เพีย ซุนด์ฮาแก
ข้อมูลส่วนตัว | |||
---|---|---|---|
ชื่อเต็ม | เพีย มอร์โรว์ ซุนด์ฮาแก | ||
วันเกิด | 13 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1960 | ||
สถานที่เกิด | อุลริเซฮัมน์ ประเทศสวีเดน | ||
ข้อมูลสโมสร | |||
สโมสรปัจจุบัน | ทีมชาติสวีเดน (ผู้จัดการ) | ||
สโมสรเยาวชน | |||
ค.ศ. 1975 | อีเอฟโคว อุลริเซฮัมน์ | ||
ค.ศ. 1975–1976 | เอสเกย์อู ฟอลโคปิง | ||
สโมสรอาชีพ* | |||
ปี | ทีม | ลงเล่น | (ประตู) |
ค.ศ. 1977–1978 | ฟอลโคปิง โควอีโคว | ||
ค.ศ. 1979–1981 | ยีเต็กซ์ เบย์โคว | ||
ค.ศ. 1982–1983 | เอิสเตอร์ส อีเอฟ | (65) | |
ค.ศ. 1984 | ยีเต็กซ์ เบย์โคว | ||
ค.ศ. 1985 | โซชีเอตาสปอร์ตีวาลาซีโอ | (17) | |
ค.ศ. 1985 | สตัตเทนา อีเอฟ | ||
ค.ศ. 1985 | ยีเต็กซ์ เบย์โคว | ||
ค.ศ. 1986 | ฮัมมาร์บี อีเอฟ เดย์เอฟเอฟ | ||
ค.ศ. 1987–1989 | ยีเต็กซ์ เบย์โคว | ||
ค.ศ. 1990–1996 | ฮัมมาร์บี อีเอฟ เดย์เอฟเอฟ | ||
ทีมชาติ‡ | |||
ค.ศ. 1975–1996 | ทีมชาติสวีเดน | 146[1] | (71[1]) |
จัดการทีม | |||
ค.ศ. 1992–1994 | ฮัมมาร์บี อีเอฟ เดย์เอฟเอฟ (ผู้เล่น/ผู้จัดการ) | ||
ค.ศ. 1998–1999 | วัลเลนทูนา เบย์โคว (ผู้ช่วย) | ||
ค.ศ. 2000 | อออีโคว ฟุตบอลดาม (ผู้ช่วย) | ||
ค.ศ. 2001–2002 | ฟิลาเดลเฟียชาร์จ (ผู้ช่วย) | ||
ค.ศ. 2003 | บอสตันเบรกเกอร์ส | ||
ค.ศ. 2004 | โคลบอตน์ฟุตบอล | ||
ค.ศ. 2005–2006 | โควอีเอฟ เออเรบรู เดย์เอฟเอฟ | ||
ค.ศ. 2007 | ทีมชาติจีน (ผู้ช่วย) | ||
ค.ศ. 2008–2012 | ทีมชาติสหรัฐ | ||
ค.ศ. 2012– | ทีมชาติสวีเดน | ||
*นัดที่ลงเล่นและประตูที่ยิงให้แก่สโมสรเฉพาะลีกในประเทศเท่านั้น ข้อมูลล่าสุด ณ วันที่ 22:53 น., 25 ตุลาคม ค.ศ. 2009 (เวลาสากลเชิงพิกัด) ‡ ข้อมูลการลงเล่นและประตูให้แก่ทีมชาติล่าสุด ณ วันที่ 22:53 น., 25 ตุลาคม ค.ศ. 2009 (เวลาสากลเชิงพิกัด) |
เพีย มารีอันแน ซุนด์ฮาแก (สวีเดน: Pia Mariane Sundhage; 13 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1960 — ) เป็นอดีตนักฟุตบอลชาวสวีเดนผู้ซึ่งเล่นตำแหน่งกองหน้ามากสุด แต่ในภายหลังเล่นเป็นกองกลางตลอดจนกองหลัง ซุนด์ฮาแกเป็นหัวหน้าผู้ฝึกสอนให้แก่ฟุตบอลหญิงทีมชาติสหรัฐตั้งแต่ ค.ศ. 2008 จนถึง 2012 ช่วงที่เธอรับหน้าที่ทีมของเธอชนะสองเหรียญทองโอลิมปิกและได้อันดับสองในฟุตบอลโลก ซุนด์ฮาแกได้รับรางวัลผู้ฝึกสอนฟุตบอลโลกยอดเยี่ยมแห่งปี ค.ศ. 2012 และกลายมาเป็นหัวหน้าผู้ฝึกสอนฟุตบอลหญิงทีมชาติสวีเดนในวันที่ 1 ธันวาคม ค.ศ. 2012 นอกจากนี้ เธอได้ออกรายการดิอะเทอร์สปอร์ต ซึ่งเป็นรายการโทรทัศน์สารคดีทางช่องเอสวีทีตั้งแต่ ค.ศ. 2013
