมสซาชูเซตส์ ในปี 1970 มือกีตาร์ โจ เพอร์รี และ มือเบส ทอม ฮามิลตัน เริ่มในวงตั้งแต่แรก ตั้งชื่อวงว่า แจมแบนด์ จากนั้นเจอนักร้อง สตีเวน ไทเลอร์ ,มือกลอง โจอี คราเมอร์ และมือกีตาร์ เรย์ ทาบาโน และรวมกันในชื่อวง แอโรสมิธ โดยในปี 1971 ทาบาโนออกและแบรด วิทฟอร์ดมาแทน จากนั้นเริ่มพัฒนาวงในบอสตัน

พวกเขาเซ็นสัญญากับโคลัมเบียเรคคอร์ดส ในปี 1972 และออกผลงานที่ขายได้หลายแผ่นเสียงทองคำขาว เริ่มต้นในปี 1973 กับอัลบั้มเปิดตัว และในปี 1975 วงได้ก้าวสู่กระแสหลักกับอัลบั้ม Toys in the Attic และกับผลงานปี 1976 กับร็อกที่แข็งขึ้นในฐานะฮาร์ดร็อกซุเปอร์สตาร์[12] โดยในปลายยุค 1970 พวกเขาเป็นวงที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในกลุ่มวงประเภทฮาร์ดร็อกและมีแฟนเกิดขึ้นมา ที่มักจะเรียกตัวเองว่า "บลูอาร์มี่"[13] อย่างไรก็ตามเกิดปัญหาขึ้นภายในทั้งการติดยา ทำให้เพอร์รีและวิทฟอร์ดออกไป ในปี 1979 และ 1981 ตามลำดับ และมาแทนที่โดย จิมมี เครสโพและริก ดูเฟย์[7] พวกเขาไม่ได้ลาจากระหว่างปี 1980 และ 1984 และออกผลงานอัลบั้มชุดเดียว คือ Rock in a Hard Place ที่มียอดขายระดับแผ่นเสียงทองคำแต่ไม่ประสบความสำเร็จเมื่อเทียบกับชุดก่อน

ถึงแม้ว่าเพอร์รีและวิทฟอร์ด จะกลับมาในปี 1984 และได้เซ็นสัญญาฉบับใหม่กับ เกฟเฟนเรคคอร์ดส พวกเขาออกอัลบั้มในปี 1987 ชุด Permanent Vacation ที่เพิ่มระดับความนิยมกว่าที่เขาเคยได้ในยุค 1970[14] ในปลายยุค 1980 และ 1990 พวกเขามีผลงานฮิตและได้รับรางวัลมากมาย จากอัลบั้มยอดขายแผ่นเสียงทองคำขาวหลายแผ่นอย่าง Pump (1989), Get a Grip (1993), และ Nine Lives (1997) การกลับมาของพวกเขาอธิบายได้ว่าเป็นสิ่งที่น่าประทับใจที่สุดในประวัติศาสตร์ร็อกแอนด์โรล[1][7] หลังจาก 39 ปีแห่งการแสดง วงก็ยังออกทัวร์และผลิตผลงานดนตรีอยู่

แอโรสมิธ เป็นวงฮาร์ดร็อกอเมริกันที่มียอดขายดีที่สุดตลอดกาล[15] มียอดขาย 150 ล้านชุดทั่วโลก[16] เฉพาะในสหรัฐอเมริกามียอด 66.5 ล้าน[15] พวกเขายังสร้างสถิติเป็นวงอเมริกันที่ได้รับรางวัลแผ่นเสียงทองคำและแผ่นเสียงทองคำขาวมากที่สุด พวกเขามีเพลงในท็อป 40 ถึง 21 เพลงในชาร์ทบิลบอร์ดฮ็อต 100 และมี 9 เพลงที่ติดอันดับ 1 ของชาร์ทเมนตรีมร็อก ได้ 4 รางวัลแกรมมี่ และ 10 รางวัลเอ็มทีวี วิดีโอ มิวสิก อวอร์ดส พวกเขายังติดในร็อกแอนด์โรลฮอลล์ออฟเฟม ในปี 2001 และในปี 2005 พวกเขาติดอันดับ 57 ของนิตยสารโรลลิงสโตน ในการจัดอันดับ 100 ศิลปินที่ยอดเยี่ยมที่สุดตลอดกาล[17]


