เจ้าชายฟริโซแห่งออเรนจ์-นัสเซา
เจ้าชายฟริโซ | |||||
---|---|---|---|---|---|
ประสูติ | 25 กันยายน พ.ศ. 2511 โรงพยาบาลยูเทรกต์ ยูเทรกต์ ประเทศเนเธอร์แลนด์ | ||||
สิ้นพระชนม์ | 12 สิงหาคม พ.ศ. 2556 (44 ปี) ฮุส เทน บอสซ์ เดอะเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ | ||||
ฝังพระศพ | 16 สิงหาคม พ.ศ. 2556 สุสานปฏิรูปดัตช์ ลาเกอ วูเชท์ ยูเทรกต์ ประเทศเนเธอร์แลนด์ | ||||
พระชายา | เจ้าหญิงมาเบลแห่งออเรนจ์-นัสเซา | ||||
| |||||
พระบุตร | |||||
ราชวงศ์ |
| ||||
พระบิดา | เจ้าชายเคลาส์แห่งเนเธอร์แลนด์ | ||||
พระมารดา | เจ้าหญิงเบียทริกซ์ อดีตสมเด็จพระราชินีนาถเเห่งเนเธอร์แลนด์ | ||||
ศาสนา | คริสตจักรโปรเตสแตนต์แห่งเนเธอร์แลนด์ |
ราชวงศ์เนเธอร์แลนด์ |
---|
พระบรมวงศานุวงศ์พระองค์อื่น
* พระบรมวงศ์เนเธอร์แลนด์ นอกนั้นเป็นพระอนุวงศ์ |
เจ้าชายฟริโซแห่งออเรนจ์-นัสเซา (อังกฤษ: His Royal Highness Prince Friso of Orange-Nassau) เป็นพระราชโอรสพระองค์กลางในสมเด็จพระราชินีนาถเบียทริกซ์แห่งเนเธอร์แลนด์กับ เจ้าชายเคลาส์แห่งเนเธอร์แลนด์ เป็นพระราชอนุชาใน สมเด็จพระราชาธิบดีวิลเลิม-อเล็กซานเดอร์แห่งเนเธอร์แลนด์ และเป็นพระเชษฐาในเจ้าชายคอนสตันตินแห่งเนเธอร์แลนด์ พระองค์อภิเษกสมรสกับ เจ้าหญิงมาเบลแห่งออเรนจ์-นัสเซา มีพระธิดารวม 2 พระองค์ พระองค์สิ้นพระชนม์ เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2556 ขณะมีพระชันษา 44 ชันษา
พระประวัติ
[แก้]เจ้าชายฟริโซ ประสูติ ณ โรงพยาบาลอูเครก เมื่อวันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2511 เป็นพระราชโอรสพระองค์กลางใน สมเด็จพระราชินีนาถเบียทริกซ์แห่งเนเธอร์แลนด์ และ เจ้าชายเคลาส์แห่งเนเธอร์แลนด์ เมื่อแรกประสูติทรงอยู่ในอันดับที่ 3 ของการสืบราชบัลลังก์ ต่อมาปี พ.ศ. 2523 พระราชมารดาครองราชย์ ทำให้เจ้าชายวิลเลิม-อเล็กซานเดอร์ พระเชษฐา เลื่อนเป็นดันดับที่ 1 พระองค์จึงเลื่อนอันดับเป็นที่ 2 ทรงได้รับการบัพติศมาเมื่อวันที่ 28 ธันวาคม ในปีเดียวกัน ณ มหาวิหารเซนต์มาร์ตินอูเครก พระบิดาและพระมารดาอุปถัมภ์คือ สมเด็จพระราชาธิบดีฮารัลด์ที่ 5 แห่งนอร์เวย์ โจฮัส คริสเตียน บารอนเจนนิส เฮอร์แมน สมเด็จพระราชินีนาถยูเลียนาแห่งเนเธอร์แลนด์(พระราชอัยยิกา) และ คริสตินา ฟ็อน อัมส์แบร์ค (พระปิตุจฉา)
การศึกษา
