ข้ามไปเนื้อหา

แอดาไมต์ (แร่)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แอดาไมต์
แอดาไมต์สีเขียวเหลืองที่อยู่ในลิโมไนต์
การจำแนก
ประเภทแร่อาร์เซเนต
สูตรเคมีZn2AsO4OH
คุณสมบัติ
สีเหลืองอ่อน, เหลืองเข้ม, น้ำตาลอ่อน, แดง; หาพบได้ยากในสีขาว, ใส, น้ำเงิน, เขียวอ่อนไปจนถึงสีเขียว
รูปแบบผลึกWedge-like prisms typically in druses and radiating clusters - also smooth botryoidal masses.
โครงสร้างผลึกOrthorhombic
แนวแตกเรียบ{101}, good; {010}, poor
รอยแตกUneven to subconchoidal
ความยืดหยุ่นBrittle
ค่าความแข็ง3.5
ความวาววาวเหมือนแก้ว
ดรรชนีหักเหnα=1.708 - 1.722, nβ=1.742 - 1.744, nγ=1.763 - 1.773
คุณสมบัติทางแสงBiaxial (+/-)
ค่าแสงหักเหสองแนวδ = 0.055
สีผงละเอียดขาวถึงเขียวอ่อน
ความถ่วงจำเพาะ4.32–4.48
คุณสมบัติอื่นMay fluoresce and phosphoresce lemon-yellow under SW and LW UV
อ้างอิง: [1][2][3]

แอดาไมต์ เป็นแร่สังกะสี อาร์เซเนต ไฮดรอกไซด์ ที่มีสูตร Zn2AsO4OH เป็นแร่ธาตุที่มักเกิดขึ้นในเขตออกซิไดซ์หรือ โซน ผุกร่อนเหนือการเกิดแร่สังกะสี แอดาไมต์บริสุทธิ์ไม่มีสี แต่โดยปกติแล้วจะมีสีเหลือง เนื่องจากส่วนผสมของสารประกอบ Fe ส่วนสีเขียวนั้นเกิดขึ้นจากการแทรกของทองแดงในโครงสร้างแร่ โอลิเวไนต์เป็นทองแดงอาร์เซเนตที่มีโครงสร้างแบบไอโซโทปกับแอดาไมต์ และมีการแทนที่ระหว่างสังกะสีและทองแดงเป็นจำนวนมาก ทำให้เกิดสารตัวกลางที่เรียกว่า คิวโรแอดาไมต์ ซิงโคลิเวไนต์เป็นแร่ธาตุที่เพิ่งค้นพบเมื่อไม่นานมานี้ ซึ่งเป็นแร่ธาตุระดับกลางที่มีสูตร CuZn(AsO4)(OH) แมงกานีส โคบอลต์และนิเกิล ก็สามารถเข้ามาแทนที่ในโครงสร้างเช่นกัน ซิงก์ฟอสเฟตที่คล้ายคลึงกันเรียกว่า ทาร์บุตไทต์

การเกิดขึ้น

[แก้]

แอดาไมต์เกิดขึ้นเป็นแร่ธาตุทุติยภูมิในเขตออกซิไดซ์ของแหล่งแร่ไฮโดรเทอร์มอล ที่มีสังกะสีและสารหนู เกิดขึ้นร่วมกับสมิธโซไนต์ เฮมิมอร์ไฟต์ สโคโรไดต์ โอลิเวไนต์ แคลไซต์ ควอตซ์ เหล็ก และแมงกานีสออกไซด์[1]

คริสตัลสีเหลืองไปจนถึงสีเขียวมะนาวสว่างพร้อมกับสารเรืองแสงที่โดดเด่น จึงทำให้แอดาไมต์เป็นที่ชื่นชอบในหมู่นักสะสมแร่ สามารถพบได้ในประเทศกรีซ, รัฐดูรังโกในประเทศเม็กซิโก และรัฐแคลิฟอร์เนียและรัฐยูทาห์ในสหรัฐ

แอดาไมต์ได้รับการตั้งชื่อตามฌีลแบร์ โฌแซ็ฟ อาด็อง นักวิทยาแร่ชาวฝรั่งเศส (1795–1881) ซึ่งเป็นผู้พบแร่นี้ครั้งแรกในปี 1866 ในชัญญาร์ซิโย จังหวัดโกเปียโป แคว้นอาตากามา ประเทศชิลี[2]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]