เมกาเดท
เมกาเดธ | |
---|---|
เมกาเดธขณะกำลังแสดงสดในปี ค.ศ. 2008 (จากซ้าย-ขวา: เดวิด เอลเลฟสัน, เดฟ มัสเทน, ชอน โดรเวอร์และคริส บรอเดริก) โดยมีภาพพื้นหลังเป็นภาพตราประจำวง "วิก แรตเทิลเฮด" | |
ข้อมูลพื้นฐาน | |
ที่เกิด | ลอสแอนเจลิส, รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา |
แนวเพลง | |
ช่วงปี |
|
ค่ายเพลง |
|
สมาชิก | เดฟ มัสเทน เดวิด เอลเลฟสัน คิโค ลูเรยโร คริส แอดเลอร์ |
เว็บไซต์ | megadeth.com |
เมกาเดธ (อังกฤษ: Megadeth) เป็นวงเฮฟวีเมทัลอเมริกัน จากลอสแอนเจลิส รัฐแคลิฟอร์เนีย ก่อตั้งวงในปี ค.ศ. 1983 โดยเดฟ มัสเทน และมือเบส เดวิด เอลเลฟสัน หลังจากที่มัสเทนถูกขับออกจากเมทัลลิกา วงได้ออกผลงานสตูดิโออัลบั้ม 15 ชุด, อัลบั้มแสดงสด 5 ชุด, อีพี 2 ชุด, ซิงเกิล 47 ชุด, มิวสิกวิดีโอ 36 เพลง และ 6 อัลบั้มรวมเพลง เมกาเดธ ยังถือเป็นหนึ่งในผู้บุกเบิกวงการดนตรีแทรชเมทัลในสหรัฐอเมริกาที่สำคัญ ร่วมกับวงอื่นอีกสามในเครือ "บิ๊กโฟร์" ได้แก่ เมทัลลิกา, สเลเยอร์ และแอนแทรกซ์ เมกาเดธได้นำเสนอเทคนิคทางดนตรี ด้วยจังหวะรวดเร็ว การเรียบเรียงเพลงที่ซับซ้อน เสียงร้องที่ข่ม ๆ หนักแน่นรวมไปถึงการลากเสียงของมัสเทน และเนื้อหาเพลงที่มักเกี่ยวข้องกับ ความตาย การเมือง สงคราม และศาสนา
ในปี ค.ศ. 1985 วงได้เปิดตัวอัลบั้มเปิดตัว Killing Is My Business... and Business Is Good! ผ่านทางค่ายอิสระคอมแบตเรเคิดส์[1] ซึ่งประสบความสำเร็จด้านยอดจำหน่ายกลางๆ จนทำให้ค่ายเพลงใหญ่ได้หันมาสนใจในเมกาเดธ ในที่สุดเมกาเดธก็ได้เซ็นต์สัญญากับค่ายแคปิตอลเรเคิดส์ โดยอัลบั้มแรกที่ผ่านทางค่ายนี้อย่าง Peace Sells... but Who's Buying? ซึ่งเปิดตัวไปในปี ค.ศ. 1986 สามารถประสบความสำเร็จและได้รับการยกย่องให้เป็นหนึ่งในอัลบั้มที่ทรงอิทธิพลต่อวงการเมทัลใต้ดินสหรัฐอเมริกา ถึงแม้ว่าวงจะโดดเด่นในวงการแทรชเมทัล แต่เมกาเดธก็มีข่าวเกี่ยวกับปัญหาสมาชิกวงหลายครั้ง จนต้องมีการเปลี่ยนตัวสมาชิกเรื่อยๆ รวมไปถึงปัญหาเกี่ยวกับการเสพยาเกินขนาดของสมาชิก ถึงอย่างไรก็ดีมัสเทนและเอลเลฟสัน ถือเป็นสมาชิกที่อยู่ในวงอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่ก็ตั้งวง
ในสมัยที่วงมีสมาชิกที่มั่นคง เมกาเดธได้เปิดตัวหลายอัลบั้มที่ประสบความสำเร็จด้านยอดจำหน่าย จนได้ยอดการยืนยันแผ่นเสียงทองคำขาวและแผ่นเสียงทองคำ ไม่ว่าจะเป็น Rust in Peace (1990) และ Countdown to Extinction (1992) วงได้ออกทัวร์ทั่วโลก ถือเป็นการเรียกชื่อเสียงกลับสู่วงอีกครั้ง แต่วงก็ได้สะดุดลงช่วงหนึ่งในปี ค.ศ. 2002 เมื่อมัสเทนเจ็บปวดกับเส้นประสาทที่แขนซ้ายอย่างรุนแรง ในที่สุดก็ได้กลับมารวมวงอีกครั้งในปี ค.