เฮพาริน
ข้อมูลทางคลินิก | |
---|---|
การอ่านออกเสียง | /ˈhɛpərɪn/ HEP-ər-in |
AHFS/Drugs.com | โมโนกราฟ |
ข้อมูลทะเบียนยา | |
ช่องทางการรับยา | การฉีดเข้าหลอดเลือดดำ, การฉีดเข้าชั้นใต้ผิวหนัง |
รหัส ATC | |
กฏหมาย | |
สถานะตามกฏหมาย |
|
ข้อมูลเภสัชจลนศาสตร์ | |
ชีวประสิทธิผล | ไม่แน่นอน |
การเปลี่ยนแปลงยา | ตับ |
ครึ่งชีวิตทางชีวภาพ | 1.5 ชั่วโมง |
การขับออก | ปัสสาวะ[1] |
ตัวบ่งชี้ | |
เลขทะเบียน CAS | |
PubChem CID | |
IUPHAR/BPS | |
DrugBank | |
ChemSpider | |
UNII | |
ChEMBL | |
ECHA InfoCard | 100.029.698 |
ข้อมูลทางกายภาพและเคมี | |
สูตร | C12H19NO20S3 |
มวลต่อโมล | 593.45 g·mol−1 |
| |
7 (what is this?) (verify) | |
เฮปาริน (อังกฤษ: heparin) เป็นสารไกลโคซามิโนไกลแคน ที่มีหมู่ซัลเฟตอยู่จำนวนมาก ใช้กันแพร่หลายในฐานะเป็นยาต้านการแข็งตัวของเลือดแบบฉีด และยังเป็นชีวโมเลกุลที่มีความหนาแน่นของประจุลบมากที่สุดเท่าที่รู้จักอีกด้วย[2] นอกจากนี้ยังสามารถใช้เป็นสารต้านการแข็งตัวของเลือดเคลือบบนผิวภายในของวัสดุที่ใช้ในการทดลองและอุปกรณ์ทางการแพทย์อย่างหลอดทดลองและเครื่องฟอกเลือดได้อีกด้วย เฮปารินที่มีคุณภาพระดับใช้เป็นยานั้นได้จากเนื้อเยื่อเมือกของสัตว์เช่นลำไส้หมูหรือปอดวัว[3]
แม้สารนี้จะมีใช้เป็นสารต้านการแข็งตัวของเลือดอยู่ทั่วไปในการแพทย์แต่บทบาททางสรีรวิทยาที่แท้จริงนั้นยังไม่เป็นที่แน่ชัด เนื่องจากส่วนใหญ่แล้วสมบัติการต้านการแข็งตัวในเลือดนั้นได้จาก heparan sulfate proteoglycans ที่มาจากเซลล์บุผิว endothelium[4] ส่วนใหญ่เฮปารินมักถูกเก็บอยู่ใน secretory granule ของ mast cell และจะถูกปล่อยออกมาก็ต่อเมื่ออยู่ในหลอดเลือดของเนื้อเยื่อที่กำลังมีการบาดเจ็บ มีการเสนอว่าหน้าที่ที่แท้จริงของเฮปารินไม่ใช่การต้านการแข็งตัวของเลือดแต่เป็นเพื่อป้องกันบริเวณเนื้อเยื่อที่กำลังมีการบาดเจ็บอยู่นั้นจากแบคทีเรียและสิ่งแปลกปลอมอื่นๆ[5] นอกจากนี้ยังพบว่ามีเฮปารินอยู่ในสิ่งมีชีวิตหลายสปีชีส์ รวมทั้งสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังที่ไม่มีระบบการแข็งตัวของเลือดด้วย
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Heparin". 2012-02-10. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-02-15.
- ↑ Cox, M.; Nelson D. (2004). Lehninger, Principles of Biochemistry. Freeman. p. 1100. ISBN 0-71674339-6.
- ↑ Linhardt RJ, Gunay NS. (1999). "Production and Chemical Processing of Low Molecular Weight Heparins". Sem. Thromb. Hem. 3: 5–16. PMID 10549711.
- ↑ Marcum JA, McKenney JB.; และคณะ (1986). "Anticoagulantly active heparin-like molecules from mast cell-deficient mice". Am. J. Physiol. 250 (5 Pt 2): H879–888. PMID 3706560.
- ↑ Nader, HB; และคณะ (1999). "Heparan sulfates and heparins: similar compounds performing the same functions in vertebrates and invertebrates?". Braz. J. Med. Biol. Res. 32 (5): 529–538. doi:10.1590/S0100-879X1999000500005. PMID 10412563.
อ่านเพิ่ม
[แก้]- Marcum JA (January 2000). "The origin of the dispute over the discovery of heparin". Journal of the History of Medicine and Allied Sciences. 55 (1): 37–66. doi:10.1093/jhmas/55.1.37. PMID 10734720. S2CID 30050513.
- Mulloy B, Hogwood J, Gray E, Lever R, Page CP (January 2016). "Pharmacology of Heparin and Related Drugs". Pharmacological Reviews. 68 (1): 76–141. doi:10.1124/pr.115.011247. PMID 26672027.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- "Heparin". Drug Information Portal. U.S. National Library of Medicine.
- History of heparin