ข้ามไปเนื้อหา

เท็ด (การประชุม)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
TED Conferences, LLC
ประเภทบริษัทจำกัด
สำนักงานใหญ่นครนิวยอร์ก, รัฐนิวยอร์ก และ แวนคูเวอร์, รัฐบริติชโคลัมเบีย, ประเทศสหรัฐอเมริกาและแคนาดา
พื้นที่ให้บริการทั่วโลก
ผู้ก่อตั้งริชาร์ด เวอร์แมน และ แฮร์รี่ มารกส์[1]
เจ้าของSapling Foundation[2]
คำขวัญความคิดน่าเผยแพร่
เว็บไซต์www.ted.com
อันดับอเล็กซา847[3]
ประเภทเว็บงานประชุม
การลงทะเบียนเลือกได้
ภาษาที่มีอังกฤษ, มีคำบรรยายหลายภาษา, มีใบคัดสำเนา
เปิดตัวค.ศ. 1984
สถานะปัจจุบันยังดำเนินการอยู่

เทคโนโลยี การบันเทิง และการออกแบบ (อังกฤษ: Technology, Entertainment and Design) ย่อว่า เท็ด (TED) เป็นกลุ่มงานประชุมสากลที่มีเจ้าของเป็นมูลนิธิเซปลิง องค์กรเอกชนไม่หวังผลกำไร ภายใต้คำขวัญว่า "ความคิดน่าเผยแพร่" (Ideas Worth Spreading)[4] เท็ดเริ่มขึ้นเป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1984 เดิมตั้งใจให้เป็นงานจัดครั้งเดียว[1] ต่อมาจึงเริ่มจัดงานประจำปีในปี ค.ศ. 1990[5] เท็ดในยุคแรกเน้นประเด็นเกี่ยวกับเทคโนโลยีและการออกแบบ[6] ซึ่งสอดคล้องกับแหล่งกำเนิดของงานประชุมคือ ซิลิคอนแวลลีย์ แต่ต่อมาได้ขยายประเด็นพูดคุยเป็นหัวข้อเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ วัฒนธรรม และวิชาการเพิ่มขึ้นมาด้วย[7]

งานประชุมหลักของเท็ดจัดขึ้นทุกปีที่แวนคูเวอร์ ประเทศแคนาดา และงานคู่กันคือเท็ดแอกทีฟ (TEDActive) จัดที่เมืองวิสต์เลอร์ รัฐบริติชโคลัมเบีย[8][9] ก่อน ค.ศ. 2014 งานประชุมทั้งสองงานจัดขึ้นที่ลองบีช และปาล์มสปริงส์ รัฐแคลิฟอร์เนีย ตามลำดับ[10] เท็ดยังจัดขึ้นทั่วอเมริกาเหนือ ยุโรป และเอเชีย โดยเสนอการบรรยายสดผ่านสตรีมมิง การบรรยายจะครอบคลุมประเด็นต่าง ๆ เกี่ยวกับงานวิจัยและปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์และสังคมผ่านการเล่าเรื่อง[11] ผู้บรรยายจะมีเวลาอย่างมาก 18 นาทีในการนำเสนอแนวคิดที่เป็นนวัตกรรมมากที่สุดและดึงดูดความสนใจมากที่สุดเท่าที่ตนจะทำได้[12] นักพูดที่เคยมาบรรยายที่นี่ ได้แก่ บิล คลินตัน เจน กูดดอลล์ อัล กอร์ กอร์ดอน บราวน์ ริชาร์ด ดอว์กินส์ ริชาร์ด สตอลแมน บิล เกตส์ โบโน ไมค์ โรว์ ผู้ก่อตั้งกูเกิล แลร์รี เพจ และเซอร์เกย์ บริน และผู้ได้รับรางวัลโนเบลอีกหลายคน[13] ผู้ดูแลเท็ดคนปัจจุบัน คือ คริส แอนเดอร์สัน อดีตนักหนังสือพิมพ์และนักตีพิมพ์นิตยสารชาวอังกฤษ[14]

ตั้งแต่เดือนมิถุนายน ค.ศ. 2006[1] การบรรยายมีให้ชมทางออนไลน์โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ภายใต้สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แอตทริบิวชันนอนคอมเมอร์เชียลโนเดริฟส์ (Attribution-NonCommercial-NoDerivs Creative Commons) ในเว็บไซต์ TED.com[15] นับจนถึงเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2015 มีการบรรยายกว่า 1,900 หัวข้อให้ชม[16] ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2011 ตัวเลขยอดผู้ชมการบรรยายทุกหัวข้อรวมกันได้มากกว่า 500 ล้านครั้ง[17] และในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2012 การบรรยาย TED มียอดผู้ชมหนึ่งพันล้านครั้งทั่วโลก[18] แต่การบรรยายเท็ดไม่ได้เป็นที่นิยมเท่ากันทุกหัวข้อ หัวข้อวิชาการจะมีผู้ชมออนไลน์มากกว่า ส่วนหัวข้อเกี่ยวกับศิลปะและการออกแบบจะมีผู้ชมต่ำกว่าค่าเฉลี่ย[19]

ข้อมูลทั่วไป

[แก้]

