ข้ามไปเนื้อหา

แนวคิดปฏิเสธเอดส์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาพถ่ายจากกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแสดงให้เห็นเชื้อเอชไอวี แนวคิดปฏิเสธเอดส์ไม่ยอมรับการมีอยู่ของเชื้อนี้และ/หรือบทบาทของเชื้อนี้กับการเกิดโรคเอดส์

แนวคิดปฏิเสธเอดส์ (AIDS denialism) เป็นมุมมองของกลุ่มคนและองค์กรบางกลุ่มที่ปฏิเสธว่าเชื้อเอชไอวีเป็นสาเหตุของกลุ่มอาการภูมิคุ้มกันเสื่อมหรือเอดส์[1] ผู้มีแนวคิดปฏิเสธบางคนปฏิเสธการมีอยู่ของเชื้อเอชไอวี ในขณะที่บางคนยอมรับว่าเชื้อนี้มีจริง แต่เป็นเชื้อไวรัสอาศัยธรรมดาที่ไม่มีอันตราย และไม่ได้ทำให้เกิดเอดส์ แม้ผู้มีแนวคิดปฏิเสธจะยอมรับว่าเอดส์เป็นโรคที่มีอยู่จริง แต่ก็จะเชื่อว่าเป็นโรคที่เกิดจากการใช้ยาเสพติด ภาวะทุพโภชนาการ ปัญหาสุขอนามัย และผลข้างเคียงจากยาต้านไวรัส แทนที่จะเกิดจากการติดเชื้อเอชไอวี

ในทางวิทยาศาสตร์นั้นถือว่าหลักฐานสนับสนุนว่าเอชไอวีเป็นสาเหตุของโรคเอดส์นั้นได้ข้อสรุปแล้ว[2][3] ชุมชนวิทยาศาสตร์ได้ปฏิเสธและเพิกเฉยต่อข้ออ้างของเหล่าผู้มีแนวคิดปฏิเสธเอดส์จากการใช้เหตุผลที่ไม่ถูกต้อง การเลือกยกข้อมูลบางส่วนขึ้นอ้าง และการแปลผลให้เข้าใจผิดจากข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ที่ล้าสมัย[4] จากการที่มีการปฏิเสธที่จะถกเถียงข้ออ้างเหล่านี้จากชุมชนวิทยาศาสตร์ ข้อมูลของผู้มีแนวคิดปฏิเสธเอดส์จึงแพร่กระจายทางอินเทอร์เน็ตเป็นหลัก[5][6]

แม้จะไม่ได้รับการยอมรับจากวิทยาศาสตร์ แนวคิดปฏิเสธเอดส์กลับมีผลกระทบทางการเมืองไม่น้อย โดยเฉพาะในประเทศแอฟริกาใต้ ภายใต้การนำของประธานาธิบดี Thabo Mbeki นักวิทยาศาสตร์และแพทย์ได้พยายามเตือนถึงผลเสียต่อมนุษย์ที่เกิดจากแนวคิดปฏิเสธเอดส์ที่ทำให้ผู้ติดเชื้อเอชไอวีไม่มารับการรักษาจากวิธีการรักษาที่พิสูจน์แล้วว่าได้ผล[3][5][7][8][9][10] นักวิจัยทางสาธารณสุขในแอฟริกาใต้และมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดต่างศึกษาผลกระทบจากแนวคิดปฏิเสธเอดส์โดยเป็นอิสระจากกัน ประมาณการว่าผลจากการยอมรับแนวคิดปฏิเสธเอดส์ของรัฐบาลแอฟริกาใต้ทำให้มีผู้เสียชีวิตจากเอดส์เพิ่ม 330,000 ถึง 340,000 คน ติดเชื้อเอชไอวี 171,000 คน และมีทารกแรกเกิดติดเชื้อเอชไอวี 35,000 คน[11][12]

ประวัติศาสตร์

[แก้]

