เรือฟริเกตชั้นแอดมิรัลกรีกอโรวิช
เรือนำ แอดมิรัลกรีกอโรวิช ที่ทอดสมอ
| |
ภาพรวมชั้น | |
---|---|
ชื่อ: | ชั้นแอดมิรัลกรีกอโรวิช[1] |
ผู้สร้าง: | |
ผู้ใช้งาน: | |
ก่อนหน้าโดย: | |
สร้างเมื่อ: | ค.ศ. 2010–ปัจจุบัน |
ในประจำการ: | ค.ศ. 2016–ปัจจุบัน |
วางแผน: | 7 ลำ |
กำลังสร้าง: | 3 ลำ |
เสร็จแล้ว: | 3 ลำ |
ใช้การอยู่: | 3 ลำ |
ลักษณะเฉพาะ | |
ประเภท: | เรือฟริเกตขีปนาวุธนำวิถี |
ขนาด (ระวางขับน้ำ): |
|
ความยาว: | 124.8 m (409 ft) |
ความกว้าง: | 15.2 m (50 ft) |
กินน้ำลึก: | 4.2 m (14 ft) |
ระบบขับเคลื่อน: |
|
ความเร็ว: | 30 kn (56 km/h; 35 mph) |
พิสัยเชื้อเพลิง: | 4,850 ไมล์ทะเล (8,980 กม.; 5,580 ไมล์) ที่ 14 kn (26 km/h; 16 mph) |
พิสัยปฏิบัติการ: | 30 วัน |
อัตราเต็มที่: | 200 นาย |
ระบบตรวจการและปฏิบัติการ: |
|
สงครามอิเล็กทรอนิกส์และเป้าลวง: |
|
ยุทโธปกรณ์: |
|
อากาศยาน: | เฮลิคอปเตอร์ซีรีส์คา-27 1 ลำ |
อุปกรณ์สนับสนุนการบิน: | ลานจอดเฮลิคอปเตอร์และโรงเก็บเครื่องบินสำหรับเฮลิคอปเตอร์หนึ่งลำ |
ชั้นแอดมิรัลกรีกอโรวิช (อังกฤษ: Admiral Grigorovich class) หรือที่เรียกว่าชั้นคริวัค IV (อังกฤษ: Krivak IV class) ซึ่งรัสเซียเรียกขานในฐานะโปรเจกต์ 11356พี/เอ็ม (รัสเซีย: Фрегаты проекта 11356; อังกฤษ: Project 11356Р/М) เป็นชั้นเรือฟริเกตที่สร้างโดยอู่ต่อเรือยันตาร์สำหรับกองทัพเรือรัสเซียและกองทัพเรืออินเดีย ซึ่งยึดแบบตามชั้นตัลวาร์ เรือหกลำได้รับคำสั่งสำหรับกองเรือทะเลดำของรัสเซียภายใต้สัญญาสองฉบับในปี ค.ศ. 2010 และ 2011 ในฐานะส่วนเสริมของเรือฟริเกตชั้นแอดมิรัลกอร์ชคอฟ[5]
ประวัติ
[แก้]ภายในปี ค.ศ. 2010–2011 มีการตัดสินใจว่ากองทัพเรือรัสเซียจะจัดหาเรือหกลำตามการออกแบบชั้นตัลวาร์ ที่ได้รับการพิสูจน์แล้วสาเหตุหลักมาจากความล่าช้าในการผลิตเรือฟริเกตแอดมิรัลกอร์ชคอฟซ้ำแล้วซ้ำเล่า และเนื่องจากความจำเป็นเร่งด่วนสำหรับเรือฟริเกตลำใหม่ที่จำเป็นสำหรับการปรับปรุงกองเรือทะเลดำให้ทันสมัย[6] อู่ต่อเรือยันตาร์ได้รับสัญญาในการก่อสร้างเรือฟริเกตและเรือสามลำจะแล้วเสร็จในสี่ปี ก่อนหน้านี้ เรือหกลำที่มีการออกแบบเดียวกันซึ่งเรียกว่าชั้นตัลวาร์ ได้รับการสร้างขึ้นสำหรับกองทัพเรืออินเดียระหว่างปี ค.ศ. 1999 ถึง 2011 โดยอู่ต่อเรือบอลติก เซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก และอู่ต่อเรือยันตาร์ คาลีนินกราด[7]
เรือนำ แอดมิรัลกรีกอโรวิช ได้รับการวางกระดูกงูเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม ค.ศ. 2010 และขึ้นระวางเมื่อวันที่ 11 มีนาคม ค.ศ. 2016[8][9]
แรกเริ่มเดิมที ซอร์ยา-แมชโพรเอกต์ ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจของยูเครนกำลังจัดหากังหันแก๊สสำหรับเรือฟริเกตของรัสเซีย[10] แต่หลังจากวิกฤตการณ์ยูเครน ทางยูเครนกล่าวว่าจะไม่จัดส่งเครื่องยนต์อีกต่อไป[11] แซตเทิร์นซึ่งเป็นบริษัทผู้ผลิตของรัสเซียจึงได้รับการขอให้จัดส่งกังหันแก๊สเอ็ม90เอฟอาร์ ทางเลือกแทน[12]