ศ. 2004 แต่ก็ขาดมือเบสเอลเลฟสัน ซึ่งเขาได้ออกมาฟ้องมัสเทนจากปัญหาความไม่ลงรอยกันส่วนตัว ปัญหาส่วนตัว เมกาเดธได้ออกผลงานอัลบั้มชุด The System Has Failed (2004) ตามมาด้วย United Abominations (2007) ซึ่งสามารถไต่อันดับในสัปดาห์แรกที่อันดับ 18 และตามมาด้วยอันดับที่ 8 บนบิลบอร์ด 200 และอัลบั้ม Endgame (2009) ที่ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลแกรมมีสาขาการแสดงเมทัลยอดเยี่ยม ในปี ค.ศ. 2010 เอลเลฟสันก็ได้มาร่วมวงอีกครั้ง ภายหลังสิ้นสุดคดีทางศาล เมกาเดธยังเป็นเจ้าของเทศกาลดนตรีในชื่อ "จิแกนทัวร์" (Gigantour) ตั้งแต่ช่วงกลางปี ค.ศ. 2005 เป็นต้นมา
เมกาเดธนับเป็นวงใต้ดินเพียงไม่กี่วงที่ประความสำเร็จด้านยอดจำหน่าย[2] โดยปี ค.ศ. 2014 วงได้จำหน่ายไปแล้วกว่า 50 ล้านชุดทั่วโลก[3] ได้รับการยืนยันยอดจำหน่ายระดับแผ่นเสียงทองคำขาวในสหรัฐกว่า 5 ครั้ง จากทั้งหมด 15 อัลบั้ม แม้ว่าวงจะไม่เคยได้รับรางวัลแกรมมีเลย แต่ก็เคยได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงกว่า 11 ครั้ง เมกาเดธ ได้ใช้ตราประจำวงคือ "วิก แรตเทิลเฮด" (Vic Rattlehead) ซึ่งมักปรากฏทุกครั้งในหน้าปกอัลบั้ม และรวมไปถึงภาพพื้นหลังในการแสดงสดต่างๆ วงยังมักถูกวิจารณ์เกี่ยวกับเนื้อหาเพลง จนมีการแบนทั้งคอนเสิร์ตและอัลบั้ม โดยเอ็มทีวี ได้ปฏิเสธที่จะเล่นวีดิโอของวงผ่านอินเทอร์เน็ตโดยอ้างว่าอาจชักจูงไปสู่การฆ่าตัวตายได้[4]
อัลบั้ม
[แก้]- 1985: Killing Is My Business... and Business Is Good!
- 1986: Peace Sells... but Who's Buying?
- 1988: So Far, So Good... So What!
- 1990: Rust in Peace
- 1992: Countdown to Extinction
- 1994: Youthanasia
- 1997: Cryptic Writings
- 1999: Risk
- 2001: The World Needs a Hero
- 2004: The System Has Failed
- 2007: United Abominations
- 2009: Endgame
- 2011: Thirteen
- 2013: Super Collider
- 2016: Dystopia
- 2022: The Sick, the Dying... and the Dead!
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Erlewine, Stephen Thomas. "Megadeth Biography". Allmusic. Rovi Corporation. สืบค้นเมื่อ January 5, 2009.
- ↑ Edmondson 2013, p. 49.
- ↑ McPhate, Christian (July 11, 2013). "Megadeth Bassist Dave Ellefson on the Metal Aging Process". Dallas Observer. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-11-12. สืบค้นเมื่อ November 23, 2013.
- ↑ Mann, Laura (August 1, 2011). "The Ten Best Music Videos Banned by MTV". Dallas Observer. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-05-13. สืบค้นเมื่อ November 22, 2013.