ข้ามไปเนื้อหา

อารามวัลท์ซัสเซิน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อารามวัลท์ซัสเซิน

Kloster Waldsassen
ค.ศ. 1147ค.ศ. 1803
ตราแผ่นดินของ
ตราแผ่นดิน
สถานะอิมพีเรียลแอบบีย์ในจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์
เมืองหลวงวัลท์ซัสเซิน
การปกครองเทวาธิปไตย
ยุคประวัติศาสตร์ยุคกลาง
• ก่อตั้งแอบบีย์
ค.ศ. 1128–1132
ค.ศ. 1147
ค.ศ. 1803
ก่อนหน้า
ถัดไป
Electoral Palatinate พาลาทิเนตแห่งไรน์
รัฐผู้คัดเลือกบาวาเรีย

อารามวัลท์ซัสเซิน (เยอรมัน: Kloster Waldsassen) เป็นอารามนักพรตหญิงของคณะซิสเตอร์เชียน เดิมเป็นแอบบีย์ของนักพรตชาย ตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำวอนเดร็บที่วัลท์ซัสเซินในรัฐบาวาเรียไม่ไกลจากพรมแดนเยอรมนีที่ติดกับเช็กเกีย

การก่อตั้งครั้งแรก

[แก้]

อารามวัลท์ซัสเซินเป็นแอบบีย์แห่งแรกของคณะซิสเตอร์เชียนในบาวาเรียที่ก่อตั้งขึ้นโดยเยอร์วิคแห่งโวลมุนดชไตน์ผู้เป็นนักพรตคณะเบเนดิกตินแห่งอารามซิเกอแบร์ก โดยได้รับการอนุมัติจากคอนราดอธิการเดิมของเยอร์วิค ผู้ต่อมาเป็นบิชอปแห่งเรเกนสบูร์ก ตัวโบสถ์เดิมก่อสร้างระหว่าง ค.ศ. 1128 ถึง ค.ศ. 1132 สมาชิกของอารามเดิมถูกส่งมาจากแอบบีโฟลเคนโรดาในทูริงเกีย จากสายแอบบีโมริมอนด์ เจ้าอาวาสองค์แรกได้รับการเลือกตั้งในปี ค.ศ. 1133

ต่อมาแอบบีย์ก็ขยายตัวและมีความสำคัญเพิ่มมากขึ้น เมื่อจำนวนนักพรตมากขึ้นวอลด์ซาสเซนก็ขยายตัวออกไปก่อตั้งแอบบีย์ในที่อื่น ๆ ที่รวมทั้งเซดลิทซ์, ออสเซกก์ในโบฮีเมีย, วอลเดอร์บาค และอีกหลายแห่ง ในปี ค.ศ. 1147 พระเจ้าคอนราดที่ 3 แห่งเยอรมนีก็พระราชทานให้แอบบีย์ได้รับ "อิมพีเรียลอิมมีเดียซี" (Reichsunmittelbar) ซึ่งทำให้วัลท์ซัสเซินมีฐานะเป็นอิมพีเรียลแอบบีย์ (Imperial abbey)

ตั้งแต่กลางคริสต์ศตวรรษที่ 14 เป็นต้นมาวอลด์ซาสเซนก็ประสบกับความรุ่งเรืองและความเสื่อมโทรมสลับกันมา สงคราม ความอดอยาก การเก็บภาษีอันเกินเลย และการถูกทำร้ายทำลายโดยฮุสไซท์ทำความเสียหายให้แก่แอบบีย์อย่างหนัก ระหว่างสงครามบาวาเรียในปี ค.ศ. 1504 อาราม โบสถ์ และสิ่งก่อสร้างสำหรับการเกษตรกรรมก็ถูกเผา แต่ก็ได้รับการสร้างใหม่ทันทีหลังจากนั้น และได้รับการสถาปนาเป็นวัดในปี ค.ศ. 1517

ในปี ค.ศ. 1525 ตัวสิ่งก่อสร้างบางส่วนก็ถูกทำลายอีกครั้งหนึ่งระหว่างสงครามชาวนา แต่ก็มาได้รับการปฏิสังขรณ์โดยจอร์จที่ 3 ระหว่าง ค.ศ. 1531 ถึง ค.ศ. 1537