ผลงานการฝึกสอน
[แก้]ก่อนร่วมกับทีมชาติสหรัฐ
[แก้]ซุนด์ฮาแกได้เริ่มต้นการสอนในฐานะผู้เล่น/ผู้จัดการเมื่อเธออยู่กับทีมฮัมมาร์บี อีเอฟ เดย์เอฟเอฟ ตั้งแต่ ค.ศ. 1992 ถึง 1994 จากนั้น เธอก็ทำงานเป็นผู้ช่วยร่วมกับทีมวัลเลนทูนา เบย์โคว (ค.ศ. 1998 ถึง 1999) และทีมอออีโคว ฟุตบอลดาม (ค.ศ. 2000) ก่อนที่จะเดินข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกเพื่อเป็นผู้ช่วยร่วมกับทีมฟิลาเดลเฟียชาร์จของสมาคมฟุตบอลหญิงแห่งสหรัฐแห่งใหม่ในสหรัฐอเมริกา แล้วในที่สุด เธอก็ได้รับการว่าจ้างจากบอสตันเบรกเกอร์สในฐานะหัวหน้าผู้ฝึกสอน จากการชนะรายการลีก ส่งผลให้เธอได้รับเลือกเป็นผู้ฝึกสอนแห่งปี ค.ศ. 2003 ของสมาคม อย่างไรก็ตาม ครั้งหนึ่งเมื่อทางสมาคมได้ปิดตัว เธอก็กลับไปสแกนดิเนเวียเพื่อเข้ารับตำแหน่งผู้ฝึกสอนต่อ
ทั้งนี้ เธอมีความเกี่ยวดองกับคริสติน ลิลลี กัปตันทีมฟุตบอลหญิงทีมชาติสหรัฐ และเคท มาร์กกราฟ ซึ่งเป็นเพื่อนร่วมทีม โดยทั้งสองต่างย้ายจากทีมบอสตันเบรกเกอร์ส มาร่วมการแข่งในลีกดามัลสเวนกันของประเทศสวีเดนเมื่อเพียทำหน้าที่ฝึกสอนให้แก่ทีมโควอีเอฟ เออเรบรู เดย์เอฟเอฟ ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2005 ถึง 2006 หลังจากทำหน้าที่ช่วงสั้น ๆ ร่วมกับทีมโคลบอตน์ฟุตบอลในปี ค.ศ. 2004 ซึ่งลิลลีกล่าวว่า "อยากจะเล่นให้กับเพียอีกครั้ง"
ซุนด์ฮาแกทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยมารีกา โดมันสกี-ลีฟอร์ส ให้แก่ฟุตบอลหญิงทีมชาติจีนในช่วงฟุตบอลโลกหญิง 2007
ผู้จัดการฟุตบอลหญิงทีมชาติสหรัฐ
[แก้]เพีย ซุนด์ฮาแก ได้รับการประกาศให้เป็นหัวหน้าผู้ฝึกสอนฟุตบอลหญิงทีมชาติสหรัฐเมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน ค.ศ. 2007 ส่งผลให้เธอเป็นหัวหน้าผู้ฝึกสอนคนที่เจ็ดในประวัติศาสตร์ของทีมชาติสหรัฐและนับเป็นผู้หญิงรายที่สามผู้ทำหน้าที่ดังกล่าว ซึ่งลอเรน เกร็ก อยู่ในตำแหน่งนี้ 3 เกมในปี ค.ศ. 2000 ตามด้วยเอพริล ไฮน์ริช ที่นำทีมตั้งแต่ ค.ศ. 2000–2004 และชนะเลิศในโอลิมปิกฤดูร้อน 2004 ในขณะที่ซุนด์ฮาแกทำหน้าที่เป็นแมวมองสำหรับทีมชาติสหรัฐในช่วงโอลิมปิกฤดูร้อน 2004
