เกี้ยน
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
บทความนี้อาจต้องเขียนใหม่ทั้งหมดเพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานคุณภาพของวิกิพีเดีย หรือกำลังดำเนินการอยู่ คุณช่วยเราได้ หน้าอภิปรายอาจมีข้อเสนอแนะ |
เกี้ยน(จีน:繭) เรียกย่อยมาจาก บะเกียน(จีน:肉繭) เป็นอาหารพื้นเมืองของจังหวัดภูเก็ตชนิดหนึ่งทำจากเนื้อหมูผสมเครื่องเทศนำไปห่อให้มีลักษณะคล้ายฮอยจ๊อหรือแฮกึ่นแล้วนำไปทอด นิยมทำขายคู่กับโลบะ มีจุดกำเนิดมาจากเมืองเจียงจิวหรือจางโจว(จีน:漳州)ในมณฑลฮกเกี้ยน ทำเป็นเครื่องเส้นไหว้เทพเจ้าและบรรพบุรุษในเทศกาลต่างๆและนิยมทำรับประทานในงานมงคลและอวมงคล ต่อมาช่วงราชวงศ์ชิงเกี้ยนได้ติดตามผู้อพยพชาวฮกเกี้ยนจากเมืองเจียงจิว เผยแพร่สู่ไต้หวัน,สิงคโปร์,มาเลเซียและไทย
ชื่อเรียก
[แก้]- ในจังหวัดภูเก็ตนิยมเรียกว่า เกี้ยน(จีน:繭,kián) ซึ่งกร่อนมาจาก บะเกียน(จีน:肉繭,bah-kián) คำว่าเกี้ยน(จีน:繭,kián) ถ้าแปลตรงตัวจะหมายถึงดักแด้
- ไต้หวัน เรียกว่า เกกึ้ง หรือ กวยกึ้ง(จีน:雞卷,ke-kńg/kue-kńg) ส่วนในภาคใต้ของไต้หวันนิยมเรียก บะเกียนอ่า(จีน:肉繭仔,bah-kián-á)หรือ เกี้ยนอา(จีน:繭仔, kián-á) บางส่วนเรียกว่า บะกึ้ง(จีน:肉卷,bah-kńg)
- มณฑลฮกเกี้ยนในเมืองจางโจวเรียกว่า บะกุย(จีน:肉卷,bah-kuínn) ในเมืองเฉวียนโจวเรียก กวยกึ่ง(จีน:雞卷,kue-kńg) ส่วนในเมืองเซี่ยเหมินเรียก งอเฮียง(จีน:五香,ngóo-hiang) หรือ หง่อเฮียงกึ้ง(จีน:五香卷,ngóo-hiang-kńg)
- สิงคโปร์และมาเลเซีย มีเรียกทั้ง งอเฮียง(จีน:五香,ngóo-hiang),หง่อเฮียงกึ้ง(จีน:五香卷,ngóo-hiang-kńg) และ บะเกียน(จีน:肉繭,bah-kián)
เกี้ยนในไต้หวัน
[แก้]เกี้ยน ในไต้หวันเรียกแบบเฉวียนโจวว่า เกกึ้ง หรือ กวยกึ้ง(จีน:雞卷,ke-kńg/kue-kńg) ซึ้งคำว่าเก หรือ กวย(จีน:雞,ke/kue) หมายถึงไก่ แต่อาหารชนิดนี้ไม่ได้มีส่วนผสมของไก่
นักวิชาการอาหารของไต้หวักล่าวว่าสาเหตุที่เรียกว่าเกกึ้ง(จีน:雞卷,ke-kńg) มาจากคำว่าเก(จีน:雞,ke)ที่หมายถึงไก่ในภาษาฮกเกี้ยนไปพร้องเสียงกับคำว่าเก(จีน:加,ke)ที่หมายถึงเพิ่มเติมเป็นชื่อมงคล เมื่อเวลาผ่านไปจากเกกึ้ง(จีน:加卷,ke-kńg)เพี้ยนไปเป็นเกกึ้ง(จีน:雞卷,ke-kńg)