ข้ามไปเนื้อหา

เรือหลวงภูมิพลอดุลยเดช

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ประวัติ
ราชนาวีไทยประเทศไทย
ชนิดเรือฟริเกตชุดเรือหลวงภูมิพลอดุลยเดช (DW-3000F)
ชื่อ
  • ไทย: เรือหลวง ภูมิพลอดุลยเดช
  • อังกฤษ: HTMS Bhumibol Adulyadej
ตั้งชื่อตามพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
Orderedพ.ศ. 2556
อู่เรืออู่ต่อเรือแดวู Daewoo Shipbuilding and Marine Engineering (DSME), นครปูซาน, ประเทศเกาหลีใต้
มูลค่าสร้าง14,997 ล้านบาท (471 Million USD)
ปล่อยเรือ15 พฤษภาคม พ.ศ. 2559
เดินเรือแรก23 มกราคม พ.ศ. 2560
เข้าประจำการ7 มกราคม พ.ศ. 2562
รหัสระบุ
สถานะในประจำการ
ลักษณะเฉพาะ
ประเภท: เรือฟริเกต
ขนาด (ระวางขับน้ำ): เต็มที่ 3,700 ตัน
ความยาว: 124.1 เมตร (ตลอดลำ)[2]
ความกว้าง: 14.40 เมตร (กลางลำ)[2]
กินน้ำลึก: 8 เมตร
ระบบพลังงาน: • 2 เครื่องยนต์ดีเซล MTU รุ่น 16V1163 M94 กำลัง 8,000 แรงม้า
• 1 เครื่องยนต์กังหันก๊าซ General Electric รุ่น LM2500 กำลัง 29,000 แรงม้า
ระบบขับเคลื่อน: 4 x Ship Service Power Generation (Each of 830 kW Rated output)
ความเร็ว: • 33.3 นอต (สูงสุด)
• 18 นอต (มัธยัสถ์)[2]
พิสัยปฏิบัติการ: 4,000 ไมล์ทะเล • 7,408 กิโลเมตร ที่ความเร็ว 18 น็อต [2]
ลูกเรือ: 141 นาย[2]
ระบบตรวจการและปฏิบัติการ:


• 1 x เรดาร์ตรวจการณ์ 3 มิติระยะไกลแบบ Saab SEA GIRAFFE ER
• 1 x เรดาร์ตรวจการณ์ 3 มิติระยะปานกลางแบบ Saab SEA GIRAFFE AMB
• 3 x เรดาร์เดินเรือ
• 1 x กล้องตรวจการณ์
• 1 x DSQS-24 Atlas Hull Mounted Sonar
• 1 x ACTAS Atlas ELEKTRONIK Towed Array Sonar
• 2 x IFF
• 1 x ADS-B
ระบบเรือเทคโนโลยีสเตลท์
• Rader Cross Section Reduction
• Infrared Reduction
• Underwater Radiated Noise Reduction
• Degaussing
• NBC Protection System
ระบบอำนวยการรบ
• 15 x Multi-Function Consoles แบบ Saab 9LV Mk4
ระบบควบคุมการยิง
• 2 x เรดาร์ควบคุมการยิงแบบ Saab CEROS 200
• 2 x Continuous Wave Illuminators
• 1 x Saab EOS 500 Electro Optical Fire Control


• 2 x Target Designation Sight: Bridge Pointer
สงครามอิเล็กทรอนิกส์และเป้าลวง:


• 1 x Radar ESM
• 1 x Communication ESM
• 6 x Decoy Launchers
• Active-off board ECM


• ระบบเป้าลวงต่อต้านอาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือ และระบบเป้าลวงตอร์ปิโดแบบ CANTO-V
ยุทโธปกรณ์:


