แม่น้ำเฮลมันด์
แม่น้ำเฮลมันด์ | |
---|---|
แม่น้ำเฮลมันด์กับคลอง Boghraที่อยู่ถัดจากนั้น | |
แผนที่ลุ่มน้ำเฮลมันด์ | |
ที่ตั้ง | |
ประเทศ | อัฟกานิสถานและอิหร่าน |
ลักษณะทางกายภาพ | |
ต้นน้ำ | |
• ตำแหน่ง | เทือกเขาฮินดูกูช |
ปากน้ำ | |
• ตำแหน่ง | ทะเลสาบฮอมูน |
ความยาว | 1,150 กิโลเมตร (710 ไมล์) |
พื้นที่ลุ่มน้ำ | ลุ่มน้ำซีสทอน |
ลุ่มน้ำ | |
ลำน้ำสาขา | |
• ซ้าย | แม่น้ำแอร์แฆนดอบ |
• ขวา | แม่น้ำฆอช แม่น้ำ Chagay |
แม่น้ำเฮลมันด์ (อังกฤษ: Helmand River; ปาทาน/เปอร์เซีย: هیرمند / هلمند; กรีกโบราณ: Ἐτύμανδρος; ละติน: Erymandrus) เป็นแม่น้ำที่อยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศอัฟกานิสถาน และเป็นแม่น้ำที่ยาวที่สุดในอัฟกานิสถานและเป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำสายหลักด้วย [1]
ศัพทมูลวิทยา
[แก้]แม่น้ำนี้มีชื่อเดิมในภาษาอเวสตะว่า Haētumant (หมายถึงเขื่อนที่เต็ม)[2]
ภูมิศาสตร์
[แก้]แม่น้ำเฮลมันด์มีความยาวทั้งหมด 1,150 กิโลเมตร (710 ไมล์) มีต้นกำเนิดจากเทือกเขาฮินดูกูชทางตะวันตกของคาบูลประมาณ 40 กิโลเมตร (34°34′N 68°33′E / 34.567°N 68.550°E)[3] ,ไหลผ่านทางเหนือของทางผ่านอูนัย ซึ่งอยู่ทางตะวันออกของ Hazarajat ที่ Behsud Maidan Wardak จากนั้นจึงไหลไปทางตะวันตกที่DaykundiกับUruzgan แล้วเข้าสู่ทะเลทรายมาร์โก แล้วลงสู่ทะเลสาบน้ำเค็มซิสตานที่อยู่ระหว่างชายแดนของอัฟกานิสถานกับอิหร่าน (31°9′N 61°33′E / 31.150°N 61.550°E) และยังมีแม่น้ำขนาดเล็กอย่าง Tarnak และ Arghandab ที่ไหลไปยังแม่น้ำเฮลมันด์ด้วย[4]
แม่น้ำสายนี้ยังคงเป็นน้ำจืดตลอดความยาวส่วนใหญ่ ซึ่งต่างจากแม่น้ำที่ไม่มีทางออกทะเลอื่นๆ แม่น้ำนี้ส่วนใหญ่ใช้เพื่อการชลประทาน แม้จะมีเกลือแร่เจือปนอยู่มาก น้ำนี้มีความจำเป็นสำหรับเกษกรในอัฟกานิสถาน และอิหร่านในบริเวณใกล้เคียงกับทะเลสาบซิสตาน เขื่อนที่สร้างบนแม่น้ำสายนี้ได้แก่เขื่อนกายาไกในอัฟกานิสถาน สาขาหลักของแม่น้ำสายนี้คือ แม่น้ำอาร์ฆันดับ 31°27′N 64°23′E / 31.450°N 64.383°E)ซึ่งมีเขื่อนบนแม่น้ำสายนี้ที่กันดะฮาร์ ขอบเขตของแม่น้ำเฮลมันด์เป็นที่รู้จักในชื่ออาณาจักรแห่งซิสตาน
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "History of Environmental Change in the Sistan Basin 1976 - 2005" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2007-08-07. สืบค้นเมื่อ 2007-07-20.
- ↑ Jack Finegan. Myth & Mystery: An Introduction to the Pagan Religions of the Biblical World. Baker Books, 1997. ISBN 0-8010-2160-X, 9780801021602
- ↑ "HELMAND RIVER i. GEOGRAPHY – Encyclopaedia Iranica". www.iranicaonline.org. สืบค้นเมื่อ 2020-06-14.
- ↑ "Helmand River | river, Central Asia". Encyclopedia Britannica (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-06-15.
ข้อมูล
[แก้]- Various authors. "HELMAND RIVER". Encyclopædia Iranica (Online ed.). United States: Columbia University.
- Frye, Richard N. (1963). The Heritage of Persia. World Publishing company, Cleveland, Ohio. Mentor Book edition, 1966.
- Toynbee, Arnold J. (1961). Between Oxus and Jumna. London. Oxford University Press.
- Vogelsang, W. (1985). "Early historical Arachosia in South-east Afghanistan; Meeting-place between East and West." Iranica antiqua, 20 (1985), pp. 55–99.