เหตุปะทะที่สถานีปรินซ์เอดเวิร์ด พ.ศ. 2562

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เหตุปะทะที่สถานีปรินซ์เอดเวิร์ด พ.ศ. 2562
ส่วนหนึ่งของ การประท้วงในฮ่องกง พ.ศ. 2562–2563
ตำรวจฮ่องกงบุกระงับเหตุที่สถานีปรินซ์เอดเวิรด์ และปะทะกับพลเรือนเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2562
วันที่31 สิงหาคม พ.ศ. 2562
สถานที่สถานีปรินซ์เอดเวิรด์, มงก๊ก, เกาลูน
ผล(ดูส่วนผลสืบเนื่อง)
คู่ขัดแย้ง
ผู้ประท้วงร่างพรบ. และผู้โดยสาร
ผู้ต่อต้านผู้ประท้วง
จำนวน
ยุทโธปกรณ์:
ยุทโธปกรณ์
ความเสียหาย
บาดเจ็บอย่างน้อย 10 คน (นำตัวส่งโรงพยาบาล)
ถูกจับกุม65 คน (ณ วันที่ 1 พฤศจิกายน, รวมผู้โดยสารและกลุ่มผู้ประท้วง)[1]
ถูกตั้งข้อหา2 คน (ณ วันที่ 1 พฤศจิกายน)

อุบัติการณ์ที่สถานีปรินซ์เอดเวิร์ด 31 สิงหาคม (จีน: 831太子站襲擊事件),[2][3][4][5] หรือ อุบัติการณ์ที่สถานีเอ็มทีอาร์ 31 สิงหาคม,[6] กล่าวถึงเหตุการณ์ที่ตำรวจฮ่องกงได้อ้างว่าไม่ได้เลือกปฏิบัติต่อการปฏิบัติงานหน้าที่[7][8][9] โดยได้กระทำโจมตีผู้โดยสารที่กำลังกลับบ้านโดยถูกกล่าวว่าเป็นผู้ประท้วงที่สถานีปรินซ์เอดเวิร์ดในวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2562 หลังจากเกิดการประท้วงในวันเดียวกัน เหตุปะทะดังกล่าวคล้ายกับกรณีเหตุปะทะที่หยวนหลง พ.ศ. 2562 และการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจเหมือนผู้ก่อการร้าย[10][11] มีข่าวลือว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจได้สังหารผู้ประท้วงหลายคนที่สถานี แต่ตำรวจปฏิเสธกับเรื่องนี้[12] อย่างไรก็ดี ได้มีการไว้อาลัยที่หน้าทางออกทางเดียวของสถานี[13]

เส้นเวลา[แก้]

จากการรายงานของสื่อสิ่งพิมพ์หลายฉบับ กลุ่มผู้ประท้วงมักจะก่อม็อบฉับพลันที่บริเวณเส้นทางเดินรถไฟเอ็มทีอาร์ โดยถูกอ้างว่าได้สร้างความเสียหายแก่สถานีเอ็มทีอาร์หลายแห่ง สถานีเอ็มทีอาร์มงก๊ก เป็นสถานีระหว่างสายกวนถังและสายฉวนวัน[14] ผู้ประท้วงได้ปะทะกับกลุ่มผู้ต่อต้านการประท้วงที่รถไฟของสายกวนถัง (ไปทางสถานีทิวเก็งเล็ง) เฉกเช่นเดียวกับกรณีสถานีปรินซ์เอดเวิร์ดที่รถไฟจอดประจำการไว้อยู่[14][15] กลุ่มผู้ต่อต้านการประท้วงนั้นติดอาวุธ อาทิ ค้อน[14][16] และคัตเตอร์[14]

เจ้าหน้าที่ตำรวจได้มาถึงสถานีปรินซ์เอ็ดเวิร์ด และดำเนินการจับกุมผู้ประท้วงที่ชานชาลา และได้ตรึงกำลังประจำการสายกวนถัง (ไปทางสถานีทิวเก็งเล็ง) และสายฉวนวัน (ไปทางสถานีกลาง) ไว้ใกล้กับรถไฟ[17]

จากการสัมภาษณ์พยานในที่เกิดเหตุ ได้ยืนยันว่าผู้โดยสารประจำสายกวนถังทั้งขบวนนั้น ไม่ใช่ผู้ประท้วงแต่อย่างใด[14] หลายพยานในที่เกิดเหตุมองว่าการะกระทำของเจ้าหน้าที่ตำรวจในการปะทะนั้นเกินกว่าเหตุ[14]

