แซกโซโฟน
เครื่องเป่าลมไม้ | |
---|---|
ประเภท | |
ผู้ประดิษฐ์ | อาดอลฟ์ ซักซ์ |
คิดค้นเมื่อ | 28 June 1846[1] |
ช่วงเสียง | |
เครื่องดนตรีที่เกี่ยวข้อง | |
โยธวาทิต family:
ออร์เคสตรา family: อื่น:
|
แซกโซโฟน (อังกฤษ: saxophone) เป็นเครื่องดนตรีในตระกูลเครื่องลมไม้ ใช้ลิ้นเดี่ยวเหมือนของคลาริเนต แม้ว่าตัวเครื่องมักจะทำด้วยโลหะแต่สุ้มเสียงก็กระเดียดมาทางเครื่องลมไม้ แซกโซโฟนจึงได้รับฉายาว่า "คลาริเนตทองเหลือง" (brass clarinet)[ต้องการอ้างอิง] โดยมากจะใช้ในวงโยธวาทิต วงดนตรีลูกทุ่ง จนถึงวงออเคสตรา และแตรวง
แบร์ลิออซได้กล่าวว่าเสียงของแซกโซโฟนคือการผสมผสานเข้าด้วยกันระหว่าง ซอเชลโล ปี่คอร์อังแกลส์และปี่คลาริเนท แซกโซโฟนจะเล่นกระซิบกระซาบ อ่อนหวานนุ่มนวล หรือจะแผดให้แสบโสตประสาทก็ทำได้ จึงเหมาะสำหรับใช้เป็นเครื่องดนตรีบรรเลงประกอบการแสดงอย่างมาก
ประวัติผู้ประดิษฐ์
[แก้]"อ็องตวน-โฌแซ็ฟ ซักซ์" เกิดที่ประเทศฝรังเศส เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน ค.ศ. 1814 บิดาชื่อ ชาร์ล-โฌแซ็ฟ ซักซ์ (Charles-Joseph Sax) เป็นนักดนตรีเป่าฟลุตและคลาริเนต นอกจากนี้แล้วบิดาของเขายังมีโรงงานประดิษฐ์เครื่องดนตรี โดยเฉพาะเครื่องลมไม้และเครื่องทองเหลืองอยู่ที่เมืองดินานท์อีกด้วย ประมาณปี ค.ศ. 1815 บิดาเขาได้ย้ายโรงงานไปอยู่ที่กรุงบรัสเซลส์ อาดอลฟ์ ซักซ์ได้เรียนรู้และได้รับการถ่ายทอดวิชาต่าง ๆ จากบิดา ในขณะเดียวกัน ซักซ์ยังได้ศึกษาดนตรีที่สถาบันดนตรีแห่งกรุงบรัสเซลส์ โดยเรียนเป่าฟลุตและคลาริเนต
ในปี ค.ศ. 1830 อาดอลฟ์ ซักซ์ได้ประดิษฐ์เครื่องดนตรีของเขาเป็นครั้งแรก โดยมีฟลุตและคลาริเนตซึ่งทำด้วยงาช้าง แสดงในงานนิทรรศการเครื่องดนตรีที่กรุงบรัสเซลส์ ในปี ค.ศ. 1838 เขาได้ลิขสิทธิ์ในการประดิษฐ์เบสคลาริเนต ระหว่างปี ค.ศ. 1840-1841 เขาได้ประดิษฐ์แซกโซโฟนและนำออกแสดงในงานนิทรรศการเครื่องดนตรีที่กรุงบรัสเซลส์ใน ค.ศ. 1841 แต่คณะกรรมการไม่ได้มอบรางวัลให้แก่เขาโดยอ้างว่าอายุน้อย ในที่สุดเขาได้ย้ายไปตั้งร้านประดิษฐ์และซ่อมเครื่องดนตรีที่กรุงปารีสในปี ค.ศ. 1842 ร้านของเขาได้รับความนิยมมากที่สุดในยุโรป โดยเฉพาะเครื่องลมไม้และเครื่องทองเหลืองในสมัยนั้น
เขาเสียชีวิตในวันที่ 4 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1894 ที่กรุงปารีสเมื่ออายุ 79 ปี
ในระยะต้นของต้นคริสต์ศตรรษที่ 20 บริษัทเฮนรี่ เซลเมอร์แห่งปารีสได้ซื้อร้านของอาดอลฟ์ ซักซ์ ต่อของเขามาดำเนินการแทน และได้ผลิตแซกโซโฟนยี่ห้อเซลเมอร์ ครั้งแรกในปี ค.ศ. 1920
ชนิดของแซกโซโฟน
[แก้]ตระกูลแซกโซโฟนเป็นตระกูลใหญ่เช่นเดียวกับคลาริเนท แซกโซโฟนมีขนาดต่าง ๆ ถึง 7 ขนาดด้วยกัน แต่นิยมใช้ในปัจจุบันมี 4 ชนิดด้วยกัน หลากหลายชนิดของแซกโซโฟน ได้กล่าวเกี่ยวกับชนิดของแซกโซโฟนไว้ว่าแซกโซโฟนในปัจจุบันประกอบด้วยแซกโซโฟนโซปราโน,แซกโซโฟนอัลโต้,แซกโซโฟนเทเนอร์และบาริโทนแซกโซโฟน ในบรรดา 4 ชนิดที่กล่าวมานี้ แซกโซโฟนโซปราโนเป็นแซกโซโฟนที่มีเสียงความถี่เสียงสูงที่สุด ตามด้วยแซกโซโฟนอัลโต้ แซกโซโฟนเทเนอร์และสุดท้ายที่ต่ำคือบาริโทนแซกโซโฟน
- โซปราโนแซกโซโฟน (Soprano Saxophone) เป็นแซกโซโฟนที่มีขนาดเล็ก น้ำหนักเบาและมีความถี่ยังไม่สูงที่สุด มีขนาดเล็กและน้ำหนักเบา จึงสามารถถือไว้ในมือได้ง่ายโดยไม่จำเป็นต้องใช้สายสะพายแซกโซโฟนก็ได้ โซปราโนแซกโซโฟนไม่เหมาะสมสำหรับผู้ที่ต้องการหัดเล่นแซกโซโฟนใหม่ ๆ เนื่องจากมีความยากในการคุมเสียงมากกว่าแซกโซโฟนอัลโต้และเทเนอร์ ถือเป็นเครื่องที่ใช้แทนใวโอลินในช่วงโพสิชั่นที่หนึ่ง (1st) ในวงประเภทเครื่องเป่า ระดับเสียง Bb เท่ากับเครื่องดนตรีคลาริเน็ตและทรัมเป็ต ในปัจจุบันแซกโซโฟนโซปราโนจะมีรูปทรงให้เลือก 2 แบบ คือแบบตรง และแบบโค้งก็จะมีลักษณะเหมือกับแซกโซโฟนอัลโต้แต่มีขนาดเล็กกว่า
- อัลโต้แซกโซโฟน (Alto Saxophone) เป็นแซกโซโฟนที่ค่อนข้างเหมาะสำหรับผู้เริ่มต้น เนื่องจากเป็นแซกโซโฟนที่เป่าง่ายกว่าโซปราแซกโซโฟนและมีน้ำหนักเบากว่าแซกโซโฟนเทเนอร์แซกโซโฟนอัลโต้สามารถเป่าได้ในดนตรีหลาย ๆ สไตล์ไม่ว่าจะเป็นสไตล์คลาสสิก, ป็อป, แจ็ส แต่นักดนตรีคลาสสิกจะนิยมใช้แซกอัลโต้ในการเล่นมากกว่าการใช้แซกโซโฟนชนิดอื่น ๆ รวมถึงการเล่นดนตรีแบบแตรวง, คอนเสิร์ตหรือมาร์ชชิ่งแบรนด์ก็เช่นกัน ถือเป็นเครื่องที่ใช้แทนไวโอลิน-วิโอล่าในวงประเภทเครื่องเป่า แซกโซโฟนอัลโต้จึงเป็นแซกโซโฟนที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในเอเชีย
- เทเนอร์แซกโซโฟน (Tenor Saxophone) เป็นแซกโซโฟนที่ถูกใช้มากในการเล่นดนตรีแนวแจ็ส แต่ก็สามารถเห็นแซกโซโฟนเทเนอร์ได้ในการเล่นดนตรีแบบอื่น ๆ เสียงของแซกเทเนอร์จะมีลักษณะแบบนุ่ม ๆ อ้วน ๆ ระดับเสียง Bb และต่ำกว่าแซกโซโฟนอัลโต้และแซกโซโฟนโซปราโน รองจากแซกโซโฟนอัลโต้ (โทนเสียงที่เล่นได้จะอยู่ในโทนอัลโต้-เทนเนอร์) ถือเป็นเครื่องที่ใช้แทนวิโอล่าในวงประเภทเครื่องเป่า แล้วแซกโซโฟนเทเนอร์ก็น่าจะเป็นตัวเลือกที่มือใหม่ควรจะใช้ในการเริ่มต้น
- บาริโทนแซกโซโฟน (Baritone Saxophone) เป็นแซกโซโฟนที่มีขนาดใหญ่และมีความถี่เสียงต่ำ แต่ยังสามารถที่จะบรรเลงเดื่ยวได้เพราะโทนเสียงอยู่ในช่วงโทนเทนเนอร์-เบส ถือเป็นเครื่องที่ใช้แทนเชลโล่ในวงประเภทเครื่องเป่า และมีราคาค่อนข้างแพง และมีน้ำหนัก ดังนั้นบาริโทนแซกโซโฟนจึงไม่เหมาะแก่นักแซกโซโฟนมือใหม่ทั้งหลาย ความยาวท่อของบาริโทนแซกโซโฟนจะอยู่ประมาณ 7 ฟุต
- เบสแซกโซโฟน (Bass Saxophone) ระดับเสียง Bb เป็นแซกโซโฟนที่มีขนาดค่อนข้างใหญ่ มีเสียงต่ำกว่าเทนเนอร์แซกฯ 1 ช่วงคู่แปดและต่ำกว่าบาริโทนแซกฯ เป็นคู่ 4 สมบูรณ์ เล่นโทนเบสเป็นหลัก ถือเป็นเครื่องที่ใช้แทนเสียงคอนทร่าเบสในวงประเภทเครื่องเป่า