ตั้งแต่เดือนตุลาคม ค.ศ. 2016 มีการอ้างถึงเรือฟริเกตสามลำที่ไม่สมบูรณ์คือแอดมิรัลบูตาคอฟ, แอดมิรัลอิสโตมิน และแอดมิรัลคอร์นีลอฟ ว่าการก่อสร้างนั้นถูกระงับในปี ค.ศ. 2015 เนื่องจากทางยูเครนปฏิเสธที่จะจัดส่งโรงผลิตกำลังกังหันแก๊ส จึงได้พิจารณาที่จะขายให้แก่อินเดีย[13] ซึ่งกองทัพเรือรัสเซียได้คัดค้านการส่งออกนี้[14]
เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน ค.ศ. 2017 บริษัทกลุ่มอุตสาหกรรมการต่อเรือ (USC) ประกาศว่าจะกลับมาดำเนินการสร้างเรือฟริเกตสามลำสุดท้ายในปี ค.ศ. 2018 และต่อมาเรือรบเหล่านั้นจะเข้าร่วมกับกองทัพเรือรัสเซีย การตัดสินใจกลับมาทำงานใหม่เกิดขึ้นหลังจากการทดสอบเบื้องต้นของเอ็ม70เอฟอาร์ยู (14 เมกะวัตต์) และเอ็ม90เอฟอาร์ (20 เมกะวัตต์, สูงสุด 25-28 เมกะวัตต์) ซึ่งเป็นเครื่องยนต์กังหันแก๊สรุ่นล่าสุดของรัสเซีย ที่ออกแบบและสร้างโดยโรงงานเอ็นพีโอ แซตเทิร์น[12] ด้วยการเข้าถึงเครื่องให้กำลังทางเลือก เชื่อกันว่าเรือรบเหล่านี้ยังคงประจำการในรัสเซีย[15][16] ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 2017 เอ็นพีโอ แซตเทิร์น ประสบความสำเร็จในสามโครงการการวิจัยและพัฒนาของเครื่องยนต์แก๊สเอ็ม90เอฟอาร์, อะกรีเกต-ดีเควีพี และเอ็ม70เอฟอาร์ยู-อาร์ ซึ่งจัดขึ้นตั้งแต่ปี ค.ศ. 2014[17]
อย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม ค.ศ. 2018 ได้มีการตัดสินใจขายเรือฟริเกตที่ยังไม่เสร็จสมบูรณ์ของแอดมิรัลบูตาคอฟ และแอดมิรัลอิสโตมิน ให้แก่กองทัพเรืออินเดียภายใต้สัญญามูลค่า 950 ล้านดอลลาร์สหรัฐ อู่ต่อเรือยันตาร์ในคาลีนินกราดจะดำเนินงานที่จำเป็นทั้งหมดเพื่อทำให้เรือฟริเกตเหล่านี้เสร็จสิ้น[18][19] ก่อนที่จะส่งมอบให้อินเดียในครึ่งแรกของปี ค.ศ. 2024[20]
ประวัติปฏิบัติการ
[แก้]เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน ค.ศ. 2016 ในฐานะส่วนหนึ่งของการแทรกแซงทางทหารของรัสเซียในสงครามกลางเมืองซีเรีย เรือแอดมิรัลกรีกอโรวิชได้กรีธาพลสู่ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนเป็นครั้งแรก[21] และเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน ค.ศ. 2016 เรือนี้ได้ปล่อยขีปนาวุธร่อนคาลิบร์ใส่เป้าหมาย ทั้งไอซิสและอัลนุสเราะ ในจังหวัดอิดลิบและฮอมส์ของประเทศซีเรีย โดยทำลายโกดังเก็บอาวุธยุทธภัณฑ์, ศูนย์ชุมนุมและศูนย์ฝึก ตลอดจนโรงงานผลิตอาวุธ[22][23]
เรือแอดมิรัลกรีกอโรวิชได้กรีธาพลสู่ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนอีกครั้งเมื่อเดือนเมษายน ค.ศ. 2017 หลังจากสหรัฐยิงขีปนาวุธโจมตีซีเรีย[24]
การส่งออก
