สงครามยาเสพติดเม็กซิโก
สงครามยาเสพติดเม็กซิโก (สเปน: guerra contra el narcotráfico en México)[24] เป็นความขัดแย้งแบบไม่สมมาตร[25][26]ที่ยังดำเนินอยู่ ซึ่งเกิดขึ้นระหว่างรัฐบาลเม็กซิโกกับแก๊งค้ายาเสพติดจำนวนมากตั้งแต่ปี ค.ศ. 2006 เมื่อทหารเม็กซิโกเริ่มแทรกแซง โดยเป้าหมายหลักของรัฐบาลคือการลดสถานการณ์ความรุนแรงที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติด[27] รัฐบาลเม็กซิโกยืนยันว่าเป้าหมายหลักของพวกเขาคือการทำลายกลุ่มธุรกิจยาเสพติดที่มีอำนาจสูง มากกว่าการขัดขวางการลักลอบขนยาเสพติด ซึ่งเป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่สหรัฐ[28][29][30]
ถึงแม้ว่าองค์การค้ายาเสพติดของเม็กซิโกจะมีมาหลายทศวรรษ แต่อิทธิพลของพวกเขาก็ยังคงเพิ่มขึ้น[31][32] หลังจากการสิ้นสุดของแก๊งค้ายากาลิและเมเดยินของโคลอมเบียในคริสต์ทศวรรษ 1990 แก๊งค้ายาเสพติดเม็กซิโกก็ได้เป็นผู้ครองตลาดยาเสพติดผิดกฎหมายในปัจจุบัน และในปี ค.ศ. 2007 ได้มีการควบคุม 90 เปอร์เซ็นต์ของโคเคนที่เข้าสู่สหรัฐ[33][34] การจับกุมผู้นำแก๊งค้ายาที่สำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแก๊งค้ายาติฆัวนาและอ่าว ได้นำไปสู่การเพิ่มความรุนแรงเนื่องจากการต่อสู้ของแก๊งค้ายาเพื่อควบคุมเส้นทางการค้าสู่สหรัฐ[35][36][37]
การบังคับใช้กฎหมายของรัฐบาลกลางได้รับการจัดโครงสร้างใหม่อย่างน้อยห้าครั้งนับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1982 ในความพยายามที่หลากหลายในการควบคุมการทุจริตและลดความรุนแรงของแก๊งค้ายา ในช่วงเวลาเดียวกันนั้นมีกองกำลังพิเศษชั้นยอดอย่างน้อยสี่กองกำลัง ที่สร้างขึ้นในฐานะทหารปลอดการทุจริตขึ้นใหม่ ที่สามารถทำสงครามกับระบบการติดสินบนเฉพาะถิ่นของเม็กซิโก[38] นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่ารายได้ขายส่งจากการขายยาผิดกฎหมายจะอยู่ในช่วงตั้งแต่ 13.6 ถึง 49.4 พันล้านดอลลาร์ต่อปี[33][39][40]
รัฐสภาสหรัฐได้มีการออกกฎหมายในปลายเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2008 เพื่อให้เม็กซิโกมีเงิน 1.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐสำหรับการริเริ่มเมริดาเพื่อให้เม็กซิโกมีการฝึกอบรมการบังคับใช้กฎหมายและเครื่องมือ ตลอดจนคำแนะนำด้านเทคนิคเพื่อเสริมสร้างระบบยุติธรรมของประเทศ เมื่อสิ้นสุดการบริหารของเฟลิเป กัลเดรอน (1 ธันวาคม ค.ศ. 2006 – 30 พฤศจิกายน ค.ศ. 2012) มียอดผู้เสียชีวิตอย่างเป็นทางการจากสงครามยาเสพติดเม็กซิโกอย่างน้อย 60,000 คน[41] และประมาณการยอดผู้เสียชีวิตกว่า 120,000 คนภายในปี ค.ศ. 2013 โดยไม่นับรวม 27,000 คนที่หายไป[42][43]
ภูมิหลัง[แก้]
เนื่องจากตำแหน่งที่ตั้ง ประเทศเม็กซิโกถูกใช้มานานแล้วในฐานะจุดแวะและจุดขนถ่ายสารเสพติดและของเถื่อนระหว่างตลาดละตินอเมริกาและสหรัฐ ผู้ลักลอบชาวเม็กซิโกจัดหาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ให้กับแก๊งสหรัฐ ตลอดระยะเวลาของการห้ามสุราในสหรัฐ[34] และการเริ่มของการค้ายาเสพติดผิดกฎหมายกับสหรัฐที่เริ่มขึ้นเมื่อการห้ามสิ้นสุดลงในปี ค.ศ. 1933[34] ในช่วงปลายคริสต์ทศวรรษ 1960 ผู้ลักลอบนำเข้าสารเสพติดชาวเม็กซิโกเริ่มลักลอบค้ายาเสพติดในระดับสำคัญ[34]