รถไฟ[ไหน?]ได้จอดที่สถานีโหยวหมาตี้ เพื่อนำผู้บาดเจ็บขึ้นรถไปสู่โรงพยาบาล และรอยเลือด เศษเนื้อเยื่อ กับร่มสามารถพบในที่เกิดเหตุ ในเวลาต่อมา ตำรวจสั่งปิดสถานี นักข่าวและแพทย์ไม่ได้รับอนุญาตเข้าที่เกิดเหตุ มีแพทย์ได้เขียนป้ายข้อความแสดงว่า "การขัดขวางการปฏิบัติงานด้านการช่วยเหลือถือว่าเป็นการกระทำผิดกฎมนุษยธรรมระหว่างประเทศ" โดยได้รับความสนใจจากสื่อมวลชนอย่างมาก [18]

หลังจากเหตุปะทะ มีผู้บาดเจ็บ 7 รายได้ถูกส่งไปโรงพยาบาลผ่านขบวนรถไฟสถานีลี่จือกกผ่านสายฉวนวันจนไปสู่รถพยาบาล มีผู้บาดเจ็บ 3 รายจากเหตุปะทะที่สายกวนถัง โดยได้ถูกส่งไปโรงพยาบาลผ่านขบวนรถไฟสถานีโหยวหมาตี้ ก่อนที่นักผจญเพลิงจากกรมบริการดับเพลิงฮ่องกง เจ้าหน้าที่ยืนยันว่าช่วงแรกเจ้าหน้าที่ตำรวจปฏิเสธให้เข้าภายในที่เกิดเหตุ และความล่าช้าในการช่วยเหลือ[19] รายงานระบุว่าผู้บาดเจ็บมาถึงโรงพยาบาลใช้เวลา 2.5 ชั่วโมง [20]

มีผู้ถูกจับกุม 65 คนภายในวันที่ 1 พฤศจิกายนจากการมีส่วนรวมกับเหตุปะทะ[1] ตำรวจได้แจ้งข้อกล่าวหากับผู้ถูกจับกุม "ชุมนุมโดยไม่ได้รับอนุญาต" "ทำลายทรัพย์สินราชการ" และ "ขัดขวางการปฏิบัติของเจ้าพนักงาน"[21] อย่างไรก็ตาม มีรายงานว่าผู้ต่อต้านการประท้วงนั้นมีพยานเห็นว่าพกอาวุธ แต่ไม่ถูกจับกุม ทั้งที่ผู้ต่อต้านการประท้วงได้ปะทะจนให้ผู้คนบาดเจ็บ[14] นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่ตำรวจที่อยู่ในเหตุการณ์ก็ไม่ได้รับการสอบสวนทางวินัยตามขั้นตอนทางกฎหมาย

หลักจากนั้น ตำรวจได้แจ้งข้อหาสองคน โดยมีอายุ 33 ปี กับ 13 ปี ในข้อหา "ครอบครองอาวุธสงครามหรืออาวุธที่ก่อให้อันตรายโดยไม่ได้รับอนุญาต"[1] คดีได้ถูกไต่สวนจากศาลครั้งแรกเมื่อวันที่ 2 กันายายน[1] ซึ่งจะถูกไต่สวนครั้งที่สองภายในเดือนพฤศจิกายน[22][23] ผู้ต้องหา 62 คนได้รับอนุญาตในการประกันตัว[1] เยาวชนอายุ 15 ปีในรับการปล่อยตัวในเดือนตุลาคม ศาลไม่อนุมัติคำขอไดรับการคุ้มครองจากเจ้าหน้าที่ตำรวจ[24]

หลังเหตุการณ์[แก้]

ผู้โดยสารเกรงกลัวต่อการบุกปะทะของเจ้าหน้าที่ตำรวจ

กรมบริการดับเพลิงฮ่องกงได้สรุปยอดรวมของผู้บาดเจ็บจาก 10 คน เป็น 7 คน[19]

เมื่อวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2562 มีผู้ประท้วงตลอดเดือนกันยายน รวมถึงการเรียกร้องให้เอ็มทีอาร์เปิดเผยวีดิทัศน์จากกล้องโทรทัศน์วงจรปิด[25] และ "เรียกร้องให้ตำรวจขอโทษต่อการกระทำรุนแรงต่อผู้ประท้วง"[26] หนึ่งในประตูทางออกของเอ็มทีอาร์ได้กลายเป็นกำแพงไม่เป็นทางการที่ถูกวางดอกไม้และข้อความที่เกี่ยวข้อง แม้จะมีการรื้อส่วนนี้ทิ้ง[27] อย่างไรก็ดี ดอกไม้และข้อความในถูกวางใหม่จากกลุ่มผู้ประท้วง[13]

