ข้ามไปเนื้อหา

ฮหว่านหง็อก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ฮวานง็อก)
ฮหว่านหง็อก
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
ไฟลัม: Dicotyledon
ชั้น: Magnoliopsida
อันดับ: Scrophulariales
อันดับย่อย: Lamianae
วงศ์: Acanthacea
สกุล: Pseuderanthemum
สปีชีส์: P.  palatiferum
ชื่อทวินาม
Pseuderanthemum palatiferum
(Nees) Radlk
ชื่อพ้อง
  • Eranthemum palatiferum Nees

ฮหว่านหง็อก (เวียดนาม: hoàn ngọc; ชื่อวิทยาศาสตร์: Pseuderanthemum palatiferum) เป็นพืชชนิดหนึ่ง ถูกค้นพบครั้งแรกในประเทศเวียดนาม

ประวัติศาสตร์

[แก้]

ถูกค้นพบในช่วงปลายปี ค.ศ.1990 ในป่ากุกฟวงทาง ตอนเหนือของประเทศเวียดนาม ถือเป็นพืชชนิดใหม่ ที่ใช้ในการ รักษาโรค เนื่องจากไม่ปรากฏใน NAPRALERT (1995) ซึ่งเป็น ฐานข้อมูลพืชที่ใช้ในทางการแพทย์ท่วโลกของมหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ สหรัฐอเมริกา หลังจากท่พืชชนิดนี้ถูกค้นพบ พืชชนิด นี้ได้รับการปลูกอย่างกว้างขวางในประเทศเวียดนาม โดย ในประเทศไทย จากข้อมูลการบอกเล่า ถูกนำเข้ามาโดยกลุ่ม ทหารผ่านศึกสมัยสงครามเวียดนาม และต้นฮหว่านหง็อกได้ถูก นำเข้ามาในประเทศไทยกว่า 30 ปี ฮหว่านหง็อก ที่เริ่มเข้ามาแพร่หลายในประเทศไทย เริ่มจากพื้นที่ในแถบภาคอีสาน ต้งแต่ บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ สุรินทร์ และเมื่อเร่มเป็นที่รู้จักมากขึ้น ได้มีการต้งช่อเพื่อสะดวกในการเรียกมากข้น เป็นช่อไทยว่า พญาวานร ว่านลิง ว่านพญาวานร หรือต้นลิง

ลักษณะ

[แก้]

เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก สูง 1-3 ม. ลำต้นเป็นรูปสี่เหลี่ยม เปลือกต้นผิวเรียบสีเขียว ใบเดี่ยวเรียงตรงข้าม รูปวงรีถึงใบหอก กว้าง 3-5 ซม. ยาว 5-15 ซม. โคนใบสอบ ปลายใบแหลมเรียว ขอบใบเรียบ มีเส้นแขนงใบ 8-11 คู่ ผิวใบมีขนยาวห่าง (pilose) ดอกช่อแยกแขนงแบบช่อเชิงลด (spicitiform paniculate) ใบประดับรูปแถบหรือไม่มีใบประดับ มีก้านดอกย่อย ยาว ประมาณ 0.5 มม. มีขนสั้นนุ่มท่ใบประดับก้านดอกย่อยและ กลีบเลี้ยง กลีบเลี้ยงมี 5 กลีบ รูปแถบวงกลีบดอกสีชมพู น้ำเงิน ม่วง หรือ เกือบดำ หลอดดอกรูปทรงกระบอก ดอกปากแตร รูปห้าแฉก เกสรเพศผู้สมบูรณ์ และเป็นหมัน รังไข่เรียบ

สรรพคุณพื้นบ้าน

[แก้]

ในเวียดนาม จะใช้ใบในการรักษาโรคต่างๆ ในคน ได้แก่ ความดันโลหิต ท้องเสีย ไขข้ออักเสบ คออักเสบ กระเพาะ อาหารอักเสบ เนื้องอก ลำไส้อักเสบ ตกเลือด รักษาแผล ท้องผูก นอกจากนี้ยังมีการนำมาใช้ในการรักษาและป้องกันโรค ในสัตว์เลี้ยง ได้แก่ แก้ท้องเสียในสุกรและสุนัข รักษาแผล และ อหิวาต์ในไก่และเป็ด เป็นต้น

