ข้ามไปเนื้อหา

ปิออตร์ สโตลืยปิน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก เปตอร์ สโตลีปีน)
ปิออตร์ สโตลืยปิน
Пётр Столы́пин
นายกรัฐมนตรีของจักรวรรดิรัสเซีย
ดำรงตำแหน่ง
21 กรกฎาคม 1906 – 18 กันยายน 1911
กษัตริย์พระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2
ก่อนหน้าอีวาน โกลีมอเกน
ถัดไปวลาดีเมียร์ โคคอฟทอฟ
รัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทย
ดำรงตำแหน่ง
26 เมษายน 1906 – 18 กันยายน 1911
นายกรัฐมนตรีอีวาน โกลีมอเกน
ปิออตร์ สโตลืยปิน
ก่อนหน้าปิออตร์ ดูนอร์วอร์
ถัดไปอเล็กสันเดอร์ มาคารอฟ
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด14 เมษายน ค.ศ. 1862(1862-04-14)
เสียชีวิต18 กันยายน ค.ศ. 1911(1911-09-18) (49 ปี)
สาเหตุการเสียชีวิตHomicide
ที่ไว้ศพเคียฟ, ยูเครน
เชื้อชาติรัสเซีย
คู่สมรสโอลกา บอลิซอฟนา นาตาลี

ปิออตร์ อาร์คาเดียวิช สโตลืยปิน (รัสเซีย: Пётр Арка́дьевич Столы́пин, อักษรโรมัน: Pyotr Arkadyevich Stolypin, สัทอักษรสากล: [pʲɵtr ɐˈrkadʲjɪvʲɪtɕ stɐˈlɨpʲɪn]; 14 เมษายน [ตามปฎิทินเก่า: 2 เมษายน] ค.ศ. 1862 – 18 กันยายน [ตามปฎิทินเก่า: 5 กันยายน] ค.ศ. 1911) เป็นนักการเมืองชาวรัสเซีย ท่านเป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 3 และรัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทยของจักรวรรดิรัสเซีย ในช่วงปี 1906 ไปจนท่านถูกลอบสังหารในปี 1911

ปิออตร์ สโตลืยปิน เกิดในเมืองเดรสเดินจักรวรรดิเยอรมัน โดยเขาเป็นคนที่เกิดในตระกูลขุนนางชั้นสูงที่มีชื่อเสียงตระกูลหนึ่งของรัสเซีย ซึ่งสโตลืยปินได้เข้ามาในตำแหน่งขั้นสูงทางการเมืองของรัสเซียในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 ซึ่งเขาได้ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมากในงานทำงานด้านสาธารณชนจนสามารถไต่เต้าเป็นรัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทยได้ในปี 1906 และในที่สุดเขาก็ก้าวขึ้นมาเป็นนายกรัฐมนตรีหลังการลาออกจากตำแหน่งของ อีวาน โกลีมอเกน

ในสมัยที่เขาเป็นนายกรัฐมนตรี สโตลืยปินได้ทำการปฏิรูปครั้งใหญ่ โดยริเริ่มและปรับเปลี่ยนให้ชาวนารัสเซียที่ยากจนได้มีเอกสิทธิ์ที่จะได้ถือครองพื้นที่ของชาวนา แต่กระนั้นก็ไม่ได้ทำให้ความไม่สงบหลังเหตุการณ์วันอาทิตย์นองเลือดของประชาชนชาวรัสเซียได้น้อยลงเลย ทำให้สโตลืยปินต้องประกาศกฎอัยการศึกในหลายพื้นที่ รวมทั้งยังจับกุมและดำเนินการพิจารณาคดีอย่างรวดเร็วกับผู้ก่อการร้ายต่อระบบซาร์และรัฐบาลดูมาของรัสเซีย การบริหารงานของสโตลืยปิน และการเอาผิดโดยการประหารชีวิตสถานเดียวของสโตลืยปินทำให้เขาถูกเพ่งเลงจากเหล่าคณะปฏิวัติบ่อยครั้ง จนเขานั้นถูกลอบสังหารหลายต่อหลายครั้งและในที่สุดในปี 1911 สโตลืยปินก็ต้องมาจบชีวิตลงด้วยกระสุนปืนของหนึ่งในคณะปฏิวัติอย่าง ดิมิตรี บอครอฟ ในเมืองเคียฟในที่สุด