[แก้]ในปี พ.ศ. 2529 พระองค์ทรงจบการศึกษาจากโรงเรียนมัธยมแอสเตรง ในกรุงเฮก และในปี พ.ศ. 2531 ทรงศึกษาต่อ ณ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์ สาขาวิศวกรรมเครื่องกล พระองค์เรียนที่Delft University of Technologyซึ่งเขาได้รับการศึกษาระดับปริญญาของวิศวกรในวิศวกรรมการบิน นอกจากนี้ยังทรงได้รับปริญญาด้านเศรษฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัยอีราสมุส เพื่อทรงเตรียมความพร้อมของพระองค์ในการสืบทอดราชบัลลังก์
ทรงงาน
[แก้]เมื่อทรงเรียนจบแล้ว ทรงทำงาน ณ กรุงอัมสเตอร์ดัม ในด้านของการให้คำปรึกษาการค้าระหว่างประเทศ ทั้งนี้ยังทรงเป็นเหรัญญิก ของครอบครัว เนื่องจากพระราชมาดาทรงไว้วางพระราชหฤทัยให้ทรงดูแลการเงินของครอบครัว
เสกสมรส
[แก้]30 มิถุนายน พ.ศ. 2546 สำนักพระราชวังเนเธอร์แลนด์ได้ประกาศว่าเจ้าชายฟริโซจะเสกสมรสกับนาสาวมาเบล วินเซอร์ สมิทธิ์ แต่คณะรัฐมนตรีไม่เห็นชอบในเรื่องนี้ แต่พระเชษฐาก็ไม่ขัดขวางความรักของพระอนุชาแต่อย่างใด และเมื่อวันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2547 พระองค์ก็อภิเษกสมรสที่เมืองเดล์ฟ แต่อย่างไรก็ดีพระองค์ทรงหลุดพ้นจากการเป็นรัชทายาทในการสืบบัลลังก์ลำดับ 2 ต่อมาเบลได้รับการสถาปนาเป็น เจ้าหญิง พร้อมฐานันดร รอยัลไฮเนส
ความคิดเห็นในการเสกสมรสของเจ้าชายฟริโซ
[แก้]ความเห็นของนายกรัฐมนตรี
ที่กระผมและคณะรัฐมนตรีไม่เห็นชอบให้เจ้าชายฟริโซทรงเสกสมรสกับมาเบล เพราะมาเบล มีคดีพัวพันยุ่งเกี่ยวกับเจ้าพ่อค้ายาระดับชาติของเนเธอร์แลนด์
— ยัน เปเตอร์ บัลเกอเนนเดอ
นายกรัฐมนตรีเนเธอร์แลนด์
พระราชดำรัสของเจ้าชายวิลเลิม-อเล็กซานเดอร์
ข้าพเจ้าเชื่อใจและเห็นใจในตัวของฟริโซ น้องชายข้าพเจ้าผู้ไม่เคยหวังอยากเป็นกษัตริย์ หากได้สมรส ขอให้มีความสุขสืบไป
พระราชดำรัสของสมเด็จพระราชินีนาถยูเลียนาแห่งเนเธอร์แลนด์
อาจจะแลกมาด้วยฐานันดร ก็ไม่ทำให้ฟริโซหลานชายของข้าพเจ้าเปลี่ยนใจ ข้าพเจ้าขอให้ฟริโซครองรักกันสืบไป
— สมเด็จพระราชินีนาถยูเลียนาแห่งเนเธอร์แลนด์
สมเด็จพระอัยยิกา(ยาย)
พระราชดำรัสของสมเด็จพระราชินีนาถเบียทริกซ์แห่งเนเธอร์แลนด์
นี่เป็นการเสกสมรสของฟริโซ ข้าพเจ้าคิดว่าเขามีความสุขมาก แม้การลดฐานันดรก็ไม่ทำให้เขาตัดใจได้ ข้าพเจ้าเห็นใจและเข้าใจ ข้าพเจ้าภาวนาให้รักยืนยาวสืบไป
— สมเด็จพระราชินีนาถเบียทริกซ์แห่งเนเธอร์แลนด์
