แก๊งค้ายาอัศวินเทมพลาร์
ก่อตั้งขึ้นเมื่อ | พ.ศ. 2554 |
---|---|
สถานที่ตั้ง | รัฐมิโชอากัง ประเทศเม็กซิโก |
อาณาเขต | [1] |
เชื้อชาติ | เม็กซิโก |
กิจกรรมทางอาญา | การค้ายาเสพติดผิดกฎหมาย, การค้าอาวุธปืนผิดกฎหมาย, การลักพาตัว, การกรรโชก, การฉ้อโกง, การฆ่าคน, การทรมาน, การข่มขืนกระทำชำเรา, โจรกรรม, การโจมตี, การปลอม, การฟอกเงิน[2][3] |
ฝ่ายพันธมิตร | แก๊งค้ายาอ่าว แก๊งค้ายาเบลตรัน-เลย์บา แก๊งค้ายาซินาโลอา |
คู่ปรับ | แก๊งค้ายาฆาลิสโกรุ่นใหม่ แก๊งค้ายาฆัวเรซ เอเมเอเซ-13 โลสเซตัส, กลุ่มศาลเตี้ยพลเรือนอิสระและกองทหารอาสาสมัคร, เฆนเตนูเอบา, ลาฟามิเลียมิโชอากานา[4] |
แก๊งค้ายาอัศวินเทมพลาร์ (สเปน: Los Caballeros Templarios;[5][6] อังกฤษ: Knights Templar Cartel) เป็นองค์กรอาชญากรรมเม็กซิโกที่เดิมประกอบด้วยแก๊งค้ายาลาฟามิเลียมิโชอากานาที่หลงเหลืออยู่ ซึ่งอยู่ในรัฐมิโชอากังของรัฐเม็กซิโก[7][8]
หลังจากการเสียชีวิตที่ถูกกล่าวหาครั้งแรกของฟรันซิสโก มอนเตส และผู้ร่วมก่อตั้งอย่างนาซาริโอ โมเรโน ที่เป็นผู้นำของกลุ่มแก๊งค้ายาลาฟามิเลียมิโชอากานา เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2553[8] การแบ่งแยกระหว่างผู้นำองค์กรก็ได้อุบัติขึ้น ผู้ร่วมก่อตั้งแก๊งบางคนอย่างพี่น้องมอนเตส; เฟรด มอนเตส เซเอเม และฟรังก์ มอนเตส, เซร์บันโด โกเมซ มาร์ติเนซ และดิโอนิซิโอ โลยา ปลังการ์เต ได้ตั้งตัวเองเป็นผู้นำแก๊งใหม่โดยเรียกตัวเองว่า กาบาเยโรสเตมปลาริโอส ("อัศวินเทมพลาร์")[7][8][9][10] สมาชิกส่วนใหญ่ของลาฟามิเลียได้ออกไปเข้าร่วมกลุ่มอัศวินเทมพลาร์ ในขณะที่โฆเซ เด เฆซุส เมนเดซ บาร์กัส ก้าวขึ้นเป็นผู้นำของ "ลาฟามิเลียมิโชอากานา" ซึงมีขนาดเล็กลงมากในเวลานี้ โดยเริ่มมีการต่อสู้กันเองเพื่อชิงอำนาจในรัฐมิโชอากัง[11]
แก๊งค้ายาอัศวินเตมพลาร์ได้ปลูกฝังความเชื่อให้ผู้ปฏิบัติการไป "ต่อสู้และตาย" เพื่อแก๊ง พวกเขาได้มีอำนาจควบคุมปฏิบัติการต่าง ๆ ของลาฟามิเลียมิโชอากานาซึ่งสิ้นฤทธิ์แล้วในปัจจุบัน ทั้งในรัฐมิโชอากัง, รัฐเกร์เรโร, รัฐเมฮีโก และรัฐโมเรโลส
แก๊งค้ายาอัศวินเทมพลาร์ได้ร่วมมือกับแก๊งค้ายาซินาโลอาและแก๊งค้ายาอ่าวก่อตั้งแก๊งมือสังหารชั่วคราวที่เรียกว่า การ์เตเลสอูนิโดส (สเปน: Cárteles Unidos) หรือลาเรซิสเตนเซีย ประกอบด้วยมือปืนที่ได้รับการฝึกฝนมาเป็นอย่างดีเพื่อสังหารและขับไล่ผู้ปฏิบัติการของแก๊งค้ายาโลสเซตัสที่บุกเข้าไปในอาณาเขตของฟามิเลียมิโชอากานาเดิมในรัฐมิโชอากังและรัฐฮาลิสโก
