เครื่องอิสริยาภรณ์แบบคล้องคอ
เครื่องอิสริยาภรณ์แบบคล้องคอ หรือ เครื่องอิสริยาภรณ์แบบกัณฐาภรณ์ (อังกฤษ: Neck order, Necklet) คือประเภทของเครื่องอิสริยาภรณ์ที่ออกแบบมาสำหรับการสวมใส่และแสดงให้เห็นบนคอของบุคคลนั้น ๆ แทนที่จะใช้การห้อย (พาด) บนทรวงอกตามทำเนียมของเครื่องอิสริยาภรณ์โดยทั่วไป
ในช่วงยุคกลาง เครื่องอิสริยาภรณ์ส่วนใหญ่จะใช้สวมใส่แบบสร้อยสังวาล (Collar) ต่อมาในศตวรรษที่ 16 อิสริยาภรณ์แห่งจิตวิญญาณศักดิ์สิทธิ์ (Order of the Holy Spirit) ของฝรั่งเศสมีรูปแบบประดับอยู่บนแพรแถบสำหรับสวมใส่ ต่อมาในช่วงปลายศตวรรษที่ 17 เครื่องอิสริยาภรณ์ถูกแบ่งออกเป็นหลายชั้น โดยสัญลักษณ์ไขว้กันเป็นกากบาทบนแพรแถบกลายเป็นสัญลักษณ์ที่มีไว้ให้เฉพาะระดับผู้บัญชาการใช้ประดับเท่านั้น โดยเครื่องอิสริยาภรณ์ในตำแหน่งมักจะถูกมอบให้กับเจ้าหน้าที่ระดับสูง เช่น หัวหน้ากอง (brigadiers) กงสุล และเลขาธิการของรัฐ (secretaries of State)
ในเครื่องอิสริยาภรณ์อัศวิน เช่น คณะเสนาธิปัตย์แห่งมอลตา หรือคณะอัศวินทิวทอนิก เครื่องอิสริยาภรณ์ของอัศวินจะห้อยลงมาจากแพรแถบรอบคอ เช่นเดียวกับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ขนแกะทองคำ[1]
ในศตวรรษที่ 19 การสวมใส่อิสริยาภรณ์แกรนด์ครอส (Grand Cross) ไม่ใช่เรื่องแปลกมากนัก โดยปกติจะห้อยจากแพรแถบที่พาดจากไหล่ไปถึงสะโพก เช่นเดียวกับแบบกัณฐาภรณ์ (Necklet) โดยพิจารณาตามความสะดวกเมื่อต้องประดับอิสริยาภรณ์แกรนด์ครอสชิ้นอื่นด้วย
รายชื่อเครื่องอิสริยาภรณ์แบบคล้องคอ
[แก้]ในบางประเทศนั้นมีการมอบเครื่องอิสริยาภรณ์ที่เป็นตราสัญลักษณ์ที่ถูกประดับอยู่บนริบบิ้น หรือรู้จักกันในชื่อของ สายริบบิ้น (riband หรือ ribband) รอบคอ ประกอบไปด้วย
ชื่อ | ประเทศ | หมายเหตุ |
---|---|---|
ภารัตรัตนะ | อินเดีย | (Bharat Ratna) เครื่องอิสริยาภรณ์สูงสุดของอินเดีย |
เครื่องราชอิสริยาภรณ์จักรวรรดิบริติช | สหราชอาณาจักร | ตำแหน่งผู้บัญชาการอัศวินและผู้บัญชาการ |
เครื่องราชอิสริยาภรณ์รอยัลวิกตอเรียน | สหราชอาณาจักร | ตำแหน่งผู้บัญชาการอัศวินและผู้บัญชาการ |
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นเมริต | สหราชอาณาจักร | (Order of Merit) |
เครื่องราชอิสริยาภรณ์สหายแห่งเกียรติยศ | สหราชอาณาจักร | (Order of the Companions of Honour) |
เครื่องอิสริยาภรณ์นักบุญยอห์น | สหราชอาณาจักร | (Order of St. John) ตำแหน่งผู้บัญชาการขึ้นไป |
เครื่องอิสริยาภรณ์เลฌียงดอเนอร์ | ฝรั่งเศส |
|
เครื่องเสนาราชอิสริยาภรณ์วิลเลิม | เนเธอร์แลนด์ | [2] |
เครื่องราชอิสริยาภรณ์สิงโตเนเธอร์แลนด์ | เนเธอร์แลนด์ | [3] |
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ออเรนจ์-นัสเซา | เนเธอร์แลนด์ | [4] |
พัวร์เลอเมรีท | ปรัสเซีย | [5] |
กางเขนอัศวินแห่งกางเขนเหล็ก | เยอรมนี | |
มหากางเขนแห่งกางเขนเหล็ก | เยอรมนี | |
เครื่องอิสริยาภรณ์กิตติคุณแห่งฮังการี | ฮังการี | (Order of Merit of the Republic of Hungary) ตำแหน่งของผู้บัญชาการ |
เครื่องอิสริยยศลำดับสหไมตรี | กัมพูชา |
|
เครื่องราชอิสริยาภรณ์แห่งแคนาดา | แคนาดา | (Order of Canada) ตำแหน่งของสหายหรือนายทหาร |
เครื่องราชอิสริยาภรณ์แห่งออนแทรีโอ | แคนาดา | (Order of Ontario) |
มีเดล ออฟ ฮอนเนอร์ | สหรัฐอเมริกา | เครื่องอิสริยาภรณ์ทางการทหารสูงสุดของกองทัพสหรัฐฯ[6] |
ลีเจียนออฟเมอริต | สหรัฐอเมริกา | ถ้าอยู่ในระดับผู้บัญชาการ ลีเจียนออฟเมอริตจะถูกมอบในระดับผู้บัญชาการของต่างชาติเท่านั้น ไม่มีการมอบให้กับพลเรือนสหรัฐ[7] |
เหรียญอิสรภาพประธานาธิบดี | สหรัฐอเมริกา | |
เท็กซัสมีเดลออฟแวเลอร์ | สหรัฐอเมริกา | (Texas Medal of Valor) |
เหรียญศัลยแพทย์ใหญ่ | สหรัฐอเมริกา | (Surgeon General's Medallion) |
จอร์จ วอชิงตัน สปายมาสเตอร์ อวอร์ด | สหรัฐอเมริกา | (George Washington Spymaster Award) |