ผลงาน[แก้]

สตูดิโออัลบั้ม[แก้]

วันที่จำหน่าย ชื่อ อันดับชาร์ตในบิลบอร์ด 200 RIAA cert. ค่าย
13 มกราคม 1973 Aerosmith 21 2x แพลตตินั่ม Columbia
1 มีนาคม 1974 Get Your Wings 74 3x แพลตตินั่ม
8 เมษายน 1975 Toys in the Attic 11 8x แพลตตินั่ม
3 พฤษภาคม 1976 Rocks 3 4x แพลตตินั่ม
1 ธันวาคม 1977 Draw the Line 11 2x แพลตตินั่ม
1 พฤศจิกายน 1979 Night in the Ruts 14 แพลตตินั่ม
1 สิงหาคม 1982 Rock in a Hard Place 32 ทองคำ
9 พฤศจิกายน 1985 Done with Mirrors 36 ทองคำ Geffen
5 กันยายน 1987 Permanent Vacation 11 5x แพลตตินั่ม
8 กันยายน 1989 Pump 5 7x แพลตตินั่ม
20 เมษายน 1993 Get a Grip 1 7x แพลตตินั่ม
18 มีนาคม 1997 Nine Lives 1 2x แพลตตินั่ม Columbia
6 มีนาคม 2001 Just Push Play 2 แพลตตินั่ม
30 มีนาคม 2004 Honkin' on Bobo 5 ทองคำ
6 พฤศจิกายน 2012 Music from Another Dimension! 5[18]

ซิงเกิล[แก้]

21 เพลงของแอโรสมิธที่ได้ขึ้นชาร์ต ท็อป 40 ในบิลบอร์ดฮอต 100:

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 "Aerosmith Biography". Stephen Thomas Erlewine. Allmusic.
  2. "Aerosmith special shows Bad Boys at their best". Steve Morse. The Boston Globe. สืบค้นเมื่อ 2008-04-06.
  3. "Able-bodied Aerosmith hits home run". Boston Herald. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-09-17. สืบค้นเมื่อ 2007-09-15.
  4. "Aerosmith's Opening Night: Crazy Amazing For Hell's Angels And 'Jaded' Kids". Brian Ives. MTV.
  5. "Aerosmith - America's Rock and Roll Band". NewHampshire.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-28. สืบค้นเมื่อ 2008-03-25.
  6. "Aerosmith Biography". TheRockradio.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-08-28. สืบค้นเมื่อ 2008-04-03.
  7. 7.0 7.1 7.2 "Aerosmith: Biography: Rolling Stone". Rolling Stone. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-03-08. สืบค้นเมื่อ 2009-01-21.
  8. "Aerosmith & KISS will be performing at the Tweeter Center on September 26, 2003". Darryl Cater. ChicagoGigs.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-06-28. สืบค้นเมื่อ 2008-04-12.
  9. "Biography of Aerosmith". qcmusic.net. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-12-16. สืบค้นเมื่อ 2008-04-12.
  10. "Aerosmith: Get A Grip: Music Reviews: Rolling Stone". Mark Coleman. Rolling Stone. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-07-13. สืบค้นเมื่อ 2008-03-31.
  11. "allmusic - Pop-Metal". Allmusic. สืบค้นเมื่อ 2008-04-12.
  12. "Aerosmith Just Keeps On Rockin'". Articlecity.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-07. สืบค้นเมื่อ 2008-04-06.
  13. Davis, p. 239
  14. "Aerosmith - Full Biography". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 2008-04-06.
  15. 15.0 15.1 "Top Selling Artists". Recording Industry Association of America (RIAA.com).
  16. "New Aerosmith 'Guitar Hero' game". Larry McShane. New York Daily News. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-04-12. สืบค้นเมื่อ 2008-03-31.
  17. "The Immortals - The Greatest Artists of All Time: 57) Aerosmith". Rolling Stone. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-10-01. สืบค้นเมื่อ 2008-03-25.
  18. "Aerosmith". Billboard.