• 1 x ปืนใหญ่เรือ OTO Melara 76/62 Super Rapid ขนาด 76 มม./62 คาลิเบอร์ แท่นเดี่ยว ระยะยิง 16 กม. เมื่อใช้กระสุน standard ammunition. 20 กม. เมื่อใช้ กระสุน extended range ammunition. 40 กม. เมื่อใช้กระสุน VULCANO ammunition.
• 8 x Advance Harpoon Weapon Control System: RGM/AGM-84L (Block 2) ระยะยิง 278 กิโลเมตร (150 nmi) ที่ความเร็ว 864 กิโลเมตรต่อชั่วโมง/0.24 กิโลเมตรต่อวินาที
• 8 x Mk.41 VLS สำหรับ 32 x อาวุธปล่อยนำวิถี อาร์ไอเอ็ม-162 อีเอสเอสเอ็ม Block II ระยะยิง 50 กิโลเมตร หรือจรวดต่อต้านเรือดำน้ำ RUM-139C VL ASROC ท่อยิงละ 1 นัด รวม 8 นัด หรือเป้าลวงอาวุธปล่อยนำวิถี Mk.234 Nulka ท่อยิงละ 4 นัด รวม 32 นัด หรือผสมกัน (ในอนาคตสามารถติดตั้ง Mk.41 VLS เพิ่มเติมได้อีก 8 cell และสามารถติดตั้งอาวุธปล่อยนำวิถี SM-2MR ระยะยิง 167 กิโลเมตรได้)
• 1 x ระบบป้องกันระยะประชิด (CIWS) แบบ Raytheon Mk 15 Phalanx block 1B ขนาด 20 มม./99 คาลิเบอร์ 6 ลำกล้องหมุน
• 2 x ปืนใหญ่กล MSI-DSL/ATK DS30MR Mk 44 ขนาด 30 มม./70 คาลิเบอร์ แท่นเดี่ยว
• 2 x ปืนกล U.S. Ordnance M2HB ขนาด 12.7 มม. แท่นเดี่ยว


• 2 x 3 แท่นยิง J+S DMTLS สำหรับตอร์ปิโดปราบเรือดำน้ำแบบ Mark 54 แท่นละ 3 ท่อยิง 2 แท่นยิง
อุปกรณ์สนับสนุนการบิน: 1 x ขนาด 10 ตัน S-70B Sea hawk หรือ MH-60S Knight hawk with Hangar

เรือหลวงภูมิพลอดุลยเดช (FFG-471) (อังกฤษ: HTMS Bhumibol Adulyadej) เป็นเรือฟริเกตชุดเรือหลวงภูมิพลอดุลยเดช ของกองทัพเรือไทย ต่อขึ้นที่สาธารณรัฐเกาหลี พัฒนาขึ้นจากเรือพิฆาตชั้นควังแกโทมหาราช เรือลำนี้ถือเป็นเรือลำแรกในโครงการเรือฟริเกตสมรรถนะสูงของกองทัพเรือไทย สามารถปฏิบัติการรบ 3 มิติ ทั้งผิวน้ำ ใต้น้ำ และทางอากาศ[3] ขึ้นประจำการเมื่อวันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2562 เดิมมีชื่อเดิมคือ เรือหลวงท่าจีน ซึ่งพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระราชทานชื่อให้ตอนปีพ.ศ. 2559 ต่อมาด้วยพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานนามใหม่ว่า เรือหลวงภูมิพลอดุลยเดช ตามพระนามของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร

ความเป็นมาของโครงการ

[แก้]

เรือหลวงภูมิพลอดุลยเดช เป็นเรือชั้นฟริเกต ต่อขึ้นที่เกาหลีใต้ โดยพัฒนาขึ้นจากเรือพิฆาตชั้น ควังแกโทมหาราช (Gwanggaeto the Great-class destroyer) เรือลำนี้ถือเป็นเรือลำแรกในโครงการเรือฟริเกตสมรรถนะสูงของกองทัพเรือไทย สามารถปฏิบัติการรบ 3 มิติ ทั้งผิวน้ำ, ใต้น้ำ และทางอากาศ มีชื่อเดิมคือ เรือหลวงท่าจีน (ลำที่ 3) ต่อมาได้รับพระราชทานชื่อใหม่โดย รัชกาลที่ 10 มีชื่อว่า เรือหลวงภูมิพลอดุลยเดช ตามพระราชนามของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เรือ DW-3000F เป็นโครงการจัดหาเรือฟริเกตสมรรถนะสูงของกองทัพเรือจำนวน 2 ลำ โครงการเริ่มขึ้นในปี 2555 และลงนามจัดซื้อในปี 2556 จากบริษัท Daewoo Shipbuilding & Marine Engineering Co., Ltd. (DSME) จากประเทศเกาหลีใต้ 1 ลำ โดยมีค่าจ้างสร้างเรือรวมทั้งสิ้นประมาณ 14,997 ล้านบาท ซึ่งเป็นราคารวมภาษีมูลค่าเพิ่ม อะไหล่เครื่องมือ เอกสาร ส่วนสนับสนุน การทดสอบทดลอง การฝึกอบรม การถ่ายทอดเทคโนโลยี และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเป็นงบประมาณผูกพันระยะเวลา 6 ปี