- คอนทร่าเบส แซกโซโฟน (Contrabass Saxophone) (Eb) เป็นเครื่องที่มีขนาดเกือบที่จะใหญ่ที่สุด มีความยาวเป็นสองเท่าของบาริโทนแซกฯ มีความสูงของเครื่องมากกว่าคนเล็กน้อย มีช่วงเสียงต่ำกว่าบาริโทนแซกฯ 1 ช่วงคู่แปด เป็นเครื่องดนตรีที่พบเห็นได้ยาก แต่ยังคงมีการผลิตอยู่ไม่มาก เสียงจะเป็นลักษณะ Buzzy มากกว่าจะบอกได้ว่าเล่นโน้ตตัวอะไรเพราะความใหญ่ของตัวเครื่องต่อปากเป่า
- ซับคอนทร่าเบส แซกโซโฟน (Subcontrabass Saxophone) (Bb) เป็นแซกโซโฟนที่มีขนาดที่ใหญ่ที่สุดในปัจจุบัน
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "June 28, 1846: Parisian Inventor Patents Saxophone". Wired.com. สืบค้นเมื่อ 14 February 2011.
แหล่งข้อมูล
[แก้]- Grove, George (January 2001). Sadie, Stanley (บ.ก.). The New Grove Encyclopædia of Music and Musicians (2nd ed.). Grove's Dictionaries of Music. Volume 18, pp534–539. ISBN 978-1-56159-239-5.
- Horwood, Wally (1992) [1983]. Adolphe Sax, 1814–1894: His Life and Legacy ((Revised edition) ed.). Herts: Egon Publishers. ISBN 978-0-905858-18-0.
- Howe, Robert (2003). Invention and Development of the Saxophone 1840–55. Journal of the American Musical Instrument Society.
- Ingham, Richard (1998). The Cambridge Companion to the Saxophone. Cambridge Companions to Music. Cambridge: Cambridge Univ. Press. ISBN 978-0-521-59348-9.
- Kool, Jaap (1931). Das Saxophon (ภาษาเยอรมัน). Leipzig: J. J. Weber. (translated to English as Gwozdz, Lawrence (1987). The Saxophone. Egon Publishers Ltd.)
- Kotchnitsky, Léon (1985) [1949]. Sax and His Saxophone (Fourth ed.). North American Saxophone Alliance.
- Lindemeyer, Paul (1996). Celebrating the Saxophone. William Morrow & Co. ISBN 978-0-688-13518-8.
- Marzi, Mario (2009). Il Saxofono. The Expression of Music 4 (ภาษาอิตาลี). Varese, Italy: Zecchini Editore (Zecchini Publisher). p. 468. ISBN 978-88-87203-86-8.
- Noyes, John Russell (2000). Edward A. Lefebre (1835-1911): Preeminent Saxophonist of the Nineteenth Century (PhD Dissertation) (PDF). New York: Manhattan School of Music. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2023-04-01. สืบค้นเมื่อ 21 April 2019.
- Segell, Michael (2005). The Devil's Horn: The Story of the Saxophone, from Noisy Novelty to King of Cool. Farrar, Straus and Giroux. ISBN 978-0-374-15938-2.
- Thiollet, Jean-Pierre (2004). Sax, Mule & Co. Paris: H & D. ISBN 978-2-914266-03-1.
อ่านเพิ่ม
[แก้]- Chadwick, George. "Waner Boys Popularizing Saxophone". The San Bernardino Sun. June 16, 1927.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Instruments In Depth: The Saxophone An online feature with video demonstrations from Bloomingdale School of Music (June 2009)
- Saxophone Fingering Charts