อัมร์ อิบน์ ฮิชาม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อัมร์ อิบน์ ฮิชาม
เกิดค.ศ. 556
มักกะฮ์, อาระเบีย
(ปัจจุบันคือประเทศซาอุดีอาระเบีย)
เสียชีวิต13 มีนาคม ค.ศ. 624
บัดร์, ฮิญาซ, อาระเบีย
สาเหตุเสียชีวิตถูกตัดหัวในสงครามบะดัร
มีชื่อเสียงจากเป็นศัตรูของศาสดามุฮัมมัด
คู่สมรสมุญาลิดยะฮ์ บินต์ อัมร์
อัรวะฮ์ บินต์ อบีอัลอาส
บุตรอิกริมะฮ์
ซุรอเราะฮ์
ตะมีมี
ศ็อคเราะฮ์
อัสมา
ญามีละฮ์
อุมมุฮากิม
อุมมุซะอีด
ญุวัยรียะฮ์
ฮุนฟะฮ์
อุมมุฮะบีบ

อัมร์ อิบน์ ฮิชาม (อาหรับ: عمرو بن هشام) มักรู้จักกันในชื่อ อบูญะฮัล (อาหรับ: أبو جهل; เกิด ค.ศ. 556– เสียชีวิต 17 มีนาคม ค.ศ. 624) เป็นหนึ่งในชาวมักกะฮ์ที่นับถือเทพเจ้าหลายองค์ อยู่ในเผ่ากุเรชที่รู้จักกันในการปฏิเสธและต่อต้านศาสดามุฮัมมัด กับผู้ศรัทธาชาวมุสลิมในมักกะฮ์ เขาไม่ใช่ลุง (เช่นอบูละฮับ) หรือมีเชื้อสายกับมุฮัมมัด เนื่องจากมุฮัมมัดอยู่ในกลุ่มบนีฮาชิมของเผ่ากุเรช ส่วนอบูญะฮัลอยู่ในกลุ่มบนูมัคซูมของเผ่ากุเรช[1]

ชื่อ[แก้]

เขามีชื่อเล่นว่า "อบู อัล-ฮะกัม" (ابوالحكم), ("บิดาแห่งความรอบรู้") เนื่องจากว่าเขาเป็นคนที่มีความรู้ ความฉลาด และทำให้ผู้นำของเผ่ากุเรช เชื่อในความคิดของเขาและแต่งตั้งเป็นผู้นำสมาชิกของการชุมนุมของพวกเขา ถึงแม้ว่าจะอายุ 30 ปีก็ตาม

แต่หลังจากที่ศาสดามูฮัมมัดเริ่มเผยแผ่ศาสนาอิสลาม เขาจึงเริ่มไม่ปราณีต่อมุฮัมมัดและปฏิเสธคำสอนของท่าน ดังนั้นมูฮัมมัดจึงให้ชื่อเล่นให้กับเขาว่า อบูญะฮัล (أبو جهل') ("บิดาแห่งความเขลา") และเขาถูกเรียกเป็นอิบน์ อัล-ฮันซาลิยะฮ์ทางฝั่งแม่[2]

ครอบครัว[แก้]

บิดามารดาและญาติพี่น้อง[แก้]

พ่อของเขาชื่อฮิชาม อิบน์ อัล-มุฆีเราะฮ์ และแม่ของเขาชื่ออัสมา บินต์ มัฆราบะฮ์ อิบน์ ญันดัล อัล-ตะมีมียา และเขามีพี่น้อง 7 คน ได้แก่:

  1. ซาลามะฮ์ อิบน์ ฮิชาม
  2. อุรวะฮ์ อิบน์ ฮิชาม
  3. คอลิด อิบน์ ฮิชาม
  4. ฮาริษ อิบน์ ฮิชาม
  5. อัล-อาส อิบน์ ฮิชาม
  6. ฮันตามะฮ์ บินต์ ฮิชาม
  7. อุมม์ ฮัรมาลา บินต์ ฮิชาม

ภรรยาและลูก[แก้]

เขามีภรรยาคนแรกชื่อมุญาลิดียา บินต์ อัมร์ อิบน์ อุมัยร์ อิบน์ มะบัด อิบน์ ซูรารา โดยมีลูกชาย 3 คน ได้แก่:

  1. อิกริมะฮ์
  2. ซูรารา
  3. ตามีมี

และมีภรรยาคนที่สองชื่ออัรวา บินต์ อบี อัล-อาส อิบน์ อุมัยยะฮ์ โดยมีลูกสาว 8 คน ได้แก่:

  1. ซัครา
  2. อัสมา
  3. ยามีลา
  4. อุมม์ ฮากิม (ฮากิมะฮ์)
  5. อุมม์ ซะอีด (ซัยดะ)
  6. ยุวัยรียา
  7. ฮุนฟาอฺ
  8. อุมม์ ฮาบีบ (ฮาบีบะฮ์)

การเสียชีวิต[แก้]

อัมร์โดนมุเอาวาส อิบน์ อัมร์ และมุอาซ อิบน์ อัมร์ฟันดาบจนบาดเจ็บ และถูกฆ่าโดยอับดุลลอฮ์ อิบน์ มัสอูดในสงครามบะดัร[3]

