เขื่อนไซยะบุรี
เขื่อนไซยะบุรี | |
---|---|
ประเทศ | ลาว |
ที่ตั้ง | ไชยบุรี |
พิกัด | 19°14′34.4″N 101°49′06.4″E / 19.242889°N 101.818444°E |
สถานะ | ดำเนินการ |
เริ่มก่อสร้าง | 2555 |
เปิดดำเนินการ | ตุลาคม 2562 |
งบก่อสร้าง | 3.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ |
เจ้าของ | Xayaburi Power Company Limited |
เขื่อนและทางน้ำล้น | |
ชนิดของเขื่อน | Run-of-river concrete barrage[1] |
ปิดกั้น | แม่น้ำโขง |
ความสูง | 32.6 m (107 ft) |
ความยาว | 820 m (2,690 ft) |
ชนิดของทางน้ำล้น | 10 x radial gates |
ความจุของทางน้ำล้น | 3,980 m3/s (141,000 cu ft/s) |
อ่างเก็บน้ำ | |
ปริมาตรกักเก็บน้ำ | 1.3 km3 (1,100,000 acre·ft)[2] |
พื้นที่กักเก็บน้ำ | 272,000 km2 (105,000 sq mi) |
พื้นที่ผิวน้ำ | 49 km2 (19 sq mi) |
ชนิดของเขื่อน | Run-of-river concrete barrage[1] |
โรงไฟฟ้า | |
ผู้ดำเนินการ | Xaraburi Power Co., Ltd. |
ไฮดรอลิกเฮด | 18 m (59 ft) (rated) |
กังหันน้ำ | EDL: 1 × 60 MW EGAT: 7 x 175 MW |
กําลังการผลิตติดตั้ง | 1,285 MW[2] |
กำลังผลิตรายปี | 7,370 GWh |
เว็บไซต์ www |
เขื่อนไซยะบุรี (ลาว: ເຂື່ອນໄຊຍະບູລີ) เป็นเขื่อนผลิตไฟฟ้าพลังน้ำแบบน้ำไหลผ่านตลอดปี (run-of-river) สร้างกั้นแม่น้ำโขงตอนล่าง ตั้งอยู่ประมาณ 30 กิโลเมตรทางทิศตะวันออกของเมืองไชยบุรี ทางตอนเหนือของประเทศลาว ก่อสร้างโดยบริษัท ช. การช่าง จากประเทศไทย เป็นส่วนหนึ่งของสัญญาจัดซื้อกระแสไฟฟ้าระหว่างการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยกับรัฐบาลลาว[3] การดำเนินการพาณิชย์เริ่มต้นในเดือนตุลาคม 2562 จุดประสงค์หลักของเขื่อนคือการผลิตไฟฟ้าพลังน้ำ โดยการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยรับซื้อ 95% ของปริมาณดังกล่าว[4] โครงการนี้เต็มไปด้วยกรณีอื้อฉาวเนื่องจากมีข้อร้องเรียนจากชาวบ้านที่อยู่ปลายน้ำและนักสิ่งแวดล้อม การก่อสร้างเบื้องต้นเริ่มต้นในต้นปี 2555 แต่การก่อสร้างเขื่อนถูกระงับชั่วคราวเนื่องจากกัมพูชาและเวียดนามคัดค้าน[5] หลังมีการเปลี่ยนการออกแบบ จึงเริ่มการก่อสร้างโดยมีพิธีการในวันที่ 7 พฤศจิกายน 2555[6] ทั้งนี้ เขื่อนไซยะบุรีเป็นหนึ่งใน 11 เขื่อนที่วางแผนก่อสร้างกั้นแม่น้ำโขงตอนล่าง[7]
ประวัติ
[แก้]บริษัท ช. การช่าง ได้ลงนามบันทึกความเข้าใจกับรัฐบาลลาวเพื่อทำการศึกษาสำรวจออกแบบเขื่อนไซยะบุรีในปี 2550 จากนั้นได้มีการลงนามสัญญาตกลงกับรัฐบาลลาวเพื่อพัฒนาโครงการในปี 2551 การก่อสร้างเริ่มขึ้นในปี 2555 แต่การก่อสร้างได้ชะงักลงเนื่องจากการประท้วงของรัฐบาลเวียดนามและกัมพูชาซึ่งอยู่ด้านใต้น้ำ ซึ่งเกรงว่าเขื่อนจะสร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม[8] ผู้ออกแบบจึงได้ปรับรูปแบบของเขื่อนใหม่ให้มีทางขึ้นลงของปลาและการไหลของตะกอนใต้น้ำ รัฐบาลลาวได้ประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์ในวันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555[6] และดำเนินการก่อสร้างต่อ
โรงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนไซยะบุรีใช้เงินทุนก่อสร้างทั้งสิ้นกว่า 135,000 ล้านบาท มีกำลังการผลิตไฟฟ้ารวมทั้งสิ้น 1,285 เมกะวัตต์ ประกอบด้วยกังหันน้ำและเครื่องกำเนิดไฟฟ้ารวม 8 ระบบ สามารถผลิตไฟฟ้าได้ 7,768 ล้านหน่วยต่อปี ไฟฟ้าที่ได้จากเขื่อนนี้ร้อยละ 92.5 จะจำหน่ายให้แก่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยในอัตราเฉลี่ย 2.159 บาทต่อหน่วย และอีกร้อยละ 7.5 จำหน่ายให้รัฐวิสาหกิจไฟฟ้าลาว
การดำเนินงานพาณิชย์ของเขื่อนเริ่มต้นในเดือนตุลาคม 2562[9][10]
ผลกระทบ
[แก้]ปริมาณรับซื้อไฟฟ้าเกินความต้องการในประเทศจากเขื่อนทำให้ค่าไฟฟ้าในประเทศไทยแพงขึ้น[11]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Xayaburi Hydroelectric Power Project: Fast Facts". Xayaburi Power Company Ltd (XPCL). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-11-06. สืบค้นเมื่อ 25 July 2019.
- ↑ 2.0 2.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อdamspec
- ↑ The Xayaburi Dam — A Looming Threat To The Mekong River (PDF). International Rivers. January 2011. สืบค้นเมื่อ 2011-02-06.
- ↑ "Thai govt urged not to buy power from Laos dam". The Straits Times. 26 July 2019. สืบค้นเมื่อ 27 July 2019.
- ↑ "Construction forges ahead at Xayaburi Dam project". Bangkok Post. 22 July 2012.
- ↑ 6.0 6.1 Fisher, Jonah (5 November 2012). "Laos approves Xayaburi 'mega' dam on Mekong". BBC News. British Broadcasting Corporation. สืบค้นเมื่อ 6 November 2012.
- ↑ "Thai state agencies likely to get away with Xayaburi Dam construction". Prachatai English. 2015-11-30. สืบค้นเมื่อ 1 December 2015.
- ↑ "Construction forges ahead at Xayaburi Dam project". Bangkok Post. 22 July 2012.
- ↑ Wipatayotin, Apinya (20 July 2019). "Dam tests spark crisis". Bangkok Post. สืบค้นเมื่อ 20 July 2019.
- ↑ "CK gets B19bn environmental contract for Xayaburi dam". Bangkok Post. 18 May 2016. สืบค้นเมื่อ 13 July 2017.
- ↑ "ทุนไทยใน 'เขื่อนลาว' ปชช.แบกค่าไฟ ประโยชน์อยู่ไหน ?". VoiceTV. สืบค้นเมื่อ 21 October 2020.