[แก้]ในฐานะส่วนหนึ่งของข้อตกลงที่ลงนามเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม ค.ศ. 2018 สำหรับการส่งมอบเรือฟริเกตแอดมิรัลบูตาคอฟ และแอดมิรัลอิสโตมิน ไปยังกองทัพเรืออินเดีย โรโซโบโรนเอ็กซ์ปอร์ตและอู่ต่อเรือกัวได้ลงนามในสัญญาเพิ่มเติมสำหรับเรือฟริเกตชั้นแอดมิรัลกรีกอโรวิชอีกสองลำเพื่อรับใบอนุญาตสร้างที่อู่ต่อเรือกัวในประเทศอินเดีย ภายใต้สัญญาดังกล่าว ทางรัสเซียจะให้ความรู้ด้านเทคโนโลยีแก่อินเดียในการสร้างเรือฟริเกตด้วยตนเอง ค่าใช้จ่ายขั้นสุดท้ายของเรือทั้งสองลำยังไม่ได้กำหนด แต่คาดว่าจะอยู่ที่ 500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งกองทัพเรืออินเดียควรได้รับเรือในปี ค.ศ. 2026 และ 2027 ตามลำดับ[18][19][25]
เรือ
[แก้]ชื่อ | ตั้งชื่อตาม | ผู้สร้าง | วางกระดูกงู | ปล่อยลงน้ำ | สั่งต่อเรือ | กองเรือ | สถานะ |
---|---|---|---|---|---|---|---|
กองทัพเรือรัสเซีย | |||||||
แอดมิรัลกรีกอโรวิช | อีวาน คอนสตันติโนวิช กรีกอโรวิช | ยันตาร์ คาลีนินกราด | 18 ธันวาคม ค.ศ. 2010 | 14 มีนาคม ค.ศ. 2014[26] | 11 มีนาคม ค.ศ. 2016[27] | ทะเลดำ | ประจำการ |
แอดมิรัลเอสเซน | นิโคไล ออตโตวิช เอสเซน | ยันตาร์ คาลีนินกราด | 8 กรกฎาคม ค.ศ. 2011[28][29] | 7 พฤศจิกายน ค.ศ. 2014[30] | 7 มิถุนายน ค.ศ. 2016[31] | ทะเลดำ | ประจำการ |
แอดมิรัลมาคารอฟ[32][33][34] | สเตปัน โอซีโปวิช มาคารอฟ | ยันตาร์ คาลีนินกราด | 29 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2012[35][36] | 2 กันยายน ค.ศ. 2015[37] | 27 ธันวาคม ค.ศ. 2017[38] | ทะเลดำ | ประจำการ |
ไม่รวมแอดมิรัลคอร์นิลอฟ | ยันตาร์ คาลีนินกราด | 16 พฤศจิกายน ค.ศ. 2017[39] | ภายในปี ค.ศ. 2026[40] | อยู่ระหว่างการสร้าง | |||
กองทัพเรืออินเดีย | |||||||
ไม่รวมแอดมิรัลบูตาคอฟ | ยันตาร์ คาลีนินกราด | 13 กรกฎาคม ค.ศ. 2013[41] | 5 มีนาคม ค.ศ. 2016[42] | ภายในปี ค.ศ. 2024[40] | อยู่ระหว่างการสร้าง | ||
ไม่รวมแอดมิรัลอิสโตมิน | ยันตาร์ คาลีนินกราด | 15 พฤศจิกายน ค.ศ. 2013[43] | 16 พฤศจิกายน ค.ศ. 2017[39] | ภายในปี ค.ศ. 2024[40] | อยู่ระหว่างการสร้าง |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ""Адмирал Григорович"" (ภาษารัสเซีย). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 มกราคม 2016. สืบค้นเมื่อ 5 กุมภาพันธ์ 2016.
- ↑ "Russian missile frigate holds gunnery exercise in East Mediterranean". TASS. 14 October 2019. สืบค้นเมื่อ 3 November 2019.
- ↑ "Archived copy". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-12-23. สืบค้นเมื่อ 2017-06-02.
{{cite web}}
: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์) - ↑ https://tass.com/defense/1045796
- ↑ "На фрегате "Адмирал Григорович" поднят Андреевский флаг - Еженедельник "Военно-промышленный курьер"". vpk-news.ru (ภาษารัสเซีย). 11 มีนาคม 2016. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 ธันวาคม 2016. สืบค้นเมื่อ 5 สิงหาคม 2016.
