เห็บโค
เห็บโค | |
---|---|
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Arthropoda |
ชั้น: | Arachnida |
อันดับ: | Ixodida |
วงศ์: | Ixodidae |
สกุล: | Rhipicephalus |
สกุลย่อย: | Boophilus |
สปีชีส์: | R. microplus |
ชื่อทวินาม | |
Rhipicephalus microplus (Canestrini, 1888) | |
ชื่อพ้อง | |
Boophilus microplus |
เห็บโค (ชื่อวิทยาศาสตร์: Boophilus microplus หรือ Rhipicephalus microplus) เป็นปรสิตภายนอกของสัตว์หลายชนิดเช่น ม้า ลา แพะ แกะ กวาง หมู หมา และสัตว์ป่าบางชนิด[1] ที่มีความสำคัญต่อโคและกระบือในเขตร้อนชื้น ส่วนใหญ่พบในเอเชีย บางส่วนของออสเตรเลีย มาดากัสการ์ แอฟริกาตะวันตกเฉียงใต้ บริเวณทะเลแคริบเบียน อเมริกาใต้ และ อเมริกากลาง รวมทั้ง เม็กซิโก เคยพบในสหรัฐอเมริกา ตามแนวชายแดนที่ติดต่อกับเม็กซิโก[1]
เห็บทุกระยะในชีพจักรต้องการเลือด เห็บระยะตัวอ่อน (larvae) ต้องดูดกินเลือดจนอิ่มตัวก่่อนจะลอกคราบเป็นระยะตัวกลางวัย (nymph) เห็บระยะตัวเต็มวัยจะเกาะและอาศัยบนตัวโคในทุกระยะของการเจริญเติบโต จากนั้นเพศเมียจะต้องกินเลือดจนอิ่มตัว (engorge) ก่่อนที่จะลงสู่พื้นเพื่อหาที่เหมาะสมในการวางไข่[2]
สัตว์ที่มีเห็บเกาะดูดเลือดจำนวนมากจะส่งผลต่่อสุขภาพโดยตรง ทำให้เกิดภาวะโลหิตจางในสัตว์อายุน้อยจะทำให้การเจริญเติบโตช้้า แคระแกรน ส่วนในสัตว์ที่โตเต็มที่อาจซูบผอม ผลผลิตน้ำนมลดลง นอกจากนี้เห็บยังเป็นพาหะนำโรคร้ายแรงได้แก่โรค babesiosis anaplasmosis และ theileriosis
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 "Rhipicephalus (Boophilus) microplus. Southern Cattle Tick, Cattle Tick" (PDF). Iowa State University. February 20, 2007. สืบค้นเมื่อ November 7, 2010.
- ↑ พิทยา ภาภิรมย์ สุรสิทธิ์ อ้วนพรมมา วัชระ เหมือนโพธิ์ ศิริ กิจจริยะภูมิ และนภดล จันทร์เอี่ยม. 2554. ฤทธิ์ของน้ำส้มควันไม้ยูคาลิปตัส (Eucalyptus melliodora) ต่อเห็บโค (Boophilus spp.) เก็บถาวร 2022-06-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. การประชุมวิชาการครั้งที่ 8 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กำแพงแสน