ข้ามไปเนื้อหา

อันตรกิริยาพื้นฐาน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

อันตรกิริยาพื้นฐาน (อังกฤษ: fundamental interaction; บางครั้งก็เรียกว่า แรงพื้นฐาน) ในทางฟิสิกส์ คือวิธีการที่อนุภาคชนิดเรียบง่ายที่สุดในเอกภพกระทำต่อกันและกัน อันตรกิริยานั้นจะถือว่าเป็นอันตรกิริยาพื้นฐานเมื่อมันไม่สามารถอธิบายในรูปแบบอันตรกิริยาอื่นใดได้อีก

มีอันตรกิริยาพื้นฐานอยู่ 4 ชนิดที่เรารู้จัก ได้แก่ แรงแม่เหล็กไฟฟ้า อันตรกิริยาอย่างเข้ม อันตรกิริยาอย่างอ่อน (บางครั้งก็เรียกว่า แรงนิวเคลียร์ชนิดเข้ม กับ แรงนิวเคลียร์ชนิดอ่อน) และแรงโน้มถ่วง แรงสามชนิดแรกนั้นสามารถอธิบายได้ในรูปแบบของกระบวนการคำนวณต่างๆ ด้วยทฤษฎีที่เรียกชื่อว่า ทฤษฎีการรบกวนของกลศาสตร์ควอนตัม โดยการพิจารณาการแลกเปลี่ยนโบซอนระหว่างอนุภาค

ตารางต่อไปนี้แสดงข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับอันตรกิริยาแบบต่างๆ ค่าของแรงสัมพัทธ์และระยะที่มีผลที่แสดงในตารางนี้ จะมีความหมายก็ต่อเมื่ออยู่ในกรอบการพิจารณาทางทฤษฎีเท่านั้น พึงทราบด้วยว่าข้อมูลในตารางนี้อ้างอิงจากแนวคิดหลักซึ่งยังเป็นหัวข้อวิจัยที่กำลังดำเนินการอยู่

ในฟิสิกส์แผนใหม่ อันตรกิริยาระหว่างอนุภาคมักจะอธิบายได้ในรูปของการแลกเปลี่ยนหรือการคายและดูดกลืนแบบต่อเนื่องของอะไรบางอย่างที่เรียกอนุภาคสนาม (field particles) หรือ อนุภาคแลกเปลี่ยน (exchange particles) ในกรณีอันตรกิริยาไฟฟ้าอนุภาคสนามก็คือ โฟตอน (photon) ในภาษาของฟิสิกส์แผนใหม่เรากล่าวว่าแรงแม่เหล็กไฟฟ้ามีโฟตอนเป็นสื่อ (mediated) หรือพาหะ (carrier) และโฟตอนก็เป็นอนุภาคสนามของสนามแม่เหล็กไฟฟ้า เช่นกัน แรงนิวเคลียร์อย่างเข้มก็มีสื่อเรียก

     กลูออน (gluons) (ที่มีชื่อเช่นนี้ เพราะมัน “ยึดติด” นิวคลีออนไว้ด้วยกันเหมือนกาว) แรงนิวเคลียร์อย่างอ่อนมีอนุภาคสนามเป็นสื่อ ชื่อ W และ Z โบซอน (bosons) และแรงโน้มถ่วงมีอนุภาคสนามเป็นพาหะเรียก

     แกรวิตอน (gravitons) อันตรกิริยาเหล่านี้ พิสัยและความเข้มสัมพัทธ์ของมัน

อันตรกิริยา ทฤษฎีที่ใช้อธิบาย ตัวกลาง ความแรงสัมพัทธ์[ก] พฤติกรรมที่ระยะไกล ระยะได้รับผล (เมตร)
อันตรกิริยาอย่างเข้ม ควอนตัมโครโมไดนามิกส์
(QCD)
กลูออน 1038
≈ 10−15
แม่เหล็กไฟฟ้า ควอนตัมอิเล็กโตรไดนามิกส์
(QED)
โฟตอน 1036
อันตรกิริยาอย่างอ่อน ทฤษฎีอิเล็กโตรวีค โบซอน W และ Z 1025 < 10−15
ความโน้มถ่วง ทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป
(GR)
กราวิตอน (ยังไม่ค้นพบ) 1

เชิงอรรถ

[แก้]
ก. ^ ความแรงสัมพัทธ์ (Relative strength) ดังกล่าวเป็นค่าโดยประมาณ เปรียบเทียบความแรงของอันตรกิริยาพื้นฐานชนิดต่าง ๆ เมื่อกำหนดให้แรงโน้มถ่วงมีค่าเป็น 1 (แรงที่แท้จริงเป็นไปตามอนุภาคและพลังงานที่เกี่ยวข้อง)

อ้างอิง

[แก้]

สำหรับผู้อ่านทั่วไป:

ตำรา:

  • Padmanabhan, T. (1998) After The First Three Minutes: The Story of Our Universe. Cambridge Univ. Press. ISBN 0-521-62972-1
  • Perkins, Donald H. (2000) Introduction to High Energy Physics. Cambridge Univ. Press. ISBN 0-521-62196-8