เครื่องราชอิสริยาภรณ์แห่งออสเตรเลีย | ออสเตรเลีย | (Order of Australia) ถ้ายศนายทหารหรือสูงกว่า[8] |
เครื่องราชอิสริยาภรณ์แห่งสุสานศักดิ์สิทธิ์ | นครรัฐวาติกัน | (Order of the Holy Sepulchre) |
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย | ไทย |
|
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก | ไทย |
|
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ | ไทย |
|
เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า | ไทย | ชั้นทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ชั้นที่ 2) |
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดี | ไทย |
|
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นสิริยิ่งรามกีรติ ลูกเสือสดุดีชั้นพิเศษ | ไทย | |
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อาทิตย์อุทัย | ญี่ปุ่น | ชั้นที่ 3 |
ดูเพิ่ม
[แก้]- เครื่องอิสริยาภรณ์
- เครื่องอิสริยาภรณ์กิตติคุณ (Order of merit)
- เครื่องอิสริยาภรณ์แบบสังวาล (Collar (order))
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Orders medals and decorations of Britain and Europe", Paul Hieronymussen, London 1967
- ↑ Military Order of William เก็บถาวร 2011-07-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, official website; Grand Cross เก็บถาวร 2008-11-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, worn without ribbon on the left breast or around the neck on a 55 millimetre wide ribbon, or as a sash.
- ↑ Order of the Netherlands Lion เก็บถาวร 2009-08-31 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, official website; Commander เก็บถาวร 2007-07-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, hangs from the ribbon, which is worn by men around the neck
- ↑ Order of Orange Nassau เก็บถาวร 2010-03-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, official website; Grand Officer เก็บถาวร 2011-07-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, hanging from the ribbon, which is worn by men around the neck
- ↑ Pour le Mérite เก็บถาวร 2022-01-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน; n.b., 1667, cross was worn around the neck from a long black, "watered ribbon"
- ↑ Medal of Honor เก็บถาวร 2009-06-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, official website
- ↑ USAMilitaryMedals.com: Legion of Merit Medal Ribbon; n.b., The Legion of Merit is one of only two United States military decorations to be issued as a neck order (the other being the Medal of Honor), and the only United States decoration which may be issued in award degrees (much like an Order of chivalry or certain Orders of Merit).
- ↑ "Order of Australia Booklet" (PDF) (14th ed.). September 2020. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2021-10-28. สืบค้นเมื่อ 2023-07-06.
บรรณานุกรม
[แก้]- Duckers, Peter. (2004). British orders and decorations. Princes Risborough : Shire. ISBN 978-0-7478-0580-9; OCLC 55587484
- Paul Hieronymussen, Paul and Christine Crowley. (1967). Orders, medals and decorations of Britain and Europe. London: Blandford Press. OCLC 431846008
- McCreery, Christopher. 2005). The Order of Canada: Its Origins, History and Development. Toronto: University of Toronto Press. ISBN 978-0-8020-3940-8; OCLC 185201497
- Peterson, James W., Barry C. Weaver and Michael A. Quigley. (2001). Orders and Medals of Japan and Associated States. San Ramon, California: Orders and Medals Society of America. ISBN 978-1-890974-09-1; OCLC 45437720