ข้ามไปเนื้อหา

เส้นทางการค้าระหว่างวารันเจียนและกรีก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แผนที่แสดงเส้นทางการค้าหลักของวารันเจียนที่รวมทั้ง: เส้นทางการค้าสายโวลกา (สีแดง) และเส้นทางการค้าระหว่างวารันเจียนและกรีก (สีม่วง) เส้นทางสายอื่นที่ใช้ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 8 จนถึง 11 เป็นสีส้ม

เส้นทางการค้าระหว่างวารันเจียนและกรีก (รัสเซีย: Путь «из варяг в греки», Put iz varyag v greki, อังกฤษ: Trade route from the Varangians to the Greeks) เป็นเส้นทางการค้าที่เชื่อมระหว่างสแกนดิเนเวีย, เคียฟรุส และ จักรวรรดิไบแซนไทน์ เส้นทางนี้ทำให้พ่อค้าสามารถเดินทางติดต่อค้าขายโดยตรงได้กับจักรวรรดิไบแซนไทน์และทำให้เกิดการตั้งถิ่นฐานกันขึ้นในบริเวณที่ปัจจุบันคือเบลารุส รัสเซีย และยูเครน

เส้นทางเริ่มต้นที่ศูนย์กลางการค้าในสแกนดิเนเวียเช่นแบร์คา, เฮเดบี และ ก็อตแลนด์ ข้ามทะเลบอลติกเข้าไปยังอ่าวฟินแลนด์ และเดินตามลำแม่น้ำเนวาไปยังทะเลสาบลาโกดา จากนั้นก็ตามขึ้นแม่น้ำโวลคอฟ (Volkhov River) ผ่านเมือง สตารายาลาโดกา (Staraya Ladoga) และ เวลิคีโนฟโกรอด (Velikiy Novgorod) ข้ามทะเลสาบอิลเมน ตามลำน้ำแม่น้ำโลวัต จากแม่น้ำโลวัตก็ต้องบรรทุกทางบกไปยังแม่น้ำนีเพอร์ไม่ไกลจากกเนซโดโว (Gnezdovo) สายที่สองเริ่มจากทะเลบอลติกไปยังแม่น้ำนีเพอร์ทางดวินาตะวันตก (Daugava) และตามแม่น้ำคาพลยา (Kasplya River) ไปยังกเนซโดโว ตามลำแม่น้ำนีเพอร์เส้นทางต้องข้ามจุดที่น้ำเชี่ยวจัดหลายจุดและผ่านเคียฟ และหลังจากเข้าสู่ทะเลดำแล้วก็เดินทางตามฝั่งตะวันตกไปยังคอนสแตนติโนเปิล

ประวัติ

[แก้]

เส้นทางการค้าจากวารันเจียนไปยังกรีกกล่าวถึงเป็นครั้งแรกใน “พงศาวดารฉบับหลักของรัสเซีย” ในคริสต์ศตวรรษที่ 12 แต่อันที่จริงแล้วการกล่าวถึงเส้นทางการค้าสายนี้มีมาตั้งแต่ก่อนหน้านั้นแล้วในคริสต์ศตวรรษที่ 9 เมื่อไบแซนไทน์กล่าวถึงผู้ที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานใหม่ที่เรียกว่า “วารันเจียน” แม้ว่าคำนี้อาจจะหมายถึงไวกิงสำหรับบางคนแต่สำหรับไบแซนไทน์หมายถึงผู้ที่มาจากสแกนดิเนเวียและผู้ที่เกี่ยวข้องที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ในบริเวณที่ปัจจุบันคือรัสเซีย


เส้นทางสายนี้อาจจะเริ่มก่อตั้งขึ้นราวปลายคริสต์ศตวรรษที่ 8 หรือต้นคริสต์ศตวรรษที่ 9 เมื่อนักสำรวจวารันเจียนพยายามเสาะหาที่ปล้นสดมใหม่และเพื่อหาแหล่งค้าทาสและสินค้าอื่นๆ เส้นทางกลายมามีความสำคัญมากขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 10 จนกระทั่งต้นคริสต์ศตวรรษที่ 11 พร้อมๆ กับเส้นทางสายโวลกา และ เส้นทางการค้าระหว่างชาวคาร์ซาร์กับชาวเยอรมัน (Trade route from the Khazars to the Germans)

ตามคำกล่าวของจักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 7 กลุ่มชนคริวิคและกลุ่มอื่นๆ ขึ้นอยู่กับการเดินทางขึ้นล่องไปยังเมืองต่างๆ ตามลำแม่น้ำโดยเรือขุดของเคียฟที่บรรทุกผู้โดยสารได้ลำละประมาณ 30 ถึง 40 คน เรือเหล่านี่แล่นตามแม่น้ำแม่น้ำนีพเพอร์ขึ้นไปยังเคียฟ เพื่อนำไปขายให้แก่วารันเจียนผู้สร้างเสริมให้เหมาะแก่การบรรทุกสินค้า[1]

อ้างอิง

[แก้]

ดูเพิ่ม

[แก้]