ปี ค.ศ. 1983 นักวิทยาศาสตร์และแพทย์กลุ่มหนึ่งในสถาบันปาสเตอร์ ฝรั่งเศส นำโดย Luc Montagnier ค้นพบไวรัสชนิดใหม่ชนิดหนึ่งในผู้ป่วยที่มีอาการและอาการแสดงที่มักพบนำมาก่อนเอดส์[13] และตั้งชื่อไวรัสนี้ว่า "lymphadenopathy-associated virus" (ไวรัสที่สัมพันธ์กับการมีพยาธิสภาพของต่อมน้ำเหลือง) หรือ LAV และได้ส่งตัวอย่างไวรัสนี้ไปให้ทีมวิจัยของ Robert Gallo ในสหรัฐอเมริกา การค้นพบนี้ได้รับการตรวจสอบโดยผู้เสมอกันและได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร Science

ชุมชนผู้มีแนวคิดปฏิเสธเอดส์

[แก้]

อดีตผู้คัดค้าน

[แก้]

การเสียชีวิตของผู้มีแนวคิดปฏิเสธที่ติดเชื้อเอชไอวี

[แก้]

ในปี พ.ศ. 2550 เว็บไซต์ aidstruth.org นำโดยนักวิจัยเรื่องเอชไอวีเพื่อต่อต้านคำอ้างของกลุ่มผู้มีแนวคิดปฏิเสธ[14] ได้แสดงรายชื่อส่วนหนึ่งของผู้มีแนวคิดปฏิเสธเอดส์ที่เสียชีวิตจากสาเหตุที่เกี่ยวข้องกับโรคเอดส์ ตัวอย่างเช่น นิตยสาร Continuum ซึ่งเคยปฏิเสธการมีอยู่ของเอชไอวีและเอดส์มาตลอดต้องปิดตัวลงหลังจากบรรณาธิการของนิตยสารต่างเสียชีวิตจากสาเหตุที่เกี่ยวข้องกับเอดส์ทั้งหมด ในทุกรายที่เสียชีวิตนั้น ชุมชนผู้มีแนวคิดปฏิเสธเอดส์ต่างลงความเห็นว่าเป็นการเสียชีวิตที่ไม่ทราบสาเหตุ หรือจากการใช้ยาบางอย่างโดยลับ หรือความเครียด แทนที่จะเป็นจากเอชไอวีหรือเอดส์[15][16] เช่นเดียวกันมีอดีตผู้คัดค้านที่มีเชื้อเอชไอวีหลายคนถูกขับออกจากชุมชนผู้มีแนวคิดปฏิเสธเอดส์หลังจากที่มีอาการของเอดส์และเข้ารับการรักษาด้วยยาต้านไวรัส[17]

ในปีพ.ศ. 2551 Christine Maggiore นักเคลื่อนไหวคนหนึ่งเสียชีวิตลงด้วยวัย 52 ปี ขณะที่รับการรักษาจากแพทย์ด้วยโรคปอดบวม โดย Maggiore มีบุตรสองคน เธอเป็นผู้ก่อตั้งองค์กรเพื่อช่วยเหลือให้แม่ที่มีเชื้อเอชไอวีหลีกเลี่ยงการรับยาต้านไวรัสที่ลดความเสี่ยงของการถ่ายทอดเชื้อจากแม่สู่ลูก[18] หลักจากบุตรสาวอายุ 3 ปีได้เสียชีวิตลงจากโรคปอดบวมที่เกิดจากเอดส์ในปี พ.ศ. 2548 แล้ว Maggiore ก็ยังเชื่ออยู่ว่าเอชไอวีไม่ใช่สาเหตุของเอดส์ และเธอกับสามีคือ Robin Scovil ฟ้อง Los Angeles County ร่วมกับคนอื่นในนามของบุตรสาวเรื่องการละเมิดสิทธิของบุตรสาวของเธอด้วยการเปิดเผยผลการชันสูตรศพที่ระบุว่าบุตรสาวเสียชีวิตจากโรคที่เกี่ยวข้องกับเอดส์[19] ผลการฟ้องศาลทำให้เขตปกครองต้องจ่าย Scovill เป็นเงิน 15,000 เหรียญในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2552 โดยไม่ยอมรับผิด คำตัดสินของเจ้าหน้าที่ชันสูตรศพของลอสแอลเจลิสว่า Eliza Jane Scovill เสียชีวิตจากโรคเอดส์ยังคงได้รับการยอมรับจากคณะลูกขุนอยู่

