เกทารนาถมนเทียร
เกทารนาถมนเทียร | |
---|---|
ศาสนา | |
ศาสนา | ศาสนาฮินดู |
เขต | อำเภอรุทรปรยาค |
เทพ | พระเกทารนาถ (พระศิวะ) |
ที่ตั้ง | |
ที่ตั้ง | เกทารนาถ |
รัฐ | รัฐอุตตราขัณฑ์ |
ประเทศ | อินเดีย |
พิกัดภูมิศาสตร์ | 30°44′6.7″N 79°4′0.9″E / 30.735194°N 79.066917°E |
ระดับความสูง | 3,583 m (11,755 ft) |
เว็บไซต์ | |
badrinath-kedarnath |
เกทารนาถมนเทียร (อังกฤษ: Kedarnath Temple) เป็นมนเทียรบูชาพระศิวะแห่งหนึ่งบนเทือกเขาหิมาลัย ใกล้กับแม่น้ำมันทกินี ในเมืองเกทารนาถ รัฐอุตตราขัณฑ์ ประเทศอินเดีย โดยทั่วไปแล้วมนเทียรจะเปิดในระหว่างเดือนเมษายน (อักษัยตรีติยะ) และพฤษภาคม (กรฏิกปุรนิมา) เนื่องด้วยเหตุผลด้านสภาพอากาศอันรุนแรงของภูมิภาคหิมาลัย ในช่วงฤดูหนาว วิครห์ (เทวรูป) ของเกทารนาถมนเทียรจะถูกอัญเชิญไปประดิษฐานที่อูขิมัฐที่ซึ่งจะเปิดให้บูชาเป็นเวลาอีกหกเดือนที่เหลือ เกทารนาถเชื่อว่าทรงเป็นเทพองค์เดียวกับพระศิวะ[1]
มนเทียรนี้ไม่สามารถเข้าถึงได้ด้วยทางถนน โดยต้องอาศัยการเดินเท้าเป็นระยะทาง 22 กิโลเมตร (14 ไมล์) ขึ้นเขาจากคาวรีกุนท์ ม้าแคระและบริการ มันจัน นั้นมีให้บริการเพื่อช่วยไปถึงมนเทียร ตำนานฮินดูเชื่อว่ามนเทียรนี้สร้างขึ้นโดยปาณฑพ และเป็นหนึ่งในสิบสองชโยติรลึงค์แห่งพระศิวะ[2] และเป็นหนึ่งใน 275 ปาทัลเปตนสถลัม ซึ่งมีเขียนไว้ใน เตวารัม เชื่อกันว่าตระกูลปาณฑพได้รับพรจากพระศิวะจากการสร้างมนเทียรที่เกรทารนาถนี้[3][2] นอกจากนี้มนเทียรยังเป็นหนึ่งในสี่โจตจารธามสี่แห่งของหิมาลัยเหนือ และเป็นมนเทียรที่ตั้งอยู่สูงที่สุดในบรรดาสิบสองชโยติรลึงค์[4] เกทารนาถเคยถูกน้ำท่วมหนักมากระหว่างอุทกภัยใหญ่อินเดียเหนือปี 2013 ถึงแม้เมืองเกทารนาถและพื้นที่โดยรอบของมนเทียรจะเสียหายอย่างหนัก ตลาดด้านข้างราบเป็นหน้ากลอง แต่มนเทียรเองนั้นมีเพียงรอยแตกเล็ก ๆ ในผนังหนึ่งเท่านั้น[5][6]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Kedarnath Temple". Kedarnath - The official website. 2006. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-10-29. สืบค้นเมื่อ 9 September 2013.
- ↑ กระโดดขึ้นไป: 2.0 2.1 James G. Lochtefeld (2002). The Illustrated Encyclopedia of Hinduism: A-M. Rosen. pp. 363–364. ISBN 978-0-8239-3179-8.
- ↑ J. Gordon Melton; Martin Baumann, บ.ก. (2010). Religions of the World: A Comprehensive Encyclopedia of Beliefs and Practices. Vol. 1 (A-B) (2nd ed.). ABC-CLIO. p. 1624. ISBN 978-1-59884-204-3.
- ↑ "KEDARNATH". badarikedar. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-07-21. สืบค้นเมื่อ 2020-11-09.
- ↑ Joanna Sugden; Shreya Shah (19 June 2013). "Kedarnath Temple Survives Flash Floods". WSJ.
- ↑ "Minor damage to outer wall of Kedarnath temple: ASI". Zee News. 7 August 2013.