สารอาหาร

[แก้]

ในใบของฮหว่านหง็อกประกอบด้วย สารอาหารต่างๆ ได้แก่ โปรตีน (ซึ่งพบในปริมาณ 30.8% ของนํ้าหนักแห้ง)

กรดอะมิโน ได้แก่ ไลซีน เมทไธโอนีน และทรีโอนีน

เกลือแร่ ได้แก่ แคลเซียม แมกนีเซียม เหล็ก และทองแดง

สารแห้ง (%) 13.4
ค่าโปรตีนโดยประมาณ (% น้ำหนักแห้ง) 30.8
แร่ธาตุ (มิลลิกรัม/ใบสด 100 กรัม)

แคลเซียม

แมกนีเซียม

เหล็ก

ทองแดง

โพแทสเซียม

โซเดียม

อะลูมิเนียม

วาเนเดียม

แมงกานีส

นิกเกิล

875.5

837.6

38.8

0.43

587.5

162.7

37.50

3.75

0.34

0.19

กรดอะมิโน (มิลลิกรัม/ใบสด 100 กรัม)

ไลซีน

เมทไธโอนีน

ทรีโอนีน

30.6

29.7

61.0

ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์

[แก้]

จากการศึกษาพบว่า ในใบประกอบด้วย

Flavonoids, B-sitosterol, Phytol, 3-0-(β-D-glucopy ranosyl)-sitosterol, สารผสมระหว่าง stigmasterol และ poriferasterol,

n-pentacosan-1-ol และสารผสมระหว่าง kaempferol-3-methyl ether-7-0-β–gluco side และ apigenin-7-0-β-glucoside,

1-triacontanol, salicylic acid, glycerol 1-hexadecanoate, palmitic acid และ pseuderantin ซึ่งเป็นเอนไซม์ท่ย่อยโปรตีน

ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา (งานวิจัย)

[แก้]

ฤทธ์ต้านอนุมูลอิสระ ส่วนสกัดเอทิลอะซิเตทและบิวทานอลจากใบ ซึ่งมี

ฟลาโวนอยด์เป็นองค์ประกอบหลัก มีฤทธ์ต้านอนุมูลอิสระ เมื่อ ทดลองโดยใช้ humanblood peroxidase model

ฤทธ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย ส่วนสกัดเอทิลอะซิเตทและบิวทานอลจากใบ มีฤทธิ์ต้าน

เชื้อแบคทีเรีย 10 ชนิด โดยเฉพาะส่วนสกัดเอทิลอะซิเตทจะมี ฤทธิ์แรงต่อเชื้อ Salmonella typhi 158, [[Shigella flexneri] และ E. coli

ฤทธิ์ต้านเชื้อรา ส่วนสกัดเอทิลอะซิเตทและบิวทานอลจากใบ มีฤทธ์ต้าน

เชื้อรา Candida albicans และ Candida stellatoides

พิษต่อเซลล์มะเร็ง

สารสกัดเมทานอลจากใบ เป็นพิษอย่างอ่อนต่อ

เซลล์มะเร็ง B16 melanoma โดยมีค่าความเข้มข้นที่ยับยั้ง การเจริญเติบโตของเซลล์ครึ่งหน่ง (GI50) คือ มากกว่า 100 มคก./มล.

ยับยั้งการสร้างหลอดเลือด

สารสกัดเมทานอลจากใบ ความเข้มข้น 100 มคก./มล.

มีฤทธ์อย่างอ่อน (น้อยกว่า 25%) ในการยับยั้งการสร้างหลอด เลือดในเซลล์ human umbilical venous

ผลต่อสัตว์ มีการศึกษาผลของฮหว่านหง็อกท่มีต่อการเจริญเติบโต

และแก้ท้องเสียในลูกสุกรเล็ก โดยแบ่งออกเป็น 3 การทดลอง คือ

การทดลองที่ 1 ทดลองในลูกสุกรที่ยังไม่ได้หย่านม

โดยให้กินใบสดขนาด 1 ก./กก./วัน เป็นเวลา 30 วัน

การทดลองท่ 2 ทดลองในลูกสุกรท่ไม่ได้หย่านม

โดยให้กินใบสดขนาด 0.5 ก./กก./วัน และผงใบแห้ง ขนาด 0.1 และ 0.2 ก./กก./วัน เป็นเวลา 30 วัน