ระหว่าง ค.ศ. 1531 ถึง ค.ศ. 1537 ระหว่างการปฏิรูปศาสนาทางแอบบีย์ก็ได้รับการบริหารโดยเจ้าหน้าที่ที่แต่งตั้งมาจากภายนอก เช่นเมื่อฟรีดริชที่ 3 ผู้คัดเลือกแห่งพาลาทิเนตแต่งตั้งให้น้องชายมาดำรงตำแหน่ง นักพรตถูกกดดันให้สึกหรือหนี หรือไม่ก็ถูกสังหาร สถานะการณ์ดำเนินอยู่เช่นนั้นราวร้อยปี และในระหว่างนั้นตัวสิ่งก่อสร้างก็ถูกเผาราบระหว่างสงครามสามสิบปี

หลังจากการลงนามในสนธิสัญญาสันติภาพเวสต์ฟาเลียแล้ว คริสตจักรโรมันคาทอลิกก็ได้รับการฟื้นฟูขึ้นมาอีกครั้งในบาวาเรีย ในปี ค.ศ. 1669 วัลท์ซัสเซินก็กลับคืนมาเป็นของคณะซิสเตอร์เชียนและในปี ค.ศ. 1690 อัลเบรชท์ก็ได้รับเลือกให้เป็นอธิการคนแรกของอธิการรุ่นที่สอง หลังจากนั้นตัวโบสถ์ก็ได้รับการก่อสร้างใหม่ขึ้นอย่างงดงาม แอบบีย์มีชื่อในเรื่องการให้ความช่วยเหลือแก่คนทั่วไปโดยเฉพาะระหว่างความอดอยากที่เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1702 ถึงปี ค.ศ. 1703 และในปี ค.ศ. 1772 ถึงปี ค.ศ. 1773 และระหว่างการปฏิวัติฝรั่งเศส ภายใต้การนำของอทานาเซียส (ค.ศ. 1793–ค.ศ. 1803) แอบบีย์ก็กลายเป็นศูนย์กลางของการศึกษา

เมื่อแอบบีย์มาถูกยุบเลิกระหว่างการปฏิรูปดินแดนในปี ค.ศ. 1803 นักพรตที่มีอยู่ด้วยกันกว่าแปดสิบองค์ก็ถูกบังคับให้สึก

การฟื้นตัว

[แก้]

ในปี ค.ศ. 1863 ส่วนที่ยังหลงเหลืออยู่ของแอบบีย์ก็ถูกซื้อโดยนักพรตหญิงคณะซิสเตอร์เชียน และก่อตั้งเป็นอารามนักพรตหญิงและเปิดโรงเรียนสำหรับสตรี ในระยะแรกแอบบีย์ยังมีฐานะเป็นไพรออรี (priory) แต่ต่อมาก็ได้รับการยกฐานะให้เป็นแอบบีย์ในปี ค.ศ. 1925

ในปี ค.ศ. 1969 แอบบีย์ก็ได้รับการเลื่อนฐานะอีกครั้งขึ้นเป็นบาซิลิกาไมเนอร์

สถาปัตยกรรม

[แก้]

ตัวสิ่งก่อสร้างและการตกแต่งภายในเป็นสถาปัตยกรรมแบบบาโรก แต่สิ่งที่มีชื่อเสียงคือห้องสมุด ที่เป็นพิพิธภัณฑ์เซรามิก

อ้างอิง

[แก้]
  • Official website (เยอรมัน)
  •  บทความนี้เรียบเรียงจากสิ่งพิมพ์ที่เป็นสาธารณสมบัติHerbermann, Charles, บ.ก. (1913). สารานุกรมคาทอลิก. New York: Robert Appleton Company. {{cite encyclopedia}}: |title= ไม่มีหรือว่างเปล่า (help)

ดูเพิ่ม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ อารามวัลท์ซัสเซิน

ระเบียงภาพ

[แก้]