ในขณะที่อยู่ร่วมกับทีมชาติสหรัฐ ซุนด์ฮาแกพาทีมครองแชมป์อัลการ์ฟคัพ 2008 ตลอดจนได้รางวัลเหรียญทอง ทั้งโอลิมปิกฤดูร้อน 2008 และโอลิมปิกฤดูร้อน 2012 ทีมของเธอเกือบครองแชมป์อัลการ์ฟคัพ 2009 ซึ่งทีมชาติสหรัฐเป็นฝ่ายแพ้ทีมชาติสวีเดนบ้านเกิดของซุนด์ฮาแกในการยิงลูกโทษ อย่างไรก็ตาม ในปีต่อมา ทีมของเธอก็ครองแชมป์อัลการ์ฟคัพ 2010 โดยชนะทีมชาติเยอรมนีซึ่งเป็นแชมป์โลกและแชมป์ยุโรปในช่วงนั้น ด้วยผล 3 ประตูต่อ 2 ในรอบชิงชนะเลิศ
เธอเป็นผู้ฝึกสอนทีมหญิงจนถึงรอบชิงชนะเลิศฟุตบอลโลกหญิง 2011 ซึ่งทีมเข้าสู่รอบชิงชนะเลิศเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1999 อย่างไรก็ตาม พวกเธอก็ผิดหวังจากการแพ้ทีมชาติญี่ปุ่น ด้วยผล 3 ประตูต่อ 1 ของการยิงลูกโทษ หนึ่งปีต่อมา ซุนด์ฮาแกได้พาฟุตบอลหญิงทีมชาติสหรัฐเข้ารับรางวัลเหรียญทองในกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน 2012 ที่กรุงลอนดอน โดยเป็นฝ่ายชนะทีมชาติญี่ปุ่น 2 ประตูต่อ 1 ในรอบชิงชนะเลิศ ร่วมกับคาร์ลี ลอยด์ ที่ทำได้ทั้งสองประตู
เมื่อวันที่ 1 กันยายน ค.ศ. 2012 ซุนด์ฮาแกประกาศว่าเธอกำลังก้าวลงจากตำแหน่งหัวหน้าผู้ฝึกสอนของฟุตบอลหญิงทีมชาติสหรัฐ โดยแสดงความปรารถนาที่จะแสวงหาโอกาสในประเทศสวีเดนซึ่งเป็นบ้านเกิดของเธอ ซุนด์ฮาแกประกาศว่าเธอจะเป็นผู้ฝึกสอนทีมชาติสหรัฐจนถึงวันที่ 16 ถึง 19 กันยายนสำหรับทัวร์ชัยชนะโอลิมปิกของทีมก่อนที่จะลาออกอย่างเป็นทางการ "ฉันมีหลายวันที่ฉันคิด 'ฉันกำลังทำอะไร ?' และมีวันอื่น ๆ ที่ฉันเป็นแบบนี้ 'สำหรับความท้าทายครั้งต่อไป'" ซุนด์ฮาแกกล่าวเมื่อประกาศแยกจากทีมชาติหญิงสหรัฐของเธอ[2] เธอเป็นผู้ฝึกสอนครั้งสุดท้ายเมื่อครั้งที่พบกับทีมชาติออสเตรเลียในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของทัวร์ชัยชนะโอลิมปิกเมื่อวันที่ 19 กันยายน โดยทีมของเธอเป็นฝ่ายชนะ 6 ประตูต่อ 2 ด้วยชัยชนะครั้งสุดท้ายนี้ ซุนด์ฮาแกก็ออกจากทีมด้วยสถิติ ชนะ 91 แพ้ 6 เสมอ 10 ซึ่งรวมถึงเหรียญทองโอลิมปิก 2 เหรียญและได้อันดับสองฟุตบอลโลกหญิง 2011 [3]
ผู้จัดการฟุตบอลหญิงทีมชาติสวีเดน