วันที่ 31 ตุลาคม มีการประท้วงใกล้กับสถานีเพื่อระลึงเหตุการณ์ในช่วงสองเดือนที่ผ่านมา[28] อย่างไรก็ดี การประท้วงไม่ได้รับอนุญาต จึงเกิดการปะทะกันระหว่างตำรวจกับผู้ประท้วง มีผู้ได้รับบาดเจ็บอย่างน้อย 3 คน และมีผู้ถูกจับกุม 1 คน[29] มีการรายงานว่าผู้ประท้วงได้ก่อกวนระบบไฟจราจรและทางออกของสถานีเอ็มทีอาร์มงก๊กกับการจุดไฟใกล้กับถนนนาทาน[28]

เยาวชนได้ถูกกระทำจากตำรวจ โดยต่อมาได้แจ้งความคดีโดยอ้างว่าถูกกระทำ และสงควรได้รับเงินชดเชย[30]

ผลสืบเนื่อง[แก้]

นักวิพากย์วิจารณ์แสดงความคิดเห็นประชดประชันว่าตำรวจโกหกประชาชนเป็นที่ประจักษ์[31] ในระหว่างการแถลงข่าว ตำรวจได้กล่าวว่าสามารถแยกพลเมืองดีกับเป้าหมายในการควบคุมสถานการณ์ไว้ได้ โดยอ้างว่ามี "ผู้ประท้วงปลอมตัว" โดยการเปลี่ยนเสื้อสีให้ตรงกัน และยืนยันว่าไม่ได้ปฏิบัติตามอำเภอใจ[21]

แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ฮ่องกง เรียกร้องให้มีการสืบสวนตามหาความจริง หลังจากเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการพิเศษได้ควบคุมที่สถานีปรินซ์เอดเวิร์ดได้ทุบได้ฉีดสเปรย์พริกไทยกับผู้โดยสาร[32]

สมาคมเนติบัณฑิตฮ่องกง ได้กล่าวว่าตำรวจใช้อำนาจในทางที่ผิดอ้างว่า "วิดีโอฟุตเทจจากสถานีเอ็มทีอาร์ปรินซ์เอดเวิร์ดในวันเสาร์ที่ผ่านมาได้แสดงถึงเจ้าน้าที่ตำรวจปราบจลาจลโดยไม่มีเหตุอ้างถึงตามกฎหมายโดยใช้กระบอง และไม่มีการดำเนินการกับเจ้าหน้าที่ตำรวจที่มีพฤติกรรมเช่นนั้น".[33]