- ↑ Admiral Gorshkov Frigate Reveals Serious Shortcomings in Russia’s Naval Modernization Program เก็บถาวร 2016-10-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน - Center for Strategic and International Studies, March 2016
- ↑ "В Калининграде заложили первый фрегат нового проекта для ВМФ РФ | Оборона и безопасность | Лента новостей "РИА Новости"" (ภาษารัสเซีย). Rian.ru. 18 ธันวาคม 2010. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 ธันวาคม 2010. สืบค้นเมื่อ 5 พฤศจิกายน 2016.
- ↑ "St. Andrew flag hoisted on Russia's Project 11356 lead frigate". TASS. 11 มีนาคม 2016. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 กันยายน 2016. สืบค้นเมื่อ 5 พฤศจิกายน 2016.
- ↑ LaGrone, Sam (9 มิถุนายน 2016). "Russian Black Sea Fleet Gets First New Frigate Since Cold War". usni.org. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 สิงหาคม 2016. สืบค้นเมื่อ 5 สิงหาคม 2016.
- ↑ LaGrone, Sam (10 มิถุนายน 2015). "Russian Navy Faces Surface Modernization Delays Without Ukrainian Engines, Officials Pledge to Sue". usni.org. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 มกราคม 2017. สืบค้นเมื่อ 5 พฤศจิกายน 2016.
- ↑ "Russia hoping to export three sanction-hit Admiral Grigorovich-class frigates". Jane's Defence Weekly. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-10-16.
- ↑ 12.0 12.1 Jones, Bruce (6 June 2017). "USC announces restart of Project 11356 frigates". IHS Jane's 360. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 June 2017. สืบค้นเมื่อ 8 June 2017.
- ↑ "India, Russia sign 16 agreements across multiple sectors". firstpost.com. 11 มีนาคม 2016. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 พฤศจิกายน 2016. สืบค้นเมื่อ 5 พฤศจิกายน 2016.
- ↑ "Archived copy". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-08-26. สืบค้นเมื่อ 2017-04-29.
{{cite web}}
: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์) - ↑ "Три фрегата проекта 11356 будут достроены для ВМФ России с российскими газотурбинными агрегатами". bmpd.livejournal.com (ภาษารัสเซีย). 3 มิถุนายน 2017. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 มิถุนายน 2017.
- ↑ "Russia to resume the construction of the "last three" Project 11356 frigates in 2018". navyrecognition.com. 3 มิถุนายน 2017. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 มิถุนายน 2017.
- ↑ "Russian Navy to Get First Serial Home-Made Gas Turbines in 2019". mil.today. 23 May 2018. สืบค้นเมื่อ 31 May 2020.
- ↑ 18.0 18.1 "Russia, India sign contracts on building 4 Project 11356 frigates". TASS. 20 October 2018. สืบค้นเมื่อ 31 May 2020.
- ↑ 19.0 19.1 "India signs contracts to purchase 4 Admiral Grigorovich-class frigates from Russia". thedefensepost. 20 November 2018. สืบค้นเมื่อ 31 May 2020.
- ↑ "Russia to deliver two Project 11356 frigates to India in first half of 2024". TASS. 6 February 2020. สืบค้นเมื่อ 31 May 2020.
- ↑ "Russia's state-of-the-art frigate Admiral Grigorovich sets off to Syria". Pravda. 3 พฤศจิกายน 2016. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 พฤศจิกายน 2016. สืบค้นเมื่อ 5 พฤศจิกายน 2016.
- ↑ "Russian carrier takes part in massive strikes on terrorists in Syria's Idlib & Homs provinces – MoD". RT International (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-11-16. สืบค้นเมื่อ 2016-11-15.
- ↑ Sputnik. "Russian Admiral Grigorovich Frigate Targets Terrorists in Syria With Missiles". sputniknews.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-11-16. สืบค้นเมื่อ 2016-11-15.
- ↑ LeGrone, Sam (7 เมษายน 2017). "Russia Sends Frigate to Mediterranean Following U.S. Retaliation Strike; U.S. Destroyers Remain on Station". usni.org. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 เมษายน 2017. สืบค้นเมื่อ 9 เมษายน 2017.
- ↑ "India, Russia sign $500 million navy deal for 2 stealth frigates". hindustantimes.com. 20 November 2018. สืบค้นเมื่อ 31 May 2020.