เท็ดมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่นิวยอร์กและแวนคูเวอร์ การสัมมนาได้เคยจัดที่เมืองมอนเตอเรย์ รัฐแคลิฟอร์เนีย แต่หลังจากที่มีผู้สนใจเข้าร่วมสัมมนามากขึ้นจนสถานที่เก่าไม่สามารถรองรับได้ จึงได้ย้ายการจัดสัมมนาไปที่ลองบีช (รัฐแคลิฟอร์เนีย)[20] เริ่มตั้งแต่ปี ค.ศ. 2014 งานประชุมหลักของเท็ดปัจจุบันจัดเป็นประจำปีที่เมืองแวนคูเวอร์ รัฐบริติชโคลัมเบีย และงานคู่หูกันคือเท็ดแอฟทีฟ จัดที่เมืองวิสต์เลอร์ รัฐบริติชโคลัมเบีย[21][22] นอกเหนือไปจากการจัดสัมมนาในประเทศสหรัฐอเมริกา เท็ดยังได้ส่งเสริมโครงการเท็ดโกลบัล (TEDGlobal) ซึ่งได้มีการจัดการจัดสัมมนาในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกอีกด้วย

วัตถุประสงค์ขององค์กรได้แก่:

เราเชื่อมั่นอย่างแรงกล้าว่าพลังแห่งความคิดสามารถเปลี่ยนแปลงทัศนคติ ชีวิต และโลกของเราได้ ดังนั้นจึงได้เริ่มดำเนินการสร้างศูนย์กลางเพื่อรวบรวมและนำเสนอความรู้จากนักคิดยอดนักดลบันดาลใจของโลก อย่างไม่มีค่าใช้จ่ายต่อสาธารณชน และสร้างชุมชนผู้ใฝ่รู้เพื่อนำไอเดียไปใช้และสร้างความสัมพันธุ์ในระหว่างชุมชน[23]

ประวัติ

[แก้]

ริชาร์ด ซอล์ เวอร์แมน (Richard Saul Wurman) และ แฮร์รี มากส์ ก่อตั้งเท็ดขึ้นในปี ค.ศ. 1984 และได้มีการจัดการสัมมนาขึ้นเป็นประจำทุกปีนับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1990 เป็นต้นมา ซึ่งผู้ก่อตั้งได้มอบหมายให้คริส แอนเดอร์สัน ดูแลตั้งแต่ปี ค.ศ. 2002 จนกระทั่งปัจจุบัน โดยที่ให้ Sapling Foundation องค์กรไม่หวังผลกำไร[24] เป็นเจ้าของ TED ซึ่งอุทิศตัวและทุ่มเทให้กับการใช้พลังแห่งความคิดที่จะเปลี่ยนแปลงโลกใบนี้

ปาฐกถาในเท็ดทอกส์ (TED Talks) ได้รับการถ่ายทอดเป็นตัวอักษร และแปลเป็นภาษาต่าง ๆ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ TED Open-Translation ที่มุ่งหวังจะถ่ายทอดความคิดต่าง ๆ ให้แก่คนอีกสี่พันห้าร้อยล้านคนที่ไม่สามารถเข้าใจภาษาอังกฤษ การแปลนั้นได้รับความร่วมมือจากอาสาสมัครทั้งสิ้น ซึ่งปัจจุบันได้มีการแปลไปมากกว่าสี่สิบภาษา[25]

เชิงอรรถและอ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 Hefferman, Virginia (January 23, 2009). "Confessions of a TED addict". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 2010-07-12.
  2. "About TED: Who we are: Who owns TED". TED: Ideas Worth Spreading. TED Conferences, LLC. สืบค้นเมื่อ 25 October 2011.
  3. "TED". Alexa. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-07-20. สืบค้นเมื่อ April 15, 2014.
  4. "TED Talks". PeAndMe.com. สืบค้นเมื่อ December 20, 2014.
  5. "What's the big idea?". The Guardian. July 24, 2005. Retrieved December 20, 2014.
  6. "TED Talks". mashable.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-12-13. สืบค้นเมื่อ 2014-09-26.
  7. "TED Talks". Mashable.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-12-13. สืบค้นเมื่อ December 20, 2014.
  8. "TED's next chapter is Vancouver's". The Globe and Mail. March 2014. สืบค้นเมื่อ December 20, 2014.
  9. "TED's next chapter is Vancouver's". Huffington Post. April 2, 2013. สืบค้นเมื่อ December 20, 2014.
  10. "The next chapter: TED headed to Vancouver in 2014, TEDActive hitting the slopes of Whistler". TED Blog. February 4, 2013. สืบค้นเมื่อ February 5, 2013.
  11. "Here's Why TED and TEDx are Appealing". Forbes. June 19, 2012. Retrieved December 20, 2014.
  12. "Tools". RISE UP/GEAR UP (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). April 26, 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-01-02. สืบค้นเมื่อ June 18, 2016.
  13. "Speakers". TED: Ideas Worth Spreading. TED Conferences, LLC. สืบค้นเมื่อ February 6, 2009.
  14. "Chris Anderson is the curator of TED". DumboFeather.com. 2011. สืบค้นเมื่อ December 20, 2014.
  15. "TEDTalks usage policy". TED.com. Retrieved December 20, 2014.
  16. "TED Talks List". TED. สืบค้นเมื่อ February 1, 2015.
  17. "TED profile". Mashable.com. June 27, 2011. Retrieved December 20, 2014.
  18. "TED reaches its billionth video view!". TED Blog. November 13, 2012. Retrieved December 20, 2014.
  19. doi:10.1002/asi.22764
    This citation will be automatically completed in the next few minutes. You can jump the queue or expand by hand
  20. "Long Beach to host influential TED conference". LA Times. 16 Jan 2008.
  21. "TED's next chapter is Vancouver's". theglobeandmail.com. 15 March 2014.
  22. "TED's next chapter is Vancouver's". Hufftington Post. Canada. 2 April 2013.
  23. "About TED". TED. สืบค้นเมื่อ 26 กันยายน 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  24. "About TED » Who we are » Who owns TED". TED. สืบค้นเมื่อ 26 กันยายน 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  25. "TED Open-Translation Project Brings Subtitles in 40+ Languages to TED.com". redOrbit. May 13, 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-01-13. สืบค้นเมื่อ 2014-10-14.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]