ทั้งนี้ สถาบันวิจัยความคิดเห็นสาธารณะฮ่องกง และศูนย์การสื่อสารและการสำรวจความคิดเห็นมหาวิทยาลัยจีนประจำฮ่องกง ได้สำรวจความคิดเหตุต่อการประท้วงและเหตุปะทะ ในการสำรวจครั้งที่ห้าของมหาวิทยาลัยจีนประจำฮ่องกงโดยผู้สัมภาษณ์เชื่อร้อยละ 52 ว่ามีผู้ถูกสังหารโดยตำรวจในเหตุการปะทะเมื่อวันที่ 31 สิงหาคมที่ผ่านมาที่สถานีเอ็มทีอาร์[34] ในขณะที่การสำรวจของสถาบันวิจัยความคิดเห็นสาธารณะฮ่องกงโดยผู้สัมภาษณ์ให้ความคิดเห็นร้อยละ 48 ว่าเป็นเพียงแค่ข่าวลือ[34][35] นักวิพากษ์วิจารณ์ให้รัฐบาลก่อตั้งคณะกรรมการอิสระโดยเป็นคณะกรรมการสอบสวนต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น[34]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 8‧31被捕65人 暫無人控非法集結. Ming Pao (ภาษาChinese (Hong Kong)). Hong Kong: Media Chinese International. 1 November 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 November 2019. สืบค้นเมื่อ 1 November 2019.
  2. "消防聽逾千錄音 修正「太子831」紀錄". Metro Daily (ภาษาChinese (Hong Kong)). Hong Kong. 20 September 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 October 2019. สืบค้นเมื่อ 27 October 2019.
  3. 高院下令港鐵保留831太子站片段. Cable News (ภาษาChinese (Hong Kong)). HK Cable TV. 19 September 2019. สืบค้นเมื่อ 27 October 2019.
  4. 楊岳橋指831太子站事件有多個疑點. news.rthk.hk (ภาษาChinese (Hong Kong)). RTHK. 17 September 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 October 2019. สืบค้นเมื่อ 27 October 2019.
  5. 831太子站 消防處重申警方並無指示傷者數目. news.now.com (ภาษาChinese (Hong Kong)). Now TV. 19 September 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 October 2019. สืบค้นเมื่อ 27 October 2019.
  6. "Fire dept. says recording of Aug 31 MTR incident was within normal practice, condemns logbook leak". hongkongfp.com. Hong Kong Free Press. 18 September 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 October 2019. สืบค้นเมื่อ 27 October 2019.
  7. "【民報】香港831汽油彈、水炮車徹夜激戰 警無差別打人稱「適當武力」". peoplenews.tw (ภาษาจีนกลางสำเนียงไต้หวัน). 1 September 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 September 2019. สืบค้นเมื่อ 3 September 2019.
  8. "【香港831遊行】港警胡椒噴霧、持警棍無差別攻擊 太子站乘客頭破血流". 鏡週刊 Mirror Media (ภาษาจีน). 1 September 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 September 2019. สืบค้นเมื่อ 3 September 2019.
  9. "【831 ‧ 不斷更新】港九多個港鐵站關閉 警衝入太子站無差別打人 | 立場報道 | 立場新聞". Stand News (ภาษาจีน). Hong Kong. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 September 2019. สืบค้นเมื่อ 3 September 2019.
  10. "【逆權運動】721=831 速龍太子站闖月台車廂亂棍毆乘客 無辜市民被襲後相擁痛哭". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 September 2019. สืบค้นเมื่อ 1 September 2019.
  11. "【專訪】目睹 8.31 太子站市民被毆 中年廚師:警察比 7.21 白衣人更恐怖 | 立場報道 | 立場新聞". Stand News (ภาษาจีน). Hong Kong. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 September 2019. สืบค้นเมื่อ 4 September 2019.
  12. "Police reject Prince Edward station death rumor as malicious". The Standard. 10 September 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 November 2019. สืบค้นเมื่อ 10 September 2019.
  13. 13.0 13.1 【逃犯條例】市民太子站外獻花 不滿港鐵只公開閉路電視截圖 (20:02). online "instant" news. Ming Pao (ภาษาChinese (Hong Kong)). Hong Kong: Media Chinese International. 10 September 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 September 2019. สืบค้นเมื่อ 11 September 2019.
  14. 14.0 14.1 14.2 14.3 14.4 14.5 14.6 速龍亂棍 街坊遭殃 傷者:打完唔拉人. Apple Daily. Hong Kong. 2 September 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 October 2019. สืบค้นเมื่อ 27 October 2019.
  15. 血濺太子站 藍衫漢揮錘大戰示威者. Oriental Daily (ภาษาChinese (Hong Kong)). Hong Kong: Oriental Press Group. 1 September 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 October 2019. สืบค้นเมื่อ 27 October 2019.
  16. 修例風波:衝突延九龍 速龍太子站拉人 港鐵突停5線服務. hk.on.cc (ภาษาChinese (Hong Kong)). Hong Kong: Oriental Press Group. 31 August 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 October 2019. สืบค้นเมื่อ 27 October 2019.
  17. 楊婉婷; 李穎霖; 蔡正邦; 陳蕾蕾 (1 September 2019). 【8.31遊行】還原太子車廂暴力因由 示威者與大叔衝突 速龍揮棍. HK01 (ภาษาChinese (Hong Kong)). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 September 2019. สืบค้นเมื่อ 2019-10-30.
  18. 救護員哭求港警開地鐵閘門:打我、射我都可以,請讓我去救人. 鏡週刊 [Mirror Media] (ภาษาจีนกลางสำเนียงไต้หวัน). 1 September 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 September 2019. สืบค้นเมื่อ 2019-10-30 – โดยทาง ETtoday.