ช่วงคริสต์ทศวรรษ 1970 และต้นคริสต์ทศวรรษ 1980 ปาโบล เอสโกบาร์ ของประเทศโคลอมเบียเป็นผู้ส่งออกโคเคนรายใหญ่ และติดต่อธุรกิจกับเครือข่ายอาชญากรรมที่จัดตั้งทั่วโลก เมื่อมีความพยายามบังคับใช้กฎหมายมากขึ้นในเซาท์ฟลอริดาและแคริบเบียน องค์กรโคลอมเบียก็ได้สร้างความเป็นหุ้นส่วนกับผู้ค้าขายในเม็กซิโกเพื่อขนส่งโคเคนโดยทางบกผ่านทางเม็กซิโกไปยังสหรัฐ[44]
นี่เป็นเรื่องง่ายเพราะเม็กซิโกเป็นแหล่งสำคัญของเฮโรอีนและกัญชา และผู้ค้ายาเสพติดจากเม็กซิโกได้สร้างโครงสร้างพื้นฐานที่พร้อมอำนวยแก่ผู้ค้าในโคลอมเบีย ในช่วงกลางคริสต์ทศวรรษ 1980 องค์กรจากประเทศเม็กซิโกได้รับการยอมรับอย่างดีและมีผู้ขนส่งโคเคนโคลอมเบียที่ไว้ใจได้ ในตอนแรก แก๊งเม็กซิโกได้รับการจ่ายเป็นเงินสดสำหรับการบริการขนส่งของพวกเขา แต่ในช่วงปลายคริสต์ทศวรรษ 1980 องค์กรขนย้ายเม็กซิโกและผู้ค้ายาเสพติดโคลอมเบียได้ตัดสินใจในข้อตกลงการชำระเงินในสินค้า[45]
ผู้ขนส่งจากเม็กซิโกมักได้รับ 35 เปอร์เซ็นต์ถึง 50 เปอร์เซ็นต์ของการขนส่งโคเคนแต่ละครั้ง ข้อตกลงนี้หมายความว่าองค์กรจากเม็กซิโกได้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดจำหน่าย รวมทั้งการขนส่งโคเคน และกลายเป็นผู้ค้าที่มีอำนาจมากในสิทธิของตนเอง ในปีที่ผ่านมา แก๊งค้ายาซินาโลอาและแก๊งค้ายาอ่าว ได้ดำเนินการค้าโคเคนจากโคลอมเบียไปยังตลาดทั่วโลก[45]
ความสมดุลของอำนาจระหว่างแก๊งค้ายาเม็กซิโกต่าง ๆ ที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างต่อเนื่องเมื่อองค์กรใหม่ปรากฏตัวรวมทั้งคนรุ่นเก่าอ่อนแอลงและล่มสลาย การหยุดชะงักในระบบ เช่นการถูกจับกุมหรือการเสียชีวิตของผู้นำแก๊งค้ายา ก่อให้เกิดการนองเลือดเมื่อคู่ต่อสู้ก้าวเข้าสู่การใช้ประโยชน์จากอำนาจสูญญากาศ[46] บางครั้งการสูญเสียความเป็นผู้นำเกิดขึ้นจากความสำเร็จในการบังคับใช้กฎหมายกับแก๊งค้ายาแบบเฉพาะเจาะจง ดังนั้นแก๊งค้ายาจึงมักพยายามที่จะเอาการบังคับใช้กฎหมายดังกล่าวเข้าต่อสู้กับแก๊งอื่น ทั้งโดยติดสินบนเจ้าหน้าที่เม็กซิโกเพื่อดำเนินการกับคู่แข่ง หรือเผยข่าวกรองเกี่ยวกับการดำเนินงานของคู่ต่อสู้ให้แก่รัฐบาลเม็กซิโกหรือสำนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติดของสหรัฐ[46]
ในขณะที่หลายปัจจัยมีส่วนทำให้ความรุนแรงทวีความรุนแรงขึ้น นักวิเคราะห์ด้านความปลอดภัยในเม็กซิโกซิตีติดตามต้นกำเนิดของความหายนะที่เพิ่มขึ้นของการปราบปรามการลักลอบขนยาเสพติด เพื่อแก้ปัญหาที่มีมานานระหว่างผู้ค้ายาเสพติดและรัฐบาลที่ถูกควบคุมโดยพรรคปฏิวัติสถาบัน (PRI) ซึ่งเริ่มสูญเสียการกุมอำนาจทางการเมืองในช่วงปลายคริสต์ทศวรรษ 1980[47]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ 1.00 1.01 1.02 1.03 1.04 1.05 1.06 1.07 1.08 1.09 1.10 1.11 1.12 1.13 1.14 1.15 1.16 http://www.ucdp.uu.se/gpdatabase/gpcountry.php?id=107#
- ↑ Buggs. "Borderland Beat: Tijuana Cartel". สืบค้นเมื่อ 23 April 2016.
