ข้ามไปเนื้อหา

ฮาม (บุตรโนอาห์)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ฮาม
ภาพจากศตวรรษที่ 16 วาดโดย Guillaume Rouillé
บุตรคูช
อียิปต์
พูต
คานาอัน
บิดามารดาโนอาห์

ฮาม [a] (ใน ฮีบรู: חָם อาหรับ: حام) ตามตารางของประชาชาติ ในพระธรรมปฐมกาล เป็นบุตรคนที่สองของโนอาห์ และเป็นบิดาของ คูช อียิปต์ พูต และ คานาอัน [1] [2]

วงศ์วานของฮามถูกตีความโดย โยเซพุส และคนอื่นๆ ว่ามีประชากรอาศัยอยู่ในแอฟริกาและบางส่วนที่อยู่ติดกันของเอเชีย พระคัมภีร์กล่าวถึง อียิปต์ ว่าเป็น "ดินแดนของฮาม" ในสดุดี 78:51; 105:23, 27; 106:22; 1 พงศาวดาร 4:40.

ในพระคัมภีร์

[แก้]
ภาพประกอบนี้จาก Nuremberg Chronicle ในศตวรรษที่ 16 ใช้ตัวสะกดว่า "Cham"

ปฐมกาล 5:32 กล่าวว่า โนอาห์ให้กำเนิด เชม, ฮาม และยาเฟท ในวัย 500 ปี และใน ปฐมกาล 9:20-27 กล่าวถึงการที่โนอาห์สาปแช่งคานาอัน บุตรฮาม

20โนอาห์เริ่มเป็นคนทำสวนและปลูกองุ่น 21แล้วท่านดื่มเหล้าองุ่นและเมา แล้วก็นอนเปลือยกายอยู่กลางเต็นท์ของท่าน 22ฮามผู้เป็นบิดาคานาอันเห็นบิดาของเขาเปลือยกายอยู่ จึงบอกพี่ชายทั้งสองที่อยู่ภายนอก 23เชมกับยาเฟทก็เอาผ้าพาดบ่าทั้งสองคนแล้วก็เดินถอยหลังเข้าไปปกปิดกายของบิดาที่เปลือยอยู่ โดยไม่ได้หันหน้าดูบิดาที่เปลือยกายอยู่นั้น

24เมื่อโนอาห์สร่างเมาแล้ว และรู้ว่าบุตรสุดท้องทำกับท่านอย่างไร 25จึงพูดว่า

“คานาอันจงถูกแช่ง
ให้เป็นทาสต่ำสุดของพี่น้อง”

26ท่านกล่าวด้วยว่า

“สาธุการแด่พระยาห์เวห์พระเจ้าของเชม
และให้คานาอันเป็นทาสของเขาเถิด
27ขอพระเจ้าทรงเพิ่มพูนยาเฟทให้ทวียิ่งขึ้น
ให้เขาอาศัยอยู่ในเต็นท์ของเชม
และให้คานาอันเป็นทาสของเขาเถิด”

ในศาสนาอิสลาม

[แก้]

ฮาม อิบน์ นูห์ เขาเป็นบุตรชายคนที่ 2 ของนบีนูห์ จาก วาฆิละฮ์ภรรยาของท่านและชาวฮาม

มีต้นกำเนิดมาจากเขา เขาเป็นหนึ่งในบุตรชายสามคนของนบีนูห์ที่ศรัทธาในตัวท่านและในสาส์นที่ประกาศของท่าน ดังนั้นพวกเขาจึงขึ้นเรือไปพร้อมกับท่านเพื่อหลีกเลี่ยงน้ำท่วมที่อัลลอฮ์ทรงส่งไปทำลายผู้ปฏิเสธศรัทธา ส่วนน้องชายคนที่สี่ชื่อ กันอาน หรือ ยาม ซึ่งจมน้ำตายพร้อมกับแม่ คือ นางวะฆิละฮ์เพราะไม่ยอมขึ้นเรือและไม่ศรัทธา

อ้างอิง

[แก้]
  1. ฮีบรู: חָם, ใหม่: H̱am, ไทบีเรียน: Ḥām; Greek Χαμ Kham, Ge'ez: ካም Kam; Arabic: حام, Ḥām
  1. David Noel Freedman, Allen C. Myers, Astrid B. Beck, Eerdmans dictionary of the Bible, (Wm. B. Eerdmans Publishing: 2000), p. 543
  2. Stanley E. Porter, Craig A. Evans, The Scrolls and the Scriptures, (Continuum International Publishing Group: 1997), p. 377