ข้ออ้างของผู้มีแนวคิดปฏิเสธเอดส์

[แก้]

แม้สมาชิกชุมชนผู้มีแนวคิดปฏิเสธเอดส์จะรวมตัวกันด้วยความเข้าใจร่วมกันคือการไม่เห็นด้วยว่าเอชไอวีเป็นสาเหตุของโรคเอดส์ รายละเอียดของแนวคิดก็มีความแตกต่างกันอยู่มาก ผู้มีแนวปฏิเสธปฏิเสธจะอ้างข้อมูลหลายอย่าง เช่น เอชไอวีไม่มีจริง เอชไอวีไม่เคยได้รับการเพาะเชื้ออย่างเหมาะสม[20] เอชไอวีไม่เป็นไปตามสมมติฐานของโคช[21] การตรวจเอชไอวีไม่มีความแม่นยำ[22] และแอนติบอดีต่อเอชไอวีสามารถป้องกันไวรัสไม่ให้เป็นอันตรายต่อร่างกายได้[23] สาเหตุอื่นของโรคเอดส์ที่มีการเสนอไว้มีหลายอย่างเช่น การใช้ยาเสพติด ภาวะทุพโภชนาการ รวมถึงตัวยาต้านไวรัสที่ใช้รักษาโรคเองด้วย[24]

ข้ออ้างเช่นนี้ได้รับการตรวจสอบอย่างละเอียดแล้วในบทความทางวิทยาศาสตร์และการแพทย์ชนิดที่มีการตรวจสอบโดยผู้เสมอกัน เกิดเป็นข้อสรุปทางวิทยาศาสตร์ที่ล้มล้างข้ออ้างของแนวคิดนี้อย่างชัดเจน และเชื้อเอชไอวีเป็นสาเหตุของเอดส์จริงๆ[3][25][26] สำหรับกรณีที่ดูสเบิร์กอ้างอิงว่ายังไม่สามารถ "แยก" เชื้อเอชไอวีออกมาได้นั้น การทำปฏิกิริยาลูกโซ่พอลิเมอเรส (PCR) หรือเทคนิกอื่นๆ สามารถแสดงให้เห็นการมีอยู่ของเชื้อไวรัสได้[27] และคำอ้างของแนวคิดปฏิเสธที่ว่าการตรวจเอชไอวีไม่มีความแม่นยำนั้นมาจากความเข้าใจที่ผิดหรือไม่เป็นปัจจุบันเกี่ยวกับวิธีการตรวจแอนติบอดีต่อเอชไอวีและการแปลผล[28][29] ส่วนเรื่องของ Koch's postulate นั้น วารสาร New Scientist กล่าวว่า "ควรมีการถกเถียงตั้งแต่ความเหมาะสมของการมุ่งเอาหลักการที่คิดขึ้นสำหรับพิจารณาการติดเชื้อแบคทีเรียตั้งแต่ศตวรรษที่ยังไม่มีการค้นพบไวรัสมาใช้ในการนี้ อย่างไรก็ดี เชื้อ HIV นั้นเป็นไปตาม Koch's postulate ทุกประการ ตราบเท่าที่ไม่มีการนำหลักการนั้นไปใช้อย่างบิดเบือนจนไม่เหลือความเป็นเหตุเป็นผล" บทความเดียวกันนี้ได้อธิบายไว้ชัดเจนว่าเชื้อ HIV ตรงตาม postulate แต่ละข้ออย่างไร[30]