  19. 19.0 19.1 "831疑團 消防處保證無見到死亡個案". am730 (ภาษาChinese (Hong Kong)). Hong Kong. 13 September 2019. สืบค้นเมื่อ 27 October 2019.
  20. 【反修例】831示威太子站傷者要等港鐵「特別列車」 救護員花2.5小時才能將傷者送院. Topick (ภาษาChinese (Hong Kong)). Hong Kong Economic Times Holdings. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 October 2019. สืบค้นเมื่อ 2019-10-30.
  21. 21.0 21.1 【8.31遊行】太子站爆衝突40人被捕 警:激進示威者換衫喬裝市民. HK01 (ภาษาChinese (Hong Kong)). 1 September 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 September 2019. สืบค้นเมื่อ 27 October 2019.
  22. 【逃犯條例・831】文員太子站涉攜彈弓螺絲帽 控藏攻擊性武器 (23:28). online "instant" news. Ming Pao (ภาษาChinese (Hong Kong)). Hong Kong. 2 September 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 October 2019. สืบค้นเมื่อ 27 October 2019.
  23. "【831衝突】太子站13及15歲被捕少年提堂 家屬反對記者旁聽". stheadline.com (ภาษาChinese (Hong Kong)). Sing Tao News Corp. 2 September 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 October 2019. สืบค้นเมื่อ 27 October 2019.
  24. 官拒頒保護令 8‧31被捕少年當庭釋放. Ming Pao (ภาษาChinese (Hong Kong)). Hong Kong: Media Chinese International. 19 October 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 November 2019. สืบค้นเมื่อ 1 November 2019.
  25. 港鐵因應有人群聚集關閉太子站. news.now.com (ภาษาChinese (Hong Kong)). Hong Kong: Now TV. 6 September 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 October 2019. สืบค้นเมื่อ 10 September 2019.
  26. "Heavy police presence in Hong Kong after threats of new airport protests". CNN. 7 September 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 October 2019. สืบค้นเมื่อ 27 October 2019.
  27. 十多人毀壞太子站外鮮花 兩名記者遇襲. news.now.com (ภาษาChinese (Hong Kong)). Hong Kong: Now TV. 10 September 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 October 2019. สืบค้นเมื่อ 11 September 2019.
  28. 28.0 28.1 Choi, Martin; Magramo, Kathleen; Leung, Kanis (31 October 2019). "Halloween protests in Hong Kong: police fire tear gas in Mong Kok, Central and Sheung Wan as people denounce alleged force brutality and march against mask ban". South China Morning Post. Hong Kong. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 November 2019. สืบค้นเมื่อ 2 November 2019. Protesters gather across the city to mark two months since police operation in Prince Edward MTR station and to march from Victoria Park
  29. 「毋忘8‧31」爆警民衝突 政務司長辦職員被捕. Ming Pao (ภาษาChinese (Hong Kong)). Hong Kong: Media Chinese International. 1 November 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 November 2019. สืบค้นเมื่อ 1 November 2019.
  30. 831受傷少年入稟控警務處長索償. Cable News (ภาษาChinese (Hong Kong)). HK Cable TV. 26 September 2019. สืบค้นเมื่อ 27 October 2019.
  31. 邁克 (3 September 2019). 喬裝市民. "克社會" column. Apple Daily (ภาษาChinese (Hong Kong)). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 October 2019. สืบค้นเมื่อ 27 October 2019.
  32. "Hong Kong: Rampaging police must be investigated". Amnesty International. 1 September 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 September 2019. สืบค้นเมื่อ 1 September 2019. In response to the latest clashes between police and protesters in Hong Kong on Saturday night – including one incident where police stormed the platform of Prince Edward metro station and beat people on a train – Man-Kei Tam, Director of Amnesty International Hong Kong, said: "Violence directed at police on Saturday is no excuse for officers to go on the rampage elsewhere. The horrifying scenes at Prince Edward metro station, which saw terrified bystanders caught up in the melee, fell far short of international policing standards.
  33. Leung, Kanis; Leung, Christy; Siu, Phila (4 September 2019). "Hong Kong police pepper spray angry crowd as lawyers condemn 'abuse of power'". South China Morning Post. Hong Kong. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 September 2019. สืบค้นเมื่อ 4 September 2019.
  34. 34.0 34.1 34.2 แม่แบบ:Cite blog
  35. 【抗暴之戰】前無古人!林鄭20.2分民望創新低 近半人信「831有死人」. Online "realtime" news. Apple Daily (ภาษาChinese (Hong Kong)). Hong Kong. 29 October 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 November 2019. สืบค้นเมื่อ 4 November 2019.