เมื่อมุฮัมมัดเห็นศพที่ไร้วิญญาณในสนามรบ ท่านจึงกล่าวว่า "นี่คือฟาโรห์แห่งประชาชาตินี้"[4]

หลังจากการตายของเขา ผู้คนในเมืองพากันร้องให้ และยกย่องเขาเป็นวีรบุรุษ

อายะฮ์อัลกุรอ่านที่เกี่ยวกับเขา[แก้]

อับดุลลอฮ์ อิบน์ อับบาส รายงานว่า มี 84 อายะฮ์ในกุรอ่านที่กล่าวถึงอบูญะฮัล

ซูเราะฮ์ อะลัก: 9-19[แก้]

ครั้งหนึ่งขณะที่ศาสดามุฮัมหมัดกำลังละหมาดที่อัล-ฮะรอม อบูญะฮัลได้เดินมาแล้วพูดว่า “ฉันไม่ควรให้แกหยุดทำสิ่งนี่หรอ?!” ดังนั้นศาสดาจึงบอกเขาให้หยุดรบกวนได้แล้ว อบูญะฮัลจึงตอบว่า “นี่แกจะต่อว่าฉันว่าฉันเป็นผู้ต่อต้านที่มีอำนาจมากกว่าใครในหุบเขามักกะฮ์หรือ?” พระองค์อัลลอฮ์จึงตรัสว่า:

  • 9. เจ้าเห็นแล้วมิใช่หรือ ผู้ที่ขัดขวาง
  • 10. บ่าวคนหนึ่ง เมื่อเขากำลังละหมาด
  • 11. เจ้าคิดบ้างไหมว่า หากบ่าวผู้นั้นอยู่บนแนวทางที่ถูกต้อง
  • 12. หรือใช้ให้ผู้คนมีความยำเกรง
  • 13. เจ้าคิดบ้างไหมว่า หากเขาปฏิเสธ และผินหลังให้
  • 14. เขาไม่รู้ดอกหรือว่า แท้จริงอัลลอฮฺ นั้นทรงเห็น
  • 15. มิใช่เช่นนั้น ถ้าเขายังไม่หยุดยั้ง เราจะจิกเขาที่ขม่อมอย่างแน่นอน
  • 16. ขม่อมที่โกหกที่ประพฤติชั่ว
  • 17. แล้วให้เขาเรียกที่ประชุมของเขา
  • 18. เราก็จะเรียกผู้คุมนรก
  • 19. มิใช่เช่นนั้น เจ้าอย่าได้เชื่อฟังมัน แต่จงสุญูด (ซูเราะฮ์ อะลัก: 9-19)

หลังจากนั้นอบูญะฮัลอุดหูตนเองแล้วหนีไป อิบนุ อับบาส รายงานว่า ถ้าอบูญะฮัลได้เรียกผู้คนในกลุ่มมาทำร้ายศาสดา พระองค์จะส่งมลาอิกะฮ์มาลงโทษพวกเขา

ซูเราะฮ์ อันอาม: 108[แก้]

ครั้งหนึ่งอบูญะฮัลเตยบอกกับท่านศาสดา ‘ขอสาบานต่ออัลลอฮ์ มุฮัมมัด แกช่วยหยุดประนามพระเจ้าของเราได้แล้ว ไม่อย่างนั้นเราจะสาปแช่งพระเจ้าของเจ้า’ ดังนั้นพระองค์จึงประทานอายะฮ์ว่า “และพวกเจ้าจงอย่าด่าว่า บรรดาที่พวกเขาวิงวอนขออื่นจากอัลลอฮ์ แล้วพวกเขาก็จะด่าว่าอัลลอฮ์เป็นการละเมิด โดยปราศจากความรู้ ในทำนองนั้นแหละ เราได้ให้สวยงามแก่ทุกชาติ ซึ่งการงานของพวกเขา และยังพระเจ้าของพวกเขานั้น คือการกลับไปของพวกเขา แล้วพระองค์ก็จะทรงบอกแก่พวกเขาในสิ่งที่พวกเขากระทำกัน” (ซูเราะฮ์ 6:108)[5]

ซูเราะฮ์ มาอูน: 2-3[แก้]

อบูญะฮัลมีทัศนคติไม่ดีและไร้ความปราณีต่อเด็กกำพร้า อัลลอฮ์จึงประทานอายะฮ์นี้ว่า "นั่นก็คือผู้ที่ขับไล่เด็กกำพร้า และไม่สนับสนุนในการให้อาหารแก่ผู้ขัดสน" (107:2-3) เพื่อเป็นการยืนยันการกระทำที่น่าอับอายของเขา[6]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. Letter No.28, 2nd paragraph, Peak of Eloquence (Page-575), ISBN 0-941724-18-2; retrieved 11 January 2015
  2. Guillaume, p. 298
  3. Muhammad ibn Ishaq. Sirat Rasul Allah. Translated by Guillaume, A. (1955). The Life of Muhammad, pp. 304, 337-338. Oxford: Oxford University Press. "Muhammad ibn Ishaq. Sirat Rasul Allah."
  4. ""The Pharoah of the Community"". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-10-15. สืบค้นเมื่อ 2018-10-04.
  5. Guillaume, p162
  6. Tantavi, 25:274