- ↑ "The Yantar shipyard in Russia's Baltic exclave of Kaliningrad on Friday floated out the first in a series of six Project 11356 frigates being built for the Black Sea Fleet, the company said". Sputnik. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-03-14.
- ↑ "ПСЗ "Янтарь" сдал "Адмирала Григоровича" » Ресурс машиностроения. Новости машиностроения, статьи. Каталог машиностроительных заводов и предприятий". i-mash.ru (ภาษารัสเซีย). 10 มีนาคม 2016. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 ตุลาคม 2017. สืบค้นเมื่อ 5 สิงหาคม 2016.
- ↑ "На заводе "Янтарь" началось строительство корабля для ВМФ России (фото)" (ภาษารัสเซีย). Kaliningrad.ru. 8 กรกฎาคม 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 มกราคม 2012. สืบค้นเมื่อ 5 พฤศจิกายน 2016.
- ↑ ""Адмирал номер два": фоторепортаж "Нового Калининграда.Ru"" (ภาษารัสเซีย). Newkaliningrad.ru. 8 กรกฎาคม 2011. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 สิงหาคม 2016. สืบค้นเมื่อ 5 พฤศจิกายน 2016.
- ↑ "Admiral Essen frigate to be handed to Russian Navy by end of 2015". ITAR TASS. 7 พฤศจิกายน 2014. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 พฤศจิกายน 2014. สืบค้นเมื่อ 7 พฤศจิกายน 2014.
- ↑ Novichkov, Nikolai (9 มิถุนายน 2016). "Russian Navy receives Admiral Essen frigate". janes.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 สิงหาคม 2016. สืบค้นเมื่อ 5 สิงหาคม 2016.
- ↑ "Новые фрегаты для ВМФ России получат имена царских адмиралов". flot.com (ภาษารัสเซีย). 8 ธันวาคม 2010. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 พฤศจิกายน 2016. สืบค้นเมื่อ 5 พฤศจิกายน 2016.
- ↑ "First frigate of the new project was laid down in Kaliningrad for Russian Navy". rusnavy.com. 20 ธันวาคม 2010. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 มิถุนายน 2017. สืบค้นเมื่อ 5 พฤศจิกายน 2016.
- ↑ "New frigate laid down at Yantar shipyard in Kaliningrad". ITAR-TASS (ภาษารัสเซีย). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-09-13. สืบค้นเมื่อ 2011-12-28.
- ↑ Gavrilenko, Andrew (25 กุมภาพันธ์ 2012). "Флоту – новый фрегат". redstar.ru (ภาษารัสเซีย). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 มิถุนายน 2017. สืบค้นเมื่อ 5 พฤศจิกายน 2016.
- ↑ "Russia to Lay Down New Frigate for Navy | Defense | RIA Novosti". En.rian.ru. 2012-02-28. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-07-08. สืบค้นเมื่อ 2014-03-08.
- ↑ "В Калининграде спустили на воду новейший фрегат "Адмирал Макаров"". flotprom.ru (ภาษารัสเซีย). 2 กันยายน 2015. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 ตุลาคม 2016. สืบค้นเมื่อ 5 พฤศจิกายน 2016.
- ↑ "На новейшем фрегате "Адмирал Макаров" поднят Андреевский флаг" (Press release) (ภาษารัสเซีย). Ministry of Defence (Russia). 27 ธันวาคม 2017. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 ธันวาคม 2017. สืบค้นเมื่อ 27 ธันวาคม 2017.
- ↑ 39.0 39.1 "Yantar Shipyard Launched Two Project 11356 Frigates in Kaliningrad". navyrecognition.com. 16 พฤศจิกายน 2017. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 พฤศจิกายน 2017. สืบค้นเมื่อ 17 พฤศจิกายน 2017.
- ↑ 40.0 40.1 40.2 https://thediplomat.com/2020/02/russia-to-deliver-2-guided-missile-frigates-to-india-by-2024/
- ↑ "Russia Lays Down New Frigate for Black Sea Fleet". En.ria.ru. 13 July 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-10-05. สืบค้นเมื่อ 5 November 2016.
- ↑ "Rosja: W Kaliningradzie zwodowano fregatę rakietową. Bez zainstalowanej siłowni" (ภาษาโปแลนด์). defence24.pl. 5 มีนาคม 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 พฤษภาคม 2016. สืบค้นเมื่อ 5 พฤศจิกายน 2016.
- ↑ "Baltic Shipyard Starts Work on New Frigate for Russian Navy". RIA Novosti. 15 พฤศจิกายน 2013. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 สิงหาคม 2014. สืบค้นเมื่อ 5 พฤศจิกายน 2016.