การทดลองที่ 3 ทดลองในลูกสุกรท่หย่านมแล้ว

โดยให้ กินใบสด ขนาด 0.5 ก./กก./วัน และผงใบแห้งขนาด 0.1 และ 0.2 ก./กก./วัน นาน 30 วัน

พบว่าใน การทดลองท่ 1 ลูกสุกรที่กินใบฮหว่านหง็อก จะมี น้ำหนักตัวมากกว่ากลุ่มควบคุม จำนวนเม็ดเลือดแดง packed cell และฮีโมโกลบินสูงกว่า

ไม่พบการตายและอาการท้องเสีย เช่นเดียวกับ การทดลองที่ 2 และ 3 ลูกสุกรท่กินใบฮหว่านหง็อก จะมีน้ำหนักตัว จำนวนเม็ดเลือดแดง packed cell และ

ฮีโมโกลบินมากกว่ากลุ่มท่ควบคุม ลูกสุกรมีอาการท้องเสีย และตายน้อยกว่า โดยที่ผงแห้งขนาด 0.2 ก/กก. จะให้ผลดีท่สุด ต่อการเจริญเติบโตและแก้ท้องเสียในลูกสุกรเล็ก

การทดลองเปรียบเทียบผลของฮหว่านหง็อกกับยาปฏิชีวนะ Coli-norgent (ประกอบด้วย Colistine sulfate 125,000,000 UINorfloxacin2,000มก.

Gentamicinsulfate1,000มก. Trimethoprim 1,000 มก. Excipient q.s. 100 ก.) ในการ รักษาอาการท้องเสียในลูกสุกร โดยแบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ

กลุ่มที่ กินผงใบฮหว่านหง็อกแห้ง ขนาด 1 ก./กก. กลุ่มท่ได้รับยา Colinorgent และ Cotrimxazol ขนาด 0.1ก./กก. วันละ 2 ครั้ง เป็นเวลา 3 วันพบว่า

ฮหว่านหง็อกให้ผลดีเทียบเท่ายา ปฏิชีวนะทั้ง 2 ชนิด ดังน้นจึงสามารถใช้ทดแทนยาปฏิชีวนะ ในการรักษาอาการท้องเสียในลูกสุกรได้

ข้อมูลงานวิจัย

[แก้]
  • การศึกษาความเป็นพิษของสารสกัดว่านพญาวานร (Pseuderanthemum palatiferum [Nee] Radlk)

ในหนูขาวเพศผู้ Toxicological study of Hoàn Ngọc (Pseuderanthemum palatiferum [Nees] Radlk) Extracts on male Albino Rats

  • ความเป็นพิษเฉียบพลันและกึ่งเฉียบพลันของสารสกัด ใบพญาวานร Acute Toxicity and sub-acute Toxicity of Pseuderanthemun palatiferum [Nees] Radlk Leaf Extract
  • การตรวจสอบความเป็นพิษและฤทธ์ทางชีวภาพของสารสกัด จากพญาวานรเพื่อเป็นแนวทางการผลิตเป็นยาจากธรรมชาติ

Evaluation of Toxicity and Biological of Hoàn Ngọc (Pseuderathenum platiferum) Extracts for potential of Natural Medicines

โรค ท่สามารถบรรเทาหรือรักษา

กลุ่มโรค
โรคกลุ่มอักเสบหรือมีบาดแผล โรคกลุ่มปรับสมดุล ฆ่าเชื้อ ลดอาการปวด
ข้ออักเสบ ความดันโลหิตสูง ท้องร่วง ปวดเอว
ช่องคออักเสบ เบาหวาน บิด ปวดประจำเดือน
กระเพาะ (อักเสบ) ท้องผูก ปวดข้อ
ลำไส้อักเสบ โลหิตจาง ปวดจากบาดแผล
ช่องปากอักเสบ ไข้หวัด ปวดจากมะเร็ง
รากฟันอักเสบ เลือกออกง่าย
เยื่อบุจมูกอักเสบ ภูมิแพ้
เต้านมอักเสบ นอนไม่หลับ
ตับอักเสบ ลดไขมัน ในหลอดเลือด
ไตอักเสบ

อ้างอิง

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Pseuderanthemum palatiferum ที่วิกิสปีชีส์