ข้ามไปเนื้อหา

แอมโมไนต์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

แอมโมไนต์
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: 409–61.7Ma ยุคดีโวเนียน[1]ยุคพาลีโอจีน[2][3]
ตัวอย่างชนิด Pleuroceras solare ในยุคจูแรสซิกตอนต้น จากบาวาเรีย ประเทศเยอรมนี
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
โดเมน: ยูแคริโอต
Eukaryota
อาณาจักร: สัตว์
Animalia
ไฟลัม: มอลลัสกา
Mollusca
ชั้น: Cephalopoda
Cephalopoda
ชั้นย่อย: แอมโมไนต์
Ammonoidea
Zittel, 1884
อันดับ
แอมโมไนต์ที่ถูกตัดครึ่ง
แอมโมไนต์ แบบต่างๆ

แอมโมไนต์ (อังกฤษ: Ammonite) เป็นสัตว์ประเภทเซฟาโลพอดชนิดหนึ่ง สามารถพบได้หลายที่บนโลก รวมทั้งประเทศไทยด้วย มันมีอยู่หลากหลายชนิด และพบได้ทั่วไปในทะเลดึกดำบรรพ์นับตั้งแต่ยุคดีโวเนียน จนกระทั่งมันสูญพันธุ์ไปพร้อมกับไดโนเสาร์ เมื่อ 65 ล้านปีก่อน ในช่วงปลายยุคครีเทเชียส แอมโมไนต์มีขนาดตั้งแต่ 23 เซนติเมตร (9 นิ้ว) ไปจนถึง 2 เมตร

แม้แอมโมไนต์จะมีรูปร่างหน้าตาคล้ายสัตว์จำพวกนอติลอยด์ แต่แท้จริงแล้วพวกมันมีความใกล้เคียงกับสัตว์จำพวกหมึกมากกว่า[4] และเนื่องจากพวกแอมโมไนต์มีวิวัฒนาการทางโครงสร้างและรูปร่างอย่างรวดเร็ว มีความแตกต่างในแต่ละช่วงอายุอย่างเห็นเด่นชัด จึงมักนิยมใช้ซากของพวกแอมโมไนต์เป็นซากดึกดำบรรพ์ดัชนี

ชื่อ "แอมโมไนต์" มีที่มาจากการที่พลินีผู้อาวุโสเรียกซากดึกดำบรรพ์ของแอมโมไนต์ว่า "เขาของอัมมอน (ammonis cornua)" เนื่องจากพวกมันมีรูปร่างคล้ายเขาแกะ ซึ่งเป็นสิ่งที่มักจะปรากฏอยู่เป็นทั่วไปว่าเทพเจ้าองค์นั้นใส่อยู่[5]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Map and table describing fossil collections and related samples in the Ketchikan and Prince Rupert quadrangles, southeastern Alaska". United States Geological Survey Open-File Report. doi:10.3133/ofr821088. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  2. "Ammonoidea (ammonite)". PBDB.org.
  3. T, Hansen (1987). "Sedimentology and extinction patterns across the Cretaceous-Tertiary boundary interval in east Texas". Cretaceous Research. 8 (3). doi:10.1016/0195-6671(87)90023-1.
  4. Klug, Christian; Kröger, Björn; Vinther, Jakob; Fuchs, Dirk (August 2015). "Ancestry, Origin and Early Evolution of Ammonoids". ใน Christian Klug; Dieter Korn; Kenneth De Baets; Isabelle Kruta; Royal H. Mapes (บ.ก.). Ammonoid Paleobiology: From macroevolution to paleogeography. Topics in Geobiology 44. Springer. p. 3-24. doi:10.1007/978-94-017-9633-0_1.
  5. NH 37.40.167

อ่านเพิ่ม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]