- ↑ "El narco en México recurre a violencia sin precedentes: ONU". EL INFORMADOR. สืบค้นเมื่อ 23 April 2016.
- ↑ Los Zetas and MS-13 team up in Central America. Borderland Beat. Retrieved on 2014-03-08.
- ↑ Proceso Magazine (in spanish) («‘Los Zetas’ reclutan y entrenan a pandilleros de la Mara Salvatrucha»)
- ↑ "These maps show how Mexican cartels dominate the U.S. drug market".
- ↑ "Here are the powerful Mexican drug cartels that operate in the U.S."
- ↑ "El Salvador Fears Ties Between Cartels, Gangs".
- ↑ "Mexican drug cartels reach into tiny Belize". The Washington Post.
- ↑ "Policías comunitarios retiran bloqueo carretero en Guerrero tras 23 horas". CNN. 2013-08-28. Archived from the original on 2013-11-12.
- ↑ "Archived copy". Archived from the original on 2013-06-03. สืบค้นเมื่อ 2013-01-22.
- ↑ "Cachiros". Insightcrime.org (in อังกฤษ). InSight Crime. 2014-01-21. สืบค้นเมื่อ 23 March 2017.
- ↑ "'El Chapo' recaptured after jail break". BBC News. 2016-01-09. สืบค้นเมื่อ 23 April 2016.
- ↑ "Four Gunmen Die in Clash with Mexican Troops". Latin American Herald Tribune. March 4, 2010. สืบค้นเมื่อ 2010-03-05.
- ↑ Romo, Rafael (9 February 2011). "Mexico sees hope among drug violence". CNN. สืบค้นเมื่อ 2011-02-09.
- ↑ Washington, The (2009-03-03). "EXCLUSIVE: 100,000 foot soldiers in Mexican cartels". The Washington Times. สืบค้นเมื่อ 2013-06-29.
- ↑ "Mexico Federal Troops and police rush into Juarez to try and retake the city". Americanchronicle.com. Archived from the original on 2012-05-27. สืบค้นเมื่อ 2013-06-29.
- ↑ "U.S. Says Threat of Mexican Drug Cartels Approaching 'Crisis Proportions'". Foxnews.com. 2009-03-03. สืบค้นเมื่อ 2013-06-29.
- ↑ Muedano, Marcos (23 November 2012). "El sexenio deja 395 militares muertos y 137 desaparecidos". El Universal. สืบค้นเมื่อ 2013-12-31.
- ↑ "W.M. Consulting: Knowledge is Security". Police Reform. 2012. สืบค้นเมื่อ 2013-12-31.
- ↑ "México cuenta más muertos por la "violencia extrema"" (in Spanish). BBC Mundo. January 12, 2011. สืบค้นเมื่อ 2014-01-01.
- ↑ "Oficial: más de 22 mil 700 muertos por violencia". El Universal (in Spanish). April 13, 2010. สืบค้นเมื่อ 2010-04-14.
- ↑ Ruiz, José Luis (10 January 2011). "Guerra al narco asfixia penales". El Universal (in Spanish). สืบค้นเมื่อ 2011-01-10.
- ↑ 'Mexico's war on drugs is one big lie' | The Observer
- ↑ Geoffrey Ramsey (2011-08-11). "U.S. Special Forces Trained Mexican Troops in Colorado". insightcrime.org. สืบค้นเมื่อ 25 June 2015.
- ↑ Lehmuth, Erica L.; Etter, Gregg W. (2011-11-15). "The Mexican Drug Wars: Organized Crime, Narco-Terrorism, Insurgency or Asymmetric Warfare?". allacademic.com. สืบค้นเมื่อ 25 June 2015.
- ↑ "ANUNCIO SOBRE LA OPERACIÓN CONJUNTA MICHOACÁN". Presidencia de la Republica, Mexico. 11 Dec 2006.