ในช่วงแรกนั้นผู้มีแนวคิดปฏิเสธยกคำอ้างขึ้นว่าแนวคิดเรื่อง HIV/AIDS มีจุดอ่อนตรงที่ไม่สามารถสร้างวิธีการรักษาที่ได้ผลดีตามแนวคิดนี้ได้ อย่างไรก็ดี หลังจากมีการนำการรักษาด้วยยาต้านรีโทรไวรัสแบบได้ผลสูง (HAART) มาใช้ในช่วงกลางทศวรรษ 1990 แล้วผลปรากฏว่าจำนวนผู้รอดชีวิตจากการป่วยติดเชื้อ HIV/AIDS เพิ่มขึ้นอย่างชัดเจนก็ทำให้คำอ้างนี้ตกไป เพราะวิธีการรักษานี้พัฒนามาจากแนวคิดว่าด้วย HIV/AIDS โดยตรง[31] การพัฒนาการรักษา AIDS ด้วยยาต้าน HIV ที่ได้ผลดีนี้เป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งที่ทำให้นักวิทยาศาสตร์ที่เคยมีแนวคิดปฏิเสธหลายคนยอมรับว่า HIV เป็นสาเหตุของ AIDS[16]

ในบทความปี ค.ศ. 2010 ว่าด้วยทฤษฎีสมคบคิดทางวิทยาศาสตร์ Ted Goertzel ได้ลงรายชื่อของผู้มีแนวคิดปฏิเสธเอดส์เอาไว้เป็นตัวอย่างของการที่ผลการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ถูกปฏิเสธด้วยแนวคิดที่ไม่มีเหตุผล เขากล่าวว่าผู้ค้านทั้งหลายอาศัยแต่เพียงข้ออ้างที่เรียกร้องความเท่าเทียม และสิทธิในการเสนอความคิดเห็น มากกว่าที่จะเสนอหลักฐานโต้แย้ง ผู้คัดค้านเหล่านี้มักยกเอาเรื่องราวของนักวิทยาศาสตร์อิสระผู้กล้าหาญต่อต้านกระแสความคิดหลักดั้งเดิม โดยยกชื่อนักดาราศาสตร์และนักฟิสิกส์ชื่อดังในอดีตอย่างกาลิเลโอขึ้นมาเปรียบเทียบ[32] Goertzel กล่าวถึงการยกเปรียบเทียบนี้เอาไว้ว่า

...การมีแนวคิดต่อต่อต้านความคิดดั้งเดิมนั้นไม่ใช่เรื่องยาก ส่วนที่ยากคือการหาทฤษฎีที่ดีกว่ามาเสนอแทนแนวคิดเก่า การตีพิมพ์ทฤษฎีใหม่ที่คัดค้านทฤษฎีเดิมนั้นจะมีความสำคัญก็ต่อเมื่อมีหลักฐานที่น่าเชื่อถือมารองรับ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าต้องให้คนอ่านใช้เวลาเท่ากันมาวิจารณ์ทฤษฎีที่คัดค้านทฤษฎีเก่าๆ ทุกทฤษฎี[33][32]

ผลกระทบนอกชุมชนวิทยาศาสตร์

[แก้]

คำอ้างของกลุ่มผู้มีแนวคิดปฏิเสธเอดส์ไม่ได้รับการสนับสนุนจากชุมชมวิทยาศาสตร์เนื่องจากหลักฐานว่าด้วยการเป็นเชื้อก่อโรคของ HIV ต่อ AIDS นั้นถือว่าชัดเจนเป็นที่สรุปแล้ว แต่การเคลื่อนไหวของกลุ่มฯ ก็ยังมีผลกระทบในวงการการเมือง ทำให้อดีตประธานาธิบดีประเทศแอฟริกาใต้อย่าง Thabo Mbeki ถึงกับยอมรับคำกล่าวอ้างของกลุ่มฯ ผลที่ตามมาทำให้รัฐบาลปฏิเสธที่จะสนับสนุนการให้การรักษาด้วยการใช้ยาต้าน HIV จนมีผู้เสียชีวิตจากเอดส์ก่อนเวลาอันควรในประเทศแอฟริกาใต้มากถึงหลายแสนคน[34]

ผลกระทบในอเมริกาเหนือและยุโรป

[แก้]

ความสงสัยเรื่อง HIV เป็นสาเหตุของ AIDS จริงหรือไม่เริ่มมีขึ้นแทบจะทันทีที่มีการประกาศการค้นพบ HIV ผู้ตั้งข้อสงสัยคนแรกๆ ที่มีบทบาทสำคัญคือนักข่าว John Lauritsen ซึ่งโต้แย้งเอาไว้ในบทความที่เขียนลง New York Native ว่า AIDS นั้น จริง ๆ แล้ว เกิดจากเครื่องดื่มบำรุงกำลังที่มีส่วนผสมของ amyl nitrite และรัฐบาลกำลังวางแผนสมคบคิดเพื่อปิดบังเรื่องนี้[35]