ความแตกร้าวล่าสุดของแก๊งเทมพลาร์คือการต่อสู้กับแก๊งค้ายาฆาลิสโกรุ่นใหม่ ซึ่งพยายามที่จะชิงอำนาจควบคุมเต็มรูปแบบในรัฐฮาลิสโกและมิโชอากัง รวมถึงยังต่อสู้กับกลุ่มศาลเตี้ยพลเรือนและกองทหารอาสาสมัครที่กำลังต่อสู้กับอาชญากรในความพยายามที่จะขจัดแก๊งเทมพลาร์ในรัฐมิโชอากัง
ในวันที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558 เซร์บันโด "ลา ตูตา" โกเมซ ซึ่งเป็นผู้นำแก๊งอัศวินเทมพลาร์ได้ถูกตำรวจรัฐบาลกลางเม็กซิโกจับกุม พรรคพวกของเขาจำนวนหนึ่งก็ถูกจับเช่นกัน และทรัพย์สมบัติจำนวนมากถูกรัฐบาลเม็กซิโกยึดไป[12]
แบนเนอร์นาร์โกก่อนการมาเยือนของโยเซฟ รัทซิงเงอร์
[แก้]อดีตสมเด็จพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ที่ 16 ได้เสด็จเยือนรัฐกวานาคัวโตของประเทศเม็กซิโกเมื่อวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2555 ตามหมายกำหนดการ[13]
ในวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2555 ซึ่งเป็นช่วงก่อนวันดังกล่าว มีการกล่าวหาว่าแก๊งค้ายาอัศวินเทมพลาร์ได้ติดป้ายประกาศ 14 ชิ้นบนสะพานในเลออน, ซันมิกูเอลเดอัลเลนเด, อีราปัวโต, ซาลามันกา, ยูริเรีย, โมโรเลออน และอูริอันกาโต ซึ่งเป็นเขตเทศบาลของรัฐกวานาคัวโต โดยการปฏิญาณว่าจะไม่ปลุกปั่นให้เกิดความรุนแรงใด ๆ ในระหว่างการเยือนของสมเด็จพระสันตะปาปา[14] ข้อความบนแบนเนอร์อ่านได้ว่า:
“ | แก๊งค้ายาอัศวินเทมพลาร์จะไม่เข้าร่วมในการกระทำที่เหมือนสงครามใด ๆ พวกเราไม่ใช่นักฆ่า ยินดีต้อนรับการเสด็จเยือนของสมเด็จพระสันตะปาปา[15] | ” |
นอกจากนี้ ยังมีป้ายอื่น ๆ ที่คล้ายคลึงกันซึ่งลงนามโดยแก๊งค้ายาฆาลิสโกรุ่นใหม่ ที่เป็นคู่ปรับของพวกเขา[16]
หลักจรรยาบรรณ
[แก้]แก๊งค้ายาอัศวินเทมพลาร์ได้รับการก่อตั้งขึ้นในหลักจรรยาบรรณที่เคร่งครัด[17] ซึ่งพัฒนาโดยลาตูตา หลักนี้มีอยู่ในหนังสือเล่มเล็ก ๆ ที่แจกให้กับสมาชิกทุกคนในเครือข่ายและต่อสาธารณชน หนังสือเล่มนี้ประดับด้วยอัศวินบนหลังม้าพร้อมด้วยหอกและไม้กางเขน หนังสือหนา 22 หน้ามีชื่อว่า "หลักของอัศวินเทมพลาร์แห่งรัฐมิโชอากัง" และมีกฎกับข้อบังคับของแก๊ง[18] แก๊งดังกล่าวอิงกฎจากเหล่าอัศวินอัศวินเทมพลาร์ของยุโรป เหล่าสมาชิกสาบานว่าจะช่วยคนจนและคนที่ไร้อำนาจ, ต่อสู้กับวัตถุนิยม, เคารพผู้หญิงและเด็ก, ไม่ฆ่าเพื่อเงิน และไม่ใช้ยาเสพติด แม้เหล่าอัศวินจะเป็นผู้ทดสอบยาเสพติดทั้งหมด[19] ในขณะที่แก๊งค้ายาได้ดำเนินงานต่อกระทำผิดทางอาญาตามหลักจรรยาบรรณ การละเมิดหลักดังกล่าวยังคงได้รับโทษด้วยความตาย
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ Vega, Aurora (7 August 2011). "Surgen cuatro grupos del narco en 2011; El blachkammer es el capo más poderoso". Excelsior (ภาษาสเปน). สืบค้นเมื่อ 7 August 2011.
