ข้ามไปเนื้อหา

อันดับปลาฉลามหัววัว

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อันดับปลาฉลามหัววัว
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: 174–0Ma โทอาร์เซียนยุคสุดท้ายถึงปัจจุบัน[1]
ปลาฉลามพอร์ตแจ็คสัน (Heterodontus portusjacksoni)
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Chondrichthyes
ชั้นย่อย: Elasmobranchii
อันดับใหญ่: Selachimorpha
อันดับ: Heterodontiformes
L. S. Berg, 1940
วงศ์: Heterodontidae
J. E. Gray, 1851
สกุล: Heterodontus
Blainville, 1816
ชนิด
ดูในเนื้อหา
ชื่อพ้อง
  • Centracion Gray, 1831
  • Cestracion Oken, 1817
  • Gyropleurodus Gill, 1862[2]

อันดับปลาฉลามหัววัว (อังกฤษ: Bullhead shark, Dog shark, อันดับ: Heterodontiformes) เป็นอันดับของปลาในชั้นปลากระดูกอ่อน ในชั้นย่อยปลาฉลามจำพวกหนึ่ง ใช้ชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Heterodontiformes

รูปร่างโดยรวมของปลาฉลามในอันดับนี้ คือ มีช่องเปิดเหงือก 3 ช่องสุดท้ายอยู่เหนือจุดเริ่มต้นของครีบอก ช่องรับน้ำมีขนาดเล็กอยู่ทางด้านหลังของตา ไม่มีหนวด มีร่องลึกเชื่อมระหว่างจมูกกับปาก แผ่นเนื้อที่อยู่ทางด้านหน้าของปากยาวถึงปาก ไม่มีแผ่นหนังปิดตา[3] มีส่วนหัวที่เป็นทรงสี่เหลี่ยมและสั้นคล้ายกับส่วนหัวของวัวอันเป็นที่มาของชื่อเรียก มีครีบหลัง 2 ครีบ ซึ่งมีเงี่ยงที่มีรายงานว่ามีพิษ[4]

เป็นปลาฉลามขนาดเล็ก มีความยาวประมาณ 1.50 เซนติเมตร อาศัยและหากินตามพื้นทะเล และเป็นปลาที่ถือกำเนิดขึ้นในยุคจูแรซซิก ออกลูกเป็นไข่ ไข่มีลักษณะคล้ายกับเกลียวที่เปิดจุกไวน์มีสีคล้ำ ตามกอสาหร่าย ไข่บางส่วนจะถูกกระแสน้ำซัดขึ้นไปเกยหาดไม่มีโอกาสฟักเป็นตัว ในส่วนที่ฟักเป็นตัวจะใช้เวลาประมาณ 9 เดือน [5]

การจำแนก

[แก้]
ไข่ของปลาฉลามในอันดับนี้

มีเพียงวงศ์เดียว และสกุลเดียวเท่านั้น แบ่งออกได้เป็น 8 ชนิด ได้แก่[6]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Sepkoski, Jack (2002). "A compendium of fossil marine animal genera (Chondrichthyes entry)". Bulletins of American Paleontology. 364: 560. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-05-10. สืบค้นเมื่อ 2008-01-09.
  2. จาก itis.gov (อังกฤษ)
  3. "Order Heterodontiformes". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-04-16. สืบค้นเมื่อ 2012-03-29.
  4. [ลิงก์เสีย] เป็นงง! ฉลามถูกทิ้งหน้าประตูสำนักงาน นสพ.ออสซี่ทั้งเป็น จากผู้จัดการออนไลน์
  5. Jurassic Shark, รายการสารคดีทาง TTV 1: วันพฤหัสบดีที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2555
  6. จาก itis.gov (อังกฤษ)

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]