- ↑ "Calderón: Estamos luchando en contra de los criminales". TeleSur TV. Aug 30, 2011.
- ↑ "Poiré defiende estrategia del Gobierno Federal en lucha antinarco; entrevista AlJazeera". Al Jazeera. Aug 18, 2011.
- ↑ "Sugiere Sarukhán que Calderón no busca reducir tráfico de drogas". SDP Noticias. 2011-05-17. Archived from the original on October 20, 2014.
- ↑ Beittel, June S. (22 July 2015). "Mexico: Organized Crime and Drug Trafficking Organizations" (PDF). Congressional Research Service. สืบค้นเมื่อ 10 May 2016.
- ↑ "Mexico's Drug War". Council on Foreign Relations. สืบค้นเมื่อ 25 June 2015.
- ↑ 33.0 33.1 Cook, Colleen W. (16 October 2007). Mexico's Drug Cartels (PDF). CRS Report for Congress. Congressional Research Service. p. 7. สืบค้นเมื่อ 10 May 2016.
- ↑ 34.0 34.1 34.2 34.3 Vulliamy, Ed. Amexica: War Along the Borderline. New York: Farrar, Straus and Giroux, 2010.
- ↑ Carl, Traci (November 3, 2009). "Progress in Mexico drug war is drenched in blood". INSI. Associated Press. สืบค้นเมื่อ 2010-03-16.
- ↑ "High U.S. cocaine cost shows drug war working: Mexico". Reuters. September 14, 2007. สืบค้นเมื่อ 2009-04-01.
- ↑ Seelke, Clare Ribando (29 January 2013). Mexico and the 112th Congress (PDF). Congressional Research Service. pp. 2, 13, 14. สืบค้นเมื่อ 10 May 2016.
- ↑ Longmire, Sylvia. Cartel: The Coming Invasion Of Mexico’s Drug Wars. 2011. ‘Revamping Mexico’s Police Forces’ p. 120. Palgrave McMillan ISBN 978-0-230-11137-0
- ↑ Fantz, Ashley (January 20, 2012). "The Mexico drug war: Bodies for billions". CNN News. สืบค้นเมื่อ 2012-03-05.
- ↑ "Mexican drug gangs 'spread to every region of US'". BBC News. 26 March 2010. สืบค้นเมื่อ 2010-04-23.
- ↑ Miroff, Nick; Booth, William (26 November 2011). "Mexico's drug war is at a stalemate as Calderon's presidency ends". The Washington Post. Archived from the original on 1 December 2012. สืบค้นเมื่อ 1 December 2012.
- ↑ Booth, William (30 November 2012). "Mexico's crime wave has left about 25,000 missing, government documents show". The Washington Post. Archived from the original on 1 December 2012. สืบค้นเมื่อ 1 December 2012.
- ↑ Counting Mexico's drug victims is a murky business National Catholic Reporter, by Claire Schaeffer-Duffy, Mar. 1, 2014
- ↑ DEA History (PDF). US DEA. Archived from the original (PDF) on 2006-08-23. สืบค้นเมื่อ 2008-09-21.
- ↑ 45.0 45.1 "Mexico, U.S., Italy: The Cocaine Connection". Stratfor Intelligence. September 18, 2008. Archived from the original on November 22, 2008. สืบค้นเมื่อ 2008-09-20.
- ↑ 46.0 46.1 Burton, Fred (May 2, 2007). "Mexico: The Price of Peace in the Cartel Wars". Stratfor Global Intelligence. สืบค้นเมื่อ 2009-08-16.
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อTet2n
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
![]() |
คอมมอนส์ มีภาพและสื่อเกี่ยวกับ: สงครามยาเสพติดเม็กซิโก |
- Map of Mexican Drug War violence
- Bowers, Charles (2009). "The Mexican Kidnapping Industry". An academic paper examining both the emergence of kidnapping as a drug war spillover, and statewide variance in Mexico's kidnapping statutes.
- The Mexican Zetas and Other Private Armies – written by the Strategic Studies Institute.
- Mexico page on InSight Crime. Ongoing reporting on Mexico's drug war and involved cartels.
- "Full Coverage Mexico Under Siege". Los Angeles Times. สืบค้นเมื่อ September 12, 2016.
- The Atlantic: Mexico's Drug War
- George Grayson, "Mexico's Elite Must Commit to Fighting Drug Cartels", Foreign Policy Association Headline Series.
- Juarez, City of Death, City of Hope
- Cocaine Incorporated June 15, 2012