การดำเนินการสร้าง

[แก้]

เรือถูกพัฒนาปรับปรุงมาจากเรือพิฆาตชั้น Gwanggaeto the Great-class destroyer (KDX-I) ของกองทัพเรือเกาหลีใต้ โดยการสร้างเรือดำเนินการ ณ อู่ต่อเรือของบริษัท DSME เกาหลีใต้ ในระหว่างปี 2556 – 2561 ตัวเรือออกแบบโดยใช้ Stealth Technology ทั้งตัวเรือและระบบต่าง ๆ เน้นลดการถูกตรวจจับโดยฝ่ายตรงข้าม ทั้งลดการแผ่รังสีความร้อน ลดการสะท้อนของเรดาร์และลดเสียง มีการเชื่อมโยงระบบการรบของเรือรบกองทัพเรือกับเครื่องบินของกองทัพอากาศ ทั้ง Link E, Link RTN โดยเฉพาะการเชื่อมโยงกับเรือหลวงฟริเกตชุดตากสิน-นเรศวร และเรือหลวงจักรีนฤเบศร กับ Link G, เครื่องบิน Gripen เป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาระบบ Network Centric Warfare เรือฟริเกตสมรรถนะสูง ได้รับการออกแบบตัวเรือและโครงสร้าง รองรับการปรับปรุงให้สามารถยิงอาวุธปล่อยนำวิถีพื้น-สู่-อากาศ แบบ SM2 รวมทั้งได้มีแผนเตรียมการรองรับไว้แล้ว โดยบริษัทผู้ผลิตระบบประกอบที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ แท่นยิงแท่นยิงอาวุธปล่อยฯ แนวตั้ง (VLS) ระบบอำนวยการรบ เรดาร์ควบคุมการยิงและ เรดาร์ชี้เป้า (Illuminator) สามารถปรับปรุงรองรับการยิงอาวุธปล่อยฯ ดังกล่าวได้ เมื่อกองทัพเรือต้องการและสถานการณ์ด้านงบประมาณเอื้ออำนวย เรือหลวงภูมิพลอดุลยเดช ได้ทำพิธีรับมอบเรือ ณ อู่ต่อเรือ Okpo-Dong ของบริษัท Daewoo Shipbuilding & Marine Engineering (DSME) ใน Geoje, South Gyeongsang, Busan เกาหลีใต้ เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2561

ภารกิจของหน่วย

[แก้]
  • ภารกิจในยามสงคราม ป้องกันอธิปไตยเหนืออาณาเขตทางทะเลของไทย คุ้มกันกระบวนเรือลำเลียง
  • ภารกิจในยามสงบ รักษาความมั่นคงและความปลอดภัยของเส้นทางคมนาคมทางทะเล พิทักษ์รักษาสิทธิอธิปไตยทางทะเล ค้นหาและช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางทะเล ช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและบรรเทาภัยพิบัติ และรักษากฎหมายตามกฎหมายให้อำนาจทหารเรือ

ในวันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2567 พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินโดยเฮลิคอปเตอร์พระที่นั่ง จากค่ายนเรศวร อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี ประทับเรือหลวงภูมิพลอดุลยเดช เพื่อทอดพระเนตรการแข่งขันเรือใบข้ามอ่าวเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 โดยสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี ทรงเข้าร่วมการแข่งขันดังกล่าวด้วย[4]

อ้างอิง

[แก้]
  1. https://www.marinetraffic.com/en/ais/details/ships/shipid:5412270/mmsi:567565000/imo:0/vessel:THAI_WARSHIP
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 กองทัพเรือไทยจัดพิธีต้อนรับเรือฟริเกตสมรรถนะสูงเรือหลวงภูมิพลอดุลยเดช 7 มกราคม 2562. AAG_th บันทึกประจำวัน
  3. เรือฟริเกตเรือหลวงท่าจีนได้รับพระราชทานชื่อใหม่เป็นเรือหลวงภูมิพลอดุลยเดชเดินทางถึงกองทัพเรือไทยแล้ว 6 มกราคม 2562. AAG_th บันทึกประจำวัน
  4. "ในหลวง-พระราชินีทรงร่วมแข่งขันกีฬาเรือใบข้ามอ่าว". www.siamsport.co.th (ภาษาอังกฤษ). 2024-04-19.