ในบทความวิชาการ

[แก้]

ในข่าวทั่วไปและอินเทอร์เน็ต

[แก้]

ผลกระทบในอเมริกาใต้

[แก้]

คำประกาศดูร์บาน

[แก้]

คำวิจารณ์ต่อการตอบสนองของรัฐบาล

[แก้]

"ยุคของแนวคิดปฏิเสธหมดไปแล้ว"

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Kalichman, 2009, p.205.
  2. Institute of Medicine (US) Committee for the Oversight of AIDS Activities (1988). Confronting AIDS: Update 1988. Institute of Medicine of the U.S. National Academy of Sciences. doi:10.17226/771. ISBN 978-0-309-03879-9. PMID 25032454. …the evidence that HIV causes AIDS is scientifically conclusive.
  3. 3.0 3.1 3.2 "The Evidence that HIV Causes AIDS". National Institute of Allergy and Infectious Disease. 4 September 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 September 2017. สืบค้นเมื่อ 14 October 2009.
  4. "Denying science". Nat. Med. 12 (4): 369. 2006. doi:10.1038/nm0406-369. PMID 16598265. To support their ideas, some AIDS denialists have also misappropriated a scientific review in Nature Medicine which opens with this reasonable statement: "Despite considerable advances in HIV science in the past 20 years, the reason why HIV-1 infection is pathogenic is still debated."
  5. 5.0 5.1 Smith, TC; Novella, SP (August 2007). "HIV denial in the internet era". PLOS Medicine. 4 (8): e256. doi:10.1371/journal.pmed.0040256. PMC 1949841. PMID 17713982.
  6. Steinberg, J (2009-06-17). "AIDS denial: A lethal delusion". New Scientist. 2713. สืบค้นเมื่อ 2009-10-14.
  7. Cohen, J (December 1994). "The Duesberg phenomenon" (PDF). Science. 266 (5191): 1642–4. Bibcode:1994Sci...266.1642C. doi:10.1126/science.7992043. PMID 7992043. สืบค้นเมื่อ 22 June 2009.
  8. Watson, J (2006). "Scientists, activists sue South Africa's AIDS 'denialists'". Nat. Med. 12 (1): 6. doi:10.1038/nm0106-6a. PMID 16397537. S2CID 3502309.
  9. Boseley, S (14 May 2005). "Discredited doctor's 'cure' for Aids ignites life-and-death struggle in South Africa". The Guardian. London. สืบค้นเมื่อ 14 October 2009.
  10. "The Durban Declaration". Nature. 406 (6791): 15–6. 2000. doi:10.1038/35017662. PMID 10894520. S2CID 205007392.
  11. Chigwedere, P; Seage, GR; และคณะ (October 2008). "Estimating the lost benefits of antiretroviral drug use in South Africa". Journal of Acquired Immune Deficiency Syndromes. 49 (4): 410–15. doi:10.1097/QAI.0b013e31818a6cd5. PMID 19186354. S2CID 11458278.
  12. Nattrass, N (February 2008). "AIDS and the scientific governance of medicine in post-Apartheid South Africa". African Affairs. 107 (427): 157–76. doi:10.1093/afraf/adm087.
  13. Barré-Sinoussi F, Chermann J, Rey F, Nugeyre M, Chamaret S, Gruest J, Dauguet C, Axler-Blin C, Vézinet-Brun F, Rouzioux C, Rozenbaum W, Montagnier L (1983). "Isolation of a T-lymphotropic retrovirus from a patient at risk for acquired immune deficiency syndrome (AIDS)". Science. 220 (4599): 868–71. doi:10.1126/science.6189183. PMID 6189183.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  14. Cohen, J (2007). "HIV/AIDS. AIDSTruth.org Web site takes aim at 'denialists'". Science. 316 (5831): 1554. doi:10.1126/science.316.5831.1554. PMID 17569834. S2CID 30223809.
  15. "AIDS Denialists Who Have Died". aidstruth.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 January 2010. สืบค้นเมื่อ 15 June 2009.
  16. 16.0 16.1 Schüklenk, U (2004). "Professional responsibilities of biomedical scientists in public discourse". J Med Ethics. 30 (1): 53–60, discussion 61–2. doi:10.1136/jme.2003.002980. PMC 1757140. PMID 14872076.