- ↑ McCAUL, MICHAEL T. "A Line in the Sand: Confronting the Threat at the Southwest Border" (PDF). HOUSE COMMITTEE ON HOMELAND SECURITY. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 11 September 2011. สืบค้นเมื่อ 12 October 2011.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-05-04. สืบค้นเมื่อ 2018-11-23.
- ↑ "Policías comunitarios retiran bloqueo carretero en Guerrero tras 23 horas - Nacional - CNNMexico.com". CNN. 28 August 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 November 2013.
- ↑ https://www.insightcrime.org/mexico-organized-crime-news/knights-templar-profile/
- ↑ http://www.newsweek.com/cartels-kidnap-avocado-farmers-696301
- ↑ 7.0 7.1 "Mexico police raid 'La Familia drug cartel', killing 11". BBC News. 28 May 2014. สืบค้นเมื่อ 30 May 2014.
- ↑ 8.0 8.1 8.2 "Prevén arrecie lucha por lugar del 'Chayo' en Michoacán". Reforma (ภาษาสเปน). Terra. 29 May 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-06-01. สืบค้นเมื่อ 29 May 2011.
- ↑ Heffernan-Tabor, kelly (29 May 2011). "Mexican Authorities Arrest 46 Suspected Drug Gang Members". WFMY News 2. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 June 2011. สืบค้นเมื่อ 30 May 2011.
- ↑ "One capo falls, others move in - Mexico Unmasked". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-10-04. สืบค้นเมื่อ 4 October 2015.
- ↑ https://www.insightcrime.org/mexico-organized-crime-news/familia-michoacana-mexico-profile/
- ↑ "Mexico Captures Knights Templar Cartel Leader 'La Tuta'". The Huffington Post. สืบค้นเมื่อ 16 March 2015.
- ↑ "Pope's visit to Guanajuato puts spotlight on magical Guanajuato". The Washington Post. 7 March 2012. สืบค้นเมื่อ 18 March 2012. [ลิงก์เสีย]
- ↑ "Con mantas, Templarios dan bienvenida al papa y prometen tregua durante su visita". Proceso. 17 March 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-02-11. สืบค้นเมื่อ 18 March 2012.
- ↑ ""Caballeros Templarios" ofrecen tregua por visita del Papa". Milenio (ภาษาสเปน). 18 March 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-03-19. สืบค้นเมื่อ 19 March 2012.
- ↑ "Caballeros Templarios le dan la bienvenida al Papa". Terra Networks (ภาษาสเปน). 17 March 2012. สืบค้นเมื่อ 18 March 2012.
- ↑ "Mexico Captures Knights Templar Cartel Leader 'La Tuta'". The World Post. 27 February 2015. สืบค้นเมื่อ 23 April 2015.
- ↑ "Mexican drug cartel distributes ethics guide". Stephanie Garlow. globalpost. สืบค้นเมื่อ 23 April 2015.
- ↑ "Patterned After the Knights Templar, Drug Cartel Issues "Code of Conduct". Fox News. 20 July 2011. สืบค้นเมื่อ 23 April 2015.