[แก้]สมาคมฟุตบอลสวีเดนประกาศในช่วงต้นเดือนกันยายน ค.ศ. 2012 ว่า ซุนด์ฮาแกได้ลงนามในสัญญาสี่ปีซึ่งจะเริ่มในวันที่ 1 ธันวาคม การประกาศดังกล่าวเกิดขึ้นเป็นชั่วโมงหลังจากการแข่งขันทีมหญิงสหรัฐของซุนด์ฮาแกในฐานะผู้ฝึกสอน ที่ชนะ 8 ประตูต่อ 0 ในนัดกระชับมิตรกับทีมชาติคอสตาริกาครั้งแรกของรายการที่จัดขึ้นเพื่อฉลองการชนะรางวัลเหรียญทองจากกีฬาฟุตบอลในโอลิมปิกฤดูร้อน 2012 โดยซุนด์ฮาแกได้รับช่วงแทนโธมัส เดนเนอร์บี ที่ลาออกหลังจากทีมชาติสวีเดนล้มเหลวในการเข้าถึงรอบรองชนะเลิศในโอลิมปิก 2012 [4] "ฉันฝันมานานในการเป็นผู้ฝึกสอนทีมชาติสวีเดนและตอนนี้ฉันมีความสุขมาก" ซุนด์ฮาแกกล่าว[5] การแข่งขันครั้งสำคัญครั้งแรกสำหรับซุนด์ฮาแกในฐานะผู้ฝึกสอนของทีมชาติสวีเดน คือการแข่งฟุตบอลหญิงชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2013 ที่ประเทศสวีเดนเป็นเจ้าภาพ[6] ซึ่งทีมชาติสวีเดนแพ้ 0 ประตูต่อ 1 ในรอบรองชนะเลิศกับทีมชาติเยอรมนี ที่เป็นแชมป์การแข่งครั้งนี้
ชีวิตส่วนตัว
[แก้]ในเดือนมกราคม ค.ศ. 2010 ซุนด์ฮาแกกล่าวในการสัมภาษณ์ทางทีวีของสวีเดนว่าใน ฐานะเลสเบียนคนหนึ่ง เธอไม่เคยรู้สึกว่ามีความรังเกียจเพศที่สามใด ๆ ในฐานะผู้ฝึกสอน "ไม่มีปัญหาใด ๆ ที่ฉันจะเป็นเลสเบียนอย่างเปิดเผยในฐานะหัวหน้าผู้ฝึกสอนในสหรัฐ" ซุนด์ฮาแกกล่าว[7]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 Caps and goals
- ↑ U.S. coach Pia Sundhage steps down เก็บถาวร 2012-09-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, ESPN.com. Retrieved 1 September 2012.
- ↑ U.S. Women's National Team Provides Head Coach Pia Sundhage with 6-2 Victory in Final Match in Charge เก็บถาวร 2014-02-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, ussoccer.com. Retrieved 21 September 2012.
- ↑ "Sweden women's soccer coach quits following Olympic loss". Associated Press via foxnews.com.
- ↑ "Sundhage appointed Sweden coach". Associated Press via Yahoo! Sports.[ลิงก์เสีย]
- ↑ "Sundhage to be new Sweden coach". AFP via Yahoo! Sports. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-05-18. สืบค้นเมื่อ 2017-12-06.
- ↑ "Head coach Pia Sundhage of the U.S. Women's Soccer Team comes out". AfterEllen. 13 January 2010. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-07-24. สืบค้นเมื่อ 14 July 2011.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- เพีย ซุนด์ฮาแก – สถิติการลงแข่งจากสหพันธ์ฟุตบอลระหว่างประเทศ (FIFA) (ในภาษาอังกฤษ)
- US Soccer coach profile เก็บถาวร 2013-02-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Sweden coach profile