เนินพระวิหาร

พิกัด: 31°46′40.7″N 35°14′8.9″E / 31.777972°N 35.235806°E / 31.777972; 35.235806
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนินพระวิหาร
הַר הַבַּיִת, Har HaBayit
الحرم الشريف, al-Ḥaram ash-Šarīf,
เนินพระวิหารมองทางฝั่งใต้
จุดสูงสุด
ความสูง
เหนือระดับน้ำทะเล
740 เมตร (2,428 ฟุต)
พิกัด31°46′40.7″N 35°14′8.9″E / 31.777972°N 35.235806°E / 31.777972; 35.235806
ข้อมูลทางภูมิศาสตร์
เนินพระวิหารตั้งอยู่ในเยรูซาเลม
เนินพระวิหาร
เนินพระวิหาร
เทือกเขาJudean
ข้อมูลทางธรณีวิทยา
ประเภทภูเขาหินปูน[1]

เนินพระวิหาร (ฮีบรู: הַר הַבַּיִת; อังกฤษ: Temple Mount) หรือที่ในภาษาอาหรับเรียกว่า อัลฮะเราะมุชชะรีฟ (อาหรับ: الحرم الشريف แปลว่า "อริยปูชนียสถาน") เป็นเนินเขาในเขตเมืองเก่าของเยรูซาเลมอันเป็นที่ตั้งของสถานที่ศักดิ์สิทธิ์อายุกว่าพันปีของสามศาสนาคือ ศาสนายูดาห์, ศาสนาคริสต์ และศาสนาอิสลาม เนินพระวิหารตั้งอยู่ที่ระดับความสูง 740 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล สิ่งก่อสร้างในสมัยราชวงศ์อุมัยยะฮ์บนเนินเขาแห่งนี้ได้แก่ มัสยิดอัลอักศอ, โดมแห่งศิลา ตลอดจนหอสูงทั้งสี่ มีประตูจำนวนสิบเอ็ดประตูเพื่อเข้าไปภายในอาณาเขตแห่งนี้ โดยสิบประตูสงวนไว้สำหรับชาวมุสลิม และอีกหนึ่งประตูสำหรับผู้มิใช่มุสลิม

คัมภีร์ไบเบิลระบุว่า วิหารของพวกยิวตั้งอยู่บนเนินพระวิหาร[2] และพงศาวดารของยิวก็ได้ระบุว่าพระวิหารที่หนึ่งถูกสร้างขึ้นในสมัยของกษัตริย์ซาโลมอนเมื่อ 957 ปีก่อนคริสตกาล[3] และถูกทำลายลงโดยบาบิโลเนียเมื่อ 586 ปีก่อนคริสตกาล พระวิหารที่สองถูกสร้างขึ้นในสมัยของเศรุบบาเบลเมื่อ 516 ปีก่อนคริสตกาล และถูกพวกโรมันทำลายลงในปี ค.ศ. 70 ตามคติของพวกยิวแล้ว พระวิหารที่สามซึ่งจะเป็นหลังสุดท้าย จะถูกสร้างขึ้นจากซากของพระวิหารที่สองบนเนินเขาแห่งนี้แต่ก็ยังไม่ได้สร้างจนถึงปัจจุบัน เนินเขาแห่งนี้ถือเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สุดของศาสนายูดาห์ แม้ว่าในศาสนาอิสลามนิกายซุนนีจะถือว่าเนินเขาแห่งนี้ศักดิ์สิทธิ์ที่สุดเป็นลำดับสาม โดยเชื่อว่าเป็นสถานที่ที่มุฮัมมัดถูกรับขึ้นสวรรค์ไปพบอัลลอฮ์

ปัจจุบัน เนินเขาแห่งนี้ยังคงเป็นที่แก่งแย่งกันระหว่างศาสนายูดาห์กับอิสลาม ฝ่ายอิสราเอลได้เข้าควบคุมเนินเขาแห่งนี้ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1967 โดยที่ทั้งรัฐบาลอิสราเอลและองค์การบริหารแห่งชาติปาเลสไตน์ต่างอ้างสิทธิเหนือเนินเขาแห่งนี้ ข้อพิพาทดังกล่าวยังคงเป็นประเด็นการเผชิญหน้าที่สำคัญในความขัดแย้งอาหรับ-อิสราเอล[4]

อ้างอิง[แก้]

  1. "New Jerusalem Finds Point to the Temple Mount". cbn.com.
  2. "BBC - Science & Nature - Horizon". bbc.co.uk.
  3. 2 Chron. 3:1-2
  4. Israeli Police Storm Disputed Jerusalem Holy Site เก็บถาวร 2009-10-31 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน