ข้ามไปเนื้อหา

อี ฮี-โฮ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อี ฮี-โฮ
이희호
สุภาพสตรีหมายเลขหนึ่งของเกาหลีใต้
ดำรงตำแหน่ง
25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2541 – 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546
ประธานาธิบดีคิม แด-จุง
ก่อนหน้าซน มย็อง-ซุน
ถัดไปคว็อน ยัง-ซุก
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด21 กันยายน พ.ศ. 2465
เคโจ จังหวัดเคกิ เกาหลีของญี่ปุ่น
เสียชีวิต10 มิถุนายน พ.ศ. 2562 (96 ปี)
โซล ประเทศเกาหลีใต้
คู่สมรสคิม แด-จุง (พ.ศ. 2505–2552)
บุตร3 คน

อี ฮี-โฮ (เกาหลี이희호; ฮันจา李姬鎬; อาร์อาร์I Huiho; เอ็มอาร์Yi Hŭiho; 21 กันยายน พ.ศ. 2465 – 10 มิถุนายน พ.ศ. 2562) สุภาพสตรีหมายเลขหนึ่งของเกาหลีใต้ช่วงปี 2541-46 เป็นภริยาของคิม แด-จุง ประธานาธิบดีคนที่ 8 ของประเทศ[1]

อี ฮี-โฮดำรงตำแหน่งประธานของศูนย์สันติภาพคิมแดจุง โดยมีบทบาทในการส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างประเทศเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้ รวมทั้งช่วยบรรเทาความยากจน[2]

ประวัติ

[แก้]

เธอเกิดที่เมืองเคโจ จังหวัดเคกิ ช่วงที่ญี่ปุ่นปกครองคาบสมุทรเกาหลี (ปัจจุบันคือโซล ประเทศเกาหลีใต้) บิดาชื่ออี ยง-กี (이용기) ส่วนมารดาชื่ออี ซุน-อี (이순이) สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาจากโรงเรียนมัธยมหญิงอีฮวา และปริญญาตรีจากมหาวิทยาลัยแห่งชาติโซล เมื่อปี พ.ศ. 2493

เธอสมรสกับคิม แด-จุง เมื่อปี พ.ศ. 2505 มีบุตรด้วยกันสามคน จนกระทั่งสามีถึงแก่อสัญกรรมเมื่อปี พ.ศ. 2552 หลังจากนั้นเธอยังมีบทบาทด้านการสาธารณสุขของประเทศเกาหลีเหนือเพื่อพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ[3] ซึ่งเป็นการสานต่อนโยบายของสามีที่พยายามสร้างความปรองดองแก่เกาหลีทั้งสอง[4]

อี ฮี-โฮเข้ารับการรักษาโรคมะเร็งตับและโรคอื่น ๆ ที่โรงพยาบาลเมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2562[2] เดือนเมษายนปีเดียวกัน อี ฮง-อิลบุตรบุญธรรมคนโต ซึ่งเป็นนักการเมืองและผู้บัญญัติกฎหมายเสียชีวิตขณะอายุ 71 ปี ซึ่งไม่มีใครบอกเธอเกี่ยวกับการมรณกรรมของลูกเลี้ยง เพราะเกรงว่าจะทำให้เธอมีสุขภาพที่แย่ลง[2] อี ฮี-โฮถึงแก่กรรมด้วยโรคมะเร็งตับเมื่อวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2562 ณ โรงพยาบาลเอกเทศในโซล สิริอายุ 96 ปี[2]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Ha-young Choi (7 กรกฎาคม 2550). "Lee Hui-ho to visit Pyongyang from August 5 to 8". NK News. สืบค้นเมื่อ 2 มีนาคม 2559. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 "Lee Hee-ho, widow of ex-President Kim Dae-jung, dies at 97". Yonhap. The Korea Herald. 11 June 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 June 2015. สืบค้นเมื่อ 11 June 2019.
  3. Aidan Foster-Carter (10 สิงหาคม 2558). "Rudeboy: Kim Jong Un invites but then disses Lee Hee-ho". NK News. สืบค้นเมื่อ 2 มีนาคม 2559. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  4. Jiyeon Lee (26 ธันวาคม 2554). "South Koreans pay respects to Kim Jong Il". CNN. สืบค้นเมื่อ 2 มีนาคม 2559. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
  • วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ อี ฮี-โฮ