อันเดอร์เลคต์
อันเดอร์เลคต์ | |
---|---|
ที่ตั้งของอันเดอร์เลคต์ในเขตเมืองหลวงบรัสเซลส์ | |
พิกัด: 50°50′N 04°20′E / 50.833°N 4.333°E | |
ประเทศ | เบลเยียม |
เขต | เขตเมืองหลวงบรัสเซลส์ |
เขตท้องถิ่น | เขตบรัสเซลส์ |
การปกครอง | |
• นายกเทศมนตรี | เอริก ตอมา (พรรคสังคมนิยม) |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 17.74 ตร.กม. (6.85 ตร.ไมล์) |
ประชากร | |
• ทั้งหมด | 115,178 คน |
• ความหนาแน่น | 6,491.05 คน/ตร.กม. (16,811.7 คน/ตร.ไมล์) |
เขตเวลา | UTC+1 (CET) |
• ฤดูร้อน (เวลาออมแสง) | UTC+2 (CEST) |
รหัสไปรษณีย์ | 1070 |
รหัสพื้นที่ | 02 |
เว็บไซต์ | www.anderlecht.be |
อันเดอร์เลคต์ (ดัตช์: Anderlecht) หรือ อ็องแดร์แล็กต์ (ตามการออกเสียงในภาษาฝรั่งเศส) เป็นเทศบาลที่ตั้งอยู่ทางตะวันตกของเขตเมืองหลวงบรัสเซลส์ ติดต่อกับทางตะวันตกเฉียงใต้ของนครบรัสเซลส์ ข้อมูลเมื่อ 1 มกราคม ค.ศ. 2020[update] เทศบาลนี้มีประชากรประมาณ 120,887 คน[1] ครอบคลุมพื้นที่ 17.74 ตารางกิโลเมตร (6.85 ตารางไมล์) ซึ่งรวมมีความหนาแน่นประชากรที่ 6,749 คนต่อตารางกิโลเมตร (17,480 คนต่อตารางไมล์)[1]
ในแต่ละปีจะมีเทศกาลงานออกร้านซึ่งได้รับการรับรองจากพระเจ้าวิลเลิมที่ 2 แห่งเนเธอร์แลนด์ตั้งแต่ พ.ศ. 2368 เป็นเทศกาลที่จัดการเฉลิมฉลองในหลายรูปแบบ รวมทั้งการแสดงของสัตว์ นิทรรศการกลางแจ้ง การแสดงดอกไม้ และขบวนแห่เพื่อเป็นเกียรติแด่นักบุญกาย ผู้เป็นนักบุญอุปถัมภ์ของเมือง นอกจากนี้อันเดอร์เลคต์ยังเป็นที่รู้จักจากสโมสรฟุตบอลอันเดอร์เลคต์ ซึ่งเป็นสโมสรฟุตบอลที่มีชื่อเสียงจากการแข่งขันทั้งในระดับทวีปและประเทศ
ประชากร
[แก้]ประชากรในอดีต
[แก้]ในอดีต มีประชากรอาศัยอยู่ที่อันเดอร์เลคต์น้อย โดยในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 เทศบาลนี้มีประชากรประมาณ 2,000 คน ต่อมาหลังการปฏิวัติอุตสาหกรรม ประชากรในเทศบาลจึงเพิ่มขึ้นอย่างมาก จนกระทั่งถึงจุดสูงสุดที่ 103,796 คนใน ค.ศ. 1970 หลังจากนั้นประชากรจึงเริ่มลดลงจนถึง 87,812 คนใน ค.ศ. 2000 ก่อนที่จะเพิ่มขึ้นในปีถัดมา
- ข้อมูล: INS: 1806 ถึง 1981= สำมะโน; 1990 และภายหลัง = ประชากรในวันที่ 1 มกราคม
ประชากรต่างชาติ
[แก้]เทศบาลอันเดอร์เลคต์มีชาวต่างชาติอาศัยอยู่มากกว่า 1,000 คนในวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 2020:[2]
โรมาเนีย | 7,405 |
โมร็อกโก | 4,924 |
อิตาลี | 2,985 |
สเปน | 2,743 |
ฝรั่งเศส | 2,727 |
โปรตุเกส | 2,628 |
โปแลนด์ | 2,549 |
ซีเรีย | 1,717 |
ความสัมพันธ์กับนานาชาติ
[แก้]เมืองพี่น้อง
[แก้]อันเดอร์เลคต์เป็นเมืองพี่น้องกับเมืองดังนี้:[3]
- บูลอญ-บิย็องกูร์ ประเทศฝรั่งเศส
- เบอร์ลิน-น็อยเคิล์น ประเทศเยอรมนี
- ลอนดอนบะระออฟแฮมเมอร์สมิธแอนด์ฟูลัม สหราชอาณาจักร
- ซานดัม ประเทศเนเธอร์แลนด์
- มารีโน ประเทศอิตาลี
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 "Anderlecht | IBSA". ibsa.brussels. สืบค้นเมื่อ 2021-10-06.
- ↑ "Nationalités". ibsa.
- ↑ Decker, Frédéric De. "Projets européens". www.anderlecht.be (ภาษาฝรั่งเศส). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-03-01. สืบค้นเมื่อ 2017-02-28.
บรรณานุกรม
[แก้]- Verhelst, Daniël; Pycke, Nestor (1995). C.I.C.M. Missionaries Past and Present: History of the Congregation of the Immaculate Heart of Mary (Scheut/Missionhurst). Verbistiana. Vol. 4. Leuven: Leuven University Press. ISBN 978-90-6186-676-3.
- Vanysacker, Dries; Renson, Raymond (1995). The Archives of the Congregation of the Immaculate Heart of Mary (CICM-Scheut) (1862–1967) - 2 v. Rome: Bibliothèque de l'Institut Historique Belge de Rome. ISBN 978-90-74461-15-3.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ Anderlecht
- เว็บไซต์ทางการ (ในภาษาฝรั่งเศสและดัตช์)