เทศมณฑลดาวน์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เทศมณฑลดาวน์

County Down (อังกฤษ)
Contae an Dúin (ไอริช)
Countie Doun,[1]
Coontie Doon[2] (สกอตอัลสเตอร์)
สมญา: 
Mourne Country
คำขวัญ: 
Absque Labore Nihil  (ละติน)
"Nothing Without Labour"
ที่ตั้งของเทศมณฑลดาวน์
ประเทศสหราชอาณาจักร
ภูมิภาคนอร์เทิร์นไอร์แลนด์
จังหวัดอัลสเตอร์
ก่อตั้งต้นคริสต์ศตวรรษที่ 16
เมืองประจำเทศมณฑลดาวน์แพทริก
พื้นที่
 • ทั้งหมด952 ตร.ไมล์ (2,466 ตร.กม.)
อันดับพื้นที่อันดับที่ 12
ความสูงจุดสูงสุด (สลีฟดอนาร์ด)2,790 ฟุต (850 เมตร)
ประชากร
 (2011)
531,665 คน
 • อันดับอันดับที่ 4
เขตเวลาUTC±0 (GMT)
 • ฤดูร้อน (เวลาออมแสง)UTC+1 (BST)
รหัสไปรษณีย์BT
เว็บไซต์discovernorthernireland.com/about-northern-ireland/counties/co-down/county-down/

ดาวน์ (อังกฤษ: Down) เป็นหนึ่งในหกเทศมณฑลของไอร์แลนด์เหนือ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะไอร์แลนด์[3][4] มีพื้นที่ 2,448 กิโลเมตร (945 ตารางไมล์) และมีประชากร 531,665 คน เทศมณฑลดาวน์ตั้งอยู่ในจังหวัดอัลสเตอร์ โดยเป็น 1 ใน 32 เทศมณฑลดั้งเดิมของไอร์แลนด์ ดาวน์มีอาณาเขตติดต่อกับเทศมณฑลแอนทริมทางทิศเหนือ ติดกับทะเลไอริชทางทิศตะวันออก ติดกับเทศมณฑลอาร์มาทางทิศตะวันตก และติดกับเทศมณฑลเลาท์โดยมีแคร์ลิงฟอร์ดลอจกั้น

เมืองที่ใหญ่ที่สุดในเทศมณฑลดาวน์คือแบงเกอร์ ตั้งอยู่บนชายฝั่งทางตะวันออกเฉียงเหนือ เมืองใหญ่อื่น ๆ ตั้งอยู่ตามขอบของเทศมณฑล เช่น นิวรี ตั้งอยู่บนขอบฝั่งตะวันตกติดกับเทศมณฑลอาร์มา ในขณะที่ลิสเบิร์นและเบลฟาสต์ตั้งอยู่บนของฝั่งเหนือติดกับเทศมณฑลแอนทริม ดาวน์เป็นตั้งของจุดใต้สุดของไอร์แลนด์เหนืออย่างแครนฟีลด์ และเป็นที่ตั้งของจุดตะวันออกสุดของทั้งเกาะไอร์แลนด์อย่างเบอร์

ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 2018 นิตยสาร เดอะซันเดย์ไทม์ ได้ตีพิมพ์รายชื่อสถานที่ที่น่าไปอาศัยในบริเตน โดยในรายชื่อ มีสถานที่ห้าแห่งที่ตั้งอยู่ในไอร์แลนด์เหนือ และมีสามแห่งที่ตั้งอยู่ในเทศมณฑลดาวน์ ได้แก่ ฮอลลีวูด, นิวคาสเซิล และสแตรงฟอร์ด[5]

อ้างอิง[แก้]

  1. 2008 Annual Report in Ulster Scots เก็บถาวร 29 สิงหาคม 2011 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน North–South Ministerial Council.
  2. 2006 Annual Report in Ulster Scots เก็บถาวร 27 กุมภาพันธ์ 2013 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน North–South Ministerial Council.
  3. Taylor, Isaac. Names and Their Histories. Rivingtons, 1898. p.111
  4. Lewis, Samuel. A Topographical Dictionary of Ireland (1837); "The See of Down".
  5. https://www.irishpost.com/life-style/five-places-in-northern-ireland-included-in-best-places-to-live-in-britain-list-151651

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]