  17. Mirken, B (2 February 2000). "Bad science: They once thought HIV was harmless. Now, they say, AIDS has forced them to reconsider". San Francisco Bay Guardian. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 April 2008. สืบค้นเมื่อ 9 May 2008.
  18. Ornstein, C; Costello, D (24 September 2005). "A mother's denial, a daughter's death". Los Angeles Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 December 2008. สืบค้นเมื่อ 29 December 2008.
  19. Gorman, A; Zavis, A (30 December 2008). "Christine Maggiore, vocal skeptic of AIDS research, dies at 52". Los Angeles Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 31 December 2008. สืบค้นเมื่อ 30 December 2008.
  20. Turner V. (1999) E-Mail Correspondence Between Val Turner and Robin Weiss
  21. Duesberg P (1989). "Human immunodeficiency virus and acquired immunodeficiency syndrome: correlation but not causation". Proc Natl Acad Sci USA. 86 (3): 755–64. doi:10.1073/pnas.86.3.755. PMC 286556. PMID 2644642.
  22. Papadopulos-Eleopulos E, Turner V, Papadimitriou J (1993). "Is a positive western blot proof of HIV infection?". Biotechnology (N Y). 11 (6): 696–707. doi:10.1038/nbt0693-696. PMID 7763673.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  23. HealToronto.com, dissident website, claiming to provide 10 reasons why HIV cannot cause AIDS เก็บถาวร 2006-08-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Retrieved 28 September 2006.
  24. Duesberg P, Koehnlein C, Rasnick D (2003). "The chemical bases of the various AIDS epidemics: recreational drugs, anti-viral chemotherapy and malnutrition". J Biosci. 28 (4): 383–412. doi:10.1007/BF02705115. PMID 12799487.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  25. Fact Sheets on HIV/AIDS, from the Centers for Disease Control. Accessed 26 Feb 2007.
  26. World Health Organization HIV and AIDS Programme, จากเว็บไซต์ World Health Organization เรียกข้อมูลเมื่อ 26 ก.พ. 2550
  27. O'Brien SJ, Goedert JJ. (1996). "HIV causes AIDS: Koch's postulates fulfilled". Curr Opin Immunol. 8 (5): 613–618. doi:10.1016/S0952-7915(96)80075-6. PMID 8902385.
  28. "HIV Science and Responsible Journalism" (PDF). XVI International AIDS Conference. 2006-08-13. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-10-02. สืบค้นเมื่อ 2008-12-17.
  29. Moore, John (2008-05-16). "How Immunoassays Work: The Curious Case of AIDS Denialist Roberto Giraldo and his Ignorance of the Basics". Aidstruth.org. สืบค้นเมื่อ 2008-12-17.
  30. Steinberg, J (23 June 2009). "Five myths about HIV and AIDS". New Scientist. สืบค้นเมื่อ 4 February 2011.
  31. Major studies confirming the benefits and effectiveness of modern anti-HIV therapy include, but are not limited to:
  32. 32.0 32.1 PMID 20539311 (PMID 20539311)
    Citation will be completed automatically in a few minutes. Jump the queue or expand by hand
  33. ...being a dissenter from orthodoxy is not difficult; the hard part is actually having a better theory. Publishing dissenting theories is important when they are backed by plausible evidence, but this does not mean giving critics ‘equal time’ to dissent from every finding by a mainstream scientist.| Goertzel, 2010
  34. Dugger, Celia (25 November 2008). "Study Cites Toll of AIDS Policy in South Africa". New York Times. สืบค้นเมื่อ 17 December 2008.
  35. Biography of John Lauritsen เก็บถาวร 2008-12-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน at Virusmyth.com, a dissident website. Retrieved 7 Sep 2006.