สมเด็จพระราชชนนี
พระดำรัสของเจ้าชายคอนสตันตินแห่งเนเธอร์แลนด์
การเสกสมรสของพี่ชายข้าพเจ้านั้น ย่อมทำให้เขาต้องลาออกจาการเป็นรัชทายาทลำดับที่ 2 แต่นั้นไม่ทำให้พระองค์ลาออกจากการเป็นผู้ที่รักมั่นได้เลย ขอให้รักของพระองค์และมาเบลยืนยาวสืบไป
— เจ้าชายคอนสตันตินแห่งเนเธอร์แลนด์
พระอนุชา
หลังจากเสกสมรสแล้ว พระองค์และพระชายาเสด็จไปประทับ ณ ลอนดอน และพระชายามีประสูติกาลพระธิดาทั้ง 2 ที่นั้น (พระธิดาดำรงพระยศที่ เคาน์เตส)
สิ้นพระชนม์
[แก้]เจ้าชายฟริโซ สิ้นพระชนม์ด้วยสาเหตุภาวะแทรกซ้อนจากอุบัติเหตุเล่นสกีในออสเตรีย ซึ่งทรงเข้าประทับรักษาพระอาการนานหลายสัปดาห์ เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2556 โดยในงานพระศพนั้น สมเด็จพระราชินีนาถเบียทริกซ์ และสมเด็จพระราชาธิบดีวิลเลิม รวมถึงนาย มาร์ก รึตเตอร์ ได้ทรงกล่าวไว้อาลัยดังนี้
พระราชดำรัสของสมเด็จพระราชินีนาถเบียทริกซ์
แด่ฟริโซผู้ล่วงลับ ในฐานะของแม่นั้น ย่อมเสียใจประดุจดวงใจสลาย ขอให้ฟริโซไปสู่ภพภูมิที่ดี ฟริโซจะอยู่ในใจของข้าพเจ้าและพสกนิกรชาวเนเธอร์แลนด์ตลอดไป
— สมเด็จพระราชินีนาถเบียทริกซ์แห่งเนเธอร์แลนด์
พระราชชนนี
พระราชดำรัสของสมเด็จพระราชาธิบดีวิลเลิม
การจากไปของฟริโซ ทำให้ข้าพเจ้าโศกเศร้าเป็นอย่างถึงที่สุด เหมือนรอบๆตัวหมุนช้าลงหลังได้รับข่าว ข้าพเจ้าจะคิดถึงฟริโซ น้องชายของข้าพเจ้าตลอดไป
คำไว้อาลัยของนายมาร์ก รึตเตอ
แด่ฝ่าพระบาทผู้ล่วงลับ ข้าพระพุทธเจ้าขอถวายคำอำลา ขอให้ฝ่าพระบาทเสด็จสู่สวรรคาลัย นึกถึงครั้นพระองค์พระราชทานพระอนุญาตให้ข้าพระพุทธเจ้าเข้าเฝ้า จะอยู่ในใจของเราทั้ง 2 ตลอดไป
— มาร์ก รึตเตอ
นายกรัฐมนตรีเนเธอร์แลนด์
พระศพ
[แก้]พิธีพระศพของพระองค์ถูกจัดขึ้นอย่างเรียบง่าย โดยภายในงานมีเพียงพระราชวงศ์ดัตช์เข้าร่วมพิธี ประกอบด้วยสมเด็จพระราชินีนาถเบียทริกซ์แห่งเนเธอร์แลนด์ สมเด็จพระราชาธิบดีวิลเลิม-อเล็กซานเดอร์แห่งเนเธอร์แลนด์ สมเด็จพระราชินีแม็กซิมาแห่งเนเธอร์แลนด์ พระราชวงศ์อื่น ๆ เช่น พระเจ้าฮารัลด์ที่ 5 ซึ่งเป็นพระบิดาทูลหัว ราชินีซอนยา เจ้าชายเฟรเดอริก มกุฎราชกุมารแห่งเดนมาร์ก ซึ่งเป็นพระสหาย เจ้าหญิงแมรี มกุฎราชกุมารีแห่งเดนมาร์ก เจ้าชายโฮกุน มกุฎราชกุมารแห่งนอร์เวย์
อ้างอิง
[แก้